Tue Dec 13 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2565 (ด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา)


ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2565 (ด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา)

ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2565 (ด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ) เพื่อให้การปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ในการกระทำหรือปฏิบัติการ เกิดความชัดเจนในขอบเขตการปฏิบัติครอบคลุม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา จึงได้กาหนด ข้อจากัดและเงื่อนไขในการปฏิบัติเฉพาะสาหรับผู้ประกอบวิชา ชีพการพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 22 (3) (ช) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 ประกอบกับมติคณะกรรมการสภาการพยาบาลโดยความเห็นชอบ ของสภานายกพิเศษตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 คณะกรรมการสภาการพยาบาล จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจากัดและเงื่อนไขในการ ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2565 (ด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา) ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาล ให้กระทาการพยาบาล การคัดกรองผู้ป่วย การเจ็บป่วยทางตาฉุกเฉิน หรือการเจ็บป่วยวิกฤต และการฟื้นฟู สมรรถภาพการมองเห็น ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพำะทางสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติ ทางตา ที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับ สภาการพยาบาล ให้กระทำการพยาบาลโดยการกระทำหัตถการ ดังนี้ 5.1 การเขี่ยสิ่งแปลกปลอมออกจากเยื่อบุตา ( remove conjunctival foreign body ) ้ หนา 65 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

5.2 การวัดค่าสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น ยาว เอียงหรือไม่ มีปริมาณ ค่าสายตาเท่าไร ( refraction ) ด้วยเครื่องวัดสายตาใช้แสงจากหลอดไฟส่องตาดูการสะท้อนกลับออกมา ( retinoscope ) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์วัดสายตา ( autorefractor ) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์วัดค่า ความโค้งกระจกตา ( auto keratometer ) และชุดอุปกรณ์เลนส์สำเร็จรูป เช่น เลนส์นูน เว้า เอียงใช้หาปริมาณค่าสายตา ( trial Lens set ) การวัดค่าสายตาในเด็กโดยการหยอดยาลดการเพ่ง ( cycloplegic refraction ) ให้ดาเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของจักษุแพทย์ของ สถานพยาบาลนั้น 5.3 การวัดกำลังเลนส์แก้วตาเทียม ( intraocular lens power measurement ) ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม 5.4 การล้างท่อน้ำตา ( lacrimal sac irrigation ) ยกเว้นผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ให้ความร่วมมือได้ เช่น ผู้ป่วยเด็กเล็ก หรือผู้ที่มีสติไม่สมบูรณ์ 5.5 การเจาะตากุ้งยิง ( incision and curettage ) ยกเว้นกรณีตากุ้งยิงอยู่ใกล้ ท่อน้ำตา หรือผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือได้ เช่น ผู้ป่วยเด็กเล็ก หรือผู้ที่มีสติ ไม่สมบูรณ์ 5.6 การประคบอุ่น ( warm compression ) ในการทาความสะอาดเปลือกตา ( eye lid treatment ) ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตากับสภาการพยาบาล กระทำการรักษาโรคเบื้องต้น ดังนี้ 6.1 ตรวจวินิจฉัยและบาบัดรักษาโรคทางตาตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพ การพยาบาลโดยเคร่งครัด 6.2 การประเมินสภาพผู้ป่วยและสายตา โดยการซักประวัติ เพื่อคัดกรองผู้ป่ว ยโรคตา (1) ภาวะฉุกเฉินทางตา (2) โรคตาที่เกิดจากระบบทางกาย (3) ต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ต้อหิน (4) ตาแดงจากไวรัส แบคทีเรีย ภูมิแพ้ (5) ตากุ้งยิง (6) สายตาผิดปกติ สายตาสั้น ยาว เอียง ภาวะตาขี้เกียจ ตาเข สายตาเลือนราง เห็นภาพซ้อน (7) ตาล้า ตาเพลีย ตาแห้ง (8) ท่อน้ำตาอุดตัน ตาแฉะ ตามีหนอง ้ หนา 66 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

6.3 การตรวจประเมินสภาพตาและสายตา การบันทึกผลการตรวจ และการแปลผล (1) การวัด V . A . ระดับการมองเห็น ( Visual Acuity ) (2) การวัดเพื่อหาค่าความดันในตาด้วยชนิดสัมผัสตา ( contact tonometer ) เช่น เครื่องวัดความดันในตาใช้แรงกดโดยน้าหนักบนกระจกตา ( Schiotz Tonometer ) และการ วั ด ความดันด้วยเครื่องวัดความดันในตาชนิ ดไม่สัมผัสตา ( non contact tonometer ) เช่น เครื่องวัดความดันในตาใช้แรงอัดลมคงที่ทำให้กระจกตาแบบราบ ( air puff tonometer ) รวมทั้งเครื่องมือวัดความดันในตาชนิดอื่น ๆ (3) การตรวจตาด้วยไฟฉาย ( pen light examination ) (4) การตรวจดูแสงสะท้อนจากจอตา ( red reflex ) ด้วยกล้องส่องตรวจในตา ดูการเปลี่ยนแปลงที่จอตา ( direct ophthalmoscope ) (5) การวัดหาค่าสายตาและความโค้งกระจกตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดหาค่าสายตาและความโค้งกระจกตา ( auto refracto - keratometer ) (6) การวัดการมองเห็นภาพซ้อน (7) การใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจสภาพตาส่วนหน้า ดังนี้ - การตรวจตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดลำแสงแคบ ( slit lamp biomicroscope ) - การวัดสายตาด้วยเครื่องวัดสายตาใช้แสงจากหลอดไฟส่องตา ดูการสะท้อนกลับออกมา retinoscope, ชุดทดลองเลนส์แว่นตา ( trial lens set ) - การวัดความโค้งของกระจกตา ความยาวลูกตา ( axial length ) เพื่อคำนวณเลนส์แก้วตาเทียม และวัดกำลังเลนส์แก้วตาเทียม ( intraocular lens measurement ) - การวัดกาลังเลนส์แว่นตาด้วยเครื่องวัดกาลังของเลนส์และบอกชนิด ของเลนส์ ทั้งเลนส์นูน เว้า เอียง และอ่านค่าปริซึมของเลนส์ได้ ( lensometer / lens analyzer ) - การวัดลานสายตา ( visual f ield test / perimetry ) โดยวิธีการ ตรวจวัดลานสายตาแบบอัตโนมัติ ( automated static perimetry ) ด้วยเครื่องตรวจวัดลานสายตา ด้วยคอมพิวเตอร์ ( computerized visual field analyzer : CTVF ) - การวัดมุมตาเขด้วยอุปกรณ์แท่งแก้วบรรจุเลนส์ปริซึมชนิดต่าง ๆ สำหรับวัดมุมตาเข ( prism bar / box ) - วัดการมองเห็นภาพ 3 มิติ ( stereopsis ) - การตรวจตาบอดสี ด้วยชุดแผ่นทดสอบตาบอดสีอิชิฮาร่า ( Ishihara test ) หรือวิธีการอื่น ๆ - การถ่ายภาพจอตาชนิดไม่ต้องขยายม่านตา ( non mydriatic fundus photography ) ด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา ( fundus camera ) ้ หนา 67 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

  • การตรวจวิเคราะห์เซลล์กระจกตาชั้นใน ( endothelial cell count ) ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์กระจกตา/นับจำนวนเซลล์กระจกตา ( specular microscopy ) - การวัดความหนากระจกตา ( central corneal thickness ) ด้วยเครื่องวัดความหนากระจกตา ( pachymeter ) - การวิเคราะห์ความโค้งกระจกตาด้วยเครื่องวัดความโค้งกระจกตา แบบละเอียด ( corneal topography ) - การวิเคราะห์โรคของจอประสาทตา จุดรับภาพและต้อหิน ด้วยเครื่อง วิเคราะห์ภาพตัดขวาง/สแกนจอประสาทตาและขั้วป ระสาทตา ( optical coherence topography ) - การตรวจหาความผิดปกติโรคของหลอดเลือดที่จอตาด้วยเครื่องฉีดสี ถ่ายภาพหลอดเลือดที่ตา ด้วยสีฟลูออเรสซีน หรือสีอินโดไซยานีน กรีน ( fundus fluoresceine angiography / indocyanine green angiography ) โดยไม่รวมการฉีดสารทึบแสง (8) การบันทึกผลการตรวจประเมินสภาพผู้ป่วย และการประเมินสภาพตา และสายตา (9) แปลผลการประเมินสภาพตาและสายตา เพื่อวางแผนการรักษาโรคเบื้องต้น 6.4 การตรวจประเมินภาวะฉุกเฉินทางตาที่ต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและส่งต่อ (1) บาดเจ็บทำงตาจากอุบัติเหตุหรือถูกทำร้าย (2) กรด ด่าง สารเคมีเข้าตา ( chemical burn ) (3) แสงสะท้อนตาผิดปกติ ( light / red reflex ) (4) ตาแดง บริเวณรอบกระจกตา ( perilimbal หรือ ciliary injection ) (5) แมลง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา (6) ตามองเห็นไม่ชัด หรือ มืด มัว อย่างรุนแรงและเฉียบพลัน (7) มีอาการปวดตาอย่างรุนแรง (8) เลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว ( subconjunctival hemorrhage ) ที่มีระดับ การมองเห็น ( visual acuity ) ลดลง (9) เยื่อบุตาฉีกขาด ( conjunctival tear ) (10) กระจกตาอักเสบ แผลที่กระจกตา ( keratitis, corneal ulcer ) (11) กระจกตาทะลุ ( perforated cornea ) (12) เห็นหยากไย่จุดดาลอยไปมาในลูกตา หรือเห็นแสงฟ้าแลบ (13) ขนาด หรือปฏิกิริยาตอบสนองของม่านตาผิดปกติ (14) หนังตาตก หรือเห็นภาพซ้อนเฉียบพลัน 6.5 การตรวจวินิจฉัยแยกโรค และให้การรักษาโรคเบื้องต้น (1) เคืองตา ้ หนา 68 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

(2) ตาแดง (3) ตามัว (4) อุบัติเหตุต่อดวงตาที่ไม่รุนแรง ข้อ 7 ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการบาบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เมื่อปรากฏ ตรวจพบ หรือเห็นว่าอาการไม่บรรเทา มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น มีโรคหรือภาวะแทรก ซ้อน หรือมีเหตุอันควรอื่น ๆ เกี่ยวกับการบาบัดรักษา เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์บำบัดรักษา เวชภัณฑ์ เป็นต้น ข้อ 8 ในกรณีที่มีความจาเป็นต้องใช้ยา ให้ใช้ยาตามรายการยาที่สภาการพยาบาลกาหนด แนบท้ายข้อบังคับนี้ และยาตามแผนการรักษาของจักษุแพทย์ ข้อ 9 เขียนบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ อาการและการเจ็บป่วย โรคและการให้การรักษาโรค หรือการให้บริการตามความเป็นจริง และต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 รองศาส ตราจารย์สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ นายกสภาการพยาบาล ้ หนา 69 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

1 รายการยาทางตา ที่กำหนดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง การพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น 1. ยาปฏิชีวนะ / ยาต้านจุลชีพ - Erythromycin - Dicloxacillin 2. ยาแก้แพ้ ( Antihistamine ) - Chlorpheniramine maleate 3. ยาแก้ปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ - Acetaminophen 4. ยาป้าย / ยาหยอดตา ปฏิชีวนะ - Oxytetracycline + Polymyxin B sulfate รูปแบบ eye ointment - Polymyxin B Sulfate + Gramicidin + Neomycin รูปแบบ eye drop - Chloramphenicol eye drop / ointment 5. ยาหยอดตากลุ่มต้านฮีสตามีน - Tetrahydrozoline H ydrochloride + Antazoline Hydrochloride รูปแบบ eye drop 6. ยาหยอดตารักษาตาแห้ง น ้าตาเทียม ( Artificial Tears ) 7. ยาชาเฉพาะที่ ใช้กับตา - Tetracain e Hydrochloride รูปแบบ eye drop 8. ยาชาชนิดฉีด - Lidocaine HCL 2 % for inject ion 9. น ้าเกลือ 0.9% ล้างตา / แผล ล้างท่อน ้าตา เช็ดตา ล้าง Contact lens 10. ยาตามแผนการรักษา ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม 11. อื่น ๆ ตามที่สภาการพยาบาลประกาศก้าหนด …