ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุม สภาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นและการปฏิบัติหน้าที่ ของสภาท้องถิ่นในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 23 และมาตรา 77 วรรคหนึ่ ง แห่งพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ สภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุม สภาท้องถิ่ น พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุม สภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 8 วิธีเลือกประธานสภาท้องถิ่น ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อ สมาชิกสภาท้องถิ่นคนหนึ่งที่ ตนเห็นว่าสมควรให้เป็นผู้ดารงตาแหน่งประธานสภาท้องถิ่น การเสนอนั้น ต้องมีสมาชิกสภาท้องถิ่นรับรองไม่น้อยกว่าสองคน เว้นแต่สภาท้องถิ่นใดมีสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่าที่มีอยู่ น้อยกว่าแปดคนให้มีสมาชิกสภาท้องถิ่นรับรองหนึ่งคน โดยให้สมาชิกสภาท้องถิ่นแต่ละคนมีสิทธิรับรอง ได้เพียงครั้งเดียว ชื่อที่เสนอไม่จากัดจานวน และให้สมาชิกสภาท้องถิ่นลงคะแนนเลือกผู้ที่ถูกเสนอชื่อคนหนึ่ง โดยวิธีเขียนหมายเลขประจาตัวของผู้ที่ถูกเสนอชื่อ เมื่อตรวจนับแล้วให้ประธานที่ประชุมประกาศคะแนน ต่อที่ประ ชุมสภาท้องถิ่น ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดเท่ากันหลายคนให้เลือกใหม่ เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดนั้นโดยใช้วิธีเดิม ถ้าผลการเลือกใหม่ปรากฏว่ายังมีผู้ได้คะแนนสูงสุดเท่ากันอีก ให้ใช้วิธีจับสลากเฉพาะผู้ได้คะแนนสูงสุดเท่ากัน ให้ ผู้ที่ถูกเสนอชื่อได้รับหมายเลขประจำตัวเพื่อใช้ในการลงคะแนนเลือกด้วยวิธีจับสลาก โดยให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อตกลงกันว่าจะให้คนใดเป็นคนจับสลากก่อนหลัง แล้วให้จัดทาบัตรสลาก ชนิด สี และขนาดอย่างเดียวกัน มีจานวนเท่ากับจานวนผู้ที่ถูกเสนอชื่อ โดยเขียนหมายเลขประ จำตัวตามลำดับ ให้ครบตามจำนวนผู้ที่ถูกเสนอชื่อ หากตกลงกันไม่ได้ให้ประธานที่ประชุมจับสลากว่าผู้ใดจะเป็น ผู้จับสลากก่อนหลัง ให้ประธานที่ประชุมประกาศหมายเลขประจำตัวของผู้ที่ถูกเสนอชื่อตามลำดับหมายเลข ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นลงคะแนนเลือกผู้ที่ถูกเสนอชื่อ โดยวิธี เขียนหมายเลขประจาตัวผู้ที่ถูก เสนอชื่อลงในบัตรสลาก ชนิด สี และขนาดอย่างเดียวกัน ใส่ซอง แล้วนาซองใส่ลงในหีบที่จัดไว้ด้วยตนเอง ต่อหน้าประธานที่ประชุม วิธีการเสนอชื่อและการรับรองตามวรรคหนึ่งให้นำความในข้อ 39 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ประธานที่ประชุมเชิญสมาชิกสภาท้องถิ่นไม่น้อยกว่าสองคนช่วยตรวจนับคะแนน วิธีจับสลากตามวรรคหนึ่งให้ประธานที่ประชุมดาเนินการให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเท่ากันตกลงกัน เสียก่อน ว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จับสลากก่อนหลัง หากตกลงกันไม่ได้ให้ประธานที่ประชุมจับสลากว่า ผู้ใดจะเป็นผู้จับสลากก่อนหลัง แล้วให้จัดทาบัตรสลาก ชนิด สี และขนาดอย่างเดียวกันตามจานวน เท่ากับจานวนผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากัน โดยเขียนข้อความว่า “ ได้รับเลือกเป็นประธานสภาท้องถิ่น ” เพียงบัตรเดียว นอกนั้นเขียนข้อความว่า “ ไม่ได้รับเลือกเป็นประธานส ภาท้องถิ่น ”” ข้อ 4 ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 “ ข้อ 18/1 เลขานุการสภาท้องถิ่นพ้นจากตาแหน่งเมื่อ ( 1 ) ตาย ( 2 ) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาท้องถิ่น ( 3 ) ครบอายุของสภาท้องถิ่น ( 4 ) มีการยุบสภาท้องถิ่น ( 5 ) สภาท้องถิ่นมีมติให้พ้นจากตาแหน่ง กรณีองค์การบริหารส่วนตาบล เมื่อประธานสภาท้องถิ่นรับหนังสือลาออกจากเลขานุการ สภาท้องถิ่นแล้ว ให้เสนอสภาท้องถิ่นมีมติให้พ้นจากตาแหน่ง ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 19 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ในการประชุมสภาท้องถิ่นครั้งใด ถ้าไม่มีเลขานุการ สภาท้องถิ่น หรือมีแต่ไม่อยู่ หรืออยู่ แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ ให้สภาท้องถิ่นเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ พนักงานหรือข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการ สภาท้องถิ่นเฉพาะในการประชุมคราวนั้น โดยให้นำความในข้อ 13 และข้อ 26 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่การลงคะแนนเลือกให้กระทำด้วยวิธีการยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 26 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมส ภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ้ หนา 2 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
“ ข้อ 26 เมื่อถึงกาหนดเวลานัดประชุมและสมาชิกสภาท้องถิ่นมาครบองค์ประชุมแล้วแต่ไม่มี ประธานสภาท้องถิ่นแ ละรองประธานสภาท้องถิ่น หรือมีแต่ไม่อยู่ในที่ประชุมหรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้มีอายุมากที่สุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมคราวนั้นเป็นประธานที่ประชุมชั่วคราว เพื่อดาเนินการให้สมาชิกสภาท้องถิ่นเลือกกันเองเป็นประธานที่ประชุมชั่วคราวนั้ น โดยให้เสนอชื่อและ ลงคะแนนด้วยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ ถ้าในระหว่างการเลือกนั้นประธานสภาท้องถิ่นหรือรองประธาน สภาท้องถิ่นแล้วแต่กรณีเข้ามาในที่ประชุมและยอมปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้ระงับการเลือกนั้น หรือถ้าเลือกได้แล้ว ก็ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นอันพ้นหน้าที่ และให้นาความในข้อ 7 และข้อ 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ” ข้อ 7 ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นข้อ 36/1 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 “ ข้อ 36/1 เมื่อประธานสภาท้องถิ่นเห็นสมควรอาจจัดให้มีการประชุมตามกฎหมายว่าด้วย การป ระชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 38 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และให้ ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 38 ญัตติทั้งหลายต้องทาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภาท้องถิ่นล่วงหน้าก่อนวันประชุม ไม่น้อยกว่าห้าวัน เว้นแต่กรณีใดเป็นเรื่องรีบด่วนจะยื่นน้อยกว่านี้ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง ก่อนวันประชุม และต้องมีสมาชิกสภาท้องถิ่นรับรองอย่างน้อยสองคน แต่หากสภาท้องถิ่นนั้นมีสมาชิก สภาท้องถิ่นเหลืออยู่น้อยกว่าแปดคนให้มีสมาชิกสภาท้องถิ่นรับรองหนึ่งคน เว้นแต่ตามกฎหมายหรือ ระเบียบนี้กำหนดวิธีการเสนอญัตติไว้เป็นอย่างอื่น ” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 56 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ในกรณีที่ประชาชนเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ให้ประธานสภาท้องถิ่นแจ้งผู้แทนของผู้เข้าชื่อเพื่อเข้าร่วมประชุมสภาท้องถิ่น และผู้แทนของผู้เข้าชื่อ มีสิทธิชี้แจงหรือเสนอข้อเท็จจริงหรือความเห็นเกี่ยวกับร่างข้อบัญญัติที่เสนอได้ ” ข้อ 10 ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็น วรรคสี่ของข้อ 56 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 “ ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น สภาท้องถิ่นต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัตินั้น ” ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 107 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับ การประชุม สภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565
“ ข้อ 107 ภายใต้บังคับข้อ 103 วิธีเลือกคณะกรรมการสภาท้องถิ่นให้สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นเสนอชื่อสมาชิกสภาท้ องถิ่นหรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภาท้องถิ่นรับรองไม่น้อยกว่าสองคน เว้นแต่ สภาท้องถิ่นใดมีสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่าที่มีอยู่น้อยกว่าแปดคนให้มีสมาชิกสภาท้องถิ่นรับรองหนึ่งคน ส่วนกรณี ที่ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง การเสนอชื่อให้เสนอได้โดยไม่จำกัดจำนวน เว้นแต่ที่ประชุมมีมติเป็นอย่างอื่น และให้นาวิธีการ เลือกตามข้อ 12 และข้อ 14 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่การลงคะแนนให้ใช้วิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ การเลือกกรรมการวิสามัญของสภาท้องถิ่นเพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เข้าชื่อเสนอตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ให้สภาท้องถิ่นแต่งตั้งผู้แทนของ ผู้เข้าชื่อตามลาดับรายชื่อผู้แทนของผู้เข้าชื่อที่จะมีอานาจดาเนินกิจกา รที่เกี่ยวข้องกับการเสนอและ การพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นกรรมการวิสามัญไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจานวนกรรมการวิสามัญ ทั้งหมด ” ข้อ 1 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของข้อ 117 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่ อไปนี้แทน “ ให้ประธานสภาท้องถิ่นจัดให้ประชาชนที่ประสงค์จะเข้าฟังการประชุมได้เข้าฟังการประชุม และการปรึกษาของสภาท้องถิ่นให้เป็นไปตามประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภาท้องถิ่น กำหนด ” ข้อ 13 ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของข้อ 117 ของระเบียบก ระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 “ การถ่ายทอดการประชุมสภาท้องถิ่นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีอื่นใดจะกระทำได้ต่อเมื่อ ได้รับอนุญาตจากประธานสภาท้องถิ่น ” ข้อ 14 ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 275 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 พฤศจิกายน 2565