Wed Nov 23 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์และการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท พ.ศ. 2565


ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์และการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท พ.ศ. 2565

ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตาบลเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์และการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาเทศบาลและคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจา องค์การบริหารส่วนตาบล ในการรับเรื่องราวร้องทุกข์และการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคสามารถเข้ำถึง การให้บริการของรัฐได้โดยง่าย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 (1/1) และ (5) ประกอบมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาเทศบาลและองค์การบริหาร ส่วนตาบล เกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์และการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดเก้าสิบวันนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ เรื่องราวร้องทุกข์ ” หมายความว่า คาร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน หรือ เสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ “ ผู้บังคับบัญชา ” หมายความว่า นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตาบล หรือ ผู้ได้รับมอบหมาย “ เจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า บุคลากรของเทศบาลหรือองค์การบริหารส่ วนตำบล ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ให้มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค “ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ” หมายความว่า บุคลากรของเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตาบล ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ให้มีหน้าที่รับผิดชอบดาเนินการเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค “ ผู้ไ กล่เกลี่ย ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ให้มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท และคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาเทศบาล หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำองค์การบริหารส่วนตาบล ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565

“ เขตพื้นที่ ” ห มายความว่า เขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภคประจำเทศบาลหรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำองค์การบริหารส่วนตาบล “ คู่กรณี ” หมายความว่า ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้บริโภค และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายด้วย “ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเทศบาล หรือ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำองค์การบริหารส่วนตาบล “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้ม ครองผู้บริโภค ข้อ 4 ให้ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครักษาการตามระเบียบนี้ หมวด 1 การรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ข้อ 5 ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน หรือ เสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจในเขตพื้นที่ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้ร้องทุกข์เป็นผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทาของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ดาเนินการเกี่ ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ข้อ 6 การรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคให้เจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ แล้วแต่กรณี ให้คำแนะนำ แจ้งสิทธิและหน้าที่ให้ผู้ร้องทุกข์ทราบ ดังต่อไปนี้ (1) การร้องทุกข์ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดอยู่หรือสะดุดหยุดลง (2) การร้องทุกข์ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้บริโภคที่จะนำเรื่องราวร้องทุกข์ไปดำเนินคดี ตามกฎหมายด้วยตนเอง และหากผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดาเนินคดีทางศาลด้วยตนเองแล้ว ให้ทาเป็น หนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้ รับผิดชอบทราบ หรือหากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบพบว่าผู้บริโภคได้ ไปใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาลด้วยตนเองแล้ว ให้ถือว่าผู้บริโภคไม่ประสงค์ให้คณะอนุกรรมการ ดาเนินการอีกต่อไป (3) ผู้ร้องทุกข์มีหน้าที่ในการตรวจสอบคำสั่งฟื้นฟูกิจการและสถานะบุคคลล้มละลาย จากกรมบังคับคดี (4) ให้แนะนำช่องทางการติดต่อสอบถามความคืบหน้าของเรื่องราวร้องทุกข์ให้ผู้ร้องทุกข์ทราบ หมวด 2 การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ข้อ 7 เมื่อผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเป็นผู้รับผิดชอบสานวน เรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือเอกสาร ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565

พยานหลักฐาน หากไม่เพียงพอต่อการดาเนินการ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแจ้งผู้ร้องทุ กข์เพื่อชี้แจง ข้อเท็จจริงหรือส่งเอกสารพยานหลักฐานเพิ่มเติม ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย และ เมื่อได้รับข้อเท็จจริงและเอกสารพยานหลักฐานแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบข้อเท็จจริง ประเด็นแห่งการร้องทุกข์ ควำมประสงค์ของผู้ร้องทุกข์ที่จะให้ คณะอนุกรรมการดาเนินการ และเอกสารพยานหลักฐาน (2) มีหนังสือถึงคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง หรือเชิญมาให้ถ้อยคำ และส่งเอกสารพยานหลักฐาน (3) จัดให้มีการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท (4) ดาเนิน การอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 8 การดาเนินการตามข้อ 7 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสามารถดาเนินการโดยทางหนังสือ โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใด เผชิญสืบ (ลงพื้นที่ ตรวจสอบ สถานที่) ระบบไกล่เกลี่ยออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ ( Social Media ) หรือวิธีอื่น ๆ ก็ได้ตามที่ ผู้บังคับบัญชากำหนด ข้อ 9 กรณีที่ข้อเท็จจริงและเอกสารพยานหลักฐาน ปรากฏว่าเรื่องราวร้องทุกข์เป็นอำนาจ หน้าที่ของหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเสนอความเห็น ต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาส่งเรื่องดังกล่าวไปยังหน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ดาเนินการตามอำนาจหน้าที่ พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบโดยเร็ว ข้อ 10 ในกรณีที่มีเหตุจาเป็นเร่งด่วน มีผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนเสียหายเป็นจานวนมาก หรือเป็นกรณีที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ผู้บังคับบัญชามีอำนาจเรียกเรื่องราวร้องทุกข์ มาตรวจสอบ พิจารณา หรืออาจมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอื่นดาเนินการเรื่องราวร้องทุกข์แทน หรือเพิ่มเติมได้ ข้อ 1 1 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอาจเสนอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้แก่ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตาบล ปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบล หรือเจ้าหน้าที่อื่นของเทศบาลหรือองค์การบริหาร ส่วนตาบลที่ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง ให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารพยานหลักฐาน ในกรณี ดังนี้ (1) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่ง เอกสารพยานหลักฐานแล้ว โดยบุคคลดังกล่าวไม่มาพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือไม่ส่งเอกสาร พยานหลักฐานตามกาหนด (2) กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น กรณีใกล้ขาดอายุควา ม ฯลฯ ข้อ 1 2 การมีหนังสือเรียกคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคา ส่งเอกสารหลักฐาน ชี้แจงข้อเท็จจริง ให้ส่งด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้ ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565

(1) โดยวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้จัดส่งไปยังที่ทำการ หรือที่อยู่ตาม ภูมิลำเนาของคู่กรณีหรือบุค คลที่เกี่ยวข้อง หรือที่อยู่ตามที่คู่กรณีแจ้งความประสงค์ไว้เป็นหนังสือ (2) โดยวิธีบุคคลนาไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้าขณะนาไปส่งไม่พบผู้รับ และหากผู้นาส่ง ได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้ วางหนังสือนั้นหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่อันเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้น ต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กาหนด ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งไปเป็นพยานก็ให้ถือว่าได้รับหนังสือแล้ว ข้อ 1 3 ในกรณีที่คู่กรณีหรือบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบสอบถามคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าประสงค์ที่จะไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หรือไม่ และถ้าคู่กรณี ให้ถ้อยคาอย่างไร ก็ให้บันทึกถ้อยคาตามนั้น และในกรณีที่มีการดาเนินการ ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทให้ปฏิบัติตามหมวด 3 การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ของระเบียบนี้ ในกรณีที่คู่กรณีไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หรือในกรณีอื่ นใดที่ถือได้ว่า คู่กรณีไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท รวมทั้งกรณีที่ไม่สามารถติดต่อคู่กรณีได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยรวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคพร้อมความเห็นเสนอต่อคณะอนุกรรมการ เพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคประจาจังหวัดพิจารณาดาเนินการ พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบ โดยให้ ดาเนินการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทราบถึ งเหตุดังกล่าว หมวด 3 การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ข้อ 1 4 ให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้มีการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทตามระเบียบนี้ และให้ความช่วยเหลือแก่คู่กรณีในการระงับข้อพิพาทให้ยุติโดยเร็ว ข้อ 1 5 การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทจะกระทำด้วยวิธีใด ณ วันเวลาใด และสถานที่ใด ให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด โดยแจ้งให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบ ข้อ 1 6 ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดแนวทางการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท (2) ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก และเสนอแนะคู่กรณีในการหาแนวทางยุติข้อพิพาท (3) ดาเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทด้วยความเป็นกลาง (4) จัดทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทตามผลของการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ข้อ 1 7 ผู้ไกล่เกลี่ยต้องถือปฏิบัติตามจริยธรรม ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง อิสระ ยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565

(2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว ไม่ทำให้การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ล่าช้าเกินสมควร (3) ซื่อสัตย์สุจริต และไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากคู่ กรณีหรือบุคคลอื่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาท (4) ปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทด้วยความสุภาพ (5) รักษาความลับที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ข้อ 1 8 ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ห้ามมิให้ผู้ไกล่เกลี่ยกร ะทาการ หรือ จัดให้กระทาการใด ๆ ที่เป็นการบังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือกระทาการโดยมิชอบด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คู่กรณีทำข้อตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 9 ก่อนดาเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ผู้ไกล่เกลี่ยชี้แจงขั้นตอน และวิธีการในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบ ข้อ 20 ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ผู้ไกล่เกลี่ยดาเนินการให้คู่กรณี ตกลงยินยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยเปิดโอกาสให้คู่กรณีเสนอข้อผ่อนผันให้แก่กัน หรือผู้ไกล่เกลี่ยอาจเสนอ ทางเ ลือก ในการผ่อนผันให้แก่คู่กรณีพิจารณาตกลงยินยอมยุติข้อพิพาทนั้น ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้ไกล่เกลี่ย ชี้ขาดข้อพิพาทหรือบีบบังคับให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดลงลายมือชื่อในข้อตกลงระงับข้อพิพาท ให้ผู้ไกล่เกลี่ยรับฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อพิพาทจากคู่กรณี ทุกฝ่าย ทั้งนี้ ในการไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาทนั้น ผู้ไกล่เกลี่ยอาจดาเนินการพร้อมกันหรือแยกกันก็ได้ แต่ในการตกลงกันนั้น ให้กระทำต่อหน้าคู่กรณีทุกฝ่าย เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ผู้ไกล่เกลี่ยอาจอนุญาตให้เฉพาะ แต่คู่ก รณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายอยู่ในการประชุมไกล่เกลี่ยก็ได้ ข้อ 2 1 กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ดาเนินการเป็นการลับ และ ไม่ให้มีการบันทึกรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทไว้ เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกัน ให้บันทึกรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาททั้งหมดหรือแต่บางส่วน ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท คู่กรณีมีสิทธิเจรจาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันได้ โดยอิสระ ทั้งนี้ ข้อตกลงนั้นต้องไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเ ป็นการ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่ตัวแทน ทนายความ ที่ปรึกษาของคู่ความ หรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ที่ผู้ไกล่เกลี่ยอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทด้วย ข้อ 2 2 ในกรณีที่คู่กรณีไม่ ได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นให้รักษาข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาทเป็นความลับ เว้นแต่สานักงานนาไปใช้เท่าที่จาเป็นเพื่อปฏิบัติ หรือบังคับ ให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลง ้ หนา 11 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565

ข้อ 2 3 ห้ามมิให้คู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หรือผู้ไกล่เกลี่ย หรือบุคคลภายนอก รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ นาข้อเท็จจริงหรือเอกสารพยานหลักฐานในการ ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทไปอ้างอิงหรือนำสืบเป็นพยานหลักฐานในกระบวนกา ร อนุญาโตตุลาการ กระบวนพิจารณาของศาล เว้นแต่สำนักงานนำไปใช้เท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติหรือบังคับ ให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลง ข้อ 2 4 ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอหรือผู้ไกล่เกลี่ยเห็นสมควรอาจให้นำ พยานบุคคล เข้าชี้แจงหรือให้ ข้อมูลก็ได้ แต่ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องคานึงถึงหลักการที่จะให้การไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ข้อ 2 5 การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทในชั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ให้กระทาได้ ไม่เกินสองครั้ง และมีระยะเวลารวมกันไม่เกินเก้าสิบวันนั บแต่วันทำการไกล่เกลี่ยครั้งแรก ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หากคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ ให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ จัดทำสรุปผลการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อยุติเรื่อง ในกรณีที่คู่กรณีสามารถตกลงกันได้บางประเด็น ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการ ตามความในวรรคสอง สาหรับประเด็นที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการ ตามข้อ 25 ข้อ 2 6 ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทในชั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ไม่สามารถหาข้อยุติได้ และคู่กรณียังมีความประสงค์ที่จะไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทต่อไป ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบนาเสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุกรรมการ และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับ ผิดชอบแจ้ง คู่กรณีให้มาพบคณะอนุกรรมการ เพื่อทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่อไป โดยการไกล่เกลี่ยหรือ ประนีประนอมข้อพิพาทในชั้นคณะอนุกรรมการให้กระทาได้ไม่เกินสองครั้ง และมีระยะเวลารวมกัน ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันทาการไกล่เกลี่ยครั้งแรก เว้นแต่มีความจาเป็นและคู่ กรณียินยอมให้ผู้ไกล่เกลี่ย ขยายระยะเวลาการไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาทได้อีกครั้งหนึ่งไม่เกินสามสิบวัน ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทตามวรรคหนึ่ง หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่กรณี สามารถตกลงกันได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทาสรุปผลการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท รายงานต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อยุติเรื่อง ข้อ 2 7 ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ชั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามข้อ 2 5 หรือในการไกล่เกลี่ยหรือปร ะนีประนอมข้อพิพาท ชั้นคณะอนุกรรมการตามข้อ 2 6 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคดังกล่าว พร้อมความเห็นเสนอต่อคณะอนุกรรมการ เพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาจังหวั ดพิจารณาดาเนินการ พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้ง ให้ผู้ร้องทุกข์ทราบ โดยให้ดาเนินการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทราบถึงเหตุดังกล่าว ้ หนา 12 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565

ข้อ 2 8 ในระหว่างการดาเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หากคู่กรณี ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจที่จะให้ดาเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทต่อไป คู่กรณีฝ่ายนั้นมีสิทธิ บอกเลิกการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทต่อผู้ไกล่เกลี่ย โดยทาเป็นหนังสือหรือแสดงเจตนา โดยวิธีการอื่น หรือมีเหตุอื่นใดทำให้การไกล่เกลี่ยหรือประนีปร ะนอมข้อพิพาทไม่อาจดาเนินการต่อไปได้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยยุติกระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรวบรวม ข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคดังกล่าว พร้อมความเห็น เสนอต่อคณะอนุกรรมการ เพื่ อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจาจังหวัดพิจารณา ดาเนินการ พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบ โดยให้ดาเนินการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทราบถึงเหตุดังกล่าว ข้อ 2 9 ในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันได้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยจัด ให้มีการทำสัญญาประนีประนอม ยอมความหรือบันทึกข้อตกลงระหว่างคู่กรณี และให้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือบันทึกข้อตกลงมีผลผูกพันคู่กรณี ในกรณีที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยจัดให้มีบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็น พยานหลักฐาน ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึก ข้อตกลง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวร้องทุกข์ จากผู้บริโภคดังกล่าวเสนอต่ออนุกรรมการ เพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการคุ้ม ครองผู้บริโภค ประจำจังหวัดต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ้ หนา 13 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 273 ง ราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2565