ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการกำหนดแนวทางและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการขอรับใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป พ.ศ. 2565
ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการกำหนดแนวทางและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการขอรับใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป พ.ศ. 2565
ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการกาหนดแนวทางและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับ วิธีการขอรับใบสาคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือ ที่มีขนาดความยาวตลอดลำตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป พ.ศ. 2565 เพื่อให้เจ้าของเรือ ผู้ออกแบบเรือ ผู้ต่อเรือ ที่จะทำการยื่นขออนุมัติแบบแปลนเรือดาเนินการ ส่งแบบแปลนเรือ รายการคานวณ และเอกสารประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจอนุมัติ แบบแปลนเรือ สาหรับเรือที่มีการต่อเรือใหม่ เรือที่มีการดัดแปลงเรือ หรือเรือที่ซื้อมาจากต่างประเทศ เพื่อขอรับใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือ ให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2553 และเพื่อให้การดาเนินการตามพันธกรณีตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยแนวน้าบรรทุกของเรือ ค.ศ. 1966 อนุสัญญำระหว่างประเทศว่าด้วยขนาดตันเรือ ค.ศ. 1969 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 และอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพิธีสาร ค.ศ. 1978 และที่แก้ไข เพิ่มเติมโดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ( International Maritime Organization : IMO ) เป็นไปด้วยความเหมาะสม มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานที่กาหนดไว้ในอนุสัญญาและ กฎข้อบังคับดังกล่าว อธิบดีกรมเจ้าท่าจึงออกระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการกา หนดแนวทางและวิธีการปฏิบัติ เกี่ยวกับวิธีการขอรับใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำ ตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการกาหนดแนวทางและวิธีการปฏิบัติ เกี่ยวกับวิธีการขอรับใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำ ตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับเรือที่มีการต่ อใหม่หรือเรือที่มีการดัดแปลง รวมถึงเรือ ที่ซื้อมาจากต่างประเทศที่มีขนาดความยาวตลอดลำตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ ผู้ขอ ” หมายถึง เจ้าของเรือ ผู้ออกแบบเรือ หรือผู้ต่อเรือ “ ข้อบังคับ ” หมายถึง กฎข้อบังคับสาหรับการตรวจเรือ หรือข้อบังคับกรมเจ้าท่าที่ออกตาม ความในกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย เรื่องการตรวจเซอร์เวย์เรือ ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 5 ให้ผู้ขอที่ประสงค์จะยื่นแบบแปลนเรือสาหรับเรือที่ต่อใหม่ เรือที่มีการดัดแปลง หรือเรือที่ซื้อมาจากต่างประเทศ ดาเนินการ ดังนี้ (1) ยื่นคำขอผ่านทา งหน้าเว็บไซต์ของกรมเจ้าท่า โดยเข้าไปที่หัวข้อ e - Service (2) เลือกหัวข้อ ด้านตรวจเรือ จากนั้นทำการล็อคอินโดยใช้เลขบัตรประชาชนของผู้ขอ (3) เลือกหัวข้อด้านตรวจแบบเรือ และเลือกหัวข้อบันทึก/แก้ไข คาขอในการยื่นแบบแปลนเรือ จากนั้นทำการกรอกข้อมูลรายละเอียดในคาขอ เมื่อดาเนินการยื่นคำขอตามวรรคแรกเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นแบบแปลนเรือที่ขออนุมัติ จำนวน 3 ชุด ที่สานักมาตรฐานเรือ กลุ่มวิศวกรรมเรือและนวัตกรรม อาคาร 2 ชั้น 3 กรมเจ้าท่า ด้วยตนเอง หากผู้ขอประสงค์ยื่นทางไปรษ ณีย์ให้จัดส่งแบบแปลนเรือตามที่กำหนดไปที่กรมเจ้าท่า สานักมาตรฐานเรือ กลุ่มวิศวกรรมเรือและนวัตกรรม เลขที่ 1278 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100 โทรศัพท์ 0 2233 1311 - 8 ต่อ 361 ข้อ 6 เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคาขอในระบบ e - Service และตรวจแบบแปลนที่นามายื่นแล้ว พบว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่กาหนดในระเบียบนี้ จึงรับคาขอนั้น หากไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่ ผู้รับคาขอจะไม่รับคาขอนั้นและแจ้งสิ่งที่ต้องดาเนินการแก้ไขให้ผู้ขอทราบ โดยผู้ขอสามารถตรวจสอบ การแจ้งแก้ไขได้จากเมนูติดตามสถำนะ e - Tracking และเมื่อดาเนินการแก้ไขแล้วให้ส่งคำขอที่แก้ไขแล้ว ในระบบ e - Service ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกครั้ง ข้อ 7 สาหรับเรือกล หรือเรือเดินทะเลที่มิใช่เรือกล หรือเรือลาน้าที่มิใช่เรือกล ที่มีการ ออกแบบรูปร่าง โครงสร้าง การใช้งานที่มีลักษณะพิเศษ หรือมีการบรรทุกคนโดยสารเพื่อใช้เป็นการ เฉพาะกรณีหรือเฉพาะพื้นที่ ประกอบกับไม่เข้าลักษณะประเภทการใช้ของข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วย การกาหนดประเภท การใช้เรือสาหรับเรือทั่วไปที่มิ ใช่เรือประมง เรือขนถ่ายสัตว์น้าหรือเรือสนับสนุน การประมง พ.ศ. 2561 ซึ่งกาหนดประ เภทการใช้เป็นกิจการพิเศษ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการ สำนักมาตรฐานเรือที่กำหนดไว้ในข้อ 6 ของข้อบังคับดังกล่าว ก่อนที่จะอนุมัติแบบแปลนเรือ ข้อ 8 เมื่อได้รับคำขออนุมัติแบบแปลนเรือแล้ว ให้วิศวกรพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ขนาดและมาตราส่วน 1.1 แบบแปลนเรือ ต้องมีมาตราส่วน ไม่น้อยกว่า 1 ต่อ 200 1.2 แบบแสดงรายละเอียด โครงสร้างแบบรูปตัดกึ่งกลางลำ ต้องมีมาตราส่วนระหว่าง 1 ต่อ 10 ถึง 1 ต่อ 25 1.3 ขนาดของแบบแปลนเรือ ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 420 x 594 มิลลิเมตร ( ISO A 2 ) 1.4 ขนาดของแบบแสดงโครงสร้าง รายการคานวณ คู่มือการบรรทุก และหนังสือ แสดงความทรงตัว มีขนาดไม่ต่ากว่า 210 x 297 มิลลิเมตร ( ISO A 4 ) ้ หนา 5 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565
1.5 ขนาดของไฟล์แบบแปลนเรือ ที่จะยื่นผ่านระบบ e - Service ให้จัดทาไฟล์ PDF โดยต้องมีความละเอียดของไฟล์แต่ละแบบ ไม่น้อยกว่า 300 DPI ( Dots Per Inch ) ( 2 ) แบบแปลนเรือต้องมีรายละเอียดของแบบแปลนเรือ ( Title box ) ซึ่งแสดงรายละเอียด อย่างน้อยเกี่ยวกับ ชื่อแบบ ชื่อเรือ ชื่ออู่ต่อเรือ ชื่อผู้ออกแบบเรือ ชื่อผู้รับรองแบบ มาตราส่วน และ เลขที่แบบแปลนให้ครบถ้วน ( 3 ) แบ บแปลนเรือจะต้องมีข้อมูลที่กาหนดตามข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง สาหรับการตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ เช่น ความยาวตลอดลา ความยาวฉาก ความกว้าง ความลึก น้าหนักบรรทุก แนวน้า บรรทุกออกแบบ (ระยะกินน้าลึก) ความเร็วเรือ จานวนคนประจาเรือ จานวนคนโดยสาร (ถ้ามี) หมายเลข IMO ( IMO number ) (ถ้ามี) ตาแหน่งรายละเอียดของโครงสร้าง ให้ถูกต้อง ชัดเจน และ ตรงตามมาตราส่วนที่ระบุไว้ในแบบแปลนเรือ ( 4 ) สำหรับแบบแปลนเรือบรรทุกคนโดยสาร จะต้องแสดงรายละเอียดหรือข้อมูลที่ระบุพื้นที่ โดยสาร สำหรับนั่ง นอน และยืน จำนวนคนโดยสำรในแต่ละพื้นที่ รวมถึงระบุเส้นทางอพยพ และทางออกฉุกเฉินอย่างถูกต้องชัดเจน ( 5 ) แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือแบบการจัดการเพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และแบบการจัดการอุปกรณ์ความปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life - saving appliance plan ) ให้จัดทาสัญลักษณ์แสดงโครงสร้างการป้องกันเพลิงไหม้ อุปกรณ์สาหรับการควบคุมเพลิงไหม้ อุปกรณ์ สำหรับความปลอดภัยแห่งชีวิตให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือหรือข้อกำหนดขององค์การ ทางทะเลระหว่างประเทศ และต้องเป็นภาพสัญลักษณ์สีลงในแบบแปลนเรือ ( 6 ) แบบการจั ดการความปลอดภัย หรือแบบการจัดการเพลิงไหม้ และแบบการจัดการ อุปกรณ์ความปลอดภัยแห่งชีวิตของเรือบรรทุกคนโดยสารและยานพาหนะล้อเลื่อน เรือบรรทุกสินค้าตู้ ต้องมีรายละเอียดแสดงการติดตั้งอุปกรณ์ยึดติดตรึงของยานพาหนะหรือสินค้าตู้บนเรือด้วย ข้อ 9 แบบแปลนเรือต้องได้ รับการลงนามรับรองจากผู้ที่คานวณและออกแบบเรือหรือ ผู้ตรวจสอบซึ่งมีวุฒินาวาสถาปัตยกรรม ( Naval Architecture ) หรือผู้มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเรือ วิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ หรือเป็นผู้ที่มีใบประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมและมีประสบการณ์ในการออกแบบเรือในอู่ต่อเรือไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยผู้ลงนามรับรอง ต้องแนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมหลักฐานคุณสมบัติตามที่กาหนด กรณีแบบแปลนเรือที่ผ่านการอนุมัติโดยสถาบันการตรวจเรือที่ได้รับการยอมรับจากกรมเจ้าท่ำ ( Recognized Organization : Ro ) ตามข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ให้ถือว่าเป็นการรับรองตามวรรคหนึ่ง ข้อ 10 สาหรับรายการแบบแปลนเรือ รายการคานวณ และเอกสารประกอบของเรือ แต่ละประเภทที่จาเป็นจะต้องมีการยื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากเอกสารที่เป็นแบบแปลนบังคับยื่น ตามข้อ 14 ้ หนา 6 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565
แห่งกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2553 ให้เป็นไปตามที่ปรากฏในภาคผนวก แนบท้ายระเบียบนี้ เมื่อได้พิจารณาและตรวจสอบแบบแปลนเรือที่ยื่นแล้ว หากพบว่ามีความจาเป็นที่ต้องใช้แบบ แปลนเรืออื่นเพื่อพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม อาจกา หนดให้ส่งแบบแปลน รายการคานวณ เอกสาร ประกอบอื่นที่จำเป็นเพิ่มได้ ข้อ 11 เมื่อได้รับคาขอแล้ว วิศวกรจะดาเนินการตรวจแบบแปลนเรือ รายการคานวณ คู่มือการบรรทุก หนังสือแสดงความทรงตัว เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้าง อุปกรณ์ ระบบ การติดตั้ง การจัดการ และวัสดุ เป็นไปตามข้อกาหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศ และข้อบังคับในส่วนที่ เกี่ยวข้องตามประเภทของเรือและประเภทการใช้ของเรือ พร้อมดาเนินการตรวจสอบตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ตรวจสอบขนาดและความแข็งแรงของโครงสร้างเรือ ( 2 ) คานวณขนาดตันกรอส และตันเนต แนวน้าบรรทุกของเรื อ และน้าหนักบรรทุกของเรือ ตามข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ( 3 ) ตรวจสอบผลการคานวณความทรงตัวของเรือในภาวะปกติ ( Intact stability ) หรือ ความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability ) ( 4 ) ตรวจสอบอุปกรณ์ในแบบแปลนการจัดการความปลอดภัย หรือแบบการจัดการเพลิงไหม้ และแบบการจัดการอุปกรณ์ความปลอดภัยแห่งชีวิต ( 5 ) ตรวจรายละเอียดของอุปกรณ์หรือระบบที่ติดตั้งบนเรือให้เป็นไปตามอนุสัญญาระหว่าง ประเทศที่เกี่ยวข้อง เมื่อตรวจสอบตามขั้นตอนข้างต้นครบถ้วนแล้ว ให้แจ้งผลการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือให้ผู้ขอทราบ ข้อ 12 ในกรณีที่แบบแปลนเรือที่ได้รับการอนุมัติแล้วสูญหาย หากผู้ขอมีความประสงค์จะ ขอสาเนาแบบแปลนเรือ ให้ยื่นคาขอ ก.5 ที่สานักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า เพื่อขอสาเนาแบบแปลนเรือ โดยระบุชื่อเรือ เลขทะเบียนเรือ และชื่อแบบแปลนเรือ และให้นาบันทึกแจ้งความเอกสารสูญหาย แนบประกอบคาขอนั้นด้วย ให้ผู้ขอสำเนาชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 48/2559 เรื่อง การเก็บค่าธรรมเนียมการขอ สาเนา หรือขอสาเนาที่มีคารับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการ ลงวันที่ 4 มีนาคม 2559 ข้อ 13 ในกรณีที่ผู้ขอมีความประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการชื่อเรือในแบบแปลนเรือ ให้ยื่นคาขอ ก.5 พร้อมแบบแปลนเรือที่ได้รับการอนุมัติฉบับจริง จานวน 2 ชุด และแนบเอกสาร หลักฐานการเปลี่ยนชื่อเรือ ให้เจ้าหน้าที่หมายเหตุในแบบแปลนเรือ และประทับตราพร้อมลงนาม โดยวิศวกรในแบบแปลนเรือ ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565
การประทั บตรารับรองแบบแปลนเรือตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอชาระค่าธรรมเนียม ตามข้อ 2 (2) อัตราที่กาหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้าไทย (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2481 ข้อ 14 ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 อานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565
ภาคผนวก รายการแบบแปลนของเรือแต่ละประเภท ที่ จำเป็น จะต้องมีการยื่นเพิ่มเติม 1 1. ประเภทเรือกล 1 .1 กลุ่มเรือบรรทุกสินค้ำ / กลุ่มเรือบรรทุกสินค้าเทกอง ( General Cargo Vessel / Bulk Carrier ) 1.1. 1 คู่มือการบรรทุก ( Loading manual ) 1.1. 2 แบบแผ่นเหล็กตัวเรือ ( Shell expansion ) 1.1. 3 แบบความสามารถบรรจุ ( Capacity plan ) 1.1. 4 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1.1. 5 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าอับเฉา ( Ballast pumping arrangements ) 1.1. 6 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1.1. 7 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 1 . 1 . 8 หนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability booklet ) กรณี เรือบรรทุกสินค้า และบรรทุกสินค้าเทกอง ที่มีความยาวฉาก ตั้งแต่ 80 เมตร ขึ้นไป 1.2 กลุ่มเรือ บรรทุกสินค้าเหลวในระวาง ( Tanker ) 1.2. 1 แบบแผ่นเหล็กตัวเรือ ( Shell expansion ) 1.2. 2 แบบความสามารถบรรจุ ( Capacity plan ) 1. 2 . 3 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1.2. 4 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าอับเฉา ( Ballast pumping arrangements ) 1.2. 5 แบบการติดตั้งระบบท่อทางสินค้า ( Cargo piping arrangement ) 1.2. 6 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1.2.7 แบบผนังกั้นน้้า และผนังกั้นน้้า มัน ( Watertight and Oiltight bulkheads ) 1.2.8 แบบซุปเปอร์สตรัคเจอร์ และฝากั้น ( Superstructure and Bulkheads ) 1.2. 9 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 1.2. 10 แบบท้องเรือชั้นเดียว หรือท้องเรือสองชั้น หรือเปลือกเรือสองชั้น ( Single bottom, Double bottom or Double hull ) 1 . 2 . 11 หนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability booklet ) กรณี เรือบรรทุกน้้ามัน ที่มีขนาดตันกรอสตั้งแต่ 150 ตันกรอส ขึ้นไป 1 กฎข้อบังคับส้าหรับการตรวจเรือ ( ฉบับที่ 37 ) พ.ศ.2553 ข้อ 14 “ แบบแปลนในข้อ 13 (1) ถึงข้อ 13 (5) เป็นแบบแปลนบังคับยื่น ส้า หรับแบบแปลนในข้อ 13 (6) ถึงข้อ 13 (33) เมื่อวิศวกรได้พิจารณาตามลักษณะและประเภทของเรือแล้ว อาจยกเว้นให้ไม่ต้องส่งแบบแปลนใดที่พิจารณาเห็นว่า ไม่จ้า เป็นได้หรืออาจก้าหนดให้ส่งแบบแปลน รายการค้านวณ เอกสารประกอบอื่นที่พิจารณาเห็นว่าจ้าเป็นเพิ่มเติมได้ ” ดังนั้น จึ งเพิ่ม รายการแบบแปลนของเรือแต่ละประเภท ที่จ้าเป็นจะต้องมีการยื่นเพิ่มเติมจาก แบบแปลนบังคับยื่น ใน ข้อ 13 ( 1) ถึง ข้อ 13 ( 5) ของ กฎข้อบังคับส้าหรับการตรวจเรือ ( ฉบับที่ 37 ) พ.ศ.2553 ในภาคผน ว กนี้
-
2 - 1.3 กลุ่ม เรือบรรทุกคนโดยสาร ( Passenger Ship ) 1. 3 . 1 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1. 3 . 2 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าอับเฉา ( Ballast pumping arrangements ) 1.3.3 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1. 3 . 4 แบบผนังกั้นน้้า และผนังกั้นน้้ามัน ( Watertight and Oiltight bulkheads ) 1. 3 . 5 แบบซุปเปอร์สตรัคเจอร์ และฝากั้น ( Superstructure and Bulkheads ) 1.3. 6 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 1. 4 กลุ่ม เรือสันทนาการและสำราญกีฬา ( Recreation and Sport Vehicles ) 1.4. 1 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1.4. 2 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าอับเฉา ( Ballast pumping arrangements ) 1. 4 . 3 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1.4 .4 แบบผนังกั้นน้้า และผนังกั้นน้้ามัน ( Watertight and Oiltight bulkheads ) 1. 4.5 แบบซุปเปอร์สตรัคเจอร์ และฝากั้น ( Superstructure and Bulkheads ) 1.4. 6 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 1. 5 กลุ่ม เรือบริการ / สนับสนุนกิจการทางนา ( Water Bound Service / Facilitate Vessel ) 1. 5 . 1 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1. 5 . 2 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1. 5 . 3 แบบผนังกั้นน้้า และผนังกั้นน้้ามัน ( Watertight and Oiltight bulkheads ) 1. 5 . 4 แบบซุปเปอร์สตรัคเจอร์ และฝากั้น ( Superstructure and Bulkheads ) 1. 5 . 5 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 1.5.6 หนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability booklet ) กรณีเรือที่มีการบรรทุกคนโดยสาร หรือ เรือที่มี การบรรทุกน้้ามัน หรือ ผลิตภัณฑ์ จากน้้ามัน ขนาดตันกรอสตั้งแต่ 150 ตันกรอส ขึ้นไป 1. 6 กลุ่มเรือตรวจการณ์และช่วยเหลือกู้ภัย ( Patrol and Rescue Vessel ) 1. 6 . 1 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1. 6 . 2 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1. 6 . 3 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement )
-
3 - 1. 7 กลุ่มเรือกิจการพิเศษ ( Special Purpose Vessel ) 1. 7 . 1 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1. 7 . 2 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1 . 7 . 3 แบบผนังกั้นน้้า และผนังกั้นน้้ามัน ( Watertight and Oiltight bulkheads ) 1 . 7 . 4 แบบซุปเปอร์สตรัคเจอร์ และฝากั้น ( Superstructure and Bulkheads ) 1. 7 . 5 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 1 . 7 . 6 หนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability booklet ) กรณี เรือ กิจการพิเศษ ที่มีการ บรรทุก คนโดยสาร 1.8 กลุ่มเรือขนถ่ายและสนับสนุนการประมง ( Transshipment & support fishery vessel ) ประเภทการใช้ บรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ( Refrigerated fishery cargo carrier ) และ ขนถ่ายเพื่อการประมง ( Fishery transshipment vessel ) 1. 8 .1 คู่มือการบรรทุก ( Loading manual ) 1. 8 .2 แบบแผ่นเหล็กตัวเรือ ( Shell expansion ) 1. 8 .3 แบบความสามารถบรรจุ ( Capacity plan ) 1. 8 .4 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1. 8 .5 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าอับเฉา ( Ballast pumping arrangements ) 1. 8 .6 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1. 8 . 7 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 1. 9 กลุ่มเรือขนถ่ายและสนับสนุนการประมง ( Transshipment & support fishery vessel ) ประเภทการใช้ บรรทุกน้้า มันเพื่อการประมง ( Oil tanker for fishery ) และ บรรทุกน้้า จืดเพื่อการประมง ( Fresh water tanker for support fishery ) 1. 9 .1 แบบแผ่นเหล็กตัวเรือ ( Shell expansion ) 1. 9. 2 แบบความสามารถบรรจุ ( Capacity plan ) 1. 9 .3 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1. 9 .4 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าอับเฉา ( Ballast pumping arrangements ) 1. 9 .5 แบบการติดตั้งระบบท่อทางสินค้า ( Cargo p iping arrangement ) 1. 9 .6 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1. 9 .7 แบบผนังกั้นน้้า และผนังกั้นน้้ามัน ( Watertight and Oiltight bulkheads ) 1. 9 .8 แบบซุปเปอร์สตรัคเจอร์ และฝากั้น ( Superstructure and Bulkheads ) 1. 9 . 9 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 1. 9 . 10 แบบท้องเรือชั้นเดียว หรือท้องเรือสองชั้น หรือเปลือกเรือสองชั้น ( Single bottom, Double bottom or Double hull )
-
4 - 1 . 9 . 11 หนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability booklet ) กรณีบรรทุกน้้ามัน ที่มีขนาดตันกรอสตั้งแต่ 150 ตันกรอส ขึ้นไป 1. 10 กลุ่มเรือขนถ่ายและสนับสนุนการประมง ( Transshipment & support fishery vessel ) ประเภทการใช้ ส้ารวจการประมง ( Fishery research vessel ) เพาะเลี้ยงสัตว์น้้า ( Aquaculture ) และ สนับสนุนการประมง ( Support fishery vessel ) 1 . 10 . 1 แบบความสามารถบรรจุ ( Capacity plan ) 1. 10 . 2 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 1. 10 . 3 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 1. 10 . 4 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 2. ประเภทเรือที่มิใช่เรือกล 2.1 กลุ่มเรือบรรทุกสินค้ำ / กลุ่มเรือบรรทุกสินค้าเทกอง ( General Cargo Vessel / Bulk Carrier ) 2.1. 1 แบบแผ่นเหล็กตัวเรือ ( Shell expansion ) 2.1. 2 แบบความสามารถบรรจุ ( Capacity plan ) 2 . 1 . 3 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 2.1. 4 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 2 . 1 . 5 หนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability booklet ) กรณี เรือบรรทุกสินค้า ที่มีความยาวฉาก ตั้งแต่ 80 เมตร ขึ้นไป 2. 2 กลุ่มเรือบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง ( Tanker ) 2. 2 .1 แบบแผ่นเหล็กตัวเรือ ( Shell expansion ) 2. 2 .2 แบบความสามารถบรรจุ ( Capacity plan ) 2. 2 .3 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 2 . 2 . 4 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าอับเฉา ( Ballast pumping arrangements ) 2. 2 . 5 แบบการติดตั้งระบบท่อทางสินค้า ( Cargo piping arrangement ) 2. 2 . 6 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 2 . 2 .7 แบบผนังกั้นน้้า และผนังกั้นน้้ามัน ( Watertight and Oiltight bulkheads ) 2 . 2 .8 แบบซุปเปอร์สตรัคเจอร์ และฝากั้น ( Superstructure and Bulkheads ) 2 . 2 .9 แบบการจัดการห้องเครื่องจักร ( Machinery arrangement ) 2 . 2 .10 แบบท้องเรือชั้นเดียว หรือท้องเรือสองชั้น หรือเปลือกเรือสองชั้น ( Single bottom, Double bottom or Double hull )
-
5 - 2 . 2 .11 หนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability booklet ) กรณีบรรทุกน้้ามัน ที่มีขนาดตันกรอสตั้งแต่ 150 ตันกรอสส์ ขึ้นไป 2. 3 กลุ่มเรือบริการ / สนับสนุนกิจการทางนา ( Water Bound Service / Facilitate Vessel ) 2. 3 . 1 แบบความสามารถบรรจุ ( Capacity plan ) 2. 3 . 2 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 2. 3 . 3 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 2. 4 กลุ่ม เรือสันทนาการและสำราญกีฬา ( Recreation and Sport Vehicles ) 2. 4 . 1 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 2. 4 . 2 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 2. 5 กลุ่มเรือตรวจการณ์และช่วยเหลือกู้ภัย ( Patrol and Rescue Vessel ) 2. 5 . 1 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 2. 5 . 2 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 2. 6 กลุ่มเรือกิจการพิเศษ ( Special Purpose Vessel ) 2. 6 . 1 แบบการติดตั้งระบบสูบน้้าท้องเรือ ( Bilge pumping arrangements ) 2. 6 . 2 แบบการจัดการความปลอดภัย ( Safety plan ) หรือ แบบการจัดการ เพลิงไหม้ ( Fire control plan ) และ แบบการจัดการอุปกรณ์ความ ปลอดภัยแห่งชีวิต ( Life saving appliance plan ) 2. 6 .3 หนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย ( Damage stability booklet ) กรณี เรือ กิจการพิเศษ ที่มีการ บรรทุก คนโดยสาร