ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 14 และข้อ 21 แห่งกฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ประกอบกับมติคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการ อุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ การศึกษาในระบบ ” หมายถึง การศึกษาที่กาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน “ การศึกษานอกระบบ ” หมายถึง การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญ ของการสาเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม “ การศึกษาตามอัธยาศัย ” หมายถึง การศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โด ยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ “ ผลการเรียน ” หมายถึง ความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคลที่ได้จากการศึกษา ในระบบซึ่งสามารถแสดงในรูปของคะแนนตัวอักษร หรือแต้มระดับคะแนนที่นามาคิดคะแนนผลการเรียน หรือคำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมได้ “ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ” หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษา ฝึกอบรม หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติ หรือการเรียนรู้จริงในที่ทำงานระหว่างการศึกษา “ ผู้เรียน ” หมายถึง บุค คลที่เรียนรู้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย “ คณะกรรมการ ” หมายถึง คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ข้อ 4 สถาบันอุดมศึกษาพึงใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นหลักสำคัญในการเทียบโอน โดยสถาบันอุดมศึกษาจัดทำรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึ งประสงค์ของรายวิชาที่เปิดสอน ในสถาบันอุดมศึกษาไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีผู้ยื่นคาขอเทียบโอนเพื่อเป็นเกณฑ์เทียบเคียงในการพิจารณา โดยผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ต้องเทียบได้ตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาซึ่งสา มารถทดสอบและประเมินผลได้โดยวิธีการต่าง ๆ ้ หนา 24 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 5 การดาเนินงานเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ( 1 ) ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้ผู้เรียนทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สามาร ถเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษา ได้อย่างคล่องตัวและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา ( 2 ) ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีอิสระในการกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษา โดยต้องมีมาตรฐานไม่ต่ากว่าหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 การเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีหลักการ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) การเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาต้องสามารถเทียบโอนได้ทั้งจาก การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ( 2 ) การเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาต้องยึดหลักความเสมอภาคและธารงไว้ ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ( 3 ) สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดให้มีหน่วยงานทาหน้าที่ให้คาแนะนา ปรึกษาและ ดาเนินการให้มีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาตามกระบวนการและหลักเกณฑ์ที่กำหนด ( 4 ) สถาบันอุดมศึกษาต้องกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้ในการทดสอบและ ประเมินผลเพื่อการเทียบโอนที่มีมาตรฐาน ข้อ 7 สถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาภายใต้ หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 7.1 หลักเกณฑ์การเทียบโอนจากการศึกษาในระบบ ระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ( 1 ) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าที่ คณะกรรมการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง ( 2 ) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะนำมาขอเทียบโอนต้องมีสาระสำคัญ ครอบคลุมรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ข อเทียบโอน ( 3 ) ผลการเรียนในรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะนามาขอเทียบโอน ต้องมี ระดับคะแนนไม่ต่ากว่า 2.00 จากระบบ 4. 00 หรือเทียบเท่า ( 4 ) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนจากต่างสถาบันอุดมศึกษา ไม่สามารถนามาคำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมได้ ระดับบัณฑิตศึกษา ( 1 ) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าที่ คณะกรรมการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง ้ หนา 25 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565
( 2 ) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะนำมาขอเทียบโอนต้องมีสาระสำคัญ ครอบคลุมรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบโอน ( 3 ) ผลการเรียนในรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะนำมาขอเทียบโอน ต้องมีระดับคะแนนไม่ต่ากว่า 3.00 จากระบบ 4. 00 หรือเทียบเท่า ( 4 ) การเทียบโอนในรายวิชาวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตามที่สถาบันอุดมศึกษา กำหนดโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา ( 5 ) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนจากต่างสถาบันอุดมศึกษา ไม่สามารถนามาคำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมได้ 7.2 หลักเกณฑ์การเทียบโอนจากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( 1 ) ผู้ขอเทียบโอนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่พึงประสง ค์ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่จะขอเทียบโอน ( 2 ) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ขอเทียบโอนไม่จากัดระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์ในผลลัพธ์การเรียนรู้เรื่องนั้น แต่ต้องทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการของสาขา ที่จะขอเทียบโอน ( 3 ) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ เทียบโอนไม่สามารถมาคานวณแต้มระดับคะแนน เฉลี่ยสะสมได้ ทั้งนี้ การเทียบโอนสำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย ให้สามารถเทียบโอนได้โดยรวมแล้วไม่เกินสามในสี่ของจานวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตร ที่รับโอนสาหรับระดับปริญญาตรี และไม่เกินกึ่ งหนึ่งของจานวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่รับโอน สาหรับระดับบัณฑิตศึกษา โดยให้คานึงถึงการสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์และสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญ ของสถาบัน กรณีการเทียบโอนจากการศึกษาในระบบของสถาบันเดียวกันสามารถเทียบโอนได้มากกว่า ที่กำหนด การเทียบโอนจากการศึกษาในสถาบันหนึ่ง ไปยังอีกสถาบันหนึ่ง ไม่สามารถเทียบโอนต่อช่วง ไปยังสถาบันอุดมศึกษาอื่นได้ และต้องระบุไว้ในใบแสดงผลการเรียน ( Transcript ) ว่าเป็นรายวิชาหรือ กลุ่มรายวิชาที่มีการเทียบโอน ข้อ 8 วิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษา ( 1 ) ส ถาบันอุดมศึกษากาหนดระบบและกลไกการเทียบโอน โดยได้รับความเห็นชอบ จากสภาสถาบันอุดมศึกษา ( 2 ) ให้มีคณะกรรมการระดับสถาบันทาหน้าที่กากับดูแลระบบและกลไกการเทียบโอน ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน และมีคณะกรรมการระดับคณะและระดับหลักสูตรทาหน้าที่ทดสอบและ ประเมินผลเพื่อการ เทียบโอนโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนมีส่วนร่วม ้ หนา 26 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565
( 3 ) การกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้ในการทดสอบและประเมินผลเพื่อการ เทียบโอน ต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความโปร่งใส และเสมอภาค โดยมีการทบทวนและปรับปรุง หลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้ประเมินผลเ พื่อการเทียบโอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ และสังคม ทั้งนี้ ต้องคานึงถึงความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล ( 4 ) การกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้ในการทดสอบและประเมินผลเพื่อการ เทียบโอน ต้องพิจารณาองค์ประกอบขั้นต่าตามแต่ละกรณี ดังนี้ ( 4.1 ) กรณีเทียบโอนจากการศึกษาในระบบ ให้พิจารณาผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่พึงประสงค์ สาระสำคัญ จำนวนหน่วยกิตและชั่วโมงสอน และผลการวัดและประเมินผลของผู้เรียน ( 4.2 ) กรณีเทียบโอนจากการศึกษานอกระบบ ให้พิจารณาผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่พึงประสงค์ สาระสาคัญ จานวนชั่วโ มงสอน วิธีการวัดและประเมินผล รูปแบบและวิธีการจัด การศึกษา คุณสมบัติของผู้สอน ผลการวัดและประเมินผลของผู้เรียน เอกสารยืนยันการศึกษาจาก หน่วยงานที่จัดการศึกษา และข้อมูลประวัติและผลงานของหน่วยงานที่จัดการศึกษา ( 4.3 ) กรณีเทียบโอนจากการศึกษาตามอัธยาศัย ให้พิจารณาผลลัพธ์ การเรียนรู้จากบันทึกประสบการณ์ ข้อมูลของแหล่งที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์นั้น และการเทียบเคียง ประสบการณ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชา ( 4.4 ) กรณีการเทียบโอนที่ไม่สามารถพิจารณาองค์ประกอบตามข้อ (4.1) - (4.3) สถาบันอุดมศึกษาสามารถดาเนินการทดสอบสมรรถนะได้ ( 5 ) การบันทึกผลการศึกษาจากการเทียบโอนในรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาให้บันทึก ตามวิธีการประเมิน เช่น หน่วยกิตที่ได้รับการยกเว้นการเรียนที่เคยศึกษามาแล้วจากสถาบันอุดมศึกษา หน่วยกิตที่ได้จากการทดสอบ หน่วยกิตที่ได้จากการเสนอแฟ้มสะสมงาน หน่วยกิตที่ได้จากการทดสอบ มาตรฐาน หน่วยกิตที่ได้จากการประเมินหรืออบรมที่จัดโดยหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น ( 6 ) ให้สถาบันอุ ดมศึกษาเผยแพร่หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและ ผลการศึกษาต่อสาธารณะ ข้อ 9 ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้ หรือมีความจาเป็นต้องปฏิบัติ นอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ และให้ถือคาวินิจฉัย ของคณะกรรมการนั้ นเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 ศาสตราจารย์เกียรติคุณกิตติชัย วัฒนานิกร ประธานกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ้ หนา 27 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565