ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 62/2565 เรื่อง แนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy)
ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 62/2565 เรื่อง แนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy)
ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 62/2565 เรื่อง แนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ตามที่สภาเภสัชกรรมได้ออกข้อจากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเกี่ยวกับ การกาหนดมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ตามข้อ 17 แห่งข้อบังคับ สภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2561 แก้ไขเพิ่ มเติมโดยข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทางไกล ( Telepharmacy ) อันนาไปสู่การปฏิบัติในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลดีต่อผู้มารับบริการอย่างสูงสุด อาศัยอานาจตามความในข้อ 4 แห่งข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจากัดและเงื่อนไข ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2561 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเ ติม นายกสภาเภสัชกรรม โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการประชุมครั้งที่ 326 (8/2565) วันที่ 5 สิงหาคม 2565 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 62/2565 เรื่อง แนวทางเกี่ยวกับ มาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy )” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหกสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) สอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ตามก ฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และกฎหมาย เฉพาะที่เกี่ยวข้อง และดาเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่จะทาการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ต้องผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรเกี่ยวกับการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ที่สภาเภสัชกรรมให้การรับรอง และได้รับการขึ้นทะเบียนกับสภาเภสัชกรรมตามหลักเกณฑ์ที่ สภาเภสัชกรรมกำหนด ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ต้องเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบริการของรัฐ หรือสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 281 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องให้บริการเภสัชก รรมทางไกล ( Telepharmacy ) ผ่านทางโปรแกรมประยุกต์ ( Application ) สาหรับการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ที่มีคุณสมบัติ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ( 1 ) สามารถขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ผ่านการกลั่นกรอง คุณสมบัติตามข้อ 3 และสามารถแสดงชื่อ สกุล เลขที่ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพของผู้ให้บริการ แก่ผู้มารับบริการ สถานที่หรือตาแหน่งที่ให้บริการ ได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง และเป็นจริง ( 2 ) สามารถขึ้นทะเบียนผู้มารับบริการเพื่อยืนยันตัวตนผู้มารับบริการเท่าที่ไม่เป็นการรอนสิทธิ ส่วนบุคคล และยืนยันข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคลที่จาเป็นต้องทราบ เพื่อประโยชน์ของการให้บริการ ทางเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ที่ได้มาตรฐาน รวมทั้ง ให้ผู้รับบริการยินยอมให้เข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้น ( 3 ) มีระบบการบันทึก วัน เวลาการให้บริการ ประวัติ ผู้ป่วย ข้อมูลการให้บริการและ ติดตามผลการใช้ยาของผู้รับบริการในระบบดิจิทัล ( Digital ) โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้ยา ที่มีความซับซ้อน หรือยาที่อาจเกิดปัญหาจากการใช้ยา เพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการและเป็นหลักฐาน ในการคุ้มครองสิทธิ ( 4 ) สามารถป้ องกันและรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ที่สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 25 44 พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง ( 5 ) สามารถรองรับการให้บริการในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความ ได้ ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมพึงให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ ได้แก่ ( 1 ) การสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยโดยใช้ระบบเทคโนโลยีการสื่อสารทา งไกล เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จาเป็นในการให้การให้บริการเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้คาปรึกษาด้านยา การค้นหาป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา การติดตามการใช้ยา และการให้บริการ ที่เกี่ยวเนื่องกับยา ( 2 ) การวิเคราะห์ใบสั่งยากรณีมีใบสั่งยา ( Pr escription analysis ) และการค้นหาปัญหา ที่เกี่ยวกับยา ( Drug - related problems ) โดยครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประเมินความเหมาะสม ของการใช้ยาต่อผู้ป่วยแต่ละราย การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยา การประเมินความเสี่ยง ต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การประเมินความเหมาะสมของยา ตามปัจจัยต่าง ๆ ( 3 ) การให้คำแนะนำปรึกษาผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยเกี่ยวกับยา ( 4 ) การส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 281 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 8 การส่งมอบยาด้วยวิธีการขนส่งยาไปให้ผู้รับบริการ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจะต้อง ( 1 ) ควบคุมความถูกต้องของยาก่อนการส่งมอบยาด้วยการขนส่ง ( 2 ) พิจารณาเลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสมกับประเภทหรือชนิดของยา ที่สามารถประกันคุณภาพ ของยาไม่ให้เกิดการเสื่อมสภาพและเสียหาย ระหว่างการเก็บรักษาและขนส่ง เพื่อรักษาคุณภาพแ ละ ความคงตัวของยาตลอดการขนส่ง ( 3 ) ส่งมอบยาครบถ้วน ถูกต้องแก่ผู้รับบริการ ณ สถานที่และเวลาที่กำหนด ( 4 ) มีระบบป้องกันการสูญหาย ทั้งนี้ อาจกำหนดให้มีระบบติดตามสถานะการขนส่ง ( Tracking ) ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ สามารถตรวจสอบได้ ข้อ 9 การให้คาปรึกษาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมหรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ที่มีกฎหมายอื่นกาหนดไว้เป็นการเฉพาะ ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ( Telepharmacy ) ตามประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 256 5 รองศาสตราจำรย์พิเศษกิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 281 ง ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2565