Tue Dec 13 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดการหนี้และการจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2565


ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดการหนี้และการจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2565

ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดการหนี้และการจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง การจัดการหนี้และการจาแนกแยกประเภทหนี้ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อกระบวนการจัดการหนี้เป็นไปตาม กฎหมาย เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรอย่างแท้จริง อันจะนามา ซึ่งการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตาม เจตนารมณ์แห่งกฎหมายในการแก้ไขปัญหาหนี้และรักษาที่ดินทำกินของเกษตรกร อาศัยอานาจตามความในมาตรา 37/3 (4) มาตรา 37/6 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ประกอบกับมติคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการจัดการหนี้ ของเกษตรกร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการจัดการหนี้และการจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้ นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การจัดการหนี้ และการจาแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2563 ฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (2) ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดการหนี้ และการจาแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ฉบับลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (3) ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดการหนี้ และการจาแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ฉบับลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563 บรรดาประกาศหรือคาสั่งใดที่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ พระราชบัญญัติกองทุน ” หมายความว่า พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “ กองทุน ” หมายความว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ้ หนา 54 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

“ องค์กรเกษตรกร ” หมายความว่า กลุ่มหรือคณะของเกษตรกรที่มารวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน โดยจะเป็นหรือไม่เป็นนิติบุคคลก็ได้ และได้ขึ้นทะเบียนต่อสานักงาน หรือสำนักงานสาขาจังหวัดตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร “ เกษตรกร ” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักตามระเบียบ ที่คณะกรรมการกาหนด “ ทะเบียนหนี้ ” หมายความว่า ทะเบียนเกษตรกรที่เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบได้ยื่นและ ได้รับการอนุมัติจากนายทะเบียนรวมถึงหนี้ที่ผ่านการอุทธรณ์การ ขึ้นทะเบียนหนี้ตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “ หนี้เร่งด่วน ” หมายความว่า หนี้ที่ถูกสถาบันเจ้าหนี้ทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษร ถูกฟ้องร้อง ดาเนินคดี ถูกบังคับคดี หรือขายทอดตลาด หรือถูกฟ้องล้มละลาย “ ถูกฟ้องล้มละลาย ” หมายความว่า ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหรือ ถูกพิพากษาให้ล้มละลาย “ โครงการส่งเสริมของรัฐ ” หมายความว่า โครงการของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ “ สถาบันการเงิน ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่ อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร และนิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด “ สถาบันเกษตรกร ” หมายความว่า นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ “ สถาบันเจ้าหนี้ ” หมายความว่า สถาบันการเงินและสถาบันเกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “ การจัดการหนี้ ” หมายความว่า กระบวนการจัดการหนี้ให้แก่เกษตรกรที่มีขั้นตอนตั้งแต่ การเจรจาขอผ่อนผันกับสถาบันเจ้าหนี้ การออกหนังสือบรรเทาทุกข์ขอชะลอการดาเนินการทางกฎหมาย กับสถาบันเจ้าหนี้การชาระหนี้แทนเกษตรกร “ ห ลักเกณฑ์การจัดการหนี้ ” หมายความว่า แนวทางที่กาหนดขึ้นใช้ไปปฏิบัติในการแก้ไข ปัญหาหนี้ของเกษตรกร ตั้งแต่เรื่องคุณสมบัติของเกษตรกร ข้อมูลทะเบียนหนี้ การแก้ไขปัญหาหนี้ ของเกษตรกร ตั้งแต่ขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ การออกหนังสือบรรเทาทุกข์ หนังสือชะลอ กา รบังคับคดีขายทอดตลาด จนถึงการชาระหนี้แทนเกษตรกร “ เงื่อนไขการชาระหนี้ ” หมายความว่า ข้อตกลงร่วมกันระหว่างกองทุนกับเกษตรกรและ สถาบันเจ้าหนี้เพื่อการชำระหนี้แทนเกษตรกร “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “ คณะกรรมการจัดการหนี้ ” หมายความว่า คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด ้ หนา 55 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

“ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “ สำนักจัดการหนี้ ” หมายความว่า สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร “ สำนักงานสาขา จังหวัด ” หมายความว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัด “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “ นายทะเบียน ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนตามประกาศนี้ ข้อ 5 ให้เลขาธิการรักษาการตามประกาศนี้ ในกรณีมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบังคับใช้ประกาศนี้ ให้เลขาธิการในฐานะนายทะเบียน เสนอต่อคณะกรรมการจัดการหนี้เห็นควรวินิจฉัย การวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดการหนี้ถือเป็นที่สุด หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 6 เกษตรกรที่จะมีสิทธิได้รับการพิจารณาแก้ไขปัญหาหนี้ตามประกาศนี้ต้องเป็น เกษตรกรสมาชิกองค์กรเกษตรกร ซึ่งมีหนี้อันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามมาตรา 37/1 แห่งพระราชบัญญัติกอง ทุน โดยหนี้ของเกษตรกรดังกล่าวต้องเป็นหนี้อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) หนี้ที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งเสริมของรัฐและประสบความล้มเหลวอันไม่ใช่เป็นความผิด ของเกษตรกร (2) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินประเภท ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและนิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด (3) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หนี้ดังกล่าวต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้ นก่อนวันที่นายทะเบียนได้รับขึ้นทะเบียนหนี้ เว้นแต่กรณีหนี้ ที่เกิดหลังขึ้นทะเบียนหนี้ โดยการปรับโครงสร้างหนี้จากสัญญาเดิมที่ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้ ข้อ 7 กรณีที่เป็นหนี้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม และสหกรณ์ประมง ให้ ถือว่ามีสิทธิ ได้รับการจัดการหนี้เนื่องจากหนี้สถาบันการเงินและ สถาบันเกษตรกรดังกล่าวเป็นหนี้อันเนื่องมาจากการประกอบเกษตรกรรมของเกษตรกรตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติกองทุน ข้อ 8 ในกรณีที่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้แล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดการหนี้หรื อ ได้รับการชาระหนี้แทนให้แก่สถาบันเจ้าหนี้แล้ว และเกษตรกรได้เสียชีวิต ให้ทายาทที่มีคุณสมบัติ ตามกฎหมาย ได้รับสิทธิ ชำระหนี้หรือรับภาระหนี้แทนต่อไป ้ หนา 56 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

ในกรณีที่ทายาทขาดคุณสมบัติในการได้รับการจัดการหนี้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ทายาทนั้น มีสิทธิได้รับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันคืนโดยการสืบสิทธิ์ หมวด 2 การจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร ข้อ 9 ให้สานักงานสาขาจังหวัด นาข้อมูลทะเบียนหนี้มาจาแนกแยกหนี้ของเกษตรกร และนำส่งมายังสำนักจัดการหนี้ เพื่อดาเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 37/6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนต่อไป ดังนี้ (1) จำแนกตามลำดับก่อนหลังในการรับขึ้นทะเบียนหนี้ (2) จำแนกประเภทหนี้ ดังนี้ (ก) หนี้ที่เกษตรกรถูกฟ้องล้มละลาย (ข) หนี้ที่ศาลมีคาพิพากษาถึงที่สุดหรืออยู่ระหว่างการบังคับคดี (ค) หนี้ที่ถูกดาเนินคดี (ง) หนี้ที่ผิดนัดชำ ระหนี้ (จ) หนี้ปกติ (3) จำแนกตามสถาบันเจ้าหนี้ (ก) หนี้ที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งเสริมของรัฐ (ข) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันเกษตรกร (ค) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด (4) จำแนกตามมูลหนี้ (ก) หนี้ไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท (ข) หนี้ที่เกินกว่าสองล้านห้าแสนบาทหรือมูลหนี้ที่คณะกรรมการกาหนด (5) จำแนกตามหลักประกันแห่งหนี้ (ก) หนี้ที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน (ข) หนี้ที่ทรัพย์สินเป็นหลักประกันที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ (ค) หนี้ที่ทรัพย์สินเป็นหลักประกันที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ข้อ 10 เพื่อประโยชน์ในการจัดการหนี้ ให้กำหนดหนี้สูงสุดที่จะจัดการหนี้ให้เกษตรกร ไม่เกินห้าล้านบาทต่อราย กรณีหนี้เกินกว่าห้าล้านบาท ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร พิจารณาเป็นราย ๆ หมวด 3 การจัดการหนี้ในระบบที่มิใช่โครงการส่งเสริมของรัฐ ้ หนา 57 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

ข้อ 11 หนี้ในระบบที่มิใช่โครงการส่งเสริมของรัฐ แยกตามสถาบันเจ้าหนี้เพื่อการจัดการหนี้ ดังนี้ (1) สถาบันการเงิน ได้แก่ (ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (ข) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ค) นิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด (2) สถาบันเกษตรกร ได้แก่ นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ข้อ 12 ให้จัดการหนี้ในระบบที่มิใช่โครงการส่งเสริมของรัฐ ทั้งกรณีที่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือกรณีที่ใช้บุคคลค้าประกันก็ได้ กรณีหนี้ที่ใช้หลักทรัพย์ค้าประกันให้เกษตรกรหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในหลักประกันโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กองทุน ข้อ 13 ให้สานักงานนารายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ที่คณะกรรมการจัดการหนี้อนุมัติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการให้จัดการหนี้ได้ ไปดาเนินการขออนุมัติชำระหนี้แทน ดังนี้ (1) นำรายชื่อเกษตรกรไปจัดทำแผนการจัดการหนี้ตามรายละเอียดข้อ 9 (2) กรณีหนี้สถาบันเกษตรกรที่สำนักงานสาขาจังหวัดเจรจากับสถาบันเจ้าหนี้ เมื่อได้ข้อยุติแล้ว ให้ดาเนินการตามขั้นตอนที่กาหนดเพื่อเตรียมการชำระหนี้แทนเกษตรกร (3) กรณีหนี้สถาบันการเงิน ให้สานักจัดการหนี้ทาการเจรจากับสถาบันเจ้าหนี้ เมื่อได้ข้อยุติแล้ว ให้แจ้งสำนักงานสาขาจังหวัดดาเนินการตามขั้นตอนที่กาหนดเพื่อเตรียมการชำระหนี้แทนเกษตรกร (4) ให้สา นักงานสาขาจังหวัดส่งรายชื่อเกษตรกรที่สถาบันเจ้าหนี้ยินยอมให้ชาระหนี้แทนตาม (2) และ (3) เพื่อให้สำนักจัดการหนี้เสนอคณะกรรมการจัดการหนี้อนุมัติให้ชำระหนี้แทน (5) ให้สานักจัดการหนี้แจ้งรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติตาม (4) ให้สานักงานสาขาจังหวัด เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่กาหนดและรายงานคณะอนุกรรรมการทราบ เมื่อเกษตรกรได้รับการอนุมัติให้ชาระหนี้แทนตามวรรคหนึ่งแล้วให้สานักงานสาขาจังหวัด ประกาศรายชื่อเกษตรกรและแจ้งให้องค์กรเกษตรกรเพื่อจัดทำแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนา เกษตรกร ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหน ด ข้อ 14 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการชาระหนี้แทนเกษตรกร กรณีหนี้สถาบันเกษตรกรมี ดังนี้ (1) การชาระหนี้ผิดนัดชาระ โดยเกษตรกรเป็นหนี้ผิดนัดชาระตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีจานวน หนึ่งสัญญาหรือมากกว่าหนึ่งสัญญา และทุกสัญญาเป็นหนี้ผิดนัดชำระให้กองทุนชาระหนี้ทุกสัญญำที่ขึ้น ทะเบียนหนี้ไว้รวมถึงสัญญาที่ใช้หลักประกันเดียวกันค้าประกัน โดยให้ชาระหนี้เงินต้นเต็มจานวนและ ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปีระยะเวลาการคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 10 ปี จากเงินต้นคงค้างชำระและ ให้โอนหลักประกันเป็นของกองทุนตามกฎหมาย ้ หนา 58 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

(2) การชาระหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ที่เกษตรกรทาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ โดยรวมหลายสัญญา หรือสัญญาเดียวเพื่อทาสัญญาใหม่เป็นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อปรับปรุง เงื่อนไขการผ่อนชำระขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้กับเกษตรกร โดยให้เกษตรกรได้รับการชำระหนี้ตำมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการชำระหนี้เช่นเดียวกับ หนี้ผิดนัดชำระ และให้โอนหลักประกันเป็นของกองทุนตามกฎหมาย (3) การชาระหนี้ดาเนินคดี ซึ่งเกษตรกรเป็นลูกหนี้ที่ถูกสถาบันเจ้าหนี้ฟ้องดาเนินคดีแต่ยัง ไม่มีการพิพากษามีจานวนหนึ่งสัญญาหรือมากกว่าหนึ่งสัญญา ให้กองทุ นชาระหนี้แทนเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการชาระหนี้เช่นเดียวกับหนี้ผิดนัดชาระพร้อมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามกฎหมาย และให้ โอนหลักประกันเป็นของกองทุนตามกฎหมาย (4) การชาระหนี้ตามคำพิพากษา โดยเกษตรกรเป็นลูกหนี้ตามคาพิพากษาถึงที่สุด โดยแยก ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ (ก) หนี้ตามคาพิพากษาที่เกษตรกรเป็นหนี้จานวนหนึ่งสัญญาหรือมากกว่าและทุกสัญญา เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดการหนี้ของกองทุน ให้กองทุนชาระหนี้แทนเกษตรกรตามมูลหนี้ ตามคาพิพากษาของศาลทุกสัญญาพร้อมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามกฎหมายและให้โอนห ลักประกัน เป็นของกองทุนตามกฎหมาย (ข) หนี้ตามคำพิพากษาที่เกษตรกรเป็นหนี้มากกว่าหนึ่งสัญญาในคำฟ้องเดียวกัน โดยสัญญาใดสัญญาหนึ่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการชำระหนี้ ส่วนสัญญาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหนี้ ให้เกษตรกรนำหนี้ดังกล่าวมาขึ้นทะเบียนหนี้โดยเร็ว เพื่อให้ได้รับสิทธิชาระหนี้ทุกสัญญาตามคำพิพากษานั้น และให้กองทุนชาระหนี้แทนเกษตรกรตามมูลหนี้คาพิพากษาพร้อมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามกฎหมาย และให้โอนหลักประกันเป็นของกองทุนตามกฎหมาย (5) การชาระหนี้ที่อยู่ในชั้นบังคับคดี โดยเกษตรกรเป็นหนี้ที่อยู่ในชั้นบั งคับคดี กาหนดวิธี ปฏิบัติ 2 แนวทาง ดังนี้ (ก) หนี้มีหลักประกันที่สถาบันเจ้าหนี้ยินยอมให้ชาระหนี้แทนเกษตรกร ให้กองทุนชาระหนี้ ไม่เกินมูลหนี้ตามคาพิพากษาพร้อมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามกฎหมายและให้โอนหลักประกันเป็น ของกองทุนตามกฎหมาย (ข) หนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ที่สถาบันเจ้าหนี้ยินยอมให้กองทุนชาระหนี้แทนโดยสถาบัน เจ้าหนี้ได้สืบทรัพย์ที่เป็นของเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้หรือของผู้ค้ำประกัน หรือของทายาท มาดาเนินการ บังคับคดีแล้ว ให้เจ้าของหลักประกันทาหนังสือยินยอมและมอบอานาจให้โอนหลักประกันเป็น ของ กองทุน ข้อ 15 เป็นหนี้มีหลักทรัพย์ค้าประกัน หรือมีหลักทรัพย์และบุคคลค้าประกันในสัญญาเดียวกัน ให้กองทุนชำระหนี้แทนเกษตรกรโดยไม่ต้องประเมินราคาทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ้ หนา 59 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

ข้อ 16 กรณีเป็นหนี้ที่มีบุคคลค้าประกัน ให้นาระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีหนี้ที่มีบุคคลค้ำประกัน มาใช้บังคับ ข้อ 17 ให้สำนักงานสาขาจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับสถาบัน เกษตรกรทุกมูลหนี้ที่ได้รับการอนุมัติรายละไม่เกินห้าล้านบาท เกษตรกรรายใดเคยแสดงความประสงค์ ไม่ ให้กองทุนชาระหนี้แทนหรือไม่ประสงค์ทาสัญญา เ ช่าซื้อ หรือสละสิทธิการเช่าซื้อทรัพย์สินคืนไปจากกองทุน หากภายหลังมีความประสงค์ให้กองทุนชำระหนี้ แทนหรือประสงค์เข้าทาสัญญาเช่าซื้อ หรือซื้อทรัพย์สินคืนไปจากกองทุน ให้กองทุนสามารถดาเนินการได้ ตามที่เกษตรกรประสงค์ กรณีเกษตรกรรายใดเคยผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินคืนไปจากกองทุนตามวรรคสอง หากได้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาให้ครบถ้วนภายหลังให้ได้รับการจัดการหนี้ได้ ข้อ 18 กรณีที่เกษตรกรถูกฟ้องล้มละลาย ให้กองทุนเข้าไปดาเนินการเจรจาชาระหนี้แทน เกษตรกรเพื่อโอนหลักประกันมาเป็นของ กองทุน ข้อ 19 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการชาระหนี้แทนเกษตรกร กรณีหนี้สถาบันการเงิน และนิติบุคคล ตามที่คณะกรรมการกำหนดการชำระหนี้ที่มีสถานะตั้งแต่ผิดนัดชำระขึ้นไป ให้กองทุนชำระหนี้ แทนเกษตรกรตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจัดการหนี้ที่กองทุนตกลงไว้กับสถาบันเจ้าหนี้ โดยให้โอน หลักประกันเป็นของกองทุนตามกฎหมาย กรณีเป็นการชาระหนี้สถาบันการเงิน และนิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกาหนด ให้นาความ ในข้อ 14 (4) (5) ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 วรรคสองและวรรคสาม และข้อ 18 มาใช้ โดยอนุโลม หมวด 4 การวางเงินชาระหนี้แทนเกษตรกร ข้อ 20 หนี้ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้กับกองทุน และเป็นหนี้ที่เกษตรกรมีคุณสมบัติ ถูกต้องตามกฎหมายและประกาศ ซึ่งสถาบันเจ้าหนี้ไม่ยินยอมให้กองทุนชำระหนี้แทนเกษตรกร ให้สานักงานแจ้งเกษตรกรมายื่นความประสงค์ต่อกองทุนเพื่อขอให้ชาระหนี้แทนเกษตรกรให้แก่สถาบั น เจ้าหนี้ โดยหนี้ดังกล่าวต้องเป็นหนี้ที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ข้อ 21 ในการยื่นความประสงค์ตามข้อ 20 ให้เกษตรกรยื่นเอกสารประกอบ ดังนี้ (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (2) หลักฐานแห่งหนี้ ได้แก่ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง (3) เอกสารที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงินของสถาบันเจ้าหนี้ หรือเอกสารแสดงผล แห่งการอุทธรณ์ (ถ้ามี) (4) สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน ้ หนา 60 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565

(5) หนังสือแสดงความยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันให้แก่กองทุน (6) ห นังสือมอบอำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการให้สถาบันเจ้าหนี้ส่งมอบเอกสาร แสดงกรรมสิทธิ์ของทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกัน (ทด. 21) (7) สำเนาคำฟ้อง สำเนาคำพิพากษาและหรือเอกสารอื่นเกี่ยวกับการบังคับคดี ข้อ 22 การวางเงินชาระหนี้ตามคำพิพากษา ให้กองทุนดาเนินการตามขั้นตอนการขออนุมัติ ชาระหนี้ โดยให้วางเงินชาระหนี้ที่ศาลเพื่อชาระหนี้แทนเกษตรกรตามมูลหนี้ตามคาพิพากษาพร้อมค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจริงตามกฎหมายให้แก่สถาบันเจ้าหนี้และให้โอนหลักประกันเป็นของกองทุน ตามกฎหมาย ข้อ 23 การวางเ งินชาระหนี้ที่อยู่ในชั้นบังคับคดี ให้กองทุนดาเนินการตามขั้นตอนการขอ อนุมัติชาระหนี้ โดยให้วางเงินชาระหนี้ที่สานักงานบังคับคดีเพื่อชาระหนี้แทนเกษตรกร ตามมูลหนี้ ตามคาพิพากษา พร้อมค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจริงตามกฎหมายให้แก่สถาบันเจ้าหนี้ และ ให้โอนหลักประกันเป็นของกองทุนตามกฎหมาย ข้อ 24 ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เกษตรกร ที่ได้รับการชาระหนี้แทนไม่ว่าในกรณีใด ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามระเบียบ ที่คณะกรรมการกาหนด หมวด 5 การอุทธรณ์ ข้อ 25 กรณีที่เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้ก่อนหน้านี้ หากนายทะเบียนได้มีคาสั่งไม่รับ ขึ้นทะเบียนหนี้ เนื่องจากตรวจพบหลักฐานภายหลังว่าหนี้ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ ให้ยื่นอุทธรณ์เพื่อขอรับการจัดการหนี้ต่อสานักงานสาขาจังหวัดภายใน 30 วันนับจากวันที่ ได้รับแจ้ง คำสั่งจากนายทะเบียน การยื่นอุทธรณ์เพื่อขอรับการจัดการหนี้ ให้นาบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามประกาศ คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง การขึ้นทะเบียนหนี้และการเพิกถอนทะเบียนหนี้มาใช้บังคับ บทเฉพาะกาล ข้อ 26 ให้ประกาศนี้มีผลใช้บังคับกับเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติการขึ้นทะเบียนหนี้ไว้กับกองทุน ก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับด้วย ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 256 5 จารึก บุญพิมพ์ ประธานกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ้ หนา 61 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565