ระเบียบกรมธนารักษ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขอจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2565
ระเบียบกรมธนารักษ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขอจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2565
ระเบียบกรมธนารักษ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขอจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรมธนารักษ์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดทำ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2542 เพื่อให้การพิจารณาจัดทาเหรียญกษาปณ์ ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกเป็นไปด้วยความคล่องตัว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ ตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมธนารักษ์ จึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมธนารักษ์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ใ นการขอจัดทำเหรียญกษาปณ์ ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมธนารักษ์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดทาเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2542 ข้อ 4 ในกรณีที่มีปัญหาหรือไม่อาจปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกรณีที่ไม่มีกำหนดไว้ ในระเบียบนี้ ให้อธิบดีกรมธนารักษ์วินิจฉัยชี้ขาด หรือพิจารณาสั่งการ ข้อ 5 ในระเบียบนี้ “ หน่วยงานของรัฐ ” หมายถึง ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และทุนหมุนเวียน ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน “ เอกชน ” หมายถึง บุคค ลที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ “ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ” หมายถึง เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่จัดทาและนาออกใช้ตามกฎหมาย ว่าด้วยเงินตราเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ “ เหรียญที่ระลึก ” หมายถึง เหรียญที่จัดทาขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เงินตรา และไม่ มีราคาหน้าเหรียญ ข้อ 6 หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ขอจัดทำเหรียญจะต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเหรียญ ที่ต้องการผลิต เช่น ชนิดโลหะ ขนาด น้ำหนัก จำนวนผลิต เป็นต้น ข้อ 7 รูปแบบเหรียญที่ขอจัดทาจะต้องมีพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ หรือพระรูป ของสมเด็จพระบรมราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป หรือพระราชลัญจกร ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 287 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 ธันวาคม 2565
หรืออักษรพระปรมาภิไธย หรืออักษรพระนามาภิไธย หรืออักษรพระนาม หรือตราประจาราชวงศ์ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกันเพียงด้านเดียว ข้อ 8 ผู้อานวยกำรกองกษาปณ์และผู้อานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงานเป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของตน หมวด 1 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ข้อ 9 โอกาสในการขอจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ( 1 ) ในโอกาสสำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เพื่อเทิดพระเกียรติ เผยแพร่พระเกียรติคุณ และสานึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระกรุณา ( 2 ) ในโอกาสสำคัญระดับประเทศ เพื่อเป็นที่ระลึก และเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศ ( 3 ) ในโอกาสครบรอบปีแห่งการสถา ปนาหน่วยงานของรัฐ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป ผู้ทรงสถาปนาหน่วยงานนั้น ๆ โดยในการขอจัดทาเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกของหน่วยงานของรัฐที่จะขอจัดทาในครั้งแรกจะต้องมีการ สถาปนาหน่ วยงานของรัฐนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 25 ปี ( 4 ) ในโอกาสสำคัญอื่นใดที่กรมธนารักษ์พิจารณาเห็นควร ข้อ 10 หน่วยงานของรัฐที่จะขอจัดทาเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ตามข้อ 9 (3) จะต้อง ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) มีหนังสือแจ้งให้กรมธนารักษ์พิจารณาเป็นการล่วงหน้าก่อนวันครบรอบสถาปนาหน่วยงาน ไม่น้อยกว่า 6 เดือน พร้อมแนบแบบการขอจัดทาเหรียญตามที่กรมธนารักษ์กำหนด เว้นแต่เป็นกรณี จำเป็นเร่งด่วน ขอให้แจ้งเหตุผลประกอบการพิจารณาด้วย ( 2 ) ระบุจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ประ สงค์จะจัดทำ ( 3 ) ชำระค่าใช้จ่ายในการออกแบบ และค่าจัดทำแม่ตราและดวงตราตามที่กรมธนารักษ์กำหนด ( 4 ) ตกลงยินยอมให้กรมธนารักษ์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และกรรมสิทธิ์ในแบบเหรียญ แม่แบบ แม่ตรา และดวงตรา ของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ข้อ 11 ประเภทของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ จะผลิตในโอกาสต่าง ๆ กรมธนารักษ์จะพิจารณา จัดทำตามความเหมาะสม ดังนี้ ( 1 ) โอกาสสาคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป กาหนดผลิตไม่เกิน 3 ประเภท คือ เหรียญโลหะทองคา โลหะเงิน และ โลหะผสมที่มีท องแดงเป็นส่วนประกอบหลัก ( copper based metal ) ้ หนา 2 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 287 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 ธันวาคม 2565
( 2 ) ในโอกาสสาคัญระดับประเทศ ในโอกาสครบรอบปีของหน่วยงานของรัฐ กาหนดผลิต เพียงประเภทเดียว คือ เหรียญโลหะผสมที่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบหลัก ( copper based metal ) ข้อ 12 เมื่อกรมธนารักษ์ได้รับหนังสือตามข้อ 10 ให้กองยุทธศาสตร์และแผนงานเสนอ คณะกรรมการวางแผนเหรียญกษาปณ์พิจารณาอนุมัติการจัดทาเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และแจ้งผล การพิจารณาให้หน่วยงานของรัฐที่ขอจัดทาเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่ คณะกรรมการวางแผนเหรียญกษาปณ์มีมติ หมวด 2 เหรียญที่ระลึก ข้อ 13 การขอจัดทาเหรียญที่ระลึกจะต้องกรอกแบบการขอจัดทาเหรียญ ตามที่กรมธนารักษ์ กำหนดและส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณายื่นต่อกรมธนารักษ์ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กรณีหน่วยงานของรัฐ ให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอจัดทำในนามของหน่วยงานของรัฐ ( 2 ) กรณีเอกชน (ก) นิติบุคคล ให้แจ้งเป็นหนังสือลงนามโดยผู้มีอานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล พร้อมด้วย สาเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล สาเนาหนังสือบริคณห์สนธิ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง และหนังสือ มอบอำนาจ (ถ้ามี) (ข) บุคคลธรรมดา ให้แจ้งเป็นหนังสือด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุ คคลอื่นดาเนินการแทน พร้อมหนังสือมอบอำนาจ หากเหรียญที่ระลึกที่ขอจัดทำมีการใช้รูป เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งที่สื่อความหมายอื่นใด ซึ่งอยู่ในความครอบครองของบุคคลหรือหน่วยงานอื่น ให้แนบเอกสารแสดงความยินยอมจากบุคคลหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาของกรมธนารักษ์ด้วย ข้อ 14 เหรียญที่ระลึกที่ขอจัดทา หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ขอจัดทาจะออกแบบเอง หรือจะให้กรมธนารักษ์ โดยกองกษาปณ์ เป็นผู้ออกแบบให้ก็ได้ กรณีออกแบบเองจะ ต้องออกแบบลงใน แบบฟอร์มที่กรมธนารักษ์กำหนด ข้อ 15 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ขอจัดทาเหรียญที่ระลึกประสงค์ให้กรมธนารักษ์ โดยกองกษาปณ์ ออกแบบเหรียญที่ระลึก หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่จะขอจัดทาเหรียญที่ระลึก จะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการออกแบบเหรียญที่ ระลึกและค่าดาเนินการต่าง ๆ ตามที่กรมธนารักษ์กำหนด ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตกลงยินยอมให้กรมธนารักษ์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และกรรมสิทธิ์ ในแบบเหรียญ แม่แบบ แม่ตรา และดวงตรา ของเหรียญที่ระลึกตามวรรคหนึ่ง ข้อ 16 รูปแบบของเหรียญที่ระลึกที่ขอจัดทำจะต้อ งสอดคล้องกับโอกาสที่ขอจัดทำ ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 287 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 ธันวาคม 2565
ข้อ 17 รูปแบบของเหรียญที่ระลึกที่ขอจัดทำจะต้องไม่ลอกเลียนแบบเหรียญกษาปณ์ หมุนเวียน เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก หรือเหรียญที่ระลึก ที่เคยจัดทาแล้วในอดีต เว้นแต่จะได้รับ ความเห็นชอบจากกรมธนารักษ์ ข้อ 18 เหรียญที่ระลึกที่มีรูปแบบด้านหน้าหรือด้านหลังดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่ขอจัดทำจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ( 1 ) พระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ( 2 ) พระรูปสมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ตั้งแต่ชั้นพ ระองค์เจ้าขึ้นไป ( 3 ) พระราชลัญจกร อักษรพระปรมาภิไธย หรืออักษรพระนามาภิไธย หรืออักษรพระนาม หรือเครื่องหมายอย่างอื่นซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกัน ( 4 ) รูปแบบอื่น ๆ นอกจาก (1) - (3) ซึ่งกรมธนารักษ์เห็นสมควร ข้อ 19 เหรียญที่ระลึกที่มีรูปแบบตามข้อ 18 จะต้ องมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศล หรือ สาธารณประโยชน์ หรือตามที่กรมธนารักษ์เห็นสมควร ข้อ 20 เหรียญที่ระลึกที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนสั่งจ้างกรมธนารักษ์ผลิต ให้กองกษาปณ์ บันทึกรายละเอียดของเหรียญที่ระลึกดังกล่าว ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการจัดทา รูปแบบด้านหน้า ด้านหลัง ชนิดโลหะ ขนาด น้ำหนัก จำนวนผลิต ปีที่ผลิต ในทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป ข้อ 21 เหรียญที่ระลึกตามข้อ 20 เมื่อผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่ขอจัดทำมอบให้กรมธนารักษ์เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จำนวน 2 ชุด ทั้งนี้ เหรียญที่จัดทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเป็นการเฉพาะและเป็นเหรียญโลหะมีค่า กรมธนารักษ์ อาจจัดทำเหรียญดังกล่าวเพื่อเป็นตัวอย่างตามที่เห็นสมควร ประกาศ ณ วัน ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 25 6 5 ประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 287 ง ราชกิจจานุเบกษา 8 ธันวาคม 2565