Mon Nov 21 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง คุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนำไปรีไซเคิล พ.ศ. 2565


ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง คุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนำไปรีไซเคิล พ.ศ. 2565

ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง คุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนำไปรีไซเคิล พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการส่งเสริมนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular Economy ) และให้มีการนาเศษพลาสติกภายในประเทศกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เพื่อยกระดับคุณภาพ เศษพลาสติกในประเ ทศให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อ การนา ไปเป็นวัตถุดิบในภาคธุรกิจรีไซเคิล จึงสมควร ให้มีการประกาศเผยแพร่คุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนาไปรีไซเคิล เพื่อให้ประชาชน ครัวเรือน ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่าและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชนที่เกี่ยวข้องนาไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการดาเนินการคัดแยก รวบรวมเศษพลาสติก ที่มีคุณภาพและมีคุณลักษณะเหมาะสมในการนำไปรีไซเคิลต่อไป ดัง นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 256 5 ซึ่งกำหนดให้กรมควบคุมมลพิษมีอานาจและ หน้าที่ในการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี กฎหมาย เพื่อนา มาประยุกต์ใช้ในการจัดการกากของเสีย และให้ความช่ วยเหลือแล ะคาปรึกษาแนะนา เกี่ยวกับการจัดการมลพิษ รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการจัดการมลพิษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษจึงอาศัยอานาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศกาหนดคุณลักษณะ เศษพลาสติกที่ เหมาะสมในการนำไปรีไซเคิล ดังรายละเอียดในภาคผนวกท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 256 5 อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 271 ง ราชกิจจานุเบกษา 22 พฤศจิกายน 2565

ภาคผนวก ท้ายประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง คุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนําไปรีไซเคิล พ . ศ . 2565 1 . คํานิยาม “ เศษพลาสติก ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ไม่ได้ไม่ว่าจะถูกใช้งานแล้วหรือไม่ก็ตาม อาทิ ขวดพลาสติก แก้วน้ําพลาสติก ถ้วยพลาสติก ถุงพลาสติก ตะกร้าพลาสติก หลอดพลาสติก ฟิล์มพลาสติก “ คุณลักษณะ ” หมายความว่า ลักษณะและคุณภาพของเศษพลาสติก “ รีไซเคิล ” (Recycle) หมายความว่า การจัดการวัสดุเหลือใช้ประเภทต่าง ๆ หรือวัสดุที่กําลังจะเป็นขยะ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ โดยนําไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ เช่น การหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่ แล้วนํากลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ซึ่งวัสดุนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ “ เบล ” (Bale) หมายความว่า พลาสติกที่ถูกบีบอัดเป็นก้อนขนาดใหญ่ 2 . ชนิดของพลาสติก พลาสติกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด โดยมี ตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข และเครื่องหมาย ที่ระบุชนิด / ประเภท ของพลาสติก เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการคัดแยก รวบรวม และนําไปรีไซเคิล ดังนี้ ตารางที่ 1 ชนิดของพลาสติก สัญลักษณ์ ชนิด / ประเภทพลาสติก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate : PETE/PET) ขวดน้ําดื่ม ขวดน้ําอัดลม ขวดน้ํามันพืช ขวดน้ําปลา พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene : HDPE) ขวดแชมพู ขวดแป้งเด็ก ขวดนม ขวดน้ํายาล้างจาน ขวดน้ํายาซักผ้า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride : PVC) ท่อน้ํา สายยาง หนังเทียม ฉนวนหุ้มสายไฟ แฟ้มใส่เอกสาร บัตรพลาสติก พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ํา (Low-density Polyethylene : LDPE) ฟิล์มยืดหุ้มสินค้า ถุงขนมปัง ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว ถุงขยะ พอลิพรอพิลีน (Polypropylene : PP) ถ้วยบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปแบบแข็ง ภาชนะบรรจุอาหาร ถ้วยโยเกิร์ต ถุงร้อน หลอดดูด พอลิสไตรีน (Polystyrene : PS) ภาชนะโฟม กล่องใส ช้อน ส้อม พลาสติก

  • 2 - สัญลักษณ์ ชนิด / ประเภทพลาสติก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ พลาสติกอื่น ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดข้างต้น ( โดยจะมีชื่อของพลาสติกนั้น ไว้ใต้สัญลักษณ์เบอร์ 7) เป็นพลาสติกแข็งใช้ซ้ําได้ เช่น Polycarbonate (PC) เคสโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนนาฬิกา Acrylonitrile butadiene styrene (ABS) กันชนรถยนต์ 3 . คุณสมบัติของพลาสติก พลาสติกทั้ง 7 ชนิด มีคุณสมบัติ ดังนี้ 3.1 พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate : PETE/PET) เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี นิยมใช้ทําขวดบรรจุน้ําดื่ม ขวดน้ํามันพืช สามารถนํามารีไซเคิลเป็น เส้นใย สําหรับทําเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สําหรับหมอน 3.2 พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene : HDPE) เป็นพลาสติกที่เหนียวและ แตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย ใช้ทําขวดนม ขวดน้ํา และบรรจุภัณฑ์สําหรับน้ํายาทําความสะอาด ยาสระผม สามารถนํามารีไซเคิลเป็นขวดน้ํามันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม 3.3 พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride : PVC) ใช้ทําท่อน้ําประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสําหรับ ห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสําหรับทําประตู หน้าต่าง และหนังเทียม สามารถนํามารีไซเคิลเป็นท่อน้ําประปาหรือ รางน้ํา สําหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล หรือแผ่นไม้เทียม 3.4 พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ํา (Low Density Polyethylene : LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทําฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสําหรับบรรจุอาหาร สามารถนํามารีไซเคิลเป็นถุงดําสําหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้วถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม 3.5 พอลิพรอพิลีน (Polypropylene : PP) เป็นพลาสติกที่มีความใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ ยังทนต่อสารเคมีและน้ํามัน ใช้ทําภาชนะบรรจุอาหาร อาทิ กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ําแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนํามารีไซเคิลเป็นไม้กวาด พลาสติก แปรง กล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชน กรวยสําหรับน้ํามันไฟท้าย เป็นต้น 3.6 พอลิสไตรีน (Polystyrene : PS) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ใช้ทําภาชนะบรรจุ ของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร สามารถนํามารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะ เทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้ 3.7 พลาสติกอื่น ที่มิได้มีการระบุชื่อจําเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ประเภทข้างต้น เป็นพลาสติกที่นํามาหลอมใหม่ได้

  • 3 - 4 . คุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนําไปรีไซเคิล 4 . 1 คุณลักษณะเบื้องต้น 1 ) ต้องสะอาด ไม่ปนเปื้อนเศษอาหาร สารเคมี หรือวัตถุอันตราย 2 ) ต้องไม่ตากแดดเป็นระยะเวลานาน หรือไม่ทิ้งไว้ในสภาวะอากาศทั่วไป เพราะจะทําให้คุณสมบัติ ของเศษพลาสติกในการยืด รีด ดึง ลดลง 3 ) ต้องไม่เป็นเศษพลาสติกที่มาจากสถานที่ฝังกลบขยะ 4 . 2 คุณลักษณะเฉพาะ คุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมในการนําเศษพลาสติกไปรีไซเคิลแยกตามรายชนิด ดังนี้ ตารางที่ 2 คุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมในการนําเศษพลาสติกไปรีไซเคิล ชนิด / ประเภท เศษพลาสติก คุณลักษณะ เฉพาะ PETE/PET HDPE LDPE PP PS PVC พลาสติกอื่น 1. ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ขวดน้ําดื่ม ขวดน้ําอัดลม ขวดน้ํามันพืช ขวดน้ําปลา ขวดแชมพู ขวดแป้งเด็ก ขวดนม ขวด น้ํายาล้างจาน ขวดน้ํายาซัก ผ้า ฟิล์มยืดหุ้ม สินค้า ถุงขนมปัง ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว ถุงขยะ ถ้วยบะหมี่ กึ่งสําเร็จรูป แบบแข็ง ภาชนะบรรจุ อาหาร ถ้วยโยเกิร์ต ถุงร้อน หลอดดูด ภาชนะโฟม กล่องใส ช้อน ส้อม พลาสติก ท่อน้ํา สายยาง หนังเทียม ฉนวนหุ้ม สายไฟ แฟ้มใส่เอกสาร บัตรพลาสติก เคสโทรศัพท์ มือถือ แล็ปท็อป ชิ้นส่วน รถยนต์ ชิ้นส่วน นาฬิกา 2. การแบ่งเกรด - แบ่ง 3 เกรด ( สีใส / สีชา / สีอื่นๆ ) ( สีใส / สีดํา / สีอื่นๆ ) - - - 3. ต้องแยกประเภท ไม่ปะปนกันพลาสติก ชนิดอื่น √ * ควรแยกขวด น้ํามันพืชออก จากขวดน้ํา √ * สีใสขุ่น และสีขาวนม มีความต้องการสูง √ * ต้องแยกสี สีใส มีความ ต้องการสูง √ √ √ 4. ต้องสะอาด ไม่ปนเปื้อนเศษอาหาร วัตถุอันตราย หรือ สารเคมี √ √ √ √ √ √ √ 5 . ต้องไม่มีสิ่งปนเปื้อน มากับเบล √ √ * อนุโลมให้มีสิ่งปนเปื้อนได้ ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ √ √ √ √ 6 . ไม่มีความชื้น √ √ √ √ ความชื้น ไม่ควรเกิน 4 เปอร์เซ็นต์ √ √ √ 7 . ต้องมีความสดใหม่ (Freshness) √ * ไม่ตากแดด หรือไม่ทิ้งไว้ ในสภาวะ อากาศทั่วไป เกิน 30 วัน √ √ √ √ √ √ 8 . ต้องไม่เป็นพลาสติก ที่มาจากสถานที่ฝังกลบ ขยะ √ √ √ √ √ √ √ 9 . อุปกรณ์บด บีบอัด ต้องสะอาด และการบด บีบอัด ต้องไม่ทําบน พื้นดิน √ √ √ √ √ √ √

  • 4 - 5 . วิธีการคัดแยกให้ได้เศษพลาสติกที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการรีไซเคิล 5 . 1 ประชาชน ครัวเรือน 1 ) คัดแยกเศษพลาสติก ไม่ทิ้งรวมกับขยะเศษอาหาร และขยะอันตรายเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน 2 ) หากมีการปนเปื้อนให้ล้างทําความสะอาด ดึงเทปกาว กระดาษ หรือสติ๊กเกอร์ออก 3 ) คัดแยกเศษพลาสติกรวบรวมจําหน่ายให้ร้านรับซื้อของเก่า หรือส่งจุด Drop Point หรือรวบรวม ให้รถเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 . 2 ซาเล้ง 1 ) สังเกตสัญลักษณ์ เพื่อแยกชนิดเศษพลาสติกไม่ให้ปะปนกัน 2 ) สังเกตสี เพื่อแยกเศษพลาสติกออกเป็นกลุ่มตามสีของเศษพลาสติก 3 ) คัดแยกเศษพลาสติกแบบแยกชนิดรวบรวมจําหน่ายให้ร้านรับซื้อของเก่า 5 . 3 ร้านรับซื้อของเก่า 1 ) สังเกตสัญลักษณ์ เพื่อแยกชนิดเศษพลาสติกไม่ให้ปะปนกัน 2 ) สังเกตสี เพื่อแยกเศษพลาสติกออกเป็นกลุ่มตามสีของเศษพลาสติก 3 ) เก็บรวบรวมแบบแยกชนิดไว้ในสถานที่ที่กันแดดกันฝนได้ เพื่อให้มีความสดใหม่ (Freshness) ความชื้นไม่เกินเกณฑ์ที่โรงงานรีไซเคิลกําหนด 4 ) การบด บีบอัด ต้องไม่ทําบนพื้นดิน และอุปกรณ์บีบ อัด ต้องมีความสะอาด