ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง การจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง การจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง การจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทาระบบข้อมูลการให้บริการ สุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และบริการ รวมทั้งการขอรับ ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (9) และมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (5) และ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ในการประชุมครั้งที่ 1/ 256 4 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 256 4 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้ อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง การจัดทา ระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิ จจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และบริการ รวมทั้งการขอรับ ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ให้หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิจัดทาระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามประกาศนี้ โดยระบ บข้อมูลดังกล่าว จะต้องรองรับกระบวนการทำงานและการบันทึกข้อมูลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) การลงทะเบียนผู้รับบริการในระบบข้อมูล (2) การบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการ และข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ (3) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่บันทึกไว้ (4) การเรียกดูข้อมูลที่บันทึกไว้เพื่อการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ (5) การจัดทำรายงานหรือส่งออกข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์ การตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และบริการ การขอรับค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข หรือการดาเนินการอื่น ข้อ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการลงทะเบียนผู้รับบริการในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ อาจทำได้โดยวิธีการหนึ่งวิธีการใด ต่อไปนี้ (1) การตอบแบบสอบถามหรือแบบบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการ (2) การสอบถามสัมภาษณ์หรือพูดคุยกับผู้รับบริการ ้ หนา 34 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 269 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2565
(3) การสังเกตโดยตรง เช่น การสังเกตจากลักษณะห รือท่าทางของผู้รับบริการ หรือ การตรวจร่างกายผู้รับบริการ หรือการตรวจวัดโดยวิธีต่าง ๆ กับตัวผู้รับบริการ (4) รายงานจากแหล่งอื่นที่ผู้รับบริการนามาให้ หรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือคณะ ผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิได้รับจากผู้ใด เพื่อประโยชน์ในการให้บริการสุ ขภาพปฐมภูมิ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวรรคหนึ่ง และบันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูล ให้หน่วย บริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบันทึกตามรายการ ก แนบท้ายประกาศนี้ เท่าที่จะสามารถกระทำได้ ในกรณีที่มีการบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากรายงานจากแหล่ งอื่น ตามวรรคหนึ่ง (4) ให้บันทึกอย่างชัดเจนว่าเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งอื่น เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และบริการ ข้อ 5 การลงทะเบียนผู้รับบริการรายใหม่ ให้หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิดาเนินการทันทีเมื่อผู้รับบริการมารับบริการครั้งแรก โดยให้บันทึกข้อมูลให้ครบทุกหัวข้อ ตามที่กาหนดเท่าที่จะสามารถกระทาได้ และหากมีข้อมูลที่สาคัญไม่ครบถ้วนให้แจ้งให้ผู้รับบริการ นำข้อมูล เอกสารหรือหลักฐาน แล้วแต่กรณี มาแสดงในโอกาสแรกที่ ทำได้หลังจากให้บริการครั้งแรก ข้อ 6 การบันทึกข้อมูลการลงทะเบียนผู้รับบริการรายใหม่ และการบันทึกข้อมูล การให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ให้บันทึกข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้บันทึก ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของระบบเวชระเบียน หรือระบบข้อมูลหลั กของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิ และระบบข้อมูลดังกล่าว ต้องสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบข้อมูลกลาง ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดได้ ให้หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบันทึกข้อมูลให้เสร็จสิ้น ขณะให้บริการแก่ผู้รั บบริการ หรือบันทึกข้อมูลให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ให้บริการแก่ผู้รับบริการ เท่าที่จะสามารถกระทำได้ ในกรณีที่มีเหตุจาเป็นชั่วคราวที่ทาให้หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ไม่สามารถบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการในระบบข้อมูลตามวรรคหนึ่ง หน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิ อาจบันทึกข้อมูลในเอกสารกระดาษหรือรูปแบบอื่นได้ โดยให้เก็บรักษาข้อมูล ดังกล่าวไว้ในสถานที่ปลอดภัย แต่ต้องสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลได้โดยสะดวก ในกรณีที่หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิไม่ มีระบบข้อมูลที่รองรับ การดาเนินการตามประกาศนี้ ให้หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิใช้ระบบข้อมูลกลาง ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจัดทำให้แทน เว้นแต่จะกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ 7 การบันทึกข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ให้บันทึกตามรายการ ข แนบท้าย ประกาศนี้ เท่าที่จะสามารถกระทาได้ โดยให้บันทึกข้อมูลตามแนวทาง รูปแบบ มาตรฐาน และ รหัสข้อมูลที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ้ หนา 35 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 269 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 8 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการลงทะเบียนผู้รับบริการสามารถกระทาได้ โดยให้ ผู้รับบริการกรอกแบบบันทึกข้อ มูลเพื่อขอแก้ไข พร้อมอธิบายเหตุผลที่ขอแก้ไข และแนบเอกสารหรือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องประกอบ ทั้งนี้ การแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับการลงทะเบียนผู้รับบริการ จะต้อง ดาเนินการโดยได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมายจากผู้บริหารหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการ ปฐมภูมิ และจะต้องมีการบันทึกวันที่และเวลาที่แก้ไข และผู้ดาเนินการแก้ไขข้อมูลในระบบข้อมูลด้วย ข้อ 9 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิในระบบข้อมูลของ หน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ สามารถกระทาได้หากผู้บันทึกหรือผู้ให้บริการ ที่เกี่ยวข้องพบว่า ข้อมูลที่บันทึกมีข้อผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วน และจำเป็นจะต้องแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อความถูกต้องครบถ้วน ซึ่งจะต้องมีการบันทึกให้ชัดเจนว่าส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมคือส่วนใด และ จะต้องมีการบันทึกวัน ที่และเวลาที่แก้ไข และผู้ดาเนินการแก้ไขข้อมูลในระบบข้อมูลด้วย ทั้งนี้ จะต้อง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมที่ถูกต้องในขณะที่ให้บริการ ข้อ 10 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิต้องจัดให้มีระบบสำรองข้อมูล การลงทะเบียนผู้รับบริการ และข้อมูลการให้บริกำรสุขภาพปฐมภูมิที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องกาหนดให้มีแนวทางปฏิบัติในการสารองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล มีการกาหนดผู้รับผิดชอบ และรอบระยะเวลาการสารองข้อมูลอย่างสม่าเสมอที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงข้อมูลสูญหาย ที่ยอมรับได้ ข้อ 11 หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิต้องจัดให้มีมาตรการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อความสามารถในการธารงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคลในระบบข้อมูลตามประกาศนี้ โดยมาตรการรักษาความมั่นคง ปลอดภั ยดังกล่าวประกอบด้วยมาตรการเชิงองค์กร และมาตรการเชิงเทคนิคที่เหมาะสม ซึ่งอาจ รวมถึงมาตรการทางกายภาพที่จาเป็นด้วย โดยคานึงถึงระดับความเสี่ยงตามลักษณะและวัตถุประสงค์ ของการใช้งาน ตลอดจนโอกาสเกิดและผลกระทบจากเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ จะต้อง เป็ นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย ข้อ 12 การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิเพื่อขอรับค่ารักษาพยาบาลหรือ ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกำหนด ข้อ 13 เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และบริการ ให้หน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ จัดให้มีระบบการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล ความ ครบถ้วน และความถูกต้องของข้อมูลตามประกาศนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอาจกำหนดแนวทางการจัดให้มีระบบการตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูลให้หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิปฏิบัติก็ได้ ้ หนา 36 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 269 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 14 ให้ประธานกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิรักษาการตามประกาศนี้ ในก รณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ้ หนา 37 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 269 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤศจิกายน 2565
รายการ ก เอกสารและข้อมูลสำคัญที่ต้องเก็บรวบรวมและบันทึก แนบท้ายประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง การจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 รายการ รายละเอียด 1. รายละเอียดผู้มารับบริการ ก. ชื่อและนามสกุล ข. เลขประจําตัวประชาชน ค. ที่อยู่บ้าน และหมายเลขโทรศัพท์ ง. วันเดือนปีเกิด จ. เพศ ฉ. สถานภาพสมรส ช. เชื้อชาติ และสัญชาติ ซ. ศาสนา ฌ. สิทธิการรักษา ญ. ชื่อและนามสกุลของบิดาและมารดา ฎ. อาชีพ ฏ. สถานที่ทํางาน ฐ. ที่ อยู่สถานที่ทํางาน และหมายเลขโทรศัพท์ ฑ. ชื่อนามสกุลของญาติผู้ใกล้ชิด ฒ. ที่อยู่ของญาติผู้ใกล้ชิด และหมายเลข โ ทรศัพท์ ณ. ความสัมพันธ์กับญาติผู้ใกล้ชิด (เกี่ยวข้องเป็นอะไร)
-
2 - รายการ ข เอกสารและข้อมูลสำคัญที่ต้องเก็บรวบรวมและบันทึก แนบท้ายประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง การจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของหน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 รายการ รายละเอียด 1. รายการปัญหาทางสุขภาพ รวมถึงการแพ้ยา หรือ อาหาร รายการปัญหาทางสุขภาพ ( Problem List ) เป็นรายการ ปัญหาทางสุขภาพทั้งหมดของตัวผู้รับบริการ ซึ่งครอบคลุม โรค ประจําตัวทั้งหมด โรคสําคัญที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ปัจจัยเสี่ยง การแพ้ยา หรือ แพ้อา หาร ทั้งทางด้านจิตใจ และสังคม 2. รายการยาที่ผู้รับบริการใช้ในปัจจุบัน และยาที่เคย ใช้ในอดีต รายการยาที่ผู้ป่วยใช้ในปัจจุบัน และยาที่เคยใช้ในอดีต ( Medication List ) เป็นรายการยาที่ผู้รับบริการกําลังใช้ อยู่ในปัจจุบันที่รักษาโรคประจําตัวทั้งหมด รวมยาที่ เคยใช้รักษาโรคสํา คัญที่เคยเกิดขึ้นในอดีต 3. รายการวัคซีนป้องกันโรคที่ผู้รับบริการเคยได้รับ รายการวัคซีนป้องกันโรคที่ผู้ป่วยเคยได้รับ ( Vaccination List ) เป็นรายการวัคซีนที่ ผู้รับบริการเคยได้รับในอดีต ทั้งหมด 4. รายละเอียดการมารับบริการในแต่ละครั้ง ก. วันที่และเวลาที่มารับบริการ ข. อาการสํา คัญ ค. ประวัติปัจจุบัน ง. ผลการตรวจร่างกาย จ. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจ พิเศษอื่น ๆ ฉ. ผลการรักษาในกรณีที่นัดติดตามผล ช. คํา วินิจฉัยโรค ซ. การรักษา ฌ. การให้คํา แนะนํา ญ. วันที่นัดติดตามผล ฎ. ชื่อและการลงลายมือชื่อของผู้รักษา 5. การบันทึกข้อมูลผู้รับบริการกรณีที่มาตรวจติดตาม หลังได้รับการรักษาไปแล้ว ก. ประวัติการติดตาม ข. การตรวจร่างกายที่จําเป็น ค. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ง. การวินิจฉัย จ. ผลการรักษา ( ให้ระบุว่า อาการดีขึ้น อาการเท่าเดิม หรืออาการแย่ลง )
-
3 - รายการ รายละเอียด ฉ. การรักษา บันทึกการรักษา เช่น ชื่อยา พร้อมขนาดยา และวิธีรับประทาน รวมทั้งการรักษาวิธีอื่น ช. การนัดตรวจติดตามผล (ถ้ามี) ซ. ชื่อและการลงลายมือชื่อของผู้รักษา 6. การบันทึกข้อมูลผู้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค ก. เหตุผลการมา ข. การตรวจร่างกายที่จําเป็น ค. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ง. การรักษา จ. กําหนดนัดครั้งต่อไป ฉ. ชื่อและการลงลายมือชื่อของผู้รักษา