Sun Nov 20 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการพิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษาในประเทศกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565


ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการพิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษาในประเทศกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการพิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษาในประเทศกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 17 และข้อ 21 แห่งกฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ประกอบกับมติคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จึงมีมติออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทาง การ พิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษาในประเทศกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ สถำบัน ” หมายถึง องค์กรวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือหน่วยงานอื่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถาบันที่จัดการอุดมศึกษา ระดับปริญญาและระดับต่ากว่าปริญญา ทั้งที่เป็นของรัฐและของเอกชน ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 “ คณะกรรมการ ” หมายถึง คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา “ คณะอนุกรรมการ ” หมายถึง คณะอนุกรรมการด้านการพิจารณาคุณวุฒิผู้สาเร็จการศึกษา ระดับอุดมศึกษา “ สานักงานปลัดกระทรวง ” หมายถึง สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ หลักสูตรการศึกษา ” หมาย ถึง หลักสูตรที่จัดการศึกษาและหลักสูตรที่จัดการฝึกอบรมเฉพาะ ทางโดยสถาบัน ซึ่งอาจดำเนินการเองหรือร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพ “ หลักสูตรเชี่ยวชาญเฉพาะ ” หมายถึง หลักสูตรด้านวิชาชีพที่จัดฝึกอบรมเป็นการเฉพาะ โดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่จัดตั้งตามกฎหมายเป็นผู้ควบคุมดูแล และแจ้งความประสงค์ ขอให้พิจารณาคุณวุฒิ ข้อ 4 แนวทางการพิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษาในประเทศกับมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา มีดังนี้ 4.1 ) สถาบันที่ขอให้พิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษา ต้องเป็นสถาบันที่ได้รับ อนุญาตให้จัดตั้งและมีอานาจหน้าที่จัดการศึกษาตามกฎหมายของประเทศไทย 4.2 ) สถาบันที่ขอให้พิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษา จะต้องจัดทำหลักสูตร การศึกษา ที่ขอให้พิจารณา และต้องได้รับความเห็นชอบ หรืออนุมัติจากองค์คณะที่มีอานาจสูงสุด ของสถาบันนั้น ๆ โดยมีคุณวุฒิตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ( 1 ) ระดับอนุปริญญา มีหนึ่งคุณวุฒิ ได้แก่ คุณวุฒิอนุปริญญา ้ หนา 46 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 270 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน 2565

( 2 ) ระดับปริญญาตรี มีหนึ่งคุณวุฒิ ได้แก่ คุณวุฒิปริญญาตรี ( 3 ) ระดับบั ณฑิตศึกษา มีสี่คุณวุฒิ ได้แก่ คุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิต คุณวุฒิปริญญาโท คุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และคุณวุฒิปริญญาเอก 4.3 ) หลักสูตรการศึกษาหรือการฝึกอบรมโดยองค์กรวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ ที่กฎหมายรับรอง และสอดคล้องตามมาตรฐานคุณวุฒิตามข้อ 4 .2 ข้อ 5 การพิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษาจะใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เป็นแนวทางการพิจารณา โดยสถาบันที่ขอเทียบหลักสูตรจะต้องเสนอหลักสูตร โดยมีข้อมูล ดังต่อไปนี้ 5.1 ) ระดับอนุปริญญา และระดับปริญญาตรี ให้พิจารณาในประเด็น ดังนี้ ( 1 ) โครงสร้ำงหลักสูตร ( 2 ) พื้นฐานการศึกษา ( 3 ) ระบบการศึกษา ( 4 ) คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา ( 5 ) จำนวนหน่วยกิต ( 6 ) ระยะเวลาการศึกษา ( 7 ) รายวิชาที่ศึกษา ( 8 ) เกณฑ์การวัดผลการศึกษาและเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ( 9 ) เงื่อนไขต่าง ๆ ที่หลักสูตรกาหนด 5.2 ) ระดับบัณฑิตศึกษา ให้พิจารณาเพิ่มเติมจากข้อ 5.1 ในประเด็น ดังนี้ ( 1 ) การสอบหรือการประเมินผลเพื่อการสำเร็จการศึกษา ( 2 ) ผลงานวิจัย หรือเอกสารทางวิชาการ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่กำหนด ข้อ 6 หากคณะอนุกรรมการได้พิจารณาหลักสูตรการศึกษาและหลักสูตรเชี่ ยวชาญเฉพาะ จากสถาบันและองค์กรวิชาชีพที่นามาขอเทียบคุณวุฒิ ว่าสามารถเทียบได้เท่ากับคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแล้ว จะนาเสนอคณะกรรมการให้ความเห็นชอบผลการพิจารณาดังกล่าว และขอให้สถาบันดาเนินการ ดังนี้ 6.1 ) กรณีเทียบได้เท่ากับคุณวุฒิอนุปริญญาจนถึงคุณวุฒิประกา ศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ขอให้สถาบันจัดส่งรายชื่อผู้สาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ให้สานักงานปลัดกระทรวง เพื่อประกอบการ ตรวจสอบรายชื่อผู้สาเร็จการศึกษาและพิจารณาดาเนินการเทียบคุณวุฒิโดยไม่ต้องนาเสนอคณะอนุกรรมการ พิจารณาเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ กรณีนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพิจารณาเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร จะต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องตามมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา 6.2 ) กรณีเทียบได้เท่ากับคุณวุฒิปริญญาเอก สำนักงานปลัดกระทรวงจะขึ้นทะเบียน หลักสูตร และขอให้สถาบันจัดส่งบั ญชีรายชื่อผู้สาเร็จการศึกษาที่สอดคล้องตามมาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา ให้สานักงานปลัดกระทรวงเพื่อขึ้นทะเบียนรายชื่อ สาหรับนาไปใช้ประโยชน์ในการ ้ หนา 47 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 270 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน 2565

พิจารณาเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาต่อไป โดยไม่ต้อง นำเสนอคณะกรรมการพิ จารณาเป็นรายบุคคล ข้อ 7 ระยะเวลาดาเนินการ 7.1 ) กรณีหลักสูตรการศึกษาที่สานักงานปลัดกระทรวงยังไม่เคยพิจารณา กาหนด ระยะเวลาการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน โดยระยะเวลาในการพิจารณาอาจขยายเวลาออกไปเท่าที่จำเป็น แ ละการพิจารณาสิ้นสุดที่คณะกรรมการ 7.2 ) กรณีการพิจารณาเทียบหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่เป็นหลักสูตรเชี่ยวชาญเฉพาะ อาจได้รับการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะกิจที่ได้รับการแต่งตั้ง ระยะเวลาในการ พิจารณาอาจต้องขยายเวลาออกไปเท่าที่จำเป็น 7.3 ) กรณีสถาบันที่ขอให้พิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษา ยื่นเอกสารข้อมูล ไม่ครบถ้วน และสำนักงานปลัดกระทรวงได้แจ้งให้สถาบันยื่นเอกสารเพิ่มเติมแล้ว แต่สถาบันไม่สามารถ ส่งเอกสารให้สานักงานปลัดกระทรวง ภายในระยะเวลาที่กาหนด ให้ถือว่าไม่ประสงค์ที่จะให้พิจารณา เทียบหลั กสูตรระดับอุดมศึกษาต่อไป ข้อ 8 การพิจารณาเทียบหลักสูตรการศึกษาจะแจ้งให้สถาบันทราบว่า เทียบเท่าหรือเทียบ ได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาในแต่ละระดับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ จะไม่รวมถึงการตรวจสอบผลการสาเร็จ การศึกษาตามหลักสูตร ที่ขอให้พิจารณาและการรับรองของสภาวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ข้อ 9 การพิจารณาเทียบหลักสูตรระดับอุดมศึกษาอื่น ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ 10 ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ หรือมีความจาเป็นที่จะต้องปฏิบัติ นอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการที่จะพิจารณาดาเนินการ และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการนั้นเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 1 4 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 ศาสตราจารย์เกียรติคุณกิตติชัย วัฒนานิกร ประธานกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ้ หนา 48 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 270 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน 2565