Mon Dec 05 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565


ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565

ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วย การประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 10 (6) (ค) (ง) และ (ช) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความเห็นชอบ จากสภานายกพิเศษแห่งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วย การประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้ วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ พ.ศ. 2 557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25 61 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ “ พลังงานนิวเคลียร์ ” หมายความว่า พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการแยก รวม หรือเปลี่ยนแปลงนิวเคลียส “ รังสี ” หมายความว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออนุภาคใด ๆ ที่มีความเร็ว ซึ่งสามารถ ก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอ ออนได้ในตัวกลางที่ผ่านไป “ วัสดุกัมมันตรังสี ” หมายความว่า ธาตุหรือสารประกอบใด ๆ ที่องค์ประกอบส่วนหนึ่ง มีโครงสร้างภายในอะตอมไม่คงตัว และสลายตัวโดยปลดปล่อยรังสีออกมา ทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือเกิดจากการผลิต หรือการใช้วัสดุนิวเคลียร์ การผลิตจากเครื่องกาเนิดรังสี หรือกรรมวิธีอื่นใด ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัสดุกัมมันตรังสีที่มีลักษณะเป็นวัสดุนิวเคลียร์ “ เครื่องกาเนิดรังสี ” หมายความว่า เครื่องหรือระบบอุปกรณ์เมื่อมีการใช้พลังงานเข้าไปแล้ว จะก่อให้เกิดการปลดปล่อยรังสีออกมา และอุปกรณ์ตามที่กา หนดในกฎกระทรวงที่ใช้ประกอบเป็น เครื่องกาเนิดรังสี “ วัสดุนิวเคลียร์ ” หมายความว่า (1) วัสดุต้นกาลัง ได้แก่ ้ หนา 249 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 285 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 ธันวาคม 2565

(ก) ยูเรเนียมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ ทอเรียม หรือวัสดุอื่น ตามที่ กา หนดในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ร วมถึงสารประกอบหรือ สารผสมของธาตุหรือวัสดุดังกล่าวตามที่ กำ หนดในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 (ข) แร่หรือสินแร่ ซึ่งประกอบด้วยวัสดุตาม (ก) อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างโดยมีอัตรา ความเข้มข้นตามที่ กำ หนดในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 (2) วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ ได แก่ (ก) พลูโทเนียม ยูเรเนียม 233 ยูเรเนียมที่เสริมสมรรถนะ ด้วยยูเรเนียม 233 (ข) ยูเรเนียม 235 หรือสารประกอบของธาตุดังกล่าว (ค) วัสดุใด ๆ ที่มีวัสดุตาม (ก) หรือ (ข) อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมเข้าไป (ง) วัสดุอื่นตามที่ กำ หนดในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 (3) วัสดุอื่นตามที่ กำ หนดในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 “ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ” หมายความว่า เครื่องหรือระบบอุปกรณ์ใด ๆ ซึ่งออกแบบหรือ ใช้เพื่อก่อให้เกิดพลังงานนิวเคลียร์ “ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ” หมายความว่า วัสดุนิวเคลียร์ที่ผ่านกระบวนการเหมาะสมเพื่อใช้ เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ “ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ” หมายความว่า เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ผ่านการใช้ งานในเครื่อง ปฏิกรณ์นิวเคลียร์แล้ว และไม่นาไปใช้งานใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อีก “ กากกัมมันตรังสี ” หมายความว่า วัสดุไม่ว่าจะอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ดังต่อไปนี้ (1) วัสดุกัมมันตรังสีที่อยู่ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 บ รรดาที่ไม่ อาจใช้งานได้ ตามสภาพอีกต่อไป (2) วัสดุที่ประกอบหรือปนเปื้อนด้วยวัสดุนิวเคลียร์ หรือวัสดุกัมมันตรังสีที่อยู่ภายใต้ การควบคุมตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ วัสดุที่ประกอบหรือปนเปื้อนดังกล่าว ต้องมีค่ากัมมันตภาพต่ อปริมาณหรือกัมมันตภาพรวมสูงกว่าเกณฑ์ปลอดภัยที่ คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อสันติ กำ หนด (3) วัสดุอื่นใดที่มีกัมมันตภาพตามที่คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ กำ หนด ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว “ การจัดการกากกัมมันตรังสี ” หมายความว่า กระบวนการรวบรวม คัดแยก จำแนก จัดเ ก็บ บาบัด ปรับสภาพ หรือขจัดกากกัมมันตรังสี และให้หมายความรวมถึงการขนส่งและการดาเนินการใด ๆ ในระหว่างกระบวนการดังกล่าวด้วย “ ความปลอดภัยทางรังสี ” หมายความว่า การป้องกันประชาชนและสิ่งแวดล้อมจาก ความเสี่ยงทางรังสี และความปลอดภัยของสถานประกอบการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่ก่อให้เกิด ความเสี่ยงทางรังสี ทั้งที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามปกติและเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใด ๆ อันอาจคาดหมายได้ ้ หนา 250 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 285 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 ธันวาคม 2565

“ การรักษาความมั่นคงปลอดภัย ” หมายความว่า การป้องกัน การตรวจจับ การหน่วงเวลา และการเผชิญเหตุความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุกัมมันตรังสี สถานที่ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง “ การพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ” หมายความว่า การตรวจสอบและป้องกันการผันแปร วัสดุนิวเคลียร์ในกิจกรรมทางสันติไปใช้ในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์หรืออุปกรณ์ระเบิ ดนิวเคลียร์อื่น “ เหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ” หมายความว่า เหตุการณ์ไม่ปกติซึ่งมีความเสี่ยงอันตราย หรือมีผลของรังสีต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม “ คณะอนุกรรมการ ” หมายถึง คณะอนุกรรมการวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศำสตร์ และเทคโนโลยี ควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25 61 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 5 ลักษณะของงานวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ มีดังต่อไปนี้ ( 1 ) การวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ หรือเฝ้าระวัง ( 2 ) การออกแบบและคำนวณ การควบคุมการสร้าง การผลิต การติดตั้ง การซ่อม การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย เครื่องมือ อุปกรณ์ หรืออาคาร ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอันตราย จากรังสี ( 3 ) การวางโครงการ การอำนวยการ หรือการบำรุงรักษางาน ทั้งที่เป็นชิ้นงานหรือระบบ ( 4 ) ให้คำปรึกษาและการรับรองผลงานของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ลักษณะของงานวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ ตาม (1) ถึง (4) ต้องเกี่ยวข้องกับวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ เครื่องกำเนิดรังสี กากกัมมันตรังสี เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เชื้ อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว หรือการจัดการกากกัมมันตรังสี โดยให้เป็นไปตาม หลักการความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลี ยร์ พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25 61 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 6 ประเภทงานของวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ มีดังต่อไปนี้ ้ หนา 251 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 285 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 ธันวาคม 2565

( 1 ) งานควบคุมดูแลความปลอดภัย และงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ( 2 ) งานการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ( 3 ) งานจัดการเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ( 4 ) งานควบคุมและปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดรังสี ( 5 ) งานประยุกต์ใช้วัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดรังสี ( 6 ) งานด้านการผลิต นำเข้า ส่งออก ขนส่ง ขนถ่าย และจัดการ เครื่องกาเนิดรังสี วัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ( 7 ) งานจัดการกากกัมมันตรังสี ( 8 ) งานให้คาปรึกษาและรับรองที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกาเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ เชื้อเพลิ งนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว และการจัดการกากกัมมันตรังสี ” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25 61 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 7 การประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมด้านนิวเคลียร์และรังสี ตามข้อ 4 และข้อ 5 ในประเภทงานหนึ่งประเภทงานใดต้องมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ เป็นผู้รับผิดชอบ ” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่ำด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25 61 และให้ใช้ควา มต่อไปนี้แทน “ ข้อ 8 คุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีความรู้พื้นฐานด้านนิวเคลียร์และรังสีไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต ทั้งนี้ องค์ ความรู้ด้านนิวเคลียร์และรังสี ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตมีความรู้พื้นฐานด้านนิวเคลียร์และรังสีน้อยกว่า 9 หน่วยกิต ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบความรู้ในแต่ละประเภทงานตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้ถือว่าการฝึ กอบรมและการผ่านการทดสอบความรู้ดังกล่าวเป็นองค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์และรังสี ที่จะใช้ขอรับใบอนุญาตได้ ” ้ หนา 252 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 285 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 ธันวาคม 2565

ข้อ 8 ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ ตามข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25 61 ก่อนวันที่ข้ อบังคับนี้ใชับังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้และสามารถ ปฏิบัติงานได้ทุกลักษณะงานและประเภทงานตามข้อ 4 และข้อ 5 ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 บุญส่ง ไข่เกษ นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ้ หนา 253 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 285 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 ธันวาคม 2565