ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคานวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงวิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มี การรบกวน การตรวจวัดและคานวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคานวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบระดับเสียงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ควบคุมมลพิษ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียง พื้นฐานระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคานวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ข้อ 2 วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัด และคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัด เสียงรบกวนให้เป็นไปตามภาคผนวกท้ายประกาศนี้ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานกรรมการควบคุมมลพิษ ้ หนา 41 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565
ภาคผนวก ท้ายประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคานวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคานวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ. 2565 1 . ในประกาศนี้ “ เสียงรบกวน ” หมายความว่า ระดับเสียงจากแหล่งกำเนิดในขณะมีการรบกวนที่มีระดับเสียงสูงกว่า ระดับเสียงพื้นฐาน โดยมีระดับการรบกวนเกินกว่าระดับเสียงรบกวนที่กาหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550 ) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน “ ระดับเสียงพื้นฐาน ” ( Background sound level ) หมายความว่า ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อม ในขณะยังไม่เกิดเสียงหรือไม่ได้รับเสียงจากแหล่งกาเนิดที่ประชาชนร้องเรียนหรือแหล่งกาเนิดที่คาดว่าประชาชน จะได้รับการรบกวนเป็นระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ( Percentile Level 90, L A90 ) “ ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน ” ( Residual sound level ) หมายความว่า ระดับเสียงที่ตรวจวัด ในสิ่งแวดล้อมในขณะ ยังไม่เกิดเสียงจากแหล่งกำเนิดที่ประชาชนร้องเรียนหรือแหล่งกำเนิดที่คาดว่าประชาชน จะได้รับการรบกวนเป็นระดับเสียงเฉลี่ย ( Equivalent A - Weighted Sound Pressure Level, L Aeq ) “ ระดับเสียงขณะเกิดเสียงของแหล่งกาเนิด ” ( Specific sound level ) หมายความว่า ระดับเสียง ที่ ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมในขณะเกิดเสียงจากแหล่งกำเนิดที่ประชาชนร้องเรียนหรือแหล่งกาเนิดที่คาดว่าประชาชน จะได้รับการรบกวนเป็นระดับเสียงเฉลี่ย ( Equivalent A - Weighted Sound Pressure Level, L Aeq ) “ ระดับเสียงขณะมีการรบกวน ” ( Rating level ) หมายความว่า ระดับเสียงที่ได้จากการ คานวณ จากระดับเสียง ขณะเกิดเสียงของแหล่งกาเนิด และ ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน รวมทั้ง บวกเพิ่มระดับเสียง ใน กรณี บริเวณที่ทาการตรวจวัดเสียงของแหล่งกาเนิดเป็นพื้นที่ที่ต้องการความเงียบสงบ หรือเป็น แหล่งกาเนิด ที่ก่อให้เกิดเสียงในช่วงเวลาระหว่าง 22.00 – 06.00 นาฬิกา และในกรณี แหล่งกำเนิดเสียงที่ทำให้เกิดเสียงกระแทก เสียงแหลมดัง เสียงที่ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือน อย่างใดอย่างหนึ่ง “ เสียงกระแทก ” หมายความว่า เสียงที่เกิดจากการตก ตี เคาะ หรือกระทบของวัตถุ หรือลักษณะอื่นใด ซึ่งมีระดับเสียงสูงกว่าระดับเสียงทั่วไปในขณะนั้น และเกิดขึ้นในทันทีทันใดและสิ้นสุดลงภายในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที ( Impulsive Noise ) เช่น การตอกเสาเข็ม การปั๊มขึ้นรูปวัสดุ เป็นต้น “ เสียงแหลมดัง ” หมายความว่า เสียงที่เกิดจากการเบียด เสี ยด สี เจีย ร หรือขัดวัตถุอย่างใด ๆ ที่เกิดขึ้น ในทันทีทันใด เช่น การใช้สว่านไฟฟ้าเจาะเหล็กหรือปูน การเจียรโลหะ การบีบหรืออัดโลหะโ ดยเครื่องอัด การขัดขึ้นเงาวัสดุด้วยเครื่องมือกล เป็นต้น “ เสียงที่มีความสั่นสะเทือน ” หมายความว่า เสียงเครื่องจักร เครื่องดนตรี เครื่องเสียง หรือ เครื่องมืออื่นใดที่มีความสั่นสะเทือนเกิดร่วมด้วย เช่น เสียงเบสที่ผ่านเครื่องขยายเสียง เป็นต้น
-
2 - “ ระดับการรบกวน ” หมายความว่า ค่าความแตกต่างระหว่างระดับเสียงขณะมีการรบกวน กับ ระดับเสียงพื้นฐาน “ มาตรระดับเสียง ” หมายความว่า เครื่องวัดระดับเสียงตามมาตรฐาน IEC 61672 class 1 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า ( International Electrotechnical Commission, IEC ) “ เครื่องกาเนิดสัญญาณเสียงอ้างอิง ” หมายความว่า เครื่อง กาเนิดสัญญาณเสียง ตามมาตรฐาน IEC 60942 class 1 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า ( International Electrotechnical Commission, IEC ) 2 . การเตรียมเครื่องมือก่อนทำการตรวจวัด 2.1 ให้ใช้ มาตรระดับเสียง ที่ ได้รับการสอบเทียบในช่วงไม่เกิน 2 ปี เครื่องกาเนิด สัญญาณ เสียง อ้างอิ ง ที่ ได้รับการสอบเทียบในช่วงไม่เกิน 1 ปี โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 17025 ( ISO 17025 ) หรือมีความสามารถในการสอบกลับได้ในหัวข้อที่ทำการ สอบ เทียบ 2.2 ให้ ปรับ เทียบมาตรระดับเสียงกับเครื่องกาเนิด สัญญาณ เสียง อ้างอิง ตามคู่มือการใช้งาน ที่ผู้ผลิตมาตรระดับเสียงกาหนดไว้ ทุกครั้งก่อนที่จะทาการตรวจวัดระดับเสียง และ ให้ ปรับมาตร ระดับเสียง ให้มี การถ่วงน้าหนักความถี่แบบ “ A ” ( A Frequency w eighting ) และ การถ่วงน้าหนักเวลา แบบ “ Fast ” ( Fast Time weighting ) 3 . การตั้งไมโครโฟนและมาตรระดับเสียง การตั้งไมโครโฟนของมาตรระดับเสียงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 3.1 เป็นบริเวณที่ประชาชนร้องเรียนหรือที่คาดว่าจะได้รับการรบกวน แต่ หากแหล่งกาเนิดเสียง ไม่สามารถหยุดกิจกรรมที่เกิดเสียงได้ ให้ ตั้งไมโครโฟนของมาตรระดับเสียงในการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน และระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน บริเวณอื่นที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียง 3.2 การตั้งไมโครโฟนของมาตรระดับเสียงที่บริเวณภายนอกอาคาร ให้ตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.2 – 1.5 เมตร โดยในรัศมี 3.5 เมตร ตามแนวราบรอบไมโครโ ฟน ต้องไม่มีกำแพงหรือสิ่งอื่นใด ที่มีคุณสมบัติ ในการสะ ท้อนเสียงกีดขวางอยู่ 3.3 การตั้งไมโครโฟนของมาตรระดับเสียงที่บริเวณภายในอาคำร ให้ตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.2 – 1.5 เมตร โดยในรัศมี 1 เมตร ตามแนวราบรอบไมโครโ ฟน ต้องไม่มีกาแพงหรือสิ่งอื่นใด ที่มีคุณสมบัติ ในการสะท้อนเสียงกีดขวางอยู่ และต้องห่างจากช่องหน้าต่างหรือช่องทางออกนอกอาคารอย่างน้อย 1.5 เมตร 4 . การตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐานและระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน ให้ตรวจวัดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 นาที ขณะไม่มีเสียงจากแหล่งกาเนิดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแทนของระดับเสียงพื้น ฐาน และระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน โดยระดับเสียงพื้นฐานให้ วัดเป็นระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ( Percentile Level 90, L A90 ) ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวนให้วัดเป็น ร ะดับ เสียง เฉลี่ย ( Equivalent A - Weighted Sound Pressure Level, L Aeq ) แบ่ง ออกเป็น 3 กรณี ดังนี้
-
3 - 4.1 แหล่งกาเนิดเสียงยังไม่เกิดหรือยังไม่มีการดาเนินกิจกรรม ให้ตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน และระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน ในวัน เวลา และตำแหน่งที่คาดว่าจะได้รับ การ รบกวน 4.2 แหล่งกาเนิดเสียงมีการดาเนินกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ให้ตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐานและ ระดับ เสียงข ณะไม่มีการรบกวน ในวัน เวลาและตาแหน่งที่คาดว่าจะได้รับ การ รบกวน และเป็นตาแหน่งเดียวกัน กับตาแหน่งที่จะมีการวัดระดับเสียง ขณะเกิดเสียงของแหล่งกาเนิด โดยให้หยุดกิจกรรมของแหล่งกาเนิดเสียง หรือวัดทันทีก่อนหรือหลังการดำเนินกิจกรรม 4.3 แหล่งกาเนิดเสียงมีการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องไม่ สามารถหยุดการดาเนินกิจกรรม ได้ ให้ตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐานและระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน ในบริเวณอื่นที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกับ บริเวณที่ คาดว่าจะได้รับ การรบกวนและไม่ได้รั บผลกระทบจากแหล่งกำเนิดเสีย ง ทั้งนี้ ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน ที่จะนำไปใช้คำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน ตามข้อ 5 และระดับเสียงพื้นฐานที่จะนำไปใช้คำนวณค่าระดับการรบกวนตามข้อ 6 ให้เป็นค่าที่ตรวจวัด เวลาเดียวกัน 5 . การตรวจวัดและคานวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน แบ่งออกเป็น 5 กรณี ดังนี้ 5.1 กรณีที่เสียงจากแหล่งกาเนิดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ให้วัดระดับเสียง ขณะเกิดเสียง ของแหล่งกำเนิดเป็นระดับ เสียง เฉลี่ย ( Equivalent A - Weighted Sound Pressure Level ) 1 ชั่วโมง และนำผลการตรวจวัดมา คำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน ตามสมการที่ 1 L Aeq , Tr = [ 10 log 10 ( 10 0 . 1 𝐿𝐴 𝑒𝑞 , 𝑇 𝑠 − 10 0 . 1 𝐿𝐴 𝑒𝑞 , 𝑅 ) ] + 10 log 10 ( 𝑇 𝑠 𝑇 𝑟 ) สมการที่ 1 โดย L Aeq,Tr = ระดับเสียงขณะมีการรบกวน (มีหน่วยเป็น เดซิเบลเอ) L Aeq,Ts = ระดับเสียง ขณะเกิดเสียงของ แหล่งกำเนิด (มีหน่วยเป็น เดซิเบลเอ) L Aeq,R = ระดับเสียงขณะไม่มี การรบกวน (มีหน่วยเป็น เดซิเบลเอ) T s = ระยะเวลาของช่วงเวลาที่แหล่งกำเนิดเกิดเสียง (มีหน่วยเป็น นาที) T r = ระยะเวลาอ้างอิงที่กาหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคำนวณระดับ เ สียงขณะมีการรบกวน โดย - ถ้าเป็น แหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดเสียงในช่วงเวลา 06 .00 – 22 .00 นาฬิกา กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 60 นาที - ถ้าบริเวณ ที่ ทำการตรวจวัดระดับเสียงเป็นพื้นที่ที่ ต้องการความ เงียบสงบ หรือเป็น แหล่งกำเนิด ที่ ก่อให้เกิดเสียงในช่วงเวลา 22 .00 – 06 .00 นาฬิกา กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 5 นาที 5.2 กรณีที่เสียงจากแหล่งกาเนิดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ ไม่ถึง 1 ชั่วโมง ให้วัดระดับเสียง ขณะเกิดเสียง ของแหล่งกาเนิด ตั้งแต่ เริ่มต้นจนสิ้นสุดการดาเนินกิจกรรมนั้น ๆ เป็นระดับเสียง เฉลี่ย ( Equivalent A - Weighted Sound Pressure Level ) และนำผลการตรวจวัดมา คำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน ตามสมการที่ 1
-
4 - 5.3 กรณีเสียงจากแหล่งกาเนิดเกิดขึ้นอย่างไม่ต่อเนื่ องและเกิดขึ้นมากกว่า 1 ช่วงเวลา โดยแต่ละช่วงเวลาเกิดขึ้นไม่ถึง 1 ชั่วโมง ให้วัดระดับเสียง ขณะเกิดเสียง ของแหล่งกาเนิดเป็นระดับ เสียง เฉลี่ย ( Equivalent A - Weighted Sound Pressure Level ) ทุกช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในเวลา 1 ชั่วโมง และให้คานวณ ระดับเสียงขณะมีการรบกวนตามลำดับ ดังนี้ (ก) คำนวณระดับเสียง ขณะเกิดเสียง ของแหล่งกำเนิด ตามสมการที่ 2 L Aeq , Ts = 10 log 10 { ( 1 𝑇 𝑠 ) ∑ 𝑇 𝑠 10 0 . 1 𝐿 𝐴 𝑒𝑞 , 𝑇 𝑖 } สมการที่ 2 โดย L Aeq,Ts = ระดับเสียง ขณะเกิดเสียง ของแหล่งกำเนิด (มีหน่วยเป็น เดซิเบลเอ) T s = i T ( มีหน่วยเป็น นาที ) L Aeq,Ti = ระดับเสียงที่ตรวจวัดได้ในช่วงที่แหล่งกาเนิดเกิดเสียงที่ช่วงเวลา Ti, (มีหน่วยเป็น เดซิเบล เอ ) T i = ระยะเวลาของช่วงเวลาที่แหล่งกำเนิดเกิดเสียงที่ i , (มีหน่วย เ ป็น นาที) (ข) นาผลที่ได้จากการคานวณตาม ข้อ 5 ( 3 ) (ก) มาคานวณเพื่อหาระดับเสียงขณะมีการรบกวน ตาม สมการที่ 1 5.4 กรณีบริเวณที่จะทาการตรวจวัดเสียงของแหล่งกาเนิดเป็ นพื้นที่ที่ต้องการความเงียบสงบ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ศาสนสถาน ห้องสมุด หรือสถานที่อย่างอื่นที่ มีลักษณะทานองเดียวกัน หรือ เป็นแหล่งกาเนิด ที่ก่อให้เกิดเสียงในช่วงเวลาระหว่าง 22.00 – 06.00 นาฬิกา ให้วัดระดับเสียง ขณะเกิดเสียง ของแหล่งกาเนิด เป็นระดับ เสียง เฉลี่ย ( Equivalent A - Weighted Sound Pressure Level ) 5 นาที และคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน ตาม สมการที่ 1 และบวกเพิ่มด้วย 3 เดซิเบลเอ 5.5 กรณีแหล่งกำเนิดเสียงที่ทำให้เกิดเสียงกระแทก เสียงแหลมดัง เสียงที่ก่อให้เกิดควา ม สั่น สะเทือน อย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเสียงนั้น ไม่ว่าเสียงที่เกิดขึ้นจะต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม ให้นำระดับเสียง ขณะมีการรบกวนตาม ข้อ 5 .1 , 5 .2 , 5 .3 หรือ 5 . 4 แล้วแต่ กรณี บวกเ พิ่มด้วย 5 เดซิเบลเอ 6 . วิธีการคานวณค่าระดับการรบกวน ให้นาระดับเสียงขณะมีการรบกวนตามข้อ 5 หักออกด้วยระดับเสียงพื้นฐาน ตามข้อ 4 ผลลัพธ์ เป็นค่าระดับการรบกวน ผลลัพธ์ เป็นตัวเลข ทศนิยม 1 ตาแหน่ง และ การ ปัดเศษทศนิยม ให้เป็นไป ตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 929 - 25 3 3 ดังนี้ 6.1 ถ้าเศษตัวแรกมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ปัดเศษทิ้ง และคงตัวเลขตัวสุดท้ายในตาแหน่งที่ต้องการ คงไว้ 6.2 ถ้าเศษตัวแรกมีค่ามากกว่า 5 หรือเท่ากับ 5 แล้วตามด้วยเลขอื่นที่ไม่ใช่ 0 ทั้งหมด ให้ปัดเศษขึ้น คือ เพิ่มค่าของตัวเลขตัวสุดท้ายในตำแหน่งที่ต้องการคงไว้ขึ้นอีก 1
-
5 - 6.3 ถ้าเศษตัวแรกมีค่าเท่ากับ 5 โดยไม่มีเลขอื่นต่อท้าย หรือเท่ากับ 5 แล้วตามด้วย 0 ทั้งหม ด ให้ปฏิบัติดังนี้ (ก) เมื่อตัวเลขตัวสุดท้ายในตำแหน่งที่ต้องการคงไว้เป็นเลขคี่ ให้เพิ่มค่าของตัวเลข นี้ ขึ้นอีก 1 (ข) เมื่อตัวเลขตัวสุดท้ายในตำแหน่งที่ต้องการคงไว้เป็นเลขคู่หรือ 0 ให้ปัดเศษทิ้ง 7 . แบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน ให้ผู้ตรวจวัดบันทึก 7.1 ชื่อ สกุล ตำแหน่งของผู้ตรวจวัด 7.2 ลักษณะเสียงและช่วงเวลาการเกิดเสียงของแหล่งกำเนิด 7.3 สถานที่ วัน และเวลาการตรวจวัดเสียง 7.4 ผลการตรวจวัด และคานวณ ระดับเสียง 7.5 สรุปผล ทั้งนี้ ผู้ตรวจวัดอาจจัดทาแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวนรูปแบบอื่นที่มีเนื้อหาไม่น้อยกว่า ที่กาหนดไว้
แบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน ชื่อสถานประกอบการ/โร ง งาน/เจ้าของ ลักษณะเสียงของแหล่งกำเนิด เสียง เกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป เสียง เกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมง เสียง เกิดขึ้น ไม่ต่อเนื่อง และเกิดขึ้น มากกว่า 1 ช่วงเวลา แต่ละช่วงเวลาเกิดขึ้นไม่ถึง 1 ชั่วโมง มีเสียงกระแทก เสียงแหลมดัง เสียงที่มีความสั่นสะเทือน อย่างใดอย่างหนึ่ง (ระบุ) … … … … … ช่วงเวลา/พื้นที่ที่เกิดเสียง กลางวัน (06.00 - 22.00 น. ) กลางคืน (22.00 - 06.00 น.) พื้นที่ที่ต้องการความเงียบสงบ (ระบุ) … เครื่องมือตรวจวัดและปรับเทียบ มาตรระดับเสียง ยี่ห้อ … รุ่น … มาตรฐาน IEC … Class … หมายเลขเครื่อง … เครื่องกำเนิดสัญญาณเสียงอ้างอิง ยี่ห้อ … รุ่น … มาตรฐาน IEC … Class … หมายเลขเครื่อง … สถานที่ วัน และเวลาการ ตรวจวัดเสียง การ ตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน และ ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน สถานที่ … … … … .. … … … … … … วันที่ … … … เวลา … … … น. การ ตรวจวัดระดับเสียงขณะ เกิดเสียงของแหล่งกำเนิด สถานที่ … … … … … … … … … วันที่ … … … เวลา … … . น. สภาพแวดล้อมของสถานที่ตรวจวัด … … … … … ผลการตรวจวัดระดั บเสียง ระดับเสียงขณะเกิดเสียงของแหล่งกำเนิด ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน ระดับเสียงพื้นฐาน … เดซิเบลเอ … เดซิเบลเอ … เดซิเบลเอ ผลการคำนวณระดับเสียง ระดับเสียงขณะมีการรบกวน … เดซิเบลเอ ค่าระดับการรบกว น … เดซิเบลเอ สรุปผล เป็นเสียงรบกวน (มากกว่า 10 เดซิเบลเอ) ไม่เป็นเสียงรบกวน ความเห็น/ ข้อเสนอแนะ (…) ตำแหน่ง … ผู้ตรวจวัดและบันทึกผล (…) ตำแหน่ง … ผู้ตรวจสอบข้อมูล