ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบ และการตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 เพื่อให้การแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบและการตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษาของ สถาบันอุดมศึกษาเพื่อดาเนินการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ส่งผลให้ สถาบันอุดมศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและบริหารการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพผลที่ยั่งยืน สร้างความมั่นใจและตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียน และผู้มีส่วนได้เสีย อาศัยอานาจตามความในมาตรา 56 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ประกอบกับมติคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบ และการตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ สถาบันอุดมศึกษา ” หมายความว่า สถาบันที่จัดการอุดมศึกษาระดับปริญญาและระดับ ต่ากว่าปริญญาทั้งที่เป็นของรัฐและของเอกชน “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา “ สำนักงานปลัดกระทรวง ” หมายความว่า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ” หมายความว่า ข้อกาหนดขั้นต่าเกี่ยวกับ คุณลักษณะของสถาบันอุดมศึกษา การดาเนินการ ผลลัพธ์ คุณภาพ และเกณฑ์อื่นในการจัดการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษา “ มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา ” หมายความว่า ข้อกำหนดขั้นต่ำของ หลักสูตรการศึกษา คุณลักษณะ คุณภาพ และเกณฑ์อื่นเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการส่งเสริม การกำกับดูแล การตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา “ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ” หมายความว่า ข้อกาหนดเกี่ยวกับผลลัพธ์ การเรียนรู้ ของผู้ เรียนที่เกิดขึ้นจากการศึกษาตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กำหนดขึ้น ตามระดับการศึกษาแต่ละระดับ ้ หนา 35 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
“ หลักสูตรการศึกษา ” หมายความว่า หลักสูตรระดับปริญญาและต่ากว่าปริญญาตามที่ คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษากำหนดซึ่งสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความเห็นชอ บหรืออนุมัติ “ ผู้ตรวจสอบ ” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ทาหน้าที่ ตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา และทำหน้าที่ตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา “ ระบบการบริหารการจัดการศึกษา ” หมายความว่า การบริหารคุณภาพเพื่อให้มีการประกัน คุ ณภาพเชิงผลลัพธ์ และมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกกระบวนการจัดการศึกษา ประกอบด้วย การออกแบบหลักสูตรการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ การพัฒนาอาจารย์ การรับนักศึกษา การติดตาม การประเมินผลการจัดการศึกษา การสำเร็จการศึกษา การบริหารความเสี่ยง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “ ระบบการบริหารคุณภาพ ” หมายความว่า การบริหารจัดการกระบวนการต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่ การวางแผนคุณภาพ ( Quality Planning ) การควบคุม คุณภาพ ( Quality Control ) และการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ ( Quality Improvement ) “ การดาเนินการจัดการศึกษา ” หมายความว่า การดาเนินการตามระบบการบริหารการจัดการศึกษา ที่กาหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาตรงตามผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่กาหนด มีควำมรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะส่วนบุคคล เหมาะสมในการประกอบอาชีพ ตามความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียน และผู้มีส่วนได้เสีย หมวด 1 การแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบ และหน้าที่และอำนาจ ข้อ 4 ให้คณะกรรมการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ด้านระบบการบริหารการจัดการศึกษา ด้านระบบการบริหารคุณภาพ เพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและการดาเนินการจัดการศึกษา ทั้งนี้ ผู้ตรวจสอบจะต้องผ่านการอบรม และขึ้นทะเบีย นผู้ตรวจสอบตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ 5 ให้ผู้ตรวจสอบมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาว่าสอดคล้องตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา และมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษาตามที่ได้ออกแบบ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา (2) ตรวจสอบข้อมูลจากเอกสาร รวมทั้ง ข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์หรือตรวจสอบ ณ สถานที่จัดการเรียนการสอนกรณีมีความจำเป็น ( 3 ) ขอให้บุคคลมาชี้แจงหรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อประกอบการพิจารณา ( 4 ) ให้ความคิ ดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงระบบการบริหารการจัดการศึกษาแก่ สถาบันอุดมศึกษาที่ขอรับการตรวจสอบ ้ หนา 36 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
( 5 ) เสนอคณะกรรมการเพื่อรับรองหรือไม่รับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา ( 6 ) ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ เพื่อพัฒนาระบบตรวจสอบหลักสูตร การศึกษา ระบบตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษา และระบบการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษา ในหลักสูตรการศึกษา ข้อ 6 ในการดาเนินการตามข้อ 5 ( 3) ให้ผู้ตรวจสอบแจ้งแผนการตรวจสอบแก่สถาบัน อุดมศึกษาเพื่อเตรียมการล่วงหน้า และให้แสดงบัตรปร ะจาตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐและหนังสือแต่งตั้งหรือ มอบหมายจากคณะกรรมการ หมวด 2 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา และการตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษา ข้อ 7 เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติหลักสูตรการศึกษา ทั้งหลักสูตรใหม่และหลักสูตรปรับปรุง และแจ้งต่อสานักงานปลัดกระทรวงแล้ว ให้ผู้ตรวจสอบที่ได้รับ การแต่งตั้งหรือมอบหมายตามข้อ 4 ดาเนินการ ดังนี้ (1) กรณีตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา 1.1) ให้มีการตรวจสอบโดยพิจารณาข้อมูลจากเอกสาร ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ สานักงานปลัดกระทรวงได้รับเรื่อง ในกรณีมีความจาเป็นอาจมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์ หรือตรวจสอบ ณ สถานที่จัดการเรียนการสอน โดยต้องเป็นหลักสูตรการศึกษาที่เปิดการจัดการเรียน การสอนในปีการศึกษาตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติ 1.2) ให้ผู้ตรวจสอบอย่างน้อย 2 คน ดำเนินการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย โดยประเมินระบบการบริหารการจัดการศึกษาว่าตอบสนอง ตรงความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสีย และเพื่อให้มั่นใจว่าหลักสูตรการศึกษา และระบบการบริหารการจัดการศึกษาที่ ออกแบบไว้มีความพร้อมในการดาเนินการตามที่กาหนดและ เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา และมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แล้วเสนอผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการพิจารณา โดยผู้ตรวจสอบจะพิจารณาประเด็น ดังนี้ 1.2.1) ความสอดคล้องของหลักสูตรการศึกษากับทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนากาลังคนของประเทศ และตามพันธกิจหลักและยุทธศาสตร์ของสถาบันที่สอดคล้องกับ การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 1.2.2) ความเสี่ยงและผลกระทบจากภายนอก อาทิ การเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยี นโยบาย และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในบริบทโลก 1.2.3) ผลสำรวจจากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้บัณฑิต ผู้เรียน และนักเรียน ที่ต้องการเข้าเรียนในหลักสูตรการศึกษา ้ หนา 37 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
1.2.4) ความสอดคล้องระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ การออกแบบ การจัดการเรียน การสอน และระบบการบริหารการจัดการศึกษา ตามที่กาหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษา ระดับอุดมศึกษาและมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา รวมทั้ง มาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา (ถ้ามี) ทั้งนี้ กรณีหลักสูตรปรับปรุงให้พิจารณาประเด็นเพิ่มเติม ได้แก่ ผลการ ดำเนินงานของห ลักสูตรการศึกษาที่ผ่านมา ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต องค์กรวิชาชีพ ศิษย์เก่า ตลอดจนข้อร้องเรียนจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกและ บุคคลภายในสถาบันอุดมศึกษา และผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับหลักสูตร (ถ้ามี) (2) กรณีตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษา 2.1) ให้มีการตรวจสอบข้อมูลจากเอกสาร หลักฐาน และการตรวจสอบ ณ สถานที่ จัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม โดยกำหนดระยะเวลาในการดาเนินการหลังจากคณะกรรมการ แจ้งผลการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา ดังนี้ 2.1.1) ระดับอนุปริญญา ต้ องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 2.1.2) ระดับปริญญาตรี ต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี 2.1. 3 ) ระดับปริญญาโท ต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 2.1. 4 ) ระดับปริญญาเอก ต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือน 2.1. 5 ) ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตหรือประกาศนียบัตร บัณฑิตชั้นสูง ต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน 2.2) ให้ผู้ตรวจสอบอย่างน้อย 3 คน ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดาเนินการ จัดการศึกษาตามระบบการบริหารการจัดการศึกษาที่กาหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียน มั่นใจว่าจะได้รับการพัฒนาตรงตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กาหนด มีความรู้ และทักษะเพียงพอในการ ประกอบอาชีพ และผู้ใช้บัณฑิตมั่นใจว่าบัณฑิตมีสมรรถนะเป็นไปตามที่คาดหวัง ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย ยกเว้นระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือประกาศนียบัตรชั้นสูงให้ใช้เวลา ภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย แล้วเสนอผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการพิจารณา รับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา โดยผู้ตรวจสอบจะพิจารณาประเด็น ดังนี้ 2.2.1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ กรณีหลักสูตรการศึกษาที่มีผู้สาเร็จ การศึกษาแล้ว ให้ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาด้วย 2.2.2) การดาเนินการตามระบบการบริหารการจัดการศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษา ออกแบบไว้ 2.2.3) การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ้ หนา 38 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
หมวด 3 การพิจารณาผลการตรวจสอบและการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา ข้อ 8 เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ตามข้อ 7 ( 1) แล้วให้ดาเนินการ ดังนี้ (1) กรณีสอดคล้องตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ให้คณะกรรมการโดยสานักงานปลัดกระทรวง แจ้งผลการตรวจสอบแก่สถาบันอุดมศึกษาภายใน 120 วัน นับแต่วันที่สำนักงานปลัดกระทรวงได้รับเรื่อง (2) กรณีไม่สอดคล้องตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ให้คณะกรรมการโดยสำนักงาน ปลัดกระทรวงแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐาน ภายในระยะเวลาที่กาหนด และในกรณีจาเป็นเพื่อป้องกันความเสียหาย คณะกรรมการจะแจ้งให้ สถาบันอุดมศึกษาระงับการดาเนินการตามหลักสูตรการศึกษานั้นไว้ก่อนก็ได้ ข้อ 9 เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาของ สถาบันอุดมศึกษา ตามข้อ 7 ( 2) แล้วให้ดาเนินการ ดังนี้ ( 1 ) กรณีสอดคล้องตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ให้คณะกรรมการประกาศรับรองมาตรฐาน การอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษาดังกล่าว โดยมีระยะเวลา 5 ปี นับแต่รับนักศึกษารุ่นแรก ของหลักสูตรการศึกษา และให้สานักงานปลัดกระทรวงแจ้งเรื่องดังกล่าวต่อองค์กรกลางบริหารงานบุคคล และสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบโดยเร็ว การดำเนินการรับรองมาตรฐานข้างต้น ต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่ผู้เรียนรุ่นแรกจะสำเร็จการ ศึกษา ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ได้รับการรับรองหลักสูตรการศึกษานั้น ๆ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษา กากับดูแลหลักสูตรการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาและมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (2) กรณีไม่สอดคล้องตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ให้คณะกรรมการโดยสำ นักงาน ปลัดกระทรวงแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาดาเนินการแก้ไขตามประเด็นที่ไม่สอดคล้องภายในระยะเวลา ที่กำหนด 2.1) กรณีสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการแก้ไขตามประเด็นที่ไม่สอดคล้องภายใน ระยะเวลาที่กาหนด ให้คณะกรรมการประกาศรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา ต่อไป 2.2) กรณีสถาบันอุดมศึกษาไม่ดาเนินการแก้ไขตามประเด็นที่ไม่สอดคล้องภายใน ระยะเวลาที่กาหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้คณะกรรมการเสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ ให้สถาบันอุดมศึกษาหยุดการดาเนินการหลักสูตรการศึกษา หรือดาเนินการอื่นใดอันจาเป็นต่อไป โดยให้ประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ้ หนา 39 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 1 0 หลักสูตรการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาใดที่ผ่านการตรวจสอบตามข้อ 7 (1) และได้รับการรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานประเมินหรือรับรองคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษาอื่น สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอหลักสูตรการศึกษานั้น ให้คณะกรร มการพิจารณาเพื่อประกาศรับรองมาตรฐาน การอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษาเป็นรายกรณี โดยไม่ต้องตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษา ตามข้อ 7 (2) ข้อ 11 คณะกรรมการอาจออกประกาศหรือแนวปฏิบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบและการตรวจสอบการดาเนินการจัดการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มเติมจากประกาศฉบับนี้ได้ ข้อ 12 กรณีที่ครบระยะเวลาการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาประสงค์จะเสนอให้คณะกรรมการรับรอ งมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตร การศึกษานั้นในรอบต่อไป ให้สถาบันอุดมศึกษาเสนอขอรับรองหลักสูตรการศึกษาตามข้อ 7 ต่อคณะกรรมการก่อนครบกำหนดระยะเวลาการรับรองอย่างน้อย 180 วัน หมวด 4 การอุทธรณ์ผลการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและผลการดำเนินการจัดการศึกษา ข้อ 13 กรณีสถาบันอุดมศึกษามีความเห็นขัดหรือแย้งกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ตามข้อ 8 ( 2) และข้อ 9 ( 2) วรรคสาม สถาบันอุดมศึกษาสามารถอุทธรณ์ผลการพิจารณาได้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล ประกาศ ณ วันที่ 2 5 กันยายน พ.ศ. 256 5 ศาสตราจารย์เกียรติคุณกิตติชัย วัฒนานิกร ประธานกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ้ หนา 40 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565