ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 63/2565 เรื่อง กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการให้บริการเวชศาสตร์จีโนม
ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 63/2565 เรื่อง กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการให้บริการเวชศาสตร์จีโนม
ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 63 / 2565 เรื่อง กาหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการให้บริการเวชศาสตร์จีโนม โดยที่เป็นการสมควรกาหนดมาตรฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการให้บริการเวชศาสตร์จีโนม ให้สอดคล้องกับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการบริการเวชศาสตร์จีโนมของสถานพยาบาล ในส่วนที่ เกี่ยว ข้องกับการให้คาแนะนำปรึกษาด้านยา รวมทั้งการดาเนินการหรือร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหาป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา อาศัยอานาจตามความในข้อ 5 (1) และข้อ 7 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการบริการเวชศาสตร์จีโนมของสถานพยาบาล นายกสภาเภสัชกรรมโดยความเห็นชอบ จากคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการประชุมครั้งที่ 326 (8/2565) วันที่ 5 สิงหาคม 2565 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศฉบับนี้เรียกว่า “ ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 63/2565 เรื่อง กาหนด คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการ ให้บริการเวชศาสตร์จีโนม ” ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศฉบับนี้ “ การบริการเวชศาสตร์จีโนม ” หมายควำมว่า การให้บริการเกี่ยวกับการวินิจฉัย ดูแลรักษา พยากรณ์โรค รวมทั้งการให้คาปรึกษา และการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยอาศัยเทคโนโลยี พันธุศาสตร์ “ การบริการทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา ” หมายความว่า การให้บริการ การตรวจวิเคราะห์และการวินิจฉัยยีนแพ้ยา ยีนย่อยยา และยีนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยา เพื่อการแนะนาการใช้ยา การประเมินความเสี่ยงการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงทางผิวหนัง การเกิดอาการ ไม่พึงประสงค์จากยา และการตอบสนองต่อยา และประสิทธิผลของยา รวมถึงกา รให้คาปรึกษาแนะนำ ด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา และการบริการในลักษณะอื่นเวชศาสตร์จีโนมในลักษณะอื่น ตามขอบเขตการประกอบวิชาชีพตามกฎหมายด้วย ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่จะให้การบริการเวชศาสตร์จีโนมมี 3 ประเภท ดังนี้ ( 1 ) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วไป ( 2 ) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์ ้ หนา 11 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 281 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
( 3 ) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้มีความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ ข้อ 5 คุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วไป ต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและ รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ข้อ 6 คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์ ต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและเป็นผู้ที่ผ่านการเรียน หรือการฝึ กอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ ที่สภาเภสัชกรรมรับรอง ข้อ 7 คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้มีความชานาญในการประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรมด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา ต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด ด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำหรือ เป็นผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติงานในสาขานั้นโดยมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี และปฏิบัติงานจริง ในสาขาเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ โดยมีหนังสือรับรองคุณวุฒิและประสบการณ์ จากผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ข้อ 8 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชก รรมที่จะให้การบริการ เวชศาสตร์จีโนม ( 1 ) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วไป มีความรับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การให้คาปรึกษาและคาแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และ การแพทย์แม่นยำ (ข) การส่งเสริมให้มีการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำอย่างสมเหตุสมผล (ค) การแปลผลเบื้องต้นทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา และดาเนินการ บริหารจัดการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างสมเหตุสมผล ( 2 ) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ปฏิบัติงานด้านเภ สัชพันธุศาสตร์ มีความรับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การส่งเสริมให้มีการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยาอย่างสมเหตุสมผล รายงานทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำเพื่อการนาไปใช้ทางคลินิก (ข) การให้คาปรึกษาก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์ แม่นยำ แก่ผู้ป่วย (ค) การให้คาปรึกษาและร่วมให้ความเห็นกับผู้ประกอบวิ ชา ชีพเวชกรรมและผู้ประกอบ วิชาชีพทันตกรรม ก่อนและหลังการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา เพื่อเลือก การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด ้ หนา 12 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 281 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
(ง) การติดตามปัญหาจากการใช้ยาหลังจากการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์ แม่นยำ (จ) การจัดทาแนวทางการปฏิบัติงานการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา ร่วมกับบุคลากรวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง (ฉ) การให้ความรู้และการจัดอบรมแก่ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป ให้มี ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ ( 3 ) ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้มีความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ มีความรับผิดชอบ ดังนี้ (ก) การปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบของเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์ (ข) การเป็นที่ปรึกษาให้แก่เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และบุคลากร ทางการแพทย์ (ค) การให้ความรู้และการจัดอบรมแก่บุคลากรทางการแพทย์ให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเภสัชพันธุ ศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ (ง) การเป็นผู้ให้การฝึกปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยาแก่เภสัชกร ผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชพันธุศาสตร์และบุคลากรทางการแพทย์ (จ) การส่งเสริมและสนับสนุนการทาวิจัยด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยา ในหน่วยงาน (ฉ) การมี ส่วนร่วมในการจัดทำระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก ( Clinical decision support tools ) (ช) การเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งหน่วยงานทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ ให้กับสถาบันอื่น ๆ ข้อ 9 รายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จะให้การบริการเวชศาสตร์จีโนม ให้เป็นไปตาม รายละเอียดที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 3 1 สิงหาคม พ.ศ. 256 5 รองศาสตราจำรย์พิเศษกิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ้ หนา 13 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 281 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565