ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2565 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคำแนะนา ของคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จึงออกประกาศไว้ ดังต่ อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็น ต้นไป ข้อ 3 การดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ สถาบันอุดมศึกษา ” หมายถึง สถาบันที่จัดการอุดมศึกษาระดับปริญญาและระดับต่ากว่าปริญญา ทั้งที่เป็นของรัฐ และของเอกชน “ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ” หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษา ฝึกอบรม หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติ หรือการเรียนรู้จริงในที่ทำงานระหว่างการศึกษา “ การจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ” หมายถึง การจัดการศึก ษาที่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามเป้าหมาย ของหลักสูตรและรายวิชา ข้อ 5 สถาบันอุดมศึกษาที่จะขอเปิดและดาเนินการหลักสูตรแบบให้ปริญญาในการจัดการศึกษา ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีความพร้อม ด้านบุคลากร อุปกรณ์ เทคโนโลยีระบบสนับสนุนและ ทรัพยากรอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะต้อง ได้รับการจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมายไทย ข้อ 6 ให้ใช้หลักเกณฑ์นี้สาหรับหลักสูตรแบบให้ปริญญาทุกสาขาวิชาที่สถาบันอุดมศึกษา ประสงค์จะจั ดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และต้องสอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตร การศึกษาระดับอุดมศึกษา มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องที่กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษากำหนด ข้อ 7 การจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 2 ระดับ ดังนี้ 7.1 ระดับหลักสูตร ต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมของรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเกินกว่าร้อยละ 60 ของจานวนหน่วยกิตในหลักสูตร ซึ่งไม่นับรวม ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565
จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาการฝึก งานหรือการฝึกภาคสนาม โดยพิจารณาจากองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ 6 ด้าน คือ 1) ด้านศาสตร์การสอนที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) ด้านการออกแบบเนื้อหา 3) ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ด้านการออกแบบการวัดและประเมินผล 5) ด้านความพร้อม ของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และ 6) ด้านความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีและทรัพยากร การศึกษา รายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศ 7.2 ระดับรายวิชา ต้องมีระยะเวลาการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เกินกว่าร้อยละ 60 ของระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ของรายวิชา นั้น ๆ โดยรายวิชาดังกล่าว ให้มีแนวทาง ดังนี้ 1 ) มีการระบุข้อกำหนดขั้นต่าของเทคโนโลยีและวิธีในการใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอน 2 ) มีการระบุทักษะการใช้งานเทคโนโลยีขั้นต่าของผู้เรียน 3 ) มีการแนะนารายละเอียดของรายวิชา วิธีการเรียนรู้ ช่องทางการเรียนรู้ และช่องทางการติดต่อผู้สอนที่ครบถ้วน 4 ) มีการเผยแพร่ข้อมูลตามข้อ 7.2 3) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึง ได้อย่างสะดวก ข้อ 8 สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้องกาหนดและ พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิ ภาพและเหมาะสมกับการจัดการศึกษาผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผู้สาเร็จการศึกษา โดยมีระบบการประกัน คุณภาพผลลัพธ์การเรียนรู้จริงของทุกหลักสูตรการศึกษาในแต่ละระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และสามารถติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลลัพ ธ์การเรียนรู้ดังกล่าวได้ตามหลักธรรมาภิบาล และนำไปใช้ปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ให้ได้ผลลัพธ์ ตามมาตรฐานคุณวุฒิดังกล่าว ข้อ 9 คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาอาจออกประกาศแนวปฏิบัติเพื่อการกากับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมิน ผลการจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นไปอย่าง มีคุณภาพและมาตรฐานตามเจตนารมณ์ของประกาศนี้ ข้อ 10 ในกรณีที่มีภาวะฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบให้หลักสูตรหรือรายวิชา ในชั้นเรียนปกติ ไม่สามารถดาเนินการได้ ทาให้สถาบันอุดมศึกษาจาเป็นต้องจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการชั่วคราว ให้สถาบันอุดมศึกษาคานึงถึงการบริหารหลักสูตรตามองค์ประกอบ การจัดการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน และการจัดการศึกษารายวิชาตามแนวทางทั้ง 4 ด้านที่กาหนดไว้ในข้อ 7 ของประกาศ นี้ ้ หนา 17 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 11 ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าวได้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา และให้ถือคาวินิจฉัยของคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษานั้น เป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565
เอกสารแนบท้ายประกาศฯ รายละเอียดองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตรผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้าน 1 . “ ด้านศาสตร์การสอนที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ” หมายถึง รูปแบบ วิธีการ และ กลยุ ทธ์การจัดการเรียนรู้ที่หลักสูตร และรายวิชา เลือกใช้ ซึ่ง สอดคล้องและเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ กับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เลือกใช้ ส่งผลให้เกิด ผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามเป้าหมาย ของหลักสูตรและรายวิชา ซึ่ง เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ อย่างน้อย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านจริยธรรม และด้านลักษณะบุคคล โดยมีการเลือกใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ที่สามารถเสริมสร้างศาสตร์การสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เน้น การเรียนรู้เชิงรุก กิจกรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เน้นปฏิสัมพันธ์ และการประเมินตามสภาพจริง 2 . “ ด้านการออกแบบเนื้อหา ” หมายถึง รูปแบบของเนื้อหาที่นำมาจัดการเรียนรู้ ซึ่ง อาจอยู่ ในรูปแบบออนไลน์ และ แบบ ชั้นเรียนที่เหมาะสมและตอบโจทย์ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรและรายวิชา โดยรูปแบบของเนื้อหา ได้แก่ วิชาที่เน้นการบรรยาย วิชาที่เน้นการฝึกปฏิบัติ วิชาที่เน้นกำรอภิปราย นา เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัด รูปแบบการเรียน การสอน ซึ่ง มีเกณฑ์ขั้นต่า ใน การจัดการเรียนการสอน แบบบรรยายและหรือแบบปฏิบัติใน 2 รูปแบบ คือ ( 1 ) การจัดการเรียนการสอนแบบ ประสานเวลา ผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ ( 2 ) การจัดการเรียนการสอนแบบ ไม่ประสานเวลา ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ อาจอยู่ในรูป แบบ การ บันทึก ที่สามารถรับชมล่วงหน้าหรือย้อนหลังได้ โดยทั้งสองรูปแบบนี้ ผู้สอน จะต้องมี การ จัดเตรียมและ ออกแบบเนื้อหา ความรู้ ที่ สอดคล้อ ง กับวัตถุประสงค์ มีการออกแบบเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย ระบุมโนทัศน์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และ สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ และ มีการ ถ่ายทอดให้กับผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ผ่านการ ใช้ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อ เสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ “ การจัดการเรียนการสอนแบบประสานเวลา ” หมายความว่า การจัดการเรียนการสอน ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ในเรื่องของสถานที่ โดยผู้เรียนและ ผู้สอนสามารถอยู่ต่างสถานที่กัน แต่สามารถโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์ และให้ผลป้อนกลับได้ในเวลาเดียวกันได้ผ่าน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม “ การจัดการเรียนกำรสอนแบบไม่ประสานเวลา ” หมายความว่า การจัดการเรียน การสอนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ทั้งในเรื่องของเวลาและ สถานที่ โดยผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหา กิจกรรม และการวัดประเมินผล สาหรับให้ผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ใน เวลาที่สะดว ก และเรียนรู้ได้ตามอัตราการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง ผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสม 3 . “ ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ” หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ที่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนมากขึ้น และ ผู้สอนมีบทบาทในการสร้างความยึดมั่นผูกพัน กับ การเรียน และให้ผลป้อนกลับเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ มีการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่หลากหลาย มา ใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นความสนใจและสร้างแรงจูงใจในการเรียน โดยมีเกณฑ์ขั้นต่า ใน การจัดกิจกรรมการเรีย นรู้ 2 รูปแบบ คือ ( 1 ) การจัดการเรียนการสอนแบบ ประสานเวลา ผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ ( 2 ) การจัดการเรียนการสอนแบบ ไม่ประสานเวลา ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- 2 - ทั้งนี้ ให้ เน้น การจัดกิจกรรมที่สนับสนุนความสามารถของผู้เรียนทั้งการพัฒนาผู้เรียนเป็น รายบุคคลหรือการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน โดยคานึงถึงความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีของผู้เรียนเป็นสิ่ง สำคัญ ควบคู่กับการเลือกใช้วิธีสอน และเครื่องมือออนไลน์ ที่เหมาะสมก่อนตัดสินใจเลือกใช้ กา รจัดการเรียนการสอนแบบ ประสานเวลาหรือไม่ประสานเวลา เพื่อให้ผู้เรียนมีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ และสามารถ บริหารจัดการเวลาในการเรียนได้ 4 . “ ด้านการออกแบบการวัดและประเมินผล ” หมายถึง การประเมินผลที่ครอบคลุม ทั้งการประเมิน เพื่อตัดสินผล และ การประเมินเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการตรวจสอบและประเมินตนเอง และการประเมินผลเพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับสำหรับนามาปรับปรุงทั้งวิธีการสอนและวิธีการเรียนรู้ โดย พิจารณาเลือกใช้ทั้ งการประเมินระหว่างการเรียนรู้ เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับ และการประเมินตัดสินผล มีเกณฑ์ ขั้นต่ำ ดังนี้ 1) มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการประเมินผล ที่ สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน ความรู้ ด้าน ทักษะ ด้าน จริยธรรม และ ด้าน ลักษณะ บุคคล 2) มี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน 3) มี การจัด รูปแบบการประเมินที่หลากหลาย เช่น การประเมินจากภาระงาน การ ประเมิน จากกระบวนการทางานของผู้เรียน ซึ่งอาจใช้เทคนิคการประเมินตนเองของผู้เรียน หรือให้เพื่อน ในชั้น เรียน ช่ว ย ประเมินร่วมด้วย 5 . “ ด้านความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ” สถาบันอุดมศึกษาต้องมีความพร้อม ในด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ครบถ้วนเพียงพอ หลากหลาย ทันสมัย เป็นปัจจุบัน และมีประสิทธิ ภาพ ในการจัดการศึกษา เพื่อ ให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตร มีเกณฑ์ขั้นต่า คือ ( 1 ) ทรัพยากร การเรียนรู้ ต้อง ครอบคลุม และ ส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตร ( 2 ) ทรัพยากรการเรียนรู้ ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรม ลิขสิทธิ์ ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ แสดงกระบวนการผลิตและการจัดหา ที่มีคุณภาพ ( 3 ) ทรัพยากรการเรียนรู้ ต้องส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีความหลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหาในหลักสูตร และ ( 4 ) ทรัพยากร การเรียนรู้ต้องได้รับ การวัดความสำเร็จอย่างน้อยใน 3 ด้าน ตาม ที่ได้กำหนด ในข้อ 6 6 . “ ด้าน ความพร้อมของอุปกรณ์ เทคโนโลยี และทรัพยากรการเรี ยน รู้ ” สถาบันอุดมศึกษา ต้องมีความพร้อม ด้าน อุปกรณ์เทคโนโลยี ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน เพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้ มีเกณฑ์ขั้นต่า คือ สถาบันอุดมศึกษาต้องมี ( 1 ) ระบบบริหารการจัดการเรียนรู้ ( 2 ) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และ ( 3 ) ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้น โดยสิ่ง สนับสนุนเหล่านี้ต้องมีปริมาณเพียงพอ หลากหลาย ทันสมัย เป็นปัจจุบัน ใช้งานง่าย และมีคุณภาพพร้อมใช้งาน ทั้งนี้ ให้ พิจารณาการดาเนินการปรับปรุงพัฒนา ความพร้อมตามข้อ 6 จากผลการประเมินความพึงพอใจของ นักศึกษาและอาจารย์ และสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านที่กาหนดไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นหลักประกันว่า นักศึกษาจะได้รับบริการการศึกษาที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพ และ มาตรฐาน และส่งเสริม การเรียนรู้ที่ยั่งยืน --------------------------------------------