ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่า สำหรับเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น เพื่อให้การเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น เป็นไปอย่างถูกต้อง มีมาตรฐาน และโปร่งใส อาศัยอานาจตามความใน (2) ของประเภทที่ 02.02 ของบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวงกาหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 256 5 อธิบดีกรมสรรพสามิต จึงกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสาหรับเครื่องดื่ม ๆ ที่มีการ เติมสารอาหารหรือสารอื่น โดยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษี ในอัตราตามมูลค่า สาหรับเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 256 4 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ เครื่องดื่มอื่น ๆ ” หมายความว่า เครื่องดื่มอื่น ๆ ในประเภทที่ 02.02 นอกจากน้าแร่ และน้ำอัดลม ที่เติมน้าตาลหรือสารที่ทาให้หวานอื่น ๆ หรือที่ปรุงกลิ่นรส แต่ไม่รวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่ ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนตามกฎหมายว่าด้วยอาหารซึ่งต้องแสดง ข้อความจำกัดกำรดื่มบนฉลาก ข้อ 3 เครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา ตามมูลค่าตามประกาศนี้ ต้องมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังต่อไปนี้ 3.1 เป็นเครื่องดื่มที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ และได้รับเลข สารบบอาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารแล้ว (1) วิตามิน กรดอะมิโน กรดไขมัน แร่ธาตุ และผลิตผลจากพืชหรือสัตว์ (2) สารเข้มข้น สารเมตาโบไลท์ ส่วนประกอบ หรือสารสกัดของสารใน (1) (3) สารสังเคราะห์เลียนแบบสารตาม (1) หรือ (2) (4) ส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างของสารใน (1) (2) หรือ (3) (5) สารหรือสิ่งอื่นนอกจาก (1) - (4) ที่สานักงานคณะกรรมการอาหาร และยาประกาศกาหนดหรืออนุญาตเพิ่มเติม 3.2 เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีการเติมหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในเครื่องดื่ม 3.3 เป็นเครื่องดื่มที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ที่ภาชนะบรรจุ ฉลากปิดภาชนะ หรือฝาปิดภาชนะบรรจุเครื่องดื่ม ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 265 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565
(1) ชื่อผู้ประกอบอุตสาหกรรม/ผู้นำเข้า (2) สถานที่ตั้งโรงอุตสาหกรรม/สถานประกอบการของผู้นาเข้า (3) ชื่อเครื่องดื่ ม (4) เครื่องหมายการค้า (5) ส่วนผสมหลักของเครื่องดื่ม (6) ปริมาตรสุทธิ (7) วัน เดือน ปี ที่ผลิตและที่หมดอายุ หรือที่ควรบริโภคก่อน (8) เลขสารบบอาหาร ในกรณีส่งเครื่องดื่มออกไปนอกราชอาณาจักร ให้แสดงชื่อและสถานประกอบการ ของผู้จัดจาหน่ายในต่างประเทศแทนรายละเอียดตาม (1) และ (2) ก็ได้ และจะไม่แสดงเลขสารบบ อาหารตาม (8) ก็ได้ ข้อ 4 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นาเข้า สินค้าเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ทั้งนี้ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นาเข้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ให้ถูกต้องและครบถ้วน ข้อ 5 ผู้ที่ประสงค์จะใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกาศ นี้ ต้องยื่นคาขอใช้สิทธิ เสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้ และดาเนินการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 5.1 ยื่นคาขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่า ภายในกาหนดเวลาและสถานที่ ดังนี้ (1) กรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรม ให้ยื่นคำขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตรา ตามมูลค่าเป็นหนังสือ ก่อนการผลิตในครั้งแรก ณ สานักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ (2) กรณีผู้นาเข้า ให้ยื่นคาขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าเป็นหนังสือ ก่อนการนำเข้าในครั้งแรก ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ได้จดทะเบียน สรรพสามิตไว้ 5.2 แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ยื่นคาขอ แจ้งรายละเอียดของเครื่องดื่ม ส่งตัวอย่าง เครื่องดื่ม ตัวอย่างฉลาก ตัวอย่างวัตถุดิบ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการยื่นคำขอ ใช้สิทธิ ดังนี้ (1) แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ยื่นคาขอ และแจ้งรายละเอียดของเครื่องดื่ม ที่จะขอใช้สิทธิตามข้อ 3.3 ให้ชัดเจน รวมทั้งส่งตัวอย่างฉลากที่จะใช้ปิดบนภาชนะบรรจุเครื่องดื่ม ดังกล่าว (2) ส่งตัวอย่างเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่นที่ขอใช้สิทธิ เสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้ จานวนไม่น้อยกว่า 3 ภาชนะบรรจุ โดยมีปริมาตรรวม ้ หนา 31 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 265 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565
ไม่น้อยกว่า 1 ลิตร และต้องเป็นตัวอย่างเครื่องดื่มที่มีภาชนะบรรจุและแสดงฉลากปิดภาชนะ ในลักษณะของสินค้าที่จะวางจำหน่ายจริง พร้อมแสดงสูตรส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิตเพื่อให้ กรมสรรพสามิตใช้ตรวจสอบประกอบการพิ จารณาในการขอใช้สิทธิ ทั้งนี้ กรณีเครื่องดื่มที่ขอใช้สิทธิดังกล่าว มีภาชนะบรรจุหลายขนาด ให้สามารถส่งตัวอย่างเครื่องดื่มภาชนะขนาดใดก็ได้จานวนไม่น้อยกว่า 3 ภาชนะบรรจุ แต่ต้องมีปริมาตรรวมไม่น้อยกว่า 1 ลิตร (3) ส่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มให้กรมสรรพสามิต ในกรณีที่ เจ้าพนักงานสรรพสามิตร้องขอ (4) ส่งหลักฐานการได้เลขสารบบอาหาร และส่งเอกสารใบจดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดอาหาร (สบ. 5) รวมทั้งเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนอาหารหรือ แจ้งรา ยละเอียดอาหาร อาทิเช่น สบ. 5 - 1 สบ. 5 - 2 สบ. 5 - 3 สบ. 5 - 4 หรือ สบ. 5 - 5 แล้วแต่กรณี ที่ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ข้อ 6 ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ได้รับคำขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่า ส่งคำขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่า รายละเอียดและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 5 ให้สานักงานสรรพสามิตภาค และส่งสาเนาคาขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่า รายละเอียดและ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 5 พร้อมทั้งตัวอย่างเครื่องดื่ม ให้กลุ่มวิเคราะห์สินค้าและ ของกลาง เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะของเครื่องดื่มตามที่กาหนดไว้ในข้อ 2 และข้อ 3 เมื่อกลุ่มวิเคราะห์สินค้าและของกลางได้ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะของเครื่องดื่มตามที่ กำหนดไว้ในข้อ 2 และข้อ 3 แล้ว ให้ส่งผลการตรวจสอบให้สำ นักงานสรรพสามิตภาคเพื่อดาเนินการ ต่อไป ข้อ 7 ให้ผู้อานวยการสานักงานสรรพสามิตภาคเป็นผู้มีอานาจอนุมัติคาขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราตามมูลค่าสาหรับเครื่องดื่มที่มีการเติมสารอาหารและสารอื่นตามประกาศนี้ โดยการอนุมัติให้มีผล ดังนี้ 7.1 กรณีผลิตในราชอาณาจักร ให้มีผลตั้งแต่วันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นคำขอ ใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าเป็นต้นไป 7.2 กรณีนำเข้า ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่อนุมัติให้ใช้สิทธิเสียภาษีในอัตรา ตามมูลค่าเป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อผู้นำเข้าจะได้นำไปยื่นต่อกรมศุลกากรในการนำเข้าเครื่องดื่มดังกล่าวต่อไป เครื่องดื่มที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าไว้แล้ว ในกรณีที่ผู้ได้รับสิทธิเสียภาษี ในอัตราตามมูลค่าประสงค์จะเปลี่ยนแปลงปริมาตร สุทธิหรือขนาดภาชนะบรรจุของเครื่องดื่มตาม (6) ของข้อ 3.3 ให้แตกต่างจากที่ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าไว้เดิม ผู้ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา ตามมูลค่าจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงปริมาตรสุทธิหรือขนาดภาชนะบรรจุให้ผู้อนุมัติให้ใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราตามมู ลค่าตามวรรคหนึ่งทราบ ก่อนการผลิตหรือการนาเข้าทุกครั้ง จึงจะได้รับสิทธิเสียภาษี ในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้สาหรับเครื่องดื่มที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรสุทธิหรือขนาดภาชนะบรรจุนั้น ้ หนา 32 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 265 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565
แต่ผู้ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าไม่ต้องแจ้งรายละเอียดอื่น ๆ ตามข้อ 3 .3 ใหม่ หากสูตร ส่วนผสมของเครื่องดื่มดังกล่าวมิได้เปลี่ยนแปลง ข้อ 8 ให้สรรพสามิตพื้นที่แต่ละพื้นที่มีหน้าที่เก็บตัวอย่างเครื่องดื่มที่ได้รับสิทธิเสียภาษี ในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้แล้วจากท้องตลาด เพื่อตรวจสอบคุณภาพเครื่องดื่มที่มีการเติม สารอาหารหรือสารอื่น ซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้แล้ว อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องดื่มที่มีวัน เดือน ปี ที่ผลิตคราวเดียวกัน ตัวอย่างละ 2 ชุด ชุดละ ไม่น้อยกว่า 3 ภา ช นะบรรจุ โดยมีปริมาตรรวมไม่น้อยก ว่า 1 ลิตร ส่งให้กรมสรรพสามิตตรวจ วิเคราะห์ 1 ชุด และเก็บไว้ที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ไว้เป็นหลักฐานอีก 1 ชุด พร้อมจัดทำบันทึก การเก็บตัวอย่างไว้เป็นหลักฐานด้วย ทั้งนี้ การสุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องดื่มที่ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกา ศนี้ ให้ดาเนินการภายใต้หลักการบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) ข้อ 9 หากกรมสรรพสามิตตรวจพบว่า เครื่องดื่มที่ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่า ตามประกาศนี้ มีคุณสมบัติหรือลักษณะไม่เป็นไปตามที่กาหนดในข้อ 2 และข้อ 3 หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษี ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 7 วรรคสอง ให้ถือว่า เครื่องดื่มในส่วนที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะไม่เป็นไปตามที่ประกาศกาหนด หรือเครื่องดื่มในส่วนที่ผู้มี หน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กล่าวข้างต้ น ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา ตามมูลค่าตามประกาศนี้และให้เสียภาษีในอัตราที่กาหนดไว้ใน (1) ของประเภทที่ 02.02 ของบัญชีท้าย กฎกระทรวงกาหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้บังคับในวันที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ตามกฎหมายต่อไป ข้อ 10 ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้ กรมสรรพสามิตจะดาเนินการประเมินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามกฎหมายต่อไป ข้อ 11 เครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิเสีย ภาษีในอัตราตามมูลค่า ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสาหรับ เครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ซึ่งออกตามความในกฎกระทรวงกาหนดพิกัดอัตรา ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่ มเติม ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไป โดยให้ถือว่าได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าตามประกาศนี้ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นต้นไป คำขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสาหรับเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสา รอื่น ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่า สาหรับเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่น ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 256 4 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมสรรพสามิต ให้ยังคงใช้ได้ต่อไป และเมื่อมีการอนุมัติแล้วให้มีผล ดังนี้ ้ หนา 33 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 265 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565
11.1 กรณีผลิตในราชอาณาจักร ให้ถือเป็นการอนุมัติตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าสำหรับเครื่องดื่ มอื่น ๆ ที่มีการเติม สารอาหารหรือสารอื่น ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 256 4 ตั้งแต่วันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นคาขอ ใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าจนถึงวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ถือเป็ นการอนุมัติตามประกาศนี้ 11.2 กรณีนาเข้า ให้ถือเป็นการอนุมัติตามประกาศนี้ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ อนุมัติให้ใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าเป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อผู้นาเข้าจะได้นาไปยื่นต่อกรมศุลกากร ในการนำเข้าเครื่องดื่มดังกล่าวต่อไป ข้อ 12 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 256 5 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ้ หนา 34 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 265 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤศจิกายน 2565