ระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2565
ระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2565
ระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของ คณะกรรมการประกันสังคม เพื่อให้การสรรหาที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคมเป็นไปด้วย ความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 8 / 1 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกันสังคม จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ ที่ปรึกษา ” หมายความว่า ที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม “ กรร มการสรรหา ” หมายความว่า กรรมการที่ทำหน้าที่สรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อ เป็นที่ปรึกษา “ คณะกรรมการสรรหา ” หมายความว่า คณะกรรมการที่ทาหน้าที่สรรหาบุคคลที่สมควร ได้รับการเสนอชื่อเป็นที่ปรึกษา “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการประกันสังคม “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานประกันสังคม “ รัฐมนตรี ” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ข้อ 4 ให้เลขาธิการรักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เลขาธิการมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดและ คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง จานวนเก้าคน เพื่อทาหน้าที่ สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย เลขาธิการ เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนแพทยสภา ผู้แทนสำนักงานอั ยการสูงสุด ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ฝ่ายละสามคน เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักงานประกันสังคม เป็นเลขานุการและ เจ้าหน้าที่สำนักงานไม่เกินสองคนซึ่งเลขาธิการแต่งตั้ง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 6 ให้คณะกรรมการสรรหามีอำนำจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ( 1 ) กำหนดขั้นตอนและวิธีการสรรหา ( 2 ) สรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติและเหมาะสมที่จะเสนอชื่อเป็นที่ปรึกษา ( 3 ) สรุปผลการสรรหาและเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมประวัติและผลงาน เพื่อให้คณะกรรมการ พิจารณาแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา ( 4 ) มีอานาจแต่งตั้งคณะทำงานดาเนินการตาม (1) (2) หรือ (3) เพื่อพิจารณาเสนอความเห็น ต่อคณะกรรรมการสรรหา ข้อ 7 การประชุมคณะกรรมการสรรหาต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคราวใด ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ ที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ข้อ 8 ให้คณะกรรมการสรรหาดาเนินการสรรหาตามระเบียบนี้ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องสรรหา กรณีที่ไม่อาจดาเนินการให้แ ล้วเสร็จตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการสรรหารายงานเหตุผล ความจำเป็นต่อคณะกรรมการเพื่อขยายเวลาไปอีกไม่เกินสามสิบวัน ข้อ 9 ให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติและรวบรวมรายชื่อผู้เข้ารับ การสรรหาทั้งหมดเสนอให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณา แต่ทั้งนี้จานวนไม่เกิ นสี่เท่าของผู้ทรงคุณวุฒิ ในแต่ละด้าน โดยให้มีเอกสารประกอบการพิจารณา ได้แก่ ประวัติการศึกษา ประวัติส่วนตัว ประวัติการทางาน ผลงานที่ผ่านมา ชื่อเสียงเกียรติคุณ ผลงานวิชาการ หนังสือแสดงความยินยอม เข้ารับการสรรหา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในกำรพิจารณา ข้อ 10 ให้คณะกรรมการสรรหาดาเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ไม่น้อยกว่าสิบปีในด้านการเงินการคลัง ด้านระบบงานประกันสังคม ด้านบริหาร การลงทุน ด้านบริหารจัดการ ด้านการแพทย์ ด้านกฎหมาย และด้านเศรษฐศาสตร์ ในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิให้ดาเนินการสรรหาจากบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย (2) ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (3) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (4) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคล ล้มละลายทุจริต (5) ไม่เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ้ หนา 2 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565
(6) ไม่เคยต้องคาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ารวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ (7) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือเลิกจ้างจากหน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบกิจการ ของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ (8) ไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีประโยชน์ได้เสียในกิจการที่เป็นคู่สัญญาหรือมีธุรกิจเกี่ยวข้อง กับสำนักงาน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ( 9 ) ไม่เป็นหรือเคยเป็นข้ำราชการการเมือง ผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตาแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี ข้อ 11 การสรรหาของคณะกรรมการสรรหาให้คำนึงถึงองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ (1) ประวัติส่วนตัว การศึกษา ประวัติการทำงาน (2) ความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ (3) ผลงานที่ผ่านมา ( 4 ) ความเหมาะสมอื่น ๆ ข้อ 12 ให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาจัดทาบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รั บการสรรหา ให้ดารงตาแหน่งที่ปรึกษาพร้อมกับคุณสมบัติตามข้อ 10 วรรคสอง และเอกสารประกอบการพิจารณา ตามข้อ 9 เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ข้อ 13 ในกรณีที่ที่ปรึกษาพ้นจากตาแหน่งตามมาตรา 10 หรือมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่ งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ให้ประธานกรรมการสรรหาเรียกประชุมคณะกรรมการสรรหาและดาเนินการสรรหาบุคคลในประเภท เดียวกันตามวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 266 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 พฤศจิกายน 2565