ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการทำสัญญากู้ยืมเงิน (พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการทำสัญญากู้ยืมเงิน (พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินโดยการทำสัญญากู้ยืมเงิน (พ.ร.ก. กู้เงินโควิด - 19 เพิ่มเติม) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1 เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พ.ร.ก. กู้เงินโควิด - 19 เพิ่มเติม) ประกอบมาตรา 9 แห่งพระราชกาหนดให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปั ญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบ โดยทั่วกันว่า กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมติเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก. กู้เงินโควิด - 19 เพิ่มเติม ได้ดาเนินการกู้เงิน โดยวิธีการทำสัญญากู้ยืมเงิน ( Term Loan ) โดยมีสาระสำคัญและเงื่อนไขของการกู้เงิน ดังนี้ 1 . กระทรวงการคลังได้ดาเนินการกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยวิธีการทาสัญญา กู้ยืมเงิน ( Term Loan ) กับสถาบันการเงิน วงเงินกู้รวม 20,000 ล้านบาท (สองหมื่ นล้านบาทถ้วน) 2 . การเบิกเงินกู้ กระทรวงการคลังจะทยอยเบิกเงินกู้ นับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2565 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยจะแจ้งให้ผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันทาการ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเบิกเงินกู้เป็นงวด ๆ โดยจะเรียงลา ดับจากวงเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่าสุดก่อน และเมื่อเบิกเงินกู้ครบจำนวนของวงเงินดังกล่าวแล้ว จึงจะเริ่มเบิกรับเงินกู้ในวงเงินลำดับถัดไป 3 . อายุเงินกู้ 1 ปี 11 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2565 ครบกำหนดในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 4 . อัตราดอกเบี้ย 4.1 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง บวกส่วนต่างเฉลี่ยร้อยละ 0.1527 (ศูนย์จุดหนึ่งห้าสองเจ็ด) ต่อปี 4.2 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ ระยะ 6 เดือน ( BIBOR 6 M ) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย 4.3 การปรับอัตราดอกเบี้ยทุกงวด 6 เดือน หากอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง โดยอัตราดอกเบี้ยงวดแรกจะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ณ วันเบิกเงินกู้ครั้งแรก สำหรับการใช้อัตราดอกเบี้ย ในงวดต่อ ๆ ไป จะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้า งอิง ณ วันครบกาหนดชาระดอกเบี้ย เพื่อใช้คานวณดอกเบี้ย ้ หนา 31 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนถัดไป การคานวณดอกเบี้ยให้ถือว่าหนึ่งปีมี 365 วัน นับตามจำนวนวันที่ เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง ชาระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 และชำระดอกเบี้ ยงวดสุดท้ายในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 5 . การชาระดอกเบี้ย ตลอดเวลาที่สัญญายังมีอายุอยู่ให้แบ่งชาระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ และ 30 สิงหาคม ของทุกปี สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชาระ พร้อมต้นเงินกู้ ณ วันสิ้นสุดตามสัญญากู้ยืมเงิน หากวันครบกาหนดชาระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดธนาคาร แห่งประเทศไทย ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป โดยไม่นับวันหยุดตามประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทยดังกล่าว เข้ารวมเพื่อคานวณดอกเบี้ยที่ถึงกาหนดชาระ ยกเว้นการชาระต้นเงินกู้ งวดสุดท้าย ให้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันก่อนวันชำระหนี้ 6 . การชำระคืนต้นเงินกู้ กระทรวงการคลังสามารถชำระคืนต้นเงินกู้ก่อนครบกำหนด ได้ทั้งจานวนหรือบางส่วนก็ได้ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะแจ้งให้สถาบันการเงินทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ โดยกระทรวงการคลังจะชำระดอกเ บี้ยคงค้างของต้นเงินกู้ที่ค้างชำระ พร้อมกับ การชาระเงินคืนต้นเงินกู้ก่อนกาหนดนั้น ทั้งนี้ ดอกเบี้ยคงค้างให้คานวณนับตั้งแต่วันที่กระทรวงการคลัง ชาระคืนดอกเบี้ยครั้งล่าสุดจนถึงวันก่อนวันที่กระทรวงการคลังชาระคืนต้นเงินกู้ก่อนกาหนด โดยหาก วันครบกาหนดชาระคื นต้นเงินกู้ตรงกับวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้เลื่อนไปชำระคืน ในวันทำการถัดไป 7 . ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 256 5 ชุณหจิต สังข์ใหม่ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ้ หนา 32 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565