ประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง มาตรการส่งเสริมการผลิตสมุนไพรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามแนวทางเกษตรปลอดภัย พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง มาตรการส่งเสริมการผลิตสมุนไพรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามแนวทางเกษตรปลอดภัย พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง มาตรการส่งเสริมการผลิตสมุนไพรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามแนวทางเกษตรปลอดภัย พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข รวมถึงมาตรการส่งเสริม การผลิตสมุนไพรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามแนวทางเกษตรปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 (9) แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง มาตรการส่งเสริมการผลิตสมุนไพรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามแนวทาง เกษตรปลอดภัย พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ ผู้ประกอบการผลิตสมุนไพร ” หมายความว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน หรือ ผู้ประกอบการที่เป็นเกษตรกร ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง การกำหนด ประเภทผู้ประกอบการ พ.ศ. 2563 “ สมุนไพร ” หมายความว่า รายชื่อและปริมาณของสมุนไพรที่อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกประกาศ จะให้การส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้มีการเพาะปลูก เพาะเลี้ยง หรื อแปรรูป หรือการกาหนดพื้นที่ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเพาะปลูก เพาะเลี้ยง หรือแปรรูป เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นตามข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการส่งเสริมผู้ประกอบการ พ.ศ. 2563 “ แนวทางเ กษตรปลอดภัย ” หมายความว่า ระบบการผลิตทางการเกษตรที่ทาให้ผลผลิต มีความปลอดภัยจากสารพิษ หรือการปนเปื้อนของสารเคมี หรือโลหะหนักที่จะมีผลต่อผู้บริโภค การผลิตต้องมีความปลอดภัยทั้งต่อเกษตรกรผู้ผลิต และสิ่งแวดล้อม โดยต้องผ่านการตรวจสอบและ รับรองจากหน่วยตรวจรับรองที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ที่กาหนด เช่น การปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดี ( Good Agricultural Practices : GAP ) เกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบ มีส่วนร่วม ( PGS ) เป็นต้น ้ หนา 15 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 287 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 ธันวาคม 2565
ข้อ 4 การขอรับการส่งเสริมแล ะสนับสนุน ผู้ประกอบการผลิตสมุนไพรที่ประสงค์ขอรับ การส่งเสริมและสนับสนุน จะต้องดาเนินการ ดังนี้ ( 1 ) ต้องได้รับใบรับรองการแจ้งเป็นผู้ประกอบการผลิตสมุนไพร ตามประกาศคณะกรรมการ นโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งเป็นผู้ประกอบการ พ.ศ. 2563 แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ( 2 ) เป็นผู้ประกอบการที่ขอรับการส่งเสริมสนับสนุนตามข้อ 5 ของประกาศคณะกรรมการนโยบาย สมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการส่งเสริมผู้ประกอบการ พ.ศ. 2563 แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ( 3 ) ต้องเป็นกิจกรรมหรือโครงการที่อยู่ภายใต้แผนงานโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ จัดทาขึ้น โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ข้อ 5 การส่งเสริมและสนับสนุน ให้ดาเนินการตามข้อ 7 ของประกาศคณะกรรมการ นโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการส่งเสริมผู้ประกอบการ พ.ศ. 2563 แห่งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 และตามแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 6 ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รักษาการ และมีอานาจในการวินิจฉัยชี้ขาด การปฏิบัติตามประกาศนี้ คำวินิจฉัยให้เป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 287 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 ธันวาคม 2565
แนบท้ายประกาศคณะกรรมการนโยบายสมุนไพร แห่งชาติ เรื่อง มาตรการ ส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสมุนไพร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามแนวทางเกษตรปลอดภัย พ.ศ. 2565 แนวทางการส่งเสริม การผลิต สมุนไพร ของหน่วยงานในคณะอนุกรรมการวัตถุดิบสมุนไพรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้าน การดาเนินงาน หน่วยงาน 1. ด้านการวางแผน การผลิต 1.1 การสนับสนุนข้อมูลแผนที่ความเหมาะสม ของที่ดินสำหรับการปลูกสมุนไพร - กรมพัฒนาที่ดิน - สำนักงานพัฒนาการวิจั ยการเกษตร (องค์การมหาชน) 1.2 การสนับสนุนข้อมูล การขึ้น ทะเบียน เกษตรกร พื้นที่ปลูก และ การจดทะเบียน วิสา ห กิจชุมชน - กรมส่งเสริมการเกษตร 2. ด้าน การผลิต 2.1 การส่งเสริมการใช้สมุนไพร พันธุ์ดี สายพันธุ์ที่มีคุณภาพ มีศักยภาพสูง เพื่อให้ ผลผลิตตรงตามความต้องการ ของตลาด - กรมวิชาการเกษตร - กรมส่งเสริมการเกษตร - กรมส่งเสริมสหกรณ์ - สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กรมป่าไม้ - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2.2 การส่งเสริมให้มีแหล่งรวบรวมและ จำหน่ายพันธุ์สมุนไพรเพื่อให้เกษตรกรเข้าถึง ง่าย ได้พันธุ์ดี ตามความต้องการของตลาด - กรมส่งเสริมการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร - กรมป่าไม้ - องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2.3 การให้คำแนะนาการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปสมุนไพร และจัดทา เอกสารคู่มือการปลูกสมุนไพรเพื่อเผยแพร่ ให้กับผู้ประกอบการผลิตสมุนไพร - กรมวิชาการเกษตร - กรมส่งเสริมการเกษตร - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - กรมพัฒนาที่ดิน - กรมส่งเสริมสหกรณ์ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ( องค์การมหาชน ) - กรมป่าไม้ - สำนักงานวิทยาศา สตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2.4 การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่ม ป ระสิทธิภาพและพัฒนา กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยว และ การ แปรรูป สมุนไพร - กรมวิชาการเกษตร - กรมส่งเสริมการเกษตร - กรมส่งเสริมสหกรณ์ - สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ( องค์การมหาชน ) - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 3. ด้านมาตรฐาน คุณภาพการผลิต 3.1 การจัดทาแนวทางการปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดีสาหรับการปลูกพืชสมุนไพร รายชนิด ( Good Agricultural Practices : GAP ) - สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ( องค์การมหาชน ) - กรมวิชาการเกษตร - กรมป่าไม้
[ 2 ] 3. ด้านมาตรฐาน คุณภาพการผลิต (ต่อ) 3.2 การให้คำแนะนา คำปรึกษาและการตรวจ รับรองมาตรฐานคุณภาพการผลิตพืชสมุนไพร ( GAP / อินทรีย์/ PGS ) - กรมส่งเสริมการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร 4. ด้านการสร้าง ความเข้มแข็งของ ผู้ประกอบการและ การตลาดสมุนไพร 4.1 การส่งเสริมและการอนุรักษ์ การผลิตพืชสมุนไพรอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น หายาก เพื่อผลิตเป็นสินค้าสำคัญ ทางเศรษฐกิจของชุมชน - กรมป่าไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช - องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ - กรมวิชาการเกษตร - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4. 2 การส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่ม ผู้ประกอบการผลิตสมุนไพร ตามความพร้อม และสมัครใจ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการบริหารจัดการด้านการผลิต และการตลาดอย่างเป็นระบบ - กรมส่งเสริมการเกษตร - กรมส่งเสริมสหกรณ์ - กรมพัฒนาที่ดิน - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - สำ นักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ( องค์การมหาชน ) - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4. 3 การส่งเสริมการใช้ตลาดกลางวัตถุดิบ สมุนไพร และตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายวัตถุดิบสมุนไพร ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และราคาเป็นธรรม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง - กรมส่งเสริมสหกรณ์ - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ - องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร - สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5. ด้านการวิจัยพัฒนา 5.1 การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สมุนไพรในด้านการผลิต การแปรรูป และ การนาไปใช้ประโยชน์ - กรมวิชาการเกษตร - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ( องค์การมหาชน ) - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง - กรมป่าไม้ - สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5.2 การพัฒนาฐานข้อมูลการผลิตพืชสมุนไพร เพื่อเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศของ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก - สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กรมพัฒนาที่ดิน - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร - กรมส่งเสริมการเกษตร - กรมส่งเสริมสหกรณ์ - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ( องค์การมหาชน ) - กรมป่าไม้ - กรมวิชาการเกษตร