Sun Nov 20 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการพิจารณาเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565


ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการพิจารณาเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการพิจารณาเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศ กับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 16 และข้อ 21 แห่งกฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ประกอบกับมติคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จึงมีมติออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทาง การพิจารณาเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศกับมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็น ต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการพิจารณาคุณวุฒิ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศ พ.ศ. 2549 ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ คณะกรรมการ ” หมายถึง คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา “ คณะอนุกรรมการ ” หมายถึง คณะอนุกรรมการด้านกา รพิจารณาคุณวุฒิผู้สาเร็จการศึกษา ระดับอุดมศึกษา “ สานักงานปลัดกระทรวง ” หมายถึง สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ การศึกษาในระบบทางไกล ” หรือ “ การจัดการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ” หมายถึง ระบบการศึกษาที่ใช้สื่อการศึกษา หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตรและรายวิชาและเพื่อให้ นักศึกษาสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ และมีระบบการวัด และประเมินผลที่มีคุ ณภาพและได้มาตรฐาน ข้อ 5 แนวทางการพิจารณาเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศ กับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีดังนี้ 5.1 ผู้ยื่นคาร้องขอให้พิจารณาคุณวุฒิ จะต้องสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่ขอให้ พิจารณา โดยมีคุณวุฒิตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ( 1 ) ระดับอนุปริญญา มีหนึ่งคุณวุฒิ ได้แก่ คุณวุฒิอนุปริญญา ( 2 ) ระดับปริญญาตรี มีหนึ่งคุณวุฒิ ได้แก่ คุณวุฒิปริญญาตรี ( 3 ) ระดับบัณฑิตศึกษา มีสี่คุณวุฒิ ได้แก่ คุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิต คุณวุฒิปริญญาโท คุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และคุณวุฒิปริญญาเอก ้ หนา 41 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 270 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน 2565

5.2 สถาบันการศึกษาที่ผู้ยื่นคำร้องสำเร็จการศึกษา ต้องได้รับการรับรองวิทยฐานะ จากหน่วยงานตามกฎหมายในประเทศนั้น ๆ หรือจากหน่วยงานรับรองวิทยฐานะที่ประเทศไทยรับรอง ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษามีการเปิดสาขาในต่างประเทศได้ ต้องมีหลักฐานการรับรองสาขานั้น จากหน่วยงานที่ให้การรับรองของสถาบันการศึกษานั้นด้วย กรณีใบปริญญาบัตร ใบประกาศนียบัตร หนังสือรับรองการสาเร็จการศึกษา และใบบันทึกผลการศึกษา ( Transcript ) ที่มิใช่ภาษาสากล ขอให้ดาเนินการแปลเอกสารดังกล่าว มาเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย พร้อมประทับตรารับรองการแปลเอกสารจากหน่วยงานของรัฐ ข้อ 6 การพิจารณาเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศกับมาตรฐาน คุณวุ ฒิระดับอุดมศึกษา โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาเป็นแนวทางการพิจารณา ดังนี้ 6.1 กรณีศึกษาแบบมีชั้นเรียน ให้พิจารณาจาก ( 1 ) โครงสร้างหลักสูตร ( 2 ) พื้นฐานการศึกษา ( 3 ) ระบบการศึกษา ( 4 ) คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา ( 5 ) จำนวนหน่วยกิต ( 6 ) ระยะเวลาการศึกษา ( 7 ) รายวิชาที่ศึกษา ( 8 ) เกณฑ์การวัดผลการศึกษาและเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ( 9 ) เงื่อนไขต่าง ๆ ที่หลักสูตรกาหนด 6.2 กรณีศึกษาในระบบทางไกล ให้พิจารณาเพิ่มเติมจากข้อ 6.1 ดังนี้ ( 1 ) หลักสูตรที่ผู้ยื่นคำร้องเสนอขอเทียบคุณวุฒิ ต้องเป็นหลักสูตรที่มีการระบุ ชัดเจนว่าเป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาในระบบทางไกล ( 2 ) หลักสูตรที่ผู้ยื่นคำร้องเสนอขอเทียบคุณวุฒิ และสถาบันการศึกษา เจ้าของหลักสูตรที่จัดการศึกษาทางไกลตามหลักสูตรดังกล่าวต้องได้รับการรับรองมาตรฐานโดยรัฐบาล หรือหน่วยงานที่ทำห น้าที่รับรองมาตรฐานคุณวุฒิของประเทศที่สถาบันการศึกษาเจ้าของหลักสูตรตั้งอยู่ ( 3 ) ในกรณีที่มีหน่วยงานดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลในประเทศอื่น ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ต้องได้รับการจดทะเบียนหรือรับรอง ถูกต้องตามกฎหมายจาก รัฐบาลในประเทศที่หน่วยงานดาเนินการจัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้นตั้งอยู่ หรือประเทศที่ตั้งเห็นชอบให้ดาเนินการได้ และได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การรับรอง ของประเทศที่สถาบันนั้นตั้งอยู่ เพื่อจัดการศึกษาและได้รับการประกันคุณภาพการศึกษาว่ามีคุณภา พ ในการจัดการศึกษาทางไกล สำหรับ หน่วยงานที่ดำเนินงานจัดการศึกษาทางไกลในประเทศไทย ้ หนา 42 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 270 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน 2565

ต้องได้รับการจดทะเบียนหรือรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเอกชน ของประเทศไทยด้วย ( 4 ) ต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานที่ดำเนินการจัดการศึกษา ทางไกล มีระบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน การวัด และ การประเมินผลการศึกษาที่ชัดเจนเหมาะสม มีคุณภาพตรวจสอบได้ มีประสิทธิผลและมีมาตรฐาน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ที่ทำให้เกิดคุณภาพในผลสัม ฤทธิ์ของการศึกษาแก่ผู้เรียน ในกรณีที่มีผู้เสนอขอเทียบคุณวุฒิของหลักสูตรปกติ แต่ไม่สามารถจัดการศึกษา ณ ที่ตั้ง ตามปกติได้ เช่น ในภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นต้น จึงดาเนินการ เรียนการสอนทางไกลนั้นให้พิจารณาเป็นรายกรณี ข้อ 7 ผู้ยื่นคำร้องต้องแสดงหลักฐานการศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณา 7.1 กรณีศึกษาแบบมีชั้นเรียน ( 1 ) สำเนาใบปริญญาบัตรและสำเนาใบประกาศนียบัตร ของคุณวุฒิ ที่จะขอให้พิจารณา พร้อมฉบับจริง ( 2 ) สำเนาใบบันทึกผลการศึกษา ( Transcript ) ของคุณวุฒิที่จะขอให้ พิจารณา พร้อมฉบับจริง หรือถ้ามีการศึกษาแบบคลังหน่วยกิต หรือหลักฐานการเทียบโอนหน่วยกิต และผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ให้แสดงหลักฐานด้วย ( 3 ) สาเนาใบปริญญาบัตรและสาเนาใบประกาศนียบัตร ของคุณวุฒิที่สาเร็จ การศึกษาก่อนคุณวุฒิที่ขอให้พิจารณา พร้อมฉบับจริง ( 4 ) สำเนาใบบันทึกผลการศึกษา ( Transcript ) ของคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษา ก่อนคุณวุฒิที่ขอให้พิจารณา พร้อมฉบับจริง หรือถ้ามีการศึกษาแบบคลังหน่วยกิต หรือการเทียบโอน หน่วยกิตและผลการศึกษา ให้แสดงหลักฐานด้วย ( 5 ) สาเนาหนังสือเดินทางหน้าแรกและหน้าที่แสดงการตรวจลง ตราพานัก ( Visa ) และตราประทับเข้า - ออก ประเทศที่สถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ ตั้งอยู่ ตลอดระยะเวลาที่ศึกษา อยู่ที่สถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ ( 6 ) หลักฐานอื่น ๆ อาทิ เอกสารหลักสูตรหรือข้อมูลเกี่ยวกับสถาบัน สำเนาการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล สำเนาใบสำคัญการสมรส และการหย่า 7.2 กรณีขอให้พิจารณาคุณวุฒิระดับปริญญาเอก ผู้ยื่นคาร้องต้องแสดงหลักฐาน การศึกษาและเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้ ( 1 ) สำเนาหน้าชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์และบทคัดย่อ ( 2 ) สาเนาผลงานวิทยานิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ที่ได้รับ การตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ หรือเอกสารเงื่อนไขการสาเร็จการศึกษา กรณีหลักสูตรมิได้กาหนด ว่าจะต้องมีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ ้ หนา 43 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 270 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน 2565

( 3 ) สาเนาใบปริญญาบัตร สาเนาใบประกาศนียบัตร และสาเนาใบบันทึก ผลการศึกษา ( Transcript ) ระดับปริญญาโท และปริญญาตรี พร้อมฉบับจริง ( 4 ) เอกสารอื่น ๆ ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงร้องขอ ( 5 ) กรณีผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในแผนที่ทาเฉพาะวิทยานิพนธ์ ให้พิจารณาประเมินมาตรฐานการทำวิทยานิพนธ์ กับ มาตรฐานไทย โดยให้ส่งวิทยานิพนธ์ฉบับจริง 7.3 กรณีศึกษาในระบบทางไกล กรณี การพิจารณามาตรฐานคุณวุฒิผู้สาเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจาก ต่างประเทศ กรณีศึกษาในระบบทางไกลเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ประกอบด้วย ( 1 ) เอกสารจากสถาบันการศึกษา เจ้าของหลักสูตรที่แสดงการรับรอง ว่ามีการลงทะเบียนเป็นนักศึกษาและได้ศึกษาในรายวิชาเหล่านั้นจริง ( 2 ) เอกสารจากสถาบันการศึกษาเจ้าของหลักสูตรที่แสดงการรับรองระบบการ จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยมีการวัดและการประเมินผลที่ชัดเจน เหมาะสม มีคุณภาพตรวจสอบได้ มีประสิทธิผลและมีมาตรฐานทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทาให้ ผู้เรียนมีคุณภาพ ตลอดจนการมีกลไกการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ ระหว่างนักศึกษา กับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษากับสถาบันการศึกษาอย่างสม่าเสมอ เช่น คู่มือกา รเรียนการสอน หรือประกาศต่าง ๆ ตามที่ปรากฏบนเว็บไซต์ หรือเอกสารอื่นของสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรอง ข้อ 8 ระยะเวลาดาเนินการ 8.1 กรณีคุณวุฒิที่ผู้ยื่นคำร้องสำเร็จการศึกษาซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวง ได้เคยพิจารณาคุณวุฒิ ปริญญา ประกาศนียบัตร สาขาวิชา สถาบันของต่างประเทศ นั้นไว้แล้ว และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการพิจารณามาตรฐานคุณวุฒิใด ๆ ให้ดำเนินการแจ้งตอบได้ภายใน 15 วันทำการ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก 8.2 กรณีคุณวุฒิที่ผู้ยื่นคาร้องสาเร็จการศึกษาซึ่งสานักงานปลัดกระทรวง ยังไม่เค ย พิจารณาคุณวุฒิ ปริญญา ประกาศนียบัตร สาขาวิชา สถาบันของต่างประเทศนั้น มีกำหนดระยะเวลา พิจารณาจากคณะอนุกรรมการ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน ระยะเวลาในการ พิจารณาอาจขยายเวลาออกไปเท่าที่จำเป็น 8.3 กรณีการพิจารณาเทียบคุณวุฒิระดับปริญญาเอก อาจได้รับการพิจารณาจาก คณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะกิจที่ได้รับการแต่งตั้ง ระยะเวลาในการพิจารณาอาจขยาย เวลาออกไปเท่าที่จำเป็น 8.4 กรณีผู้ยื่นคาร้องไม่สามารถแสดงหลักฐานการศึกษาครบถ้วนตามข้อ 7 และ สานักงานปลัด กระทรวง ไม่สามารถตรวจสอบการรับรองวิทยฐานะสถาบัน และต้องขอข้อมูลจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเทียบคุณวุฒิ ระยะเวลาในการพิจารณาอาจขยายเวลาออกไปเท่าที่จำเป็น ้ หนา 44 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 270 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน 2565

8.5 กรณีผู้ยื่นคาร้องไม่สามารถแสดงหลักฐานกำรศึกษาครบถ้วนตามข้อ 6 และ สำนักงานปลัดกระทรวง ได้แจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมแล้ว แต่ผู้ยื่นคำร้องไม่สามารถ ส่งเอกสารให้สำนักงานปลัดกระทรวง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคำร้องไม่ประสงค์ที่จะให้ พิจารณาเทียบคุณวุฒิต่อไป ข้อ 9 การพิจำรณาเทียบคุณวุฒิจะแจ้งให้ผู้ยื่นคาร้องทราบว่า เทียบได้เท่าหรือเทียบได้ ต่ากว่ามาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาในแต่ละระดับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ จะไม่รวมถึงการตรวจสอบผลการสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ที่ข อให้พิจารณาและไม่รวมถึงการรับรองขององค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ข้อ 10 กรณีที่ผู้ขอให้พิจารณาคุณวุฒิไม่สามารถยื่นคาร้องด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นกระทำการแทนได้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารหลักฐานการศึกษาของผู้ ยื่นคำร้องและผู้รับมอบอำนาจ ข้อ 11 การพิจารณาเทียบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาอื่น ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ 12 ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ หรือมีความจาเป็นที่จะต้องปฏิบัติ นอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการที่จะพิจารณาดาเนินการ และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการนั้นเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 1 4 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 ศาสตราจารย์เกียรติคุณกิตติชัย วัฒนานิกร ประธานกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ้ หนา 45 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 270 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤศจิกายน 2565