ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 35 ทวิ และมาตรา 35 อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ประกอบกับมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกากาหนด หลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญำ พ.ศ. 2542 คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา (1) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของ สถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 (2) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของ สถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 (3) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของ สถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ ควบคุมสัญญา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 (4) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของ สถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญำ ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภค ” หมายความว่า กิจการที่ผู้ประกอบธุรกิจทาสัญญา ให้ผู้บริโภคซึ่งมิใช่นิติบุคคลกู้ยืม หรือจะได้กู้ยืมเงินจากผู้ประกอบธุรกิจและนำเงินที่ได้รับจากการกู้ยืมเงิน ไปใช้สอยตามวัตถุประสงค์ของผู้บริโภค ซึ่งมิใช่การใช้ในการประกอบธุรกิจเพื่อหารายได้ ทั้งนี้ ให้รวมถึง การให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ “ ผู้ประกอบธุรกิจ ” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (1) สถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ (3) บุคคลธรรมดา ซึ่งดาเนินธุรกิจให้กู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ (4) นิติบุคคล ซึ่งดำเนินธุรกิจให้กู้ยืมเงิน หรือการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์หรือ การบริหารสินทรัพย์ประเภทสิทธิเรียกร้องที่เป็นเงิน ยกเว้นสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นิติบุคคลเฉพาะกิจตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ . 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ้ หนา 6 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 289 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
“ ดอกเบี้ย ” หมายความว่า ดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงค่าตอบแทน กาไร หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับ ดอกผลนิตินัยไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ข้อ 4 สัญญากู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคที่ผู้ประกอบธุรกิจทากับผู้บริโภค ต้องมีข้อความภาษาไทย ที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน มีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร โดยมีจานวนตัวอักษร ไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 4.1 กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดา (1) รายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกาหนด พร้อมทั้งบันทึกวิธีการคิดคำนวณแนบท้ายสัญญา (2) รายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ โดยผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้จากผู้กู้ได้ ตามอัตรา ที่คณะกรรมการกากับการทวงถามหนี้ประกาศกาหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ ทั้งนี้ ต้องมีหลักฐานหรือเอกสารเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ให้สามารถตรวจสอบได้ (3) เงื่อนไขการผิดสัญญาเรื่องใดที่ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะต้องเป็น ข้อความที่ผู้ให้กู้ระบุไว้เป็นการเฉพาะด้วยตัวอักษรสีแดงหรือตัวสีดาหนาหรือตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ หรือโดยประการอื่นที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป และก่อนบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยั งผู้กู้ ไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ผู้กู้ได้รับหนังสือ เพื่อให้ผู้กู้แก้ไขการผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไข ดังกล่าว และผู้กู้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินได้ (4) เงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิในการจาหน่ำยหรือการโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญา กู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้และผู้รับโอนสิทธิต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้กู้และผู้ค้าประกัน (ถ้ามี) ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 งวดของการชาระเงินกู้หรือดอกเบี้ย หรืองวดของการคิดดอกเบี้ย หรือจะต้องได้รับ ความยินยอมเป็นหนังสือจา กผู้กู้มิเช่นนั้นจะยกเป็นข้อต่อสู้ผู้กู้ไม่ได้ ยกเว้นในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดไว้ โดยเฉพาะว่าไม่ต้องทำการบอกกล่าวหรือแจ้งแก่ผู้กู้หรือขอความยินยอมจากผู้กู้ (5) ในกรณีสัญญากู้ยืมเงินมีการกาหนดการชาระเงินกู้ยืมเป็นงวด ๆ ให้ผู้กู้ ชาระเงินกู้ยืมไว้ชัดเจน หา กผู้กู้มีความประสงค์ที่จะชาระหนี้ทั้งหมดในคราวเดียวโดยไม่ผ่อนชาระเงินกู้ รายงวดตามสัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ต้องไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชาระตามสัญญา และให้คืน ทรัพย์หลักประกันหรือสิ่งยึดหน่วง (ถ้ามี) ให้แก่ผู้กู้หรือผู้ค้าประกัน แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่ วันที่ผู้ให้กู้ได้รับชาระหนี้ครบถ้วน ทั้งนี้ ให้จัดทาตารางแสดงภาระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินสาหรับผู้กู้ แต่ละราย โดยให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับจานวนยอดเงินกู้ยืมที่ต้องชาระ วัน เดือน ปี ที่ชาระเงิน ในแต่ละงวด โดยแยกเป็นเงินต้น ดอกเบี้ ยเงินกู้ยืม และจานวนเงินกู้ยืมที่คงค้าง โดยแยกเป็นเงินต้น คงค้าง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และให้แนบตารางแสดงภาระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวไว้ท้ายสัญญา ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 289 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
(6) ในกรณีที่กฎหมายหรือสัญญากำหนดให้ผู้ให้กู้ส่งคาบอกกล่าวเป็นหนังสือ ผู้ให้กู้ต้องส่งคาบอกกล่าวทางไปรษณีย์ล งทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้กู้และผู้ค้าประกัน (ถ้ามี) ตามที่อยู่ ที่ระบุในสัญญา หรือที่อยู่ที่ผู้กู้หรือผู้ค้าประกันแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือครั้งหลังสุด เว้นแต่ กรณีที่ผู้กู้หรือผู้ค้าประกันมีความประสงค์จะขอรับคาบอกกล่าวเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้กู้และ ผู้ค้ำประกันต้องแจ้งเป็นหนังสือหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ให้กู้ทราบ (7) ในกรณีที่ผู้ให้กู้มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ไว้ หากผู้ให้กู้จะนา ข้อมูลนั้นไปเปิดเผยให้บุคคลที่สาม ผู้ให้กู้จะกระทาได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ กู้ก่อน เป็นกรณีรายครั้งไป โดยผู้กู้มีสิทธิจะให้ความยินยอมหรือไม่ก็ได้ และหากให้ความยินยอมไปแล้วผู้กู้ มีสิทธิถอนความยินยอมดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลกำหนด (8) กรณีสัญญากู้ยืมเงินกำหนดให้ ผู้กู้ต้องจัดหาผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ต้องตกลงกับผู้กู้ว่าจะจัดให้มีการทำสัญญาค้ำประกันซึ่งมีคาเตือนสาหรับผู้ค้าประกันไว้หน้าสัญญา ค้าประกันนั้น โดยมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีหัวเรื่องว่า “ คาเตือน สำหรับผู้ค้ำประกัน ” ใช้อักษรตัวหนาขนาดไม่เล็กกว่าสี่มิลลิเมตร และอย่างน้อยต้องมีข้อความ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้โดยมีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และมีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ด ตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และกาหนดข้อสัญญาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้าประกันในสัญญาค้าประกัน ซึ่ งมีสาระสำคัญตรงกับคาเตือนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้แนบคำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกันไว้แนบท้ายสัญญา 4.2 กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคลหรือสถาบันการเงิน (1) รายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่ กฎหมายกำหนดพร้อมทั้งบันทึกวิธีการคิดคำนวณแนบท้ายสัญญา (2) รายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ โดยผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้จากผู้กู้ได้ ตามอัตราที่ คณะกรรมการกำกับการทว งถามหนี้ประกาศกาหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ ทั้งนี้ ต้องมีหลักฐานหรือเอกสารเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ให้สามารถตรวจสอบได้ (3) เงื่อนไขที่ให้สิทธิผู้ให้กู้สามารถปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ แต่การ เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยใด ๆ ผู้ให้กู้ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทุกรายทราบเป็นหนังสือ ดังนี้ (3.1) แจ้งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้กู้ทราบก่อนล่วงหน้า เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้ถือว่าผู้กู้ได้รับแจ้งตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว (3.2) ในกรณีเร่งด่วนให้แจ้งทา งจดหมายหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ ประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่แพร่หลายในประเทศล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และการแจ้งโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์นั้นให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นหนังสือซ้าอีกครั้งหนึ่ง ถึงผู้กู้ทุกรายทราบ ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 289 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
เว้นแต่กรณีที่ผู้กู้มีความประสงค์จะขอรับคาบอกกล่าวเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้กู้ต้องแจ้งเป็นหนังสือหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ให้กู้ทราบ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเฉพาะ อัตราดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี ( MINIMUM OVERDRAF T RATE ) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา ( MINIMUM LOAN RATE ) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี ( MINIMUM RETAIL RATE ) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ใช้อ้างอิงเป็นอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงิน และอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้กู้เรี ยกเก็บกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป (4) เงื่อนไขการผิดสัญญาเรื่องใดที่ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะต้องเป็น ข้อความที่ผู้ให้กู้ระบุไว้เป็นการเฉพาะด้วยตัวอักษรสีแดงหรือตัวสีดาหนาหรือตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ หรือโดยประการอื่นที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป และก่อนบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้กู้ ไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ผู้กู้ได้รับหนังสือ เพื่อให้ผู้กู้แก้ไขการผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไข ดังกล่าว และผู้กู้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอ กกล่าวนั้น ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินได้ (5) เงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิในการจาหน่ายหรือการโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญา กู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้และผู้รับโอนสิทธิต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้กู้และผู้ค้าประกัน (ถ้ามี) ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 งวดของกา รชาระเงินกู้หรือดอกเบี้ย หรืองวดของการคิดดอกเบี้ย หรือจะต้องได้รับ ความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้มิเช่นนั้นจะยกเป็นข้อต่อสู้ผู้กู้ไม่ได้ ยกเว้นในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดไว้ โดยเฉพาะว่าไม่ต้องทำการบอกกล่าวหรือแจ้งแก่ผู้กู้หรือขอความยินยอมจากผู้กู้ (6) ในกร ณีสัญญากู้ยืมเงินมีการกำหนดการชำระเงินกู้ยืมเป็นงวด ๆ ให้ผู้กู้ชาระเงินกู้ยืมไว้ชัดเจน หากผู้กู้มีความประสงค์ที่จะชาระหนี้ทั้งหมดในคราวเดียวโดยไม่ผ่อนชำระ เงินกู้รายงวดตามสัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ต้องไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชาระตามสัญญา และให้คืนทรัพย์หลักประกันหรือสิ่งยึดหน่วง (ถ้ามี) ให้แก่ผู้กู้หรือผู้ค้าประกัน แล้วแต่กรณี ภายใน เจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ให้กู้ได้รับชาระหนี้ครบถ้วน ทั้งนี้ ให้จัดทาตารางแสดงภาระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน สาหรับผู้กู้แต่ละราย โดยให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับจานวนยอดเงินกู้ยืมที่ต้องชาระ วัน เดือน ปี ที่ชาระเงินในแต่ละงวด โดยแยกเป็นเงินต้น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และจานวนเงินกู้ยืมที่คงค้าง โดยแยกเป็น เงินต้นคงค้าง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และให้แนบตารางแสดงภาระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว ไว้ท้ายสัญญา (7) ในกรณีที่กฎหมายหรือสัญญากำหนดให้ผู้ให้กู้ส่งคาบอกกล่าวเป็นหนังสือ ผู้ให้กู้ต้องส่งคาบอกกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้กู้และผู้ค้าประกัน (ถ้ามี) ตามที่อยู่ ที่ระบุในสัญญา หรือที่อยู่ที่ผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือครั้งหลังสุด เว้นแต่กรณี ที่ผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันมีความประสงค์จะขอรับคำบอกกล่าวเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ต้องแจ้งเป็นหนังสือหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ให้กู้ทราบ ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 289 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
(8) ในกรณีที่ผู้ให้กู้มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ไว้ หากผู้ให้กู้ จะนาข้อมูลนั้นไปเปิดเผยให้บุคคลที่สาม ผู้ให้กู้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้ ก่อนเป็นกรณีรายครั้งไป โดยผู้กู้มีสิทธิจะให้ความยินยอมหรือไม่ก็ได้ และหากให้ ความยินยอมไปแล้วผู้กู้ มีสิทธิถอนความยินยอมดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด (9) กรณีสัญญากู้ยืมเงินกำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดหาผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ต้องตกลงกับผู้กู้ว่าจะจัดให้มีการทำสัญญาค้ำประกันซึ่งมีคาเตือนสาหรับผู้ค้าประกันไว้หน้าสัญญา ค้าประกันนั้น โดยมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีหัวเรื่องว่า “ คาเตือน สำหรับผู้ค้ำประกัน ” ใช้อักษรตัวหนาขนาดไม่เล็กกว่าสี่มิลลิเมต ร และอย่างน้อยต้องมีข้อความ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ โดยมีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และมีจานวนไม่เกินสิบเอ็ด ตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และกาหนดข้อสัญญาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้าประกันในสัญญาค้าประกัน ซึ่งมีสาระสำคัญตรงกับคาเตือนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้แนบคำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกันไว้แนบท้ายสัญญา ข้อ 5 ข้อสัญญาที่ผู้ให้กู้ทากับผู้กู้ต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือความหมายในลักษณะ ทำนองเดียวกัน ดังต่อไปนี้ (1) ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดจากการผิดสัญญาของผู้ให้กู้ (2) ข้อสัญญาที่ ให้สิทธิผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญากับผู้กู้หรือเรียกร้องให้ผู้กู้ชาระหนี้ทั้งหมดหรือ บางส่วนก่อนกำหนดเวลาในสัญญา โดยผู้กู้มิได้ผิดนัดชำระหนี้ หรือผิดสัญญา หรือผิดเงื่อนไข อันเป็นสาระสำคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา (3) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ให้กู้เลิกสัญญากับผู้กู้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้กู้ (4) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อัตราค่าบริการต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงิน เว้นแต่ที่กำหนดไว้ในข้อ 4.2 (3) (5) ข้อสัญญาที่กาหนดให้ผู้กู้ต้องทากรมธรรม์ประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันชีวิต เว้นแต่ การกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยและการกู้ยืมที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ให้ทากรมธรรม์ประกันภัยก็ได้ แต่ผู้ให้กู้ต้องทากรมธรรม์ประกันภัยโดยระบุจานวนเบี้ยประกันภัยแยกไว้ให้ชัดเ จน และส่งมอบกรมธรรม์ ประกันภัยให้แก่ผู้กู้ หากการชาระเบี้ยประกันภัยมีลักษณะการชาระเป็นงวด ๆ พร้อมกับการชาระหนี้ ให้ระบุจำนวนเงินที่ต้องชำระเบี้ยประกันภัยไว้ในตารางการชาระหนี้แนบท้ายสัญญาด้วย (6) ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดค่าเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมจากผู้กู้เพื่อการชำระหนี้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดเวลาในสัญญา เว้นแต่การกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ได้รับ อัตราดอกเบี้ยต่ากว่าปกติและผู้กู้ประสงค์จะชำระทั้งหมดเพื่อเปลี่ยนผู้ให้กู้ ภายในเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ ทำสัญญา ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 289 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
ข้อ 6 สัญญากู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคต้องจัดทาขึ้นสองฉบับซึ่งมีข้อความถูกต้องตรงกันโดย ผู้ให้กู้ส่งมอบสัญญากู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคและเอกสารแนบท้ายสัญญาหนึ่งฉบับให้แก่ผู้กู้ทันทีที่ได้ลงนาม ในสัญญา กรณีการให้กู้ยืมเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามที่กฎ หมายว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด ข้อ 7 กรณีการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องจัดให้มีข้อความภาษาไทย ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กาหนด โดยจัดให้มี ข้อสัญญาตามข้อ 4 และข้อสัญญาต้องไม่มีลักษณะตามข้อ 5 ข้อ 8 ให้นาความในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคที่ดำเนินการ ซึ่งมีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นคนกลาง โดยผู้ให้ กู้ต้องส่งมอบสัญญากู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคให้แก่ผู้กู้ ข้อ 9 บรรดาสัญญากู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคที่ผู้ให้กู้ได้ทากับผู้กู้ตามประกาศคณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 256 5 ธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา ้ หนา 11 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 289 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ธันวาคม 2565
คำเตือนสำหรับผู้คาประกัน ก่อนที่จะลงนามในสัญญาค้าประกัน ผู้ค้าประกันควรอ่านและตรวจสอบรายละเอียดของสัญญา ค้ำประกันให้เข้าใจโดยชัดเจน หากผู้ค้ำประกันมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาผู้มีความรู้ก่อนที่จะลงนามในสัญญา ค้ำประกัน การที่ผู้ค้าประกันลงนามในสัญญาค้าประกันกับ… เพื่อค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน เลขที่ … ลงวันที่ … ระหว่าง… (ผู้ให้กู้) กับนาย/นาง/นางสาว … (ผู้กู้) ผู้ค้ำประกันจะมีความผูกพันกับผู้ให้กู้ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดต่อผู้ให้กู้ตามมูลหนี้ที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินเท่านั้น 2. ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับผู้กู้หรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลง นั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคลจะยินยอมที่จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม 3. เมื่อผู้กู้ผิดนัดให้ผู้ให้กู้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้าประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้กู้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้ให้กู้จะเรียกให้ผู้ค้าประกันชาระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้าประกัน มิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชาระ 4. เมื่อผู้ให้กู้ทวงให้ผู้ค้าประกันชาระหนี้ ผู้ค้าประกันมีสิทธิขอให้เรียกผู้กู้ชาระก่อนก็ได้ เว้นแต่ผู้กู้ จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าผู้กู้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต 5. ถึงแม้ผู้ให้กู้จะได้เรียกให้ผู้กู้ชาระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าผู้กู้นั้น มีทางที่จะชาระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ผู้กู้ชาระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยาก ผู้ให้กู้จะต้องบังคับการชาระหนี้ เอาจากทรัพย์สินของผู้กู้ก่อน 6. ถ้าผู้ให้กู้มีทรัพย์ของผู้กู้ยึดถือไว้เป็นประกัน เมื่อผู้ค้าประกันร้องขอ ผู้ให้กู้จะต้องให้ชาระหนี้เอาจาก ทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน 7. ข้อตกลงที่ผู้ค้าประกันทาไว้ล่วงหน้าก่อนผู้ให้กู้ผ่อนเวลาอันมีผลเป็นการยินยอมให้ผู้ให้กู้ผ่อนเวลา แก่ผู้กู้ ข้อตกลงนั้นใช้บังคับมิได้ เว้นแต่ผู้ค้ำประกันที่เป็นสถาบันการเงิน หรือค้ำประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระ 8. ในกรณีที่ผู้ให้กู้ได้ทาการลดหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่ผู้กู้ รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันตามสัญญากู้ยืมเงิน และผู้กู้ตกลงรับข้อเสนอดังกล่าว ผู้ค้าประกันรับผิดเฉพาะมูลหนี้ ที่มีการลดหนี้ตามเงื่อนไขข้างต้น หรือผู้ค้ำประกันจะเข้าสวมสิทธิเพื่อชาระหนี้ตามมูลหนี้ดังกล่าวได้ 9. ผู้ค้ำประกันยังมีหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยค้ำประกัน นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ผู้ค้ำประกันยังมีหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้าประกัน ทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจคำเตือนนี้แล้ว จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ลงชื่อ … ผู้ค้าประกัน ลงชื่อ … ผู้ ให้กู้
ตารางแสดงภาระหนีตามสัญญากู้ยืมเงิน งวดที่ วันชำระ เงินกู้ ยืม (วัน/เดือน/ปี) จำนวน เงินกู้ยืม (รายงวด) การนาเงินค่างวดกู้ยืมไปชำระ จำนวน เงินกู้ยืมคงค้าง เงินต้น ดอกเบี ย เงินกู้ยืม เงินต้น คงค้าง ดอกเบี ย เงินกู้ยืม