ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผลการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 20 (1) และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่ มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ได้ดาเนินการกู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ด้วยการจาหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ .ศ. 2566 ครั้งที่ 2 ซึ่งมีเงื่อนไขและสาระสำคัญ ดังนี้ 1 . กระทรวงการคลังได้ดาเนินการจาหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2 วงเงิน 13,500 ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสามพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 พันธบัตรรัฐบาลนี้เป็นการเพิ่มปริมาณ ( Reopened bond ) พันธบัตรรัฐบาล เพื่อการบริหารหนี้ให้กู้ต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1 ( LB 436 A ) ส่งผลให้ยอดคงค้าง ของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นนี้เป็น 28,500 ล้านบาท (สองหมื่นแปดพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) โดยมีผล ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2565 1.2 พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอายุคงเหลือ 20.67 ปี โดยจะไถ่ถอนครั้งเดียวทั้งจานวน ในวันที่ 17 มิถุนายน 2586 และไม่มีการไถ่ถอนก่อนครบกาหนด หากวันไถ่ถอนตรงกับวันหยุด ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เลื่อนวันไถ่ถอนเป็นวันทำการถัด ไป 1.3 พันธบัตรรัฐบาลนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.450 ต่อปี ชำระปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 17 มิถุนายน และ 17 ธันวาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะจ่าย ณ วันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล หากวันครบกาหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปจ่ายในวันทาการถัดไป โดยไม่นับวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว เข้ารวมเพื่อคำนวณดอกเบี้ยในงวดที่ถึงกำหนดจ่ายดอกเบี้ย ยกเว้นการจ่ายดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ให้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันก่อนวันไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลที่เลื่อนออกไป 2 . วิธีการจัดจำห น่ายพันธบัตรรัฐบาล มีดังนี้ 2.1 วิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ( Competitive Bidding : CB ) ซึ่งผู้ที่ได้รับ การจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ Contractual Saving Funds และบริษัทประกัน 2.2 วิธีการเสนอซื้อ ( Non Competitive Bidding : NCB ) ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินจาหน่ายโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ สหกรณ์ ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565
3 . การจาหน่ายพันธบัตรรัฐบาลตามนัยข้อ 2 ดาเนินการเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 จำนวน 13,500 ล้านบาท (หนึ่งหมื่นสา มพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดผลการจำหน่าย พันธบัตรรัฐบาล ดังนี้ วันที่จ ําหน่ําย วันที่ชําระเงิน วิธีกําร จ ําหน่ําย วงเงิน จ ําหน่ําย (ล้ํานบําท) จ ํานวนเงิน ที่ได้รับ (บําท) ส่วนเพิ่ม/ (ส่วนลด) (บําท) ดอกเบี้ยจ่ําย รับล่วงหน้ํา (บําท) อัตรํา ผลตอบแทน เฉลี่ย (ร้อยละต่อปี) 1 9 ตุลาคม 2565 21 ตุลาคม 2565 CB 13 , 400 12,190,226,789 . 70 ( 1,289,567,396 . 30 ) 79,794,186 . 00 4 . 1483 NCB 100 90,970,474 . 00 ( 9,625,005 . 00 ) 595,479 . 00 รวม 13,500 12,281,197,263 . 70 ( 1,299,192,401 . 30 ) 80,389,665 . 00 4 . กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจาหน่าย นายทะเบียน และตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรรัฐบาล โดยกาหนดค่าธรรมเนียมในการจัดการในอัตราร้อยละ 0 . 03 (ศูนย์จุดศูนย์สาม) ของราคาพันธบัตรรัฐบาลที่จำหน่ายได้ ดอกเบี้ยที่จ่ายและเงินต้นพันธบัตรที่ จ่ายคืน ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ้ หนา 11 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 293 ง ราชกิจจานุเบกษา 16 ธันวาคม 2565