ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565
ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565
ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของนิคมสหกรณ์ ตลอดจนกิจการอื่น ๆ ของระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันจากความเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม อันมีความจาเป็นต้องมีการพัฒนาในการใช้ที่ดิ น รวมทั้งเป็นแนวทาง พิจารณาอนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน หรือทำการอย่างอื่น นอกจากทำการเกษตร หรือประโยชน์อื่นใด ในเขตนิคมสหกรณ์ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 และเพื่อให้การใช้เงินรายได้ของนิคมสหกรณ์เป็นประโยชน์แก่กิจการและสมาชิกในนิคมสหกรณ์ และนิคมสหกรณ์ เป็นไปตามความมุ่งหมายของทางราชการ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 จึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้ อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความบทนิยามคาว่า “ เงินรายได้นิคมสหกรณ์ ” ในข้อ 4 ของระเบียบ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ เงินรายได้นิคมสหกรณ์ หมายความว่า เงินที่นิคมสหกรณ์ได้รับ และอาจนามาใช้จ่าย เพื่อประโยชน์แก่กิจการของนิคมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ตลอดจนเงินรายได้ที่เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติในเขตนิคมสหกรณ์ หรือเกิดจากทรัพย์สินของ นิคมสหกรณ์ไม่ว่าจะได้มาโดยวิธีใด หรือผลพลอยได้จากการดำเนินกิจกรรมในเขตนิคมสหกรณ์ รวมทั้งเงินบริจาคต่าง ๆ ซึ่งไม่รวม ถึงเงินงบประมาณให้ถือว่าเป็นรายได้นิคมสหกรณ์ ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 32 ของระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ พ.ศ. 2561 ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 32/1 ของระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วย การบริหารจัดการ นิคมสหกรณ์ พ.ศ. 2561 “ ข้อ 32/1 ประเภทของกิจการ ขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์ ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565
( 1 ) กิจการอันเกี่ยวกับแผนพัฒนาประเทศ นโยบายรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ ( 2 ) กิจการพัฒนาโครงข่ายระบบโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาระบบการสื่อสารโดยผ่านสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โครงข่ายบรอดแบนด์ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโครงข่ายวงจรสื่อสารทั้งภาคพื้นดิน หรือเคเบิล หรือสัญญาณอื่นใดที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม ( 3 ) กิจการทางวิชาการ การสาธิต กา รทดลอง เพื่อประโยชน์ทางเกษตร เช่น แปลงสาธิต สถานีทดลอง การวิจัย การพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์ และประมง ศูนย์พัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์และ พันธุ์พืช และศูนย์การเรียนรู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ( 4 ) กิจการที่ส่งเสริม หรือการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม หรือประกันราคาพืชผล หรือลดต้นทุน การผลิตทางการเกษตร อันเกี่ยวกับการผลิต และการตลาด เช่น สถานที่รวบรวม จัดเก็บ ตลาดกลาง รับซื้อหรือจำหน่ายผลผลิต สถานที่ผลิต แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์เมล็ดพันธุ์พืช ศูนย์พัฒนา องค์ความรู้อาชีพเกษตรกรรม สถานที่ผ ลิตปุ๋ย เป็นต้น ( 5 ) กิจการด้านบริการ ร้านค้า ที่อยู่อาศัย ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร สมาชิกนิคมสหกรณ์ ในด้านเศรษฐกิจและสังคม เท่าที่จำเป็นในเขตนิคมสหกรณ์ ( 6 ) กิจการส่งเสริมด้านการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศูนย์สงเคราะห์อื่น ๆ ( 7 ) กิจการส่งเสริมสุขภาพ สาธารณสุข และสังคมสงเคราะห์ ( 8 ) กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตร หรือการส่งเสริมการสร้างอาชีพ ให้แก่เกษตรกร เช่น โรงงานน้าตาล โรงงานผลไม้กระป๋อง โรงงานน้ามันพืช ปาล์ม ทานตะวัน โรงงานแปรรูปสัตว์ หรือสถานที่สาหรับแปร รูปผลไม้ หรือผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ และกิจการอื่น ที่เกี่ยวข้อง ( 9 ) กิจการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในที่ดินในพื้นที่นิคมสหกรณ์ เช่น ดิน หิน กรวด ทราย ลูกรัง สินแร่ รังนก ไม้หวงห้าม ไม้เศรษฐกิจ มูลค้างคาว หรือทรัพยากรอื่น ๆ เป็นต้น การขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม อาชีพการเกษตร และอื่น ๆ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับผังเมือง และกฎหมายเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กิจการที่ไม่เข้าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ในดุลยพินิจของอธิบดีพิจารณาอนุญาต เป็นการเฉพาะราย โดยกาหนดพื้นที่ตามความจาเป็นที่ใช้ประโยชน์จริง ไม่เกินร้อยละ 70 ของพื้นที่ ทั้งหมด และต้องมีพื้นที่เพื่อการเกษตร หรือที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่สีเขียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด ” ้ หนา 2 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 35/1 ของระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วย การบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ พ.ศ. 2561 “ ข้อ 35/1 กรณีเมื่อครบกาหนดการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน ในเขตนิคมสหกรณ์ หากผู้ได้รับอนุญาตมีความประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินตามวัตถุประสงค์เดิมต่อไปอีก หลังจากที่ ครบกาหนดระยะเวลาตามสัญญาแล้ว ผู้ขอใช้ต้องแสดงความประสงค์เป็นหนังสือยื่นต่อผู้อานวยการ นิคมสหกรณ์ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ก่อนสิ้น สุดระยะเวลาตามสัญญานี้ โดยยกเว้น การดาเนินการตามความในข้อ 33 ของระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการ นิคมสหกรณ์ พ.ศ. 2561 ส่วนเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ที่ดิน และอัตราค่าบำรุงนิคมสหกรณ์ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด ณ วันที่อนุญาต ” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในหมวด 4 ข้อ 39 ข้อ 40 ข้อ 41 ข้อ 43 ข้อ 44 และข้อ 45 ของระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ หมวด 4 การเงินและการจัดการทรัพย์สินของนิคมสหกรณ์ “ ข้อ 39 ให้มีคณะกรรมการบริหารเงินรายได้นิคมสหกรณ์ ประกอบด้วย รองอธิบดี กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 8 คน ซึ่งอธิบดีแต่งตั้ง มีหน้าที่ พิจารณากลั่นกรอง กรอบวงเงิน แผนงาน โครงการ การขอกู้ยืม เงินจ่า ยขาด และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเงินรายได้นิคมสหกรณ์ และเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้รับ มอบหมายจากอธิบดี “ ข้อ 40 ให้กองเปิดบัญชีเงินรายได้นิคมสหกรณ์ไว้ที่ธนาคาร ชื่อบัญชี “ บัญชีเงินรายได้ นิคมสหกรณ์ ” เพื่อรับและจ่ายเงินรายได้นิคมสหกรณ์ ให้สานักงานสหกรณ์จังหวัดดาเนินการเปิดบัญชีเงินรายได้นิคมสหกรณ์ไว้ที่ธนาคาร ชื่อบัญชี “ เงินรายได้นิคมสหกรณ์ จังหวัด… ” เพื่อรับโอนเงินกู้ยืมให้แก่สหกรณ์นิคม เงินจ่ายขาด เพื่อกิจการนิคมสหกรณ์ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและดาเนินการ การถอ นเงินต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี ” “ ข้อ 41 เมื่อกองได้รับเงินรายได้นิคมสหกรณ์แล้ว ให้ออกใบเสร็จรับเงินของทางราชการ ไว้เป็นหลักฐาน ” ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565
“ ข้อ 43 การจัดการทรัพย์สินของนิคมสหกรณ์ และการใช้จ่ายเงินรายได้นิคมสหกรณ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ” “ ข้อ 44 ให้สานักงานสหกรณ์จังหวัดจัดทารายงาน การรับ - จ่ายเงินรายได้นิคมสหกรณ์ ทะเบียนคุมสัญญาและลูกหนี้ การยืนยันยอดหนี้ การสอบทานหนี้ และการเร่งรัดติดตามหนี้ ส่งให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตามแบบรายงานที่กาหนด ” “ ข้อ 45 ให้กองจัดทาบัญชี ตามหลักบัญชีคู่ เพื่อใช้บันทึกรายการ การเงินอันจะแสดงผล การดาเนินงานและฐานะการเงินของเงินรายได้นิคมสหกรณ์ที่เป็นอยู่ตามจริง การปิดบัญชีตามวรรคแรกให้ทาปีละ 1 ครั้ง ตามปีงบประมาณ และจัดทารายงานการเงิน โดยมีบัญชีรายได้ - รายจ่าย และงบแสดงฐานะการเงิน พร้ อมรายละเอียดอื่น ๆ รายงานให้อธิบดี เพื่อทราบ ภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ” ข้อ 8 ภายในระยะเวลาสามร้อยหกสิบวันนับจากวันที่ประกาศให้ใช้ระเบียบนี้ ให้ผู้ใช้ประโยชน์ ในที่ดิน ซึ่งได้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทากิจการอื่นไว้แล้ว ดาเนินการขออนุญาตต่ออธิบดี ทั้งนี้ กิจการ อันได้ดาเนินการขออนุญาตให้ เข้ำหาประโยชน์ หรือกระทาการอื่นใด ภายในเขตนิคมสหกร ณ์ แล้ว ที่ดาเนินการไปก่อน หรือในวันที่ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ ได้ยื่นคาขออนุญาตไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ แต่ยังไม่ได้รับอนุญา ตจากอธิบดี ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบนี้ และหากมีเหตุผลความจำเป็น ไม่สามารถดาเนินการได้สามารถขยายเวลาออกไปได้ ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ส่วนเงื่อนไขการใช้ ประโยชน์ที่ดิน และอัตราค่าบำรุงนิคมสหกรณ์ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด ณ วันที่อนุญาต ข้อ 9 การใดที่ได้ดาเนินการตามประกาศ คำสั่ง ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบที่ยกเลิก ให้ใช้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 วิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 290 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 ธันวาคม 2565