ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง แบบคำขอและการเตรียมการเพื่อตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2565
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง แบบคำขอและการเตรียมการเพื่อตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2565
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง แบบคาขอและการเตรียมการเพื่อตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2565 ตามที่ได้ออกประกาศกรมวิชาการเกษตรกาหนดแบบคาขอจดทะเบียนและการเตรียมการ เพื่อตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ จำนวน 26 ฉบับ ไว้แล้ว นั้น เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกำหนดชนิดพืชเป็นพันธุ์พืชใหม่ ที่จะได้รับความคุ้มครอ งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เพิ่มเติม ดังนั้น เพื่อให้แบบคาขอจดทะเบียนและการเตรียมการเพื่อตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ครบถ้วนสมบูรณ์ อาศัยอำนาจตามข้อ 2 และข้อ 8 แห่งกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการจดทะเบียน การพิจารณาคำขอจดทะเบียน การประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียน และแบบหนังสือสำคัญ แสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง แบบคาขอและการเตรียมการ เพื่อตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่ อตรวจสอบพันธุ์พืชตามชนิดพืช ที่ขอ จดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ ในท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การเตรียมการเพื่อตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2546 สำหรับพืชบัวบก [ Centella asiatica ( L .) Urb .] ข้อ 4 ให้เพิ่มรายละเอียดเอกสารแนบ 3 ในแบบคาขอตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง แบบคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2546 ซึ่งประกอบ คำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ สำหรับพืชบัวบก [ Centella asiatica ( L .) Urb .] ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 256 5 สมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 271 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤศจิกายน 2565
จํานวนรายละเอียดของส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่ส่งมอบ ตามชนิดพืชที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้เป็นพันธุ์พืชใหม่ที่จะได้รับการคุ้มครอง ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ . ศ . 2542 ชนิดพืช บัวบก [ Centella asiatica (L.) Urb.] 1. การส่งมอบส่วนขยายพันธุ์เพื่อการตรวจสอบ 1.1 ปริมาณส่วนขยายพันธุ์ที่ต้องส่งมอบ ผู้ขอจดทะเบียนต้องส่งมอบส่วนขยายพันธุ์ อย่างน้อย 40 ต้น 1.2 คุณภาพส่วนขยายพันธุ์ 1) ส่วนขยายพันธุ์ที่นํามาทดสอบจะต้องเป็นส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดี สมบูรณ์ปราศจากโรคและ แมลงที่ติดมากับส่วนขยายพันธุ์ 2) ส่วนขยายพันธุ์ที่จัดส่งต้องไม่มีการกระทําใดๆ ที่เป็นผลต่อการแสดงออกของลักษณะพันธุ์พืช เว้นแต่ได้รับอนุญาต หรือกําหนดโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีที่ส่วนขยายพันธุ์ที่ส่งมอบเคยผ่านการ ปฏิบัติการใด ๆ เช่น พ่นสารป้องกันกําจัดแมลง โรคพืช ใช้ปุ๋ย ใช้สารกระตุ้นการงอกของตา จะต้องระบุเป็น ลายลักษณ์อักษรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ 1.3 ระยะเวลาที่เหมาะสมในการส่งมอบส่วนขยายพันธุ์ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้กําหนด เวลาและ สถานที่การส่งมอบส่วนขยายพันธุ์ ผู้ยื่นคําขอจดทะเบียนพันธุ์พืช จะต้องเป็นผู้ส่งมอบส่วนขยายพันธุ์ตามที่ กําหนด พร้อมทั้งดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ทั้งในเรื่องการผ่านพิธีการทางศุลกากร และด้านสุขอนามัยพืช 2. การปลูกหรือขยายพันธุ์ ณ แปลงทดลองของกรมวิชาการเกษตร เลือกสถานที่ตั้งแปลงทดลองของศูนย์วิจัยที่อธิบดีเห็นชอบตามความเหมาะสม
คพ .1/3 ( บัวบก ) เอกสารแนบ 3 รายละเอียดสําคัญของพันธุ์พืชใหม่ : บัวบก ให้ทําเครื่องหมาย ภายใน ( ) หน้าข้อความที่ต้องการ 1. ตารางแสดงลักษณะประจําพันธุ์ ลักษณะ (Characteristics) ตัวเลข (Notes) 1. ต้น : ความสูงทรงพุ่ม (Plant : height) ล . 1 1 ( ) เตี้ย (short) 1 ( ) ปานกลาง (medium) 2 ( ) สูง (tall) 3 2. ต้น : ความกว้างทรงพุ่ม (Plant : width) ล . 2 ( ) แคบ (narrow) 3 ( ) ปานกลาง (medium) 5 ( ) กว้าง (broad) 7 3. ต้น : สีของไหล (Plant : color of stolon) ล . 3 ( ) เขียว (green) 1 ( ) เขียวปนม่วง (green and purple) 2 ( ) ม่วง (purple) 3 4. ใบ : ความยาวแผ่นใบ (Leaf : length of leaf blade) ล . 4 ( ) สั้น (short) 3 ( ) ปานกลาง (medium) 5 ( ) ยาว (long) 7 5. ใบ : ความกว้างแผ่นใบ (Leaf : width of leaf blade) ล . 5 ( ) แคบ (narrow) 3 ( ) ปานกลาง (medium) 5 ( ) กว้าง (broad) 7 6. ใบ : ความหนาแผ่นใบ (Leaf : thickness of leaf blade) ล . 6 ( ) บาง (thin) 3 ( ) ปานกลาง (medium) 5 ( ) หนา (thick) 7 7. ใบ : มุมโคนใบ (Leaf : angle of leaf base) ล . 7 ( ) แคบ (narrow) 3 ( ) ปานกลาง (medium) 5 ( ) กว้าง (broad) 7 8. ใบ : ขอบใบ (Leaf : leaf margin) ล . 8 ( ) หยักมน (crenate) 3 ( ) หยักซี่ฟัน (dentate) 5 1 ล . … คือลักษณะในแบบบันทึกลักษณะประจําพันธุ์ที่จะตรวจสอบ
ลักษณะ (Characteristics) ตัวเลข (Notes) ( ) จักฟันเลื่อย (serrate) 7 9. ใบ : ความลึกของรอยหยักที่ขอบใบ (Leaf : depth of indentations of margin) ล . 9 ( ) ตื้น (shallow) 3 ( ) ปานกลาง (medium) 5 ( ) ลึก (deep) 7 10. ใบ : ความยาวก้านใบ (Leaf : length of petiole) ล . 10 ( ) สั้น (short) 3 ( ) ปานกลาง (medium) 5 ( ) ยาว (long) 7 11. ใบ : สีก้านใบ (Leaf : color of petiole) ล . 11 ( ) เขียว (green) 1 ( ) เขียวปนม่วง (green and purple) 2 ( ) ม่วง (purple) 3 12. ช่อดอก : ตําแหน่ง (Inflorescence : position) ล . 12 ( ) ที่โคนกอ (at base) 1 ( ) ระหว่างไหล (between stolon) 2 13. ดอก : สี (Flower : color) ล . 13 ( ) เขียว (green) 1 ( ) เขียวปนม่วง (green and purple) 2 ( ) ม่วง (purple) 3 14. ดอก : สีอับเรณู (Flower : color of anther) ล . 14 ( ) เขียว (green) 1 ( ) เขียวปนม่วง (green and purple) 2 ( ) ม่วง (purple) 3 15. ผล : รูปร่าง (Fruit : shape) ล . 15 ( ) แบน (flat) 1 ( ) กลม (round) 2 16. กรณีที่มีสารสําคัญ : ประเภทของสารสําคัญ (In the case of major active compounds : type of major active compounds) ล . 16 ( ) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) 1 ( ) กรดแมดิแคสซิค (Madecassic acid) 2 ( ) แมดิแคสโซไซด์ (Madecassoside) 3 ( ) เอเชียติโคไซด์ (Asiaticoside) 4 ( ) อื่นๆ ( ระบุ )… 5 17. กรณีที่มีสารสําคัญ : ปริมาณสารสําคัญ (In the case of major active compounds : quantity of major active compounds) ล . 17 ( ) ต่ํา (low) 3 ( ) ปานกลาง (medium) 5 ( ) สูง (high) 7
-
พันธุ์ที่มีลักษณะใกล้เคียง (Similar varieties) และลักษณะที่แตกต่างจากพันธุ์ที่ขอจดทะเบียนซึ่ง เกี่ยวข้องกับลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก การบริโภค เภสัชกรรม การผลิตและการแปรรูป ชื่อพันธุ์ที่มีลักษณะ ใกล้เคียง (Denomination of similar variety) ลักษณะที่แตกต่างจาก พันธุ์ที่ใกล้เคียง (Characteristic in which the similar variety is different) ระบุลักษณะดังกล่าวของ พันธุ์ที่ใกล้เคียง (State of expression of similar variety) ระบุลักษณะดังกล่าวของ พันธุ์ที่ขอจดทะเบียน (State of expression of candidate variety)
-
ลักษณะอื่นๆ ที่สามารถระบุได้ ( เพื่อใช้ประโยชน์ในการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์ ) 4. ข้อมูลเพิ่มเติมที่ช่วยจําแนกความแตกต่างของพันธุ์อย่างเด่นชัด (Additional information which may help to distinguish the variety) 4.1 ความต้านทานหรือทนทานต่อโรค - แมลงศัตรูพืชและอื่นๆ (Resistance to pests and disease) 4.2 สภาพแวดล้อมพิเศษที่ใช้ในการตรวจสอบพันธุ์พืช 4.2.1 สถานที่และระยะเวลาปลูก 4.2.2 สภาพการปลูก (Use) 4.2.3 สภาพอื่นๆ (Other conditions) 4.3 ข้อมูลอื่นๆ (Other information)
-
หากผู้ตรวจสอบต้องการข้อมูลลักษณะอื่นๆ เพิ่มเติม จะติดต่อขอจากผู้จดทะเบียนพันธุ์พืชโดยตรงได้ที่ ( ที่อยู่ติดต่อได้สะดวก ) 6. ภาพถ่าย โปรดระบุลักษณะ 6.1 ภาพถ่ายพันธุ์ที่ขอจดทะเบียน (candidate variety) ( ) ต้น ( ) ใบ ( ) อื่นๆ 6.2 ภาพถ่ายพันธุ์ที่มีลักษณะใกล้เคียง (Similar variety) ( ถ้ามี ) ( ) ต้น ( ) ใบ ( ) อื่นๆ -----------------------------------------