ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง มาตรการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง มาตรการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง มาตรการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดมาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ และจัดให้มีการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบดังกล่าว อาศัยอานาจตามความในมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (9) และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ในการประชุมครั้งที่ 1/ 256 4 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 256 4 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ป ระกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง มาตรการ ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ มาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ” หมายความว่า แนวปฏิบัติในการดาเนินงานและจัดการคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการ ปฐมภูมิ “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อ 4 ให้หน่วย บริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิมีเกณฑ์คุณภาพและ มาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ดังต่อไปนี้ (1) ด้านระบบบริหารจัดการ (2) ด้านการจัดบุคลากรและศักยภาพในการให้บริการ (3) ด้านสถานที่ตั้งหน่วยบริการ อาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม (4) ด้านระบบสารสนเทศ (5) ด้านระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ (6) ด้านระบบห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข (7) ด้านการจัดบริการเภสัชกรรมและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (8) ด้านระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ้ หนา 38 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 269 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2565
รายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหมวด 1 ของเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 5 ให้มีการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานใน ข้อ 4 อย่างสม่าเสมอทุกสามปี โดยให้สานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสานักอนามัย กรุงเทพมหานคร ดาเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการระดับพื้นที่ การตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้สานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร แจ้ง แผนการตรวจสอบให้หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิทราบไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนถึงวันตรวจสอบ รูปแบบและกลไกการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามหมวด 2 ของเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 6 ในแต่ละจังหวัดให้มีคณะกรรมการระดับพื้นที่ตามข้อ 5 เรียกว่า คณะกรรมการ ตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการบริการสุขภาพปฐมภูมิจังหวัด (เรียกโดยย่อว่า ค.ป.ค.ม.) โดยมี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นที่ปรึกษา และให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่ งประกอบด้วย (1) ข้าราชการระดับเชี่ยวชาญหรือชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นประธานกรรมการ (2) หัวหน้ากลุ่มงานหรือข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (3) บุคลากรด้านการแพท ย์และสาธารณสุขในหน่วยบริการภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ ในด้านบริการสุขภาพปฐมภูมิ จานวนสองคน ด้านระบบ ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวนหนึ่งคน ด้านการจัดบริการเภสัชกรรมและ งานคุ้มครองผู้บริโภค จานวนหนึ่งคน และด้านระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ จานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (4) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (5) ผู้แทนจากภาคประชาชน จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการที่รับผิดชอบเกี่ ยวกับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวนสองคน เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอาจแต่งตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง มากกว่าหนึ่งคณะก็ได้ โดยให้พิจารณาถึงความเหมาะสมของบริบทพื้นที่ ความ สะดวกในการเดินทางและจานวน หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ้ หนา 39 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 269 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 7 ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการระดับพื้นที่ตามข้อ 5 เรียกว่า คณะกรรมการ ตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการบริการสุขภาพปฐมภูมิ กรุงเทพมหานคร (เรียกโดยย่อ ค.ป.ค.ม.กทม.) โดยมีผู้อานวยการสานักอนามัย กรุงเทพมหานคร เป็นประธานที่ปรึกษา ผู้อานวยการ สานักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้อานวยการสานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร เป็นที่ปรึกษา และให้ผู้อำนวยการสานักอนามัย ก รุงเทพมหานคร แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย (1) ประธานกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย เป็นประธานกรรมการ (2) ข้าราชการสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักอนามัย จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (3) บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขในหน่วยบริการภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ ในด้านบริการสุขภาพปฐมภูมิ จานวนสองคน ด้านระบบ ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวนหนึ่งคน ด้านการจัดบริการเภสัชกรรมและ งานคุ้มครองผู้ บริโภค จานวนหนึ่งคน และด้านระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ จานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (4) ผู้แทนสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ (5) ผู้แทนจากภาคประชาชน จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร แต่งตั้งข้าราชการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ จำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ และข้าราชการ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร จำนวนหนึ่งคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร อาจแต่งตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ ตามวรรคหนึ่ง มากกว่าหนึ่งคณะก็ได้ โดยให้พิจารณาถึงความเหมาะสมของบริบทพื้นที่ ความสะดวก ในการเดินทางและจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่ขึ้นทะเบียน ข้อ 8 ให้คณะกรรมการตามข้อ 6 และ 7 แจ้งผลการตร วจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐาน ภายในสิบห้าวันหลังจากวันตรวจสอบ กรณีที่ผลการตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิใดไม่ปฏิบัติ ตามมาตรการควบคุมคุณภาพและมา ตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามประกาศนี้ให้คณะกรรมการ ตามวรรคหนึ่ง รายงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ที่รับผิดชอบในเขตท้องที่ดำเนินการโดยเร็ว แนวทางและรายละเอียดการแจ้งผลการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหมวด 3 ของเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ้ หนา 40 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 269 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 9 เพื่อประโยชน์ในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิพิจารณาว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงร่างประกาศนี้ หรือไม่ทุกสี่ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจาเป็นคณะกรรมการระบบสุขภาพ ปฐมภูมิอาจพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงประกาศนี้ ในกำหนดระยะเวลาที่เร็วกว่านั้นก็ได้ ข้อ 10 ให้ประธานกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิรักษาการตามประกาศนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามประกาศนี้ ให้ คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ้ หนา 41 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 269 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2565
เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง มาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง มาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย 3 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 เกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ หมวดที่ 2 มาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ หมวดที่ 3 แนวทางและรายละเอียด การรายงานแจ้งผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ หมวดที่ 1 เกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ หมวดที่ 1 เกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบด้วย 8 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ด้านระบบบริหารจัดการ ส่วนที่ 2 ด้านการจัดบุคลากรและศักยภาพในการให้บริการ ส่วนที่ 3 ด้านสถานที่ตั้งหน่วยบริการ อาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 4 ด้านระบบสารสนเทศ ส่วนที่ 5 ด้านระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ส่วนที่ 6 ด้านระบบห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่วนที่ 7 ด้านการจัดบริการเภสัชกรรม และงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ส่วน ที่ 8 ด้านระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ แต่ละส่วนมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ด้านระบบบริหารจัดการ 1 1.1 มีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการ ปฐมภูมิ ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (6) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญั ติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 1.2 มีแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิ (พ.ศ. 2564 - 2 575) โดยต้องกาหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าประสงค์ กลวิธี ที่ทำให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดแผน และนำแผนไปสู่ การปฏิบัติ 1.3 มีการจัดการทรัพยากร โดยการสนับสนุนระบบบริการจากแม่ข่ายครอบคลุมงานเทคโนโลยี สารสนเทศ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เครื่องมือบริการ เภสัชก รรม การใช้ยาอย่างสมเหตุผล และงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 1 อ้างอิงประกาศ คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง ลักษณะของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการที่จะขึ้น ทะเบียน และการแบ่งเขตพื้นที่ เพื่อเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2562
-
2 - 1.4 มีเวลาทาการไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลาห้าวันต่อสัปดาห์ หากมีการให้บริการ นอกเวลาทาการ ต้องจัดให้มีการแจ้งให้ผู้รับบริการในเขตพื้นที่ทราบ โดยต้องมีป้ายแจ้งเวลาทำการ เปิด - ปิ ด ที่ชัดเจน มีตารางการปฏิบัติงานการให้บริการที่ชัดเจน 1.5 มีระบบจัดการเรื่องร้องเรียน วิเคราะห์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ รับฟังความคิดเห็น และประเมิน ความพึงพอใจของผู้รับบริการ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาระบบบริการหรือการบริหารจัดการ 1.6 มีแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่วนที่ 2 ด้านการจัดบุคลากรและศักยภาพในการให้บริการ มีจำนวนบุคลากรและศักยภาพของบุคลากรที่สามารถให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 2.1 บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 2.1.1 มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวอย่างน้อยหนึ่งคน หรือแพทย์อื่นซึ่งผ่านการอบรมด้าน เวชศาสตร์ครอบครัว 2.1.2 มีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จำนวนสองคนขึ้นไป 2.1.3 มีผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน จานวนสองคนขึ้นไป * กรณีบุคลากรไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ต้องมีแผนพัฒนาบุค ลากรที่ระบุเป้าหมายระยะเวลาการพัฒนา บุคลากรให้เป็นไปตามข้อกำหนด 2 . 2 มีศักยภาพในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 2 มุ่งดูแลสุขภาพของประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในลักษณะองค์รวม ตั้งแต่แรก ต่อเนื่อง และผสมผสาน ภายใต้ขอบเขตการให้บริการ ดังนี้ 2 . 2 . 1 การส่งเสริมและสนับส นุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายในการส่งเสริม สุขภาพ รวมทั้งการป้องกันและควบคุมโรคในระดับชุมชน 2 . 2 . 2 การส่งเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพและมีความรู้ในการจัดการสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 2 . 2 . 3 มีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค ดูแลรักษา และฟื้นฟู สุขภาพ หรือคาแนะนาในการปฏิบัติตน การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อให้สามารถจัดการสุขภาพตนเองและ ครอบครัวได้ 2 . 2 . 4 มีระบบบริการส่งต่อและดูแลต่อเนื่อง 2 . 2 . 5 จัดบริการสุขภาพปฐมภูมิค รอบคลุมทั้งระยะเฉียบพลัน ระยะเรื้อรัง ระยะประคับประคอง และระยะท้ายของชีวิต ตามกลุ่มวัย ตั้งแต่การตั้งครรภ์ ทารก วัยเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทางาน วัยสูงอายุ จนกระทั่งเสียชีวิต ส่วนที่ 3 ด้านสถานที่ตั้งหน่วยบริการ อาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม มี สถานที่ตั้ งหน่วยบริการ อาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม ที่ เอื้ออานวยต่อการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยมีลักษณะดังนี้ 3 . 1 มีอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามความเหมาะสม กับจำนวนผู้รับบริการ 3 . 2 สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สะดวกต่อการเข้ารับบริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้รับบริการในเขตพื้นที่ ของหน่วยบริการนั้น 2 อ้างอิงประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิระบบสุขภาพปฐมภู มิ เรื่อง บริการสุขภาพปฐมที่บุคคลมีสิทธิได้รับ พ.ศ. 2563 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ
-
3 - 3 . 3 สถานที่ มีการ บริการสะอาด มีความปลอดภัยต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอย การจัดบริการแต่ละด้านแยกเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม สะดวก ต่อการเข้าถึงบริการ 3 . 4 สถานที่มีการระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ 3 . 5 มีการจัดการสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร และภายในสถานที่ทางานตามมาตรการ 5 ส. ส่วนที่ 4 ด้านระบบสารสนเทศ 3 มีระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับการจัดทาระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิและข้อมูล ด้านสุขภาพ มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สามารถนามาใช้งานได้สะดวกและเป็นประโยชน์ทั้งผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ ดังนี้ 4.1 มีแนวทางปฏิบัติเรื่องการให้ข้อมูลบริการสุขภาพปฐมภูมิและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการ ที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างถูกต้องและครบถ้ วน 4.2 ให้ข้อมูลการรักษาแก่ผู้รับบริการอย่างครบถ้วน ได้แก่ ผลการวินิจฉัยโรค สาเหตุหรือที่มาของโรค แผนการรักษาโรค คาแนะนาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันหรือลดปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว 4.3 มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขผู้ให้บริการ 4.4 มีการจัดทาระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิ 4.5 มีระบบการส่งออกข้อมูลที่ครบถ้วน และไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ 4.6 มีการคุ้มครอ งข้อมูล และการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของผู้รับบริการ 4.7 กรณีที่มีการส่งต่อผู้รับบริการ มีระบบข้อมูลการส่งต่อ - รั บกลับของผู้รับบริการ และรวบรวมข้อมูล ด้านสุขภาพนั้นไว้ในระเบียนข้อมูลด้านสุขภาพปฐมภูมิของผู้รับบริการด้วย 4.8 มีแนวทางปฏิบัติในการเข้าถึงหรือการใช้ ข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อมิให้เกิดการรั่วไหลหรือมีการเข้าถึง ข้อมูลด้านสุขภาพโดยผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิเข้าถึง 4.9 มีการเก็บข้อมูลผู้เข้ารับบริการและบันทึกไว้อย่างเป็นระบบในเวชระเบียนหรือในระบบข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์และมีการสารองข้อมูล ส่วนที่ 5 ด้านระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ 4 มี ระบบบริการครอบคลุมประเภทและประชากรทุกกลุ่มวัย และจัดให้มีระบบงานและกระบวนการบริการ ปฐมภูมิ ซึ่งเป็นการบริการที่สร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการ สนับสนุนการให้บริการดังกล่าว เพื่อให้บ รรลุผลและครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มวัย ครอบคลุมผู้ป่วยที่มีปัญหา เฉียบพลัน ฉุกเฉิน เรื้อรัง รวมทั้งมีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยจัดให้มีบริการต่าง ๆ ดังนี้ 5 .1 การจัดบริการในสถานบริการ ได้แก่ การตรวจรักษาโรคเบื้องต้นในลักษณะผู้ป่วยนอก การรักษา และทาหัตถกำรเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน การฝากครรภ์และคัดกรองหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง การให้บริการ คลินิกสุขภาพเด็กดี การคัดกรอง ดูแลต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง งานบริการ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ 3 อ้างอิง จาก ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง การจัดทาระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภู มิของหน่วย บริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565 4 อ้างอิงมาจากเกณฑ์ รพ.สต.ติดดาว
-
4 - 5 .2 การจัดบริการทันตสาธารณสุข/ทันตกรรม ทั้งกำรส่งเสริมทันตสุขภาพตามกลุ่มวัย และการรักษา เบื้องต้น หรือตามบริบทของการจัดบริการแบบเครือข่าย - ก รณีหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิสามารถจัดบริการได้เอง ประเมิน คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่หน่วยบริการนั้น - กรณีหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิไม่สามารถจัดบริการได้เอง ประเมิน คุณภาพที่สถานบริการที่มีการส่งต่อ หรืออ้างอิงผลการประเมินคุณภาพของสถานบริการที่รับการส่งต่อ 5 .3 การจัดบริการแพทย์แผนไทย/กายภาพบำบัด 5 .4 การจัดบริการในชุมชน ครอบคลุมผู้ป่ วย Long Term Care ( LTC ) 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้พิการที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เด็กพัฒนาการล่าช้า P alliative care และมีการเยี่ยมบ้าน ตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว และฟื้นฟูสภาพในชุมชน มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และสอบสวนโรค ( Surveillanc e and Rapid Response Team : SRRT ) ส่วนที่ 6 ด้านระบบห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข 5 มี ระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข กาหนดขึ้นเพื่อให้ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ใช้เป็นแนวทางในการจัดตั้งระบบคุณภาพ บารุงรักษาและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ระบบคุณภาพหรือมาตรฐานงานบริการ มีดังต่อไปนี้ 6 .1 บุคลากร มีผู้รับผิดชอบที่ผ่านการอบรมและมีที่ปรึกษาทางวิชาการ เช่น นักเทคนิคการแพทย์ ของโรงพยาบาลแม่ข่าย เป็นต้น 6 .2 สถานที่ทำการทดสอบ/พื้นที่ปฏิบัติงาน มีพื้นที่ปฏิบัติ งานเพียงพอที่จัดวางเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม แยกจากพื้นที่ทำงานอื่น 6 .3 วัสดุ น้ายา และเครื่องมือทดสอบ มีระบบการจัดเก็บวัสดุ และน้ายา เครื่องมือมีการสอบเทียบ และมีทะเบียนประวัติ อุปกรณ์ต้องพร้อมใช้เสมอ 6 .4 ขั้นตอนก่อนการทดสอบ มีคู่มือการเก็บตัวอย่าง ใบส่งต รวจต้องมีรายละเอียดครบถ้วนทั้งของผู้ป่วย และผู้ส่งตรวจ 6 .5 ขั้นตอนการทดสอบ มีคู่มือการทดสอบตัวอย่างครบทุกรายการ และต้องปฏิบัติตามขั้นตอน อย่างเคร่งครัด 6. 6 การประกันคุณภาพการทดสอบ มีการควบคุมคุณภาพภายใน ( Internal Quality Control : IQC ) อย่างสม่ำเสมอ และควรมีการควบคุมคุณภาพภายนอก ( External Quality Assessment : EQA ) ร่วมด้วย 6.7 การรายงานผลการทดสอบ มีทะเบียนบันทึกผลการทดสอบ กรณีมีการส่งไปตรวจต่อยังโรงพยาบาล แม่ข่าย ต้องมีระบบทะเบียนบันทึกการส่งตรวจโดยละเอียด ส่วนที่ 7 ด้านการจัดบริการเภสั ชกรรมและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 6 (คบส.) 7.1 ด้านการจัดบริการเภสัชกรรม 7.1.1 มีการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของเภสัชกรโรงพยาบาลแม่ข่าย 7.1.2 มีการใช้ยาอย่างปลอดภัย สมเหตุผล เฝ้าระวังการใช้ยาเพื่อลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ในกลุ่มผู้ป่วยแพ้ยา และผู้ป่วยที่ใช้ยาเสี่ยงสูง เช่น Warfarin 7.1.3 การจัดการเรื่องคลังยาและเวชภัณฑ์ มีสถานที่เก็บยา และเวชภัณฑ์ ที่มีมาตรฐาน จัดเก็บอย่างเหมาะสม มีการ ควบคุม และการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง 5 อ้างอิงมาจากเกณฑ์ รพ.สต.ติดดาว และมาตรฐานห้องปฏิบัติการฯ 6 อ้างอิงมาจากเกณฑ์ รพ.สต.ติดดาว และมาตรฐานวิชาชีพ
-
5 - 7.2 งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คบส.) 7.2.1 มี การบริหารจัดการงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของเภสัชกร โรงพยาบาลแม่ข่าย 7.2.2 มีการควบคุม ตรวจสอบเชิงรุก เฝ้าระวัง อาหารสด อาหารแปรรูป รวมทั้งมีการอบรม สร้างองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ผู้เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 8 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในหน่วยบริการปฐมภูมิ ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ ดังนี้ 8.1 มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน พร้อมทั้งอบรมพัฒนาความรู้ในการปฏิบัติงาน โดยมีพี่เลี้ยง ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของโรงพยา บาลแม่ข่าย ดูแลให้คำปรึกษา 8.2 มีคู่มือการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีการทบทวนให้เหมาะสม 8.3 มีระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในกลุ่มเป้าหมายสำคัญอย่างครอบคลุม 8.4 มีการดูแลบุคลากร ประกอบด้วย การตรวจสุขภาพบุคลากรประจาปี พร้อมแผนการดูแลบุคลากร กลุ่มเ สี่ยง/กลุ่มป่วย การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 8.5 วางแนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง การทำความสะอาดมือ และการใช้อุปกรณ์ป้องกัน 8.6 เครื่องมือ อุปกรณ์มีการทำความสะอาด ปราศจากเชื้อ และจัดเก็บอย่างถูกต้องตามแนวทางที่ ได้มาตรฐาน 8.7 มีการคัดแยกขยะมูลฝอยและกำจัดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 หมวดที่ 2 มาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ หมวดที่ 2 มาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ มาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้แต่ละหน่วยบริการและหน่วยบริหารระดับต่าง ๆ ดาเนินการ อันจะนาไปสู่กลไกของการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานของบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้เกณฑ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพ ปฐมภู มิ 2 . 1 มาตรการสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 2 . 1 . 1 ให้ หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ศึกษาและทาความ เข้าใจเกณฑ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 2 . 1 . 2 ให้ หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภู มิ ประเมินตนเอง ตามแบบการประเมินเกณฑ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ลงบันทึกในระบบ ตามที่สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกาหนด ปีละหนึ่งครั้ง พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองไปยัง โรงพยาบาลแม่ข่ายระดับอาเภอ และสานักงานสาธารณสุขจังหวัด กรณีในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้รายงาน ไปยังศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลประจาเขต และสานักอนามัย กรุงเทพมหานคร หรือ ตามที่สานักอนามัย กรุงเทพมหานคร กาหนดเพิ่มเติม เพื่อการพัฒนาส่วนขาดและเกิดการเชื่อมโยงที่ดีจาก โรงพยาบาลแม่ข่ายจนเกิดระบบบริการที่ปล อดภัย สมบูรณ์
-
6 - 2 . 1 . 3 หน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านการประเมิน ให้ค ง สภาพ สามปี นับจากปีที่ได้รับการตรวจประเมิน ทั้งนี้ ในระยะเวลาสามปีที่ไม่ได้รับการตรวจประเมินนั้น หน่วยบริการ ปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิยังคงต้องรักษาคุ ณภาพตามมาตรฐานที่กาหนด โดยจัดทาแผนพัฒนา ประจาปี และประเมินตนเองและรายงานตามระบบ พร้อมพัฒนาส่วนขาดโดยเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย หรือโรงพยาบาลประจำเขต ตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 . 1 . 2 เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน 2 . 1 . 4 หน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไม่ผ่านการประเมิน เกณฑ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ให้จัดทำแผนพัฒนาที่ชัดเจน เพื่อปรับปรุง การบริการให้เป็นไปตามเกณฑ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ และเข้าสู่ระบบ การตร วจประเมินในปีถัดไป 2 . 2 มาตรการสำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2 . 2 . 1 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ สุขภาพปฐมภูมิ จังหวัด (ค.ป.ค.ม.) หรือคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ สุขภาพปฐมภูมิ กรุงเทพมหานคร (ค.ป.ค.ม.กทม.) อย่างน้อยหนึ่งคณะ โดยจานวนและองค์ประกอบของ คณะกรรมการดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง มาตรการ ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งนี้อาจแต่งตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ มากกว่ำหนึ่งคณะก็ได้ โดยคานึงถึงความเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ ความสะดวกในการเดินทาง และจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 2 . 2 .2 คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ จังหวัด (ค.ป.ค.ม.) และคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภา พและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ กรุงเทพมหานคร (ค.ป.ค.ม.กทม.) มีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไป นี้ ( 1 ) ลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการ ปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิทุกสังกัด โดยดำเนินการประเมินคุณภาพการบริการตามเกณฑ์ที่กาหน ด และตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน ( 2 ) คืนข้อมูลผลการตรวจประเมิน ประเด็นข้อชื่นชม โอกาสพัฒนาและข้อเสนอแนะ ต่อหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ในวันที่ทำการตรวจประเมิน ( 3 ) รายงานผลการตรวจประเมินไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี และให้แจ้งผลการตรวจประเมินไปยังหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิด้วย ทั้งนี้ ภายในสิบห้าวันหลังจากวันตรวจประเมิน ( 4 ) รายงานผลกา รตรวจประเมินต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในกรณีที่หน่วย บริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการ ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามที่กาหนด ผ่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือผู้อานวยการสานักอนามัย กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ( 5 ) หน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตรวจประเมินเพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน ในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เห็นสมควร 2 . 2 . 3 จัดทาแผนการตรวจประเมิน พร้อมแจ้งแนวทางการตรวจประเมิน แนวทาง รับการตรวจประเมินไป ยังหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนการตรวจประเมิน
-
7 - 2 . 3 มาตรการสำหรับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2 . 3 . 1 จัดให้มีการอบรม หรือสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดการอบรมทาความเข้าใจเกณฑ์ และแนวทางการตรวจประเมินแก่คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 2 . 3 . 2 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ มิได้ดาเนินการตามมาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ให้มีหนั งสือแจ้งเตือน ให้หน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมินั้น เร่งดาเนินการปรับปรุงหรือแก้ไข ทั้งนี้ เพื่อให้ การบริการสุขภาพปฐมภูมิ มีคุณภาพและได้มาตรฐานภายในระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าว 2 . 3 . 3 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้รับรายงาน จากพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิไม่ปฏิบัติตามมาตรการ ควบคุม คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 2.4 รูปแบบและกลไกการตรวจประเมิน 2.4.1 หน่ วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ประเมินตนเองและบันทึก ผลการประเมินในแบบฟอร์มตามเกณฑ์ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ และส่งผลการประเมินตนเองให้คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ อย่างน้อยห้าวันก่อนการตรวจประเมิน 2.4.2 รูปแบบการตรวจประเมิน ยึดแนวทางการตรวจเยี่ยมเสริมพลัง มุ่งเน้นให้เกิด การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ดูหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง หาจุดแข็ง และโอกาสพัฒนา สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน 2.4.3 กำรตรวจประเมิน ใช้เวลาไม่เกินหนึ่งวันต่อหนึ่งหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิ 2.4.4 คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ คืนข้อมูล ประเด็นข้อชื่นชม โอกาสพัฒนา และข้อเสนอแนะต่อหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริ การ ปฐมภูมิ ในวันที่ทำการตรวจประเมิน 2.4.5 คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ แจ้งผลการตรวจประเมินไปยังสานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสานักอนามัย กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันหลังการตรวจประเมิน หมวดที่ 3 แนวทางและรายล ะเอียดการแจ้งผลการตรวจสอบ เพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ หมวดที่ 3 แนวทางและรายละเอียดการแจ้งผลการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ สุขภาพปฐมภูมิ เมื่อคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการบริการสุขภาพปฐมภูมิ ได้ลงพื้นที่ เพื่อตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิแล้ว ให้แจ้งผลการตรวจประเมิน ตามแนวทางและรายละเอียด ดังนี้ 3.1 ลงบันทึกการประเมินคุณภาพการบริการตามเกณฑ์ และแบบสรุปคะแนน ที่สานักงาน ปลัด กระทรวงสาธารณสุขกำ หนด ประกอบด้วย 3.1.1 แบบสรุปคะแนนตรวจประเมิน ด้านที่ 1 - 8 3.1.2 แบบสรุปคะแนนประเมิน ด้านที่ 1 ด้านระบบบริหารจัดการ
-
8 - 3.1.3 แบบสรุปคะแนนประเมิน ด้านที่ 2 ด้านการจัดบุคลากรและศักยภาพในการให บริการ 3.1.4 แบบสรุปคะแนนประเมิน ด้านที่ 3 ด้านสถานที่ตั้งหน่วยบริกำร อาคาร สถานที่ และ สิ่งแวดล้อม 3.1.5 แบบสรุปคะแนนประเมิน ด้านที่ 4 ด้านระบบสารสนเทศ 3.1.6 แบบสรุปคะแนนประเมิน ด้านที่ 5 ด้านระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ 3.1.7 แบบสรุปคะแนนประเมิน ด้านที่ 6 ด้านระบบห องปฏิบัติการด้านการแพทย์และ สาธารณสุข 3.1.8 แบบสรุปคะแนนประเมิ น ด้านที่ 7 ด้านการจัดบริการเภสัชกรรมและงานคุ มครอง ผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คบส.) 3.1.9 แบบสรุปคะแนนประเมิน ด้านที่ 8 ด้านระบบการป องกันและควบคุมการติดเชื้อ 3.2 กรรมการผู้ตรวจประเมิน สรุปผลการตรวจประเมิน ทั้งในประเด็นข้อชื่นชม และโอกาส พัฒนา ข้อเสนอแนะ เสนอต่อป ระธานคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ สุขภาพปฐมภูมิ พิจารณาลงนามรับรองผลการตรวจประเมิน 3.3 แจ้งผลการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือผู้อานวยการสานักอนามัย กรุงเทพมหานคร แล้วแต่ กรณี และให้แจ้ง ผลการตรวจประเมินไป ยัง หน่วยงานต้นสังกัดของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิด้ว ย ทั้งนี้ ภายในสิบห้าวันหลังจากวันตรวจประเมิน