Mon Nov 28 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจสอบลักษณะของพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565


ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจสอบลักษณะของพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565

ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจสอบลักษณะของพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565 ตามที่ได้ออกระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจสอบลักษณะของพันธุ์พืช ที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ จำนวน 28 ฉบับ ไว้แล้ว นั้น อาศัยอานาจตามข้อ 9 แห่งกฎกระทรวง กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียน การพิจารณาคาขอจดทะเบียน การประกาศโฆษณาคาขอจดทะเบียน และแบบหนังสือสาคัญแสดง กา รจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกระเบียบไว้ ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการตรวจสอบลักษณะของ พันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้เพิ่มรายละเอียดในการตรวจสอบลักษณะของพันธุ์พืชตามชนิดพืชที่จะขอจดทะเบียน เป็นพันธุ์พืชใหม่ ตามรายละเอียดแนบท้ายระเบียบนี้ ในท้ายระเบียบกรมวิชาการเ กษตรว่าด้วย การตรวจสอบลักษณะของพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 สำหรับพืชกะเพรา ( Ocimum tenuiflorum L .) ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 25 6 5 สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช ผู้อำนวยการสานักผู้เชี่ยวชาญ ปฏิบัติราชแทนอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 277 ง ราชกิจจานุเบกษา 29 พฤศจิกายน 2565

รายละเอียดการตรวจสอบลักษณะของพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ตามชนิดพืชที่ได้ประกาศให้เป็นพันธุ์พืชใหม่ที่จะได้รับการคุ้มครอง ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ . ศ . 2542 ชนิดพืช กะเพรา ( Ocimum tenuiflorum L.) 1. วัตถุประสงค์ของหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช (Subject of these Guideline) หลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืชที่จะกล่าวต่อไปนี้ ให้ใช้กับทุกพันธุ์ในพืชกะเพรา ( Ocimum tenuiflorum L.) 2. ส่วนขยายพันธุ์ (Material Required) 2.1 การกําหนดปริมาณ คุณภาพ เวลา และสถานที่ ที่ส่งมอบส่วนขยายพันธุ์ (Determination of quantity/quality/ time and place deliver of propagation) พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นผู้กําหนดปริมาณ และคุณภาพของส่วนขยายพันธุ์ที่ต้องการจะตรวจสอบ พร้อมทั้งกําหนด เวลาและสถานที่ การส่งมอบส่วนขยายพันธุ์ ผู้ยื่นคําขอจดทะเบียนพันธุ์พืช จะต้องเป็นผู้ส่ง มอบตามที่กําหนด พร้อมทั้งดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการทั้งในเรื่องการผ่านพิธีการทาง ศุลกากรและด้านสุขอนามัยพืช 2.2 ชนิดของส่วนขยายพันธุ์ (Type of plant material) ผู้ยื่นคําขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ต้องส่งมอบต้นพันธุ์หรือเมล็ดพันธุ์ให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ 2.3 ปริมาณส่วนขยายพันธุ์ (Quantity of plant material) ผู้ยื่นคําขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ต้องส่งมอบต้นพันธุ์ อย่างน้อย 40 ต้น หรือเมล็ดพันธุ์อย่าง น้อย 2 กรัม หรือ 4,000 เมล็ด 2.4 คุณภาพของส่วนขยายพันธุ์ (Quality of plant material) ส่วนขยายพันธุ์ที่นํามาทดสอบจะต้องเป็นส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดี สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงที่ ติดมากับเมล็ดพันธุ์ 2.5 การให้ข้อมูลการปฏิบัติการใดๆ กับส่วนขยายพันธุ์ (Providing any functional information about plant material) ส่วนขยายพันธุ์ที่จัดส่งต้องไม่มีการกระทําใด ๆ ที่เป็นผลต่อการแสดงออกของลักษณะของพันธุ์พืช เว้นแต่ได้รับอนุญาต หรือกําหนดโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีที่ส่วนขยายพันธุ์ที่ส่งมอบเคยผ่านการปฏิบัติการ ใด ๆ เช่น พ่นสารป้องกันกําจัดแมลง โรคพืช ใช้ปุ๋ย ใช้สารกระตุ้นการเกิดตาดอก ต้องระบุเป็นลายลักษณ์ อักษรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ 3. วิธีการตรวจสอบ (Method of Examination) 3.1 จํานวนครั้งที่ปลูกตรวจสอบ (Number of Growing Cycles) ควรปลูกทดสอบ จํานวน 2 ครั้ง แต่ถ้าความแตกต่างความสม่ําเสมอ / ความคงตัวไม่สามารถสังเกตเห็น ได้ชัดเจน ต้องปลูกทดสอบเพิ่มอีก 1 ครั้ง 3.2 สถานที่ทดสอบ (Testing Place) สถานที่ปลูก ควรทําการทดสอบใน 1 สถานที่ ให้กําหนดตามความเหมาะสม แต่ถ้าลักษณะประจําพันธุ์ สําคัญไม่สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างได้ อาจจะต้องเพิ่มสถานที่ที่ปลูกทดสอบ รุ่งทิวา / ร่าง / พิมพ์ / ทาน / ตรวจ

2 3.3 ปัจจัยแวดล้อมสําหรับการปลูกตรวจสอบ (Conditions for Conducting the Examination) ต้องปลูกทดสอบภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพียงพอต่อการเจริญเติบโตและการแสดงออกของ ลักษณะที่จะใช้ตรวจสอบได้ 3.4 การวางแผนปลูกทดสอบ (Test Design) ให้ปลูกพันธุ์ที่ขอจดทะเบียนและพันธุ์เปรียบเทียบอย่างน้อย 20 ต้น / พันธุ์ / ซ้ํา จํานวน 2 ซ้ํา รวม 40 ต้นต่อพันธุ์ ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน และให้มีวิธีการปลูกและการจัดการเดียวกัน โดยให้มีการกระจายตัวของ พันธุ์ ที่ขอจดทะเบียนและพันธุ์เปรียบเทียบอย่างสม่ําเสมอ โดยใช้วิธีการสุ่มพันธุ์ที่ขอจดทะเบียนและพันธุ์ เปรียบเทียบปลูกลงในแปลงปลูก 3.5 การทดสอบเพิ่มเติม (Additional Tests) กรณีต้องการตรวจสอบลักษณะอื่นเพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบพันธุ์พืช ให้เป็นไปตามที่ พนักงานเจ้าหน้าที่กําหนด 4. การประเมิน ความแตกต่าง ความคงตัว และความสม่ําเสมอ (Assessment of Distinctness, Uniformity and Stability) 4.1. ความแตกต่าง (Distinctness) 4.1.1 คําแนะนําทั่วไป (General Recommendations) การตรวจสอบความแตกต่าง เป็นส่วนที่ สําคัญสําหรับผู้ใช้หลักเกณฑ์นี้ 4.1.2 ความแตกต่างที่คงที่ (Consistent Difference) การแสดงความแตกต่างระหว่างพันธุ์อาจจะชัดเจน โดยไม่จําเป็นต้องปลูกทดสอบมากกว่า หนึ่งครั้ง บางกรณีการปลูกทดสอบมีอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จึงต้องปลูกทดสอบมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อให้เชื่อมั่นว่า ความแตกต่างของลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นความแตกต่างคงที่ อย่างเพียงพอ 4.1.3 การแสดงความแตกต่างอย่างเด่นชัด (Clear Difference) การพิจารณาความแตกต่างของสองพันธุ์ที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และสิ่งที่ต้องพิจารณา คือชนิดของลักษณะว่าเป็นลักษณะที่แสดงออกเป็นชนิดใด เช่น เป็นลักษณะทางคุณภาพ (qualitative) ลักษณะทางปริมาณ (quantitative) หรือลักษณะคุณภาพเทียม (pseudo-qualitative) 4.1.4 จํานวนตัวอย่างพืชที่ตรวจสอบ (Number of Plants/Parts of Plant to be Examined) การประเมินลักษณะความแตกต่างระหว่างพันธุ์ที่ยื่นขอจดทะเบียนกับพันธุ์เปรียบเทียบ ควรเก็บตัวอย่างจากพืช 10 ต้น หรือจากชิ้นส่วนของพืชที่นํามาจากพืชแต่ละต้นจากพืชจํานวน 10 ต้น และ การประเมินด้านอื่น ๆ ต้องประเมินจากพืชทุกต้น โดยไม่พิจารณาต้นพืชที่มีลักษณะ off-type ในกรณีของการ ประเมินชิ้นส่วนของพืชแต่ละต้น จํานวนชิ้นส่วนที่จะนํามาจากพืชแต่ละต้นควรนํามาต้นละ 1 ชิ้น 4.1.5 วิธีการตรวจสอบ (Method of Observation) คําแนะนําสําหรับการตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืชเพื่อตรวจสอบความแตกต่างระหว่างพันธุ์ ได้ กําหนดไว้ใน คอลัมน์ที่ 2 ในตารางบันทึกลักษณะ โดยมีวิธีการตรวจสอบดังนี้ MG หมายถึง การวัด ชั่ง นับจํานวน จากต้นหรือตัวอย่างเดียวที่กําหนดให้เป็นตัวแทนเท่านั้น แล้วใช้ค่าที่ได้เป็นตัวแทนของพันธุ์ (single measurement of a group of plants or parts of plants) MS หมายถึง การวัด ชั่ง นับจํานวน จากทุกต้นหรือตัวอย่างที่กําหนดให้เป็นตัวแทนแล้วใช้ ค่าเฉลี่ยที่ได้เป็นตัวแทนของพันธุ์ (measurement of a number of individual plants or parts of plants)

3 VG หมายถึง การตรวจสอบด้วยการใช้ประสาทสัมผัส จากต้นหรือตัวอย่างเดียวที่กําหนดให้เป็น ตัวแทนเท่านั้นแล้วใช้ค่าสังเกตที่ได้เป็นตัวแทนของพันธุ์ (visual assessment by a single observation of a group of plants or parts of plants) VS หมายถึง การตรวจสอบด้วยการใช้ประสาทสัมผัส จากทุกต้นหรือตัวอย่างที่กําหนดให้เป็น ตัวแทนแล้วใช้ค่าสังเกตที่ได้เป็นตัวแทนของพันธุ์ (visual assessment by observation of individual plants or parts of plants) 4.2 ความสม่ําเสมอ (Uniformity) พิจารณาที่ระดับความสม่ําเสมอของประชากรมาตรฐาน ร้อยละ 1 ที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อย ร้อยละ 95 กรณีที่ เก็บตัวอย่างจํานวน 20 ต้น ต้องไม่มีพันธุ์อื่นปนมากกว่า 1 ต้น 4.3 ความคงตัว (Stability) ในทางปฏิบัติไม่มีการทดสอบความคงตัว อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ ในหลายชนิดพันธุ์ พบว่าหากผล การทดสอบแสดงความแตกต่างและลักษณะมีความสม่ําเสมอแล้ว ก็สามารถพิจารณาได้ว่ามีความคงตัวด้วย 5. การจัดกลุ่มพันธุ์และการจัดการการปลูกทดสอบ (Grouping of Varieties and Organization of the Growing Trial) 5.1 การคัดเลือกพันธุ์สําหรับปลูกทดสอบ พันธุ์เปรียบเทียบสําหรับปลูกทดสอบจะต้องแบ่งเป็นกลุ่มเพื่ออํานวยความสะดวกในการประเมินความ แตกต่าง ลักษณะที่เหมาะสมต่อการจัดกลุ่มเป็นลักษณะที่ได้จากประสบการณ์นั้น คือ เป็นลักษณะที่ไม่แตกต่าง หรือแตกต่างกันน้อยมากภายในพันธุ์ 5.2 ลักษณะที่ใช้ในการจัดกลุ่มของพันธุ์ 1) ต้น : ลักษณะวิสัย (Plant : growth habit) ( ล .1) 2) ต้น : ความสูง (Plant : height) ( ล .2) 3) ลําต้น : สี (Stem : color) ( ล .3) 4) ใบ : ความยาวแผ่นใบ (Leaf : length of leaf blade) ( ล .4) 5) ใบ : ความกว้างแผ่นใบ (Leaf : width of leaf blade) ( ล .5) 6) ใบ : รูปร่าง (Leaf : shape) ( ล .6) 7) ใบ : ความหยักที่ขอบใบ (Leaf : serration of margin) ( ล .9) 8) ใบ : สี (Leaf : color) ( ล .11) 9) ดอก : สีกลีบเลี้ยง (flower : color of sepals) ( ล .17) 10) ดอก : สีกลีบดอก (flower : color of petals) ( ล .18) 6. เครื่องหมาย (Legend) 6.1 การจําแนกลักษณะ (Categories of Characteristics) 6.1.1 ลักษณะมาตรฐาน เป็นลักษณะที่ได้รับการพิจารณาตามเกณฑ์มาตรฐานสําหรับการใช้ตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช (DUS) 6.1.2 ลักษณะที่กําหนดให้ใช้สําหรับการตรวจสอบร่วมกัน (Asterisked Characteristics) (*) ลักษณะที่กําหนดให้ใช้สําหรับการตรวจสอบร่วมกัน 6.2 สถานะลักษณะที่แสดงออกและตัวเลขกํากับ (States of Expression and Corresponding Notes)

4 6.2.1 สถานะลักษณะที่แสดงออก กําหนดเพื่ออธิบายลักษณะ ซึ่งการแสดงออกในแต่ละสถานะจะ ถูกกํากับด้วยตัวเลขที่สอดคล้องกัน เพื่อง่ายต่อการบันทึกข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูล 6.3 ชนิดของการแสดงออก QL หมายถึง ลักษณะทางคุณภาพ (qualitative characteristic) QN หมายถึง ลักษณะทางปริมาณ (quantitative characteristic) PQ หมายถึง ลักษณะทางคุณภาพเทียม (pseudo-qualitative characteristic) 6.4 ตัวอย่างพันธุ์ (Example Varieties) ตัวอย่างพันธุ์เตรียมไว้เพื่อให้เห็นลักษณะที่แสดงออกชัดเจนของแต่ละลักษณะที่แสดงออก 6.5 เครื่องหมาย (Legend) (*) หมายถึง ลักษณะที่ต้องประเมินทุกพันธุ์ ( ข้อ 6.1.2) QL หมายถึง ลักษณะทางคุณภาพ (qualitative characteristic) ( ข้อ 6.3) QN หมายถึง ลักษณะทางปริมาณ (quantitative characteristic) ( ข้อ 6.3) PQ หมายถึง ลักษณะทางคุณภาพเทียม (pseudo-qualitative characteristic) ( ข้อ 6.3) MG หมายถึง การวัด ชั่ง นับจํานวน จากต้นหรือตัวอย่างเดียวที่กําหนดให้เป็นตัวแทนเท่านั้นแล้วใช้ ค่าที่ได้เป็นตัวแทนของพันธุ์ (single measurement of a group of plants or parts of plants) MS หมายถึง การวัด ชั่ง นับจํานวน จากทุกต้นหรือตัวอย่างที่กําหนดให้เป็นตัวแทนแล้วใช้ค่าเฉลี่ยที่ ได้เป็นตัวแทนของพันธุ์ (measurement of a number of individual plants or parts of plants) VG หมายถึง การตรวจสอบด้วยการใช้ประสาทสัมผัส จากต้นหรือตัวอย่างเดียวที่กําหนดให้เป็น ตัวแทนเท่านั้นแล้วใช้ค่าสังเกตที่ได้เป็นตัวแทนของพันธุ์ (visual assessment by a single observation of a group of plants or parts of plants) VS หมายถึง การตรวจสอบด้วยการใช้ประสาทสัมผัส จากทุกต้นหรือตัวอย่างที่กําหนดให้เป็น ตัวแทนแล้วใช้ค่าสังเกตที่ได้เป็นตัวแทนของพันธุ์ (visual assessment by observation of individual plants or parts of plants) (a)-(b) หมายถึง ดูรายละเอียดการตรวจสอบและบันทึกลักษณะประจําพันธุ์ข้อ 8.1 (+) หมายถึง ดูคําอธิบายเพิ่มเติมในรายละเอียดของเอกสารข้อ 8.2

5 7. ตารางลักษณะประจําพันธุ์ (Table of Characteristics) : กะเพรา ( Ocimum tenuiflorum L.) ล . ที่ Char. No. ลักษณะประจําพันธุ์ (Characteristic) ตัวอย่างพันธุ์ (Example Variety) ตัวเลข (Note) 1. () (+) PQ VG (a) ต้น : ลักษณะวิสัย (Plant : growth habit) ตั้งตรง (erect) 1 กึ่งตั้งตรง (semi erect) 2 แผ่ออก (spread) 3 2. () QN MS (a) ต้น : ความสูง (Plant : height) เตี้ย (short) 3 ปานกลาง (medium) 5 สูง (tall) 7 3. () (+) PQ VG (a) ลําต้น : สี (Stem : color) เขียว (green) 1 เขียวปนม่วง (green and purple) 2 ม่วง (purple) 3 4. () (+) QN MS (a) ใบ : ความยาวแผ่นใบ (Leaf : length of leaf blade) สั้น (short) 3 ปานกลาง (medium) 5 ยาว (long) 7 5. () (+) QN MS (a) ใบ : ความกว้างแผ่นใบ (Leaf : width of leaf blade) แคบ (narrow) 3 ปานกลาง (medium) 5 กว้าง (broad) 7 6. () (+) PQ VG (a) ใบ : รูปร่าง (Leaf : shape) รูปไข่แคบ (narrowly ovate) 1 รูปไข่ (ovate) 2 รูปไข่กว้าง (broadly ovate) 3 รูปรีแคบ (narrowly elliptic) 4 รูปรี (elliptic) 5 รูปรีกว้าง (broadly elliptic) 6

6 ล . ที่ Char. No. ลักษณะประจําพันธุ์ (Characteristic) ตัวอย่างพันธุ์ (Example Variety) ตัวเลข (Note) 7. (+) PQ VG (a) ใบ : รูปร่างเมื่อตัดตามขวาง (Leaf : profile in cross section) แบน (flat) 1 เว้า (concave) 2 รูปตัววี (v-shape) 3 8. (+) PQ VG (a) ใบ : ขอบใบ (Leaf : leaf margin) จักฟันเลื่อย (serrate) 1 หยักมน (crenate) 2 9. (+) QN VG (a) ใบ : ความหยักที่ขอบใบ (Leaf : serration of margin) ตื้น (shallow) 3 ปานกลาง (medium) 5 ลึก (deep) 7 10. (+) QN VG (a) ใบ : การเป็นคลื่นที่ขอบใบ (Leaf : undulation of margin) ไม่มีหรือมีน้อยมาก (absent or very weak) 1 น้อย (weak) 3 ปานกลาง (medium) 5 มาก (strong) 7 11. (*) (+) PQ VG (a) ใบ : สี (Leaf : color) เขียว (green) 1 เขียวปนม่วง (green and purple) 2 ม่วง (purple) 3 12. (+) PQ VG (a) ใบ : สีเส้นกลางใบ (Leaf : color of midrib) เขียว (green) 1 เขียวปนม่วง (green and purple) 2 ม่วง (purple) 3 13. (+) PQ VG (a) ใบ : สีเส้นแขนงใบ (Leaf : color of lateral vein) เขียว (green) 1 เขียวปนม่วง (green and purple) 2

7 ล . ที่ Char. No. ลักษณะประจําพันธุ์ (Characteristic) ตัวอย่างพันธุ์ (Example Variety) ตัวเลข (Note) ม่วง (purple) 3 14. () (+) QN MS (a) ใบ : ความยาวก้านใบ (Leaf : length of petiole) สั้น (short) 3 ปานกลาง (medium) 5 ยาว (long) 7 15. (+) PQ VG (a) ใบ : สีก้านใบ (Leaf : color of petiole) เขียว (green) 1 เขียวปนม่วง (green and purple) 2 ม่วง (purple) 3 16. (+) QN MS (b) ช่อดอก : ความยาว (Inflorescence : length) สั้น (short) 3 ปานกลาง (medium) 5 ยาว (long) 7 17. PQ VG (b) ดอก : สีกลีบเลี้ยง (Flower : color of sepals) เขียว (green) 1 เขียวขอบแดง (green and red margin) 2 เขียวปนม่วง (green and purple) 3 ม่วง (purple) 4 18. () PQ VG (b) ดอก : สีกลีบดอก (Flower : color of petals) ขาว (white) 1 ขาวแกมเขียว (greenish white) 2 ขาวปนม่วง (white and purple) 3 ม่วง (purple) 4 19. PQ VG (b) ดอก : สีก้านชูอับเรณู (Flower : color of filament) ขาว (white) 1 ม่วง (purple) 2 20. PQ VG (b) ดอก : สีก้านยอดเกสรเพศเมีย (Flower : color of style) ขาว (white) 1 ม่วง (purple) 2

8 ล . ที่ Char. No. ลักษณะประจําพันธุ์ (Characteristic) ตัวอย่างพันธุ์ (Example Variety) ตัวเลข (Note) 21. QL VG (a) กรณีที่มีสารสําคัญ : ประเภทของสารสําคัญ (In the case of major active compounds : type of major active compounds) ยูจีนอล (Eugenal) 1 แอลฟา - ไพนีน ( α -pinene) 2 อื่นๆ ( ระบุ )… 3 22. QN MS (a) กรณีที่มีสารสําคัญ : ปริมาณสารสําคัญ (In the case of major active compounds : quantity of major active compounds) ต่ํา (low) 3 ปานกลาง (medium) 5 สูง (high) 7

9 8. อธิบายตารางบันทึกลักษณะประจําพันธุ์ (Explanations on the Table of Characteristics) 8.1 คําอธิบายที่ใช้สําหรับทุกลักษณะในตารางลักษณะประจําพันธุ์ (a) บันทึกข้อมูลต้นและใบเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ เมื่อเริ่มแทงช่อดอกร้อยละ 50 วัดความสูงจาก โคนต้นถึงปลายช่อดอก เก็บข้อมูลใบที่อยู่ด้านนอกบริเวณกลางลําต้น (b) บันทึกข้อมูลช่อดอกเมื่อดอกบานเต็มที่ 8.2 คําอธิบายในแต่ละลักษณะในตารางลักษณะประจําพันธุ์ ล .1 ต้น : ลักษณะวิสัย (Plant : growth habit) 1 2 3 ตั้งตรง กึ่งตั้งตรง แผ่ออก (erect) (semi erect) (spread) ล .3 ลําต้น : สี (Stem : color) 1 2 3 เขียว เขียวปนม่วง ม่วง (green) (green and purple) (purple) กลีบเลี้ยง (sepal) กลีบดอก (petal) อับเรณู (anther) ก้านชูอับเรณู (filament) ก้านยอดเกสรเพศเมีย (style) ยอดเกสรเพศเมีย (stigma)

10 ล .4 ใบ : ความยาวแผ่นใบ (Leaf : length of leaf blade) ล .5 ใบ : ความกว้างแผ่นใบ (Leaf : width of leaf blade) ล .14 ใบ : ความยาวก้านใบ (Leaf : length of petiole) ล .6 ใบ : รูปร่าง (Leaf : shape) 1 2 3 รูปไข่แคบ รูปไข่ รูปไข่กว้าง (narrowly ovate) (ovate) (broadly ovate) 4 5 6 รูปรีแคบ รูปรี รูปรีกว้าง (narrowly elliptic) (elliptic) (broadly elliptic) ล .7 ใบ : รูปร่างเมื่อตัดตามขวาง (Leaf : profile in cross section) 1 2 3 แบน เว้า รูปตัววี ความยาวแผ่นใบ ความยาวก้านใบ ความกว้างแผ่นใบ

11 (flat) (concave) (v-shape) ล .8 ใบ : ขอบใบ (Leaf : leaf margin) 1 2 จักฟันเลื่อย หยักมน (serrate) (crenate) ล .9 ใบ : ความหยักที่ขอบใบ (Leaf : serration of margin) 3 5 7 ตื้น ปานกลาง ลึก (shallow) (medium) (deep) ล .10 ใบ : การเป็นคลื่นที่ขอบใบ (Leaf : undulation of margin) 1 5 ไม่มีหรือมีน้อยมาก ปานกลาง (absent or very weak) (medium) ล .11 ใบ : สี (Leaf : color) ล .15 ใบ : สีก้านใบ (Leaf : color of petiole) 1 3 เขียว ม่วง

12 (green) (purple) ล .12 ใบ : สีเส้นกลางใบ (Leaf : color of midrib) ล .13 ใบ : สีเส้นแขนงใบ (Leaf : color of lateral vein) 1 2 3 เขียว เขียวปนม่วง ม่วง (green) (green and purple) (purple) ล .16 ช่อดอก : ความยาว (inflorescence : length) 9. การประมาณค่าใช้จ่ายและวิธีการชําระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบลักษณะ 9.1 ประมาณการค่าใช้จ่าย ในการตรวจสอบลักษณะประจําพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ 1) ค่าจ้างเหมาเตรียมพื้นที่ / เตรียมดิน 2) ค่าจ้างเหมาปลูก ดูแลรักษา บันทึกข้อมูล และเก็บเกี่ยว 3) ค่าเดินทางเพื่อไปดําเนินตรวจสอบของคณะทํางานตรวจสอบภาคสนามและคณะเจ้าหน้าที่บันทึก ลักษณะ 4) ค่าวัสดุ หมายเหตุ ทั้งนี้รายละเอียดค่าใช้จ่ายอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยให้เป็นไปตามรายจ่ายจริง 9.2 วิธีการชําระค่าใช้จ่าย ระยะเวลา จํานวนครั้ง และสถานที่ชําระค่าใช้จ่าย ให้เป็นไปตามที่คณะทํางาน ตรวจสอบภาคสนามกําหนด ความยาว (length)