ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บ พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บ พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บ พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ ระเหยจากถังกักเก็บในการประกอบกิจการโรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดอากาศเสีย อาศัยอานาจตามความในข้อ 16 จัตวา ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่ มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ สารอินทรีย์ระเหย ( Volatile Organic Compounds : VOCs )” หมายถึง สารประกอบ ที่มีคาร์บอนอินทรีย์ ( Organic Carbon ) เป็นองค์ประกอบหลัก และมีความดันไอมากกว่า 0.1 มิลลิเมตรปรอท ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศ 760 มิลลิเมตรปรอท ยกเว้น มีเทน คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ โลหะคาร์ไบด์ หรือคาร์บอเนต แอมโมเนียม คาร์บอเนต “ ถังกักเก็บ ( Storage Tank )” หมายถึง ถังสาหรับเก็บรักษาสารอินทรีย์ระเหยที่ติดตั้ง อยู่กับที่ ขนาดตั้งแต่ 4 , 000 ลิตรขึ้นไป “ ระบบควบคุมไอสารอินทรีย์ระเหย ( Vapor Control System )” หมายถึง ระบบท่อ ถัง อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมไอสารอินทรีย์ระเหย และอุปกรณ์ควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อการลดการระบาย สารอินทรีย์ระเหยสู่บรรยากาศ เช่น เตาเผาโดยตรงในห้องเผาไหม้ ( Direct - flame Incinerator ) เตาเผาแบบอุณหภูมิสูง ( Thermal Oxidizer ) เตาเผาแบบมีสารเร่งปฏิกิริยา ( Catalytic Incinerator ) ระบบควบแน่น ( Condensation System ) หอดูดซึม ( Scrubber ) การดูดซับด้วยคาร์บอน ( Carbon Adsorption ) หน่วยนำไอกลับมาใช้ ( Vapor Recovery Unit : VRU ) เป็นต้น ที่มีประสิทธิภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 5 หรือมีการระบายสารอินทรีย์ระเหยน้อยกว่า 5 0 0 ส่วนในล้านส่วน ( ppm ) ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสารอินทรีย์ระเหยตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ้ หนา 29 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565
กรณีมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมตามประกาศนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมอาจออกประกาศกำหนด สารอินทรีย์ระเหยตามวรรคหนึ่งก็ได้ ข้อ 3 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับถัง ต่อไปนี้ ( 1 ) ถังความดัน ( Pressure Tank ) ที่มีการออกแบบความดันมากกว่า 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ( psi ) ( 2 ) ถังที่แปรเปลี่ยนปริมาตรได้ ( Variable Vapor Space Tank ) ( 3 ) ถังที่ใช้ในกระบวนการผลิต ( Process Tanks / Vessels ) เช่น ถังปฏิกรณ์ ( Reactor ) หอกลั่น ( Distillation Column ) ถังที่เป็นทางผ่านของไหลในกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดการไหล อย่างต่อเนื่อง ( Flow - through Process Tank ) ข้อ 4 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับโรงงานที่มีถังกักเก็บในการประกอบกิจการโรงงาน ในประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงานตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ดังนี้ (1) โรงงานลาดับที่ 42 เฉพาะที่มีกาลังการผลิตรวมตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป และ หรือมีการเก็บรักษาสารอินทรีย์ระเหยรวมตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป (2) โรงงานลำดับที่ 44 เฉพาะที่มีหรือใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหรือสารอินทรีย์ระเหย เป็นวัตถุดิบรวมตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป (3) โรงงานลำดับที่ 49 (4) โรงงานลำดับที่ 89 โรงงานผลิตก๊าซเฉพาะที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ กรณีมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมตามประกาศนี้ กรมโ รงงานอุตสาหกรรมอาจออกประกาศกำหนด ประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงาน ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมก็ได้ ข้อ 5 ให้โรงงานตามข้อ 4 รายงานข้อมูลจำเพาะของถังกักเก็บต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม การส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบ รว.11 ท้ายประ กาศนี้ และให้รายงานโดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 6 โรงงานตามข้อ 4 ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานก่อนวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับให้รายงานข้อมูลตามข้อ 5 ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 7 โรงงานตามข้อ 4 ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับให้รายงานข้อมูลตามข้อ 5 ก่อนแจ้งเริ่มประกอบกิจการโรงงานตามมาตรา 13 ข้อ 8 ภายหลังจากที่โรงงานตามข้อ 6 หรือข้อ 7 ได้รายงานข้อมูลตามข้อ 5 แล้ว หากมีการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามข้อ 5 ให้ส่งรายงานให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565
การรายงานตามวรรคหนึ่งให้ใช้แบบ รว.11 ท้ายประกาศนี้ และให้รายงานโดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิ กส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 9 มาตรการควบคุมไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บต้องเป็นไปตามภาคผนวก ท้ายประกาศนี้ ข้อ 10 ภายใต้บังคับวรรคสาม ให้โรงงานตามข้อ 4 ที่มีถังกักเก็บอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับ ดำเนินการตามมาตรการควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บ ตามภาคผนวกท้ายประกาศนี้ ให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ กรณีที่โรงงานตามข้อ 4 แจ้งพร้อมเหตุผล ว่าไม่สามารถดาเนินการ ตามวรรคหนึ่งได้ และได้ขอขยายระยะเวลาดาเนินการพร้อมทั้งระบุเหตุผล ที่ขอขยายระยะเวลา ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณาเพื่อเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบให้ขยายระยะเวลา ตามวรรคหนึ่ง การขยายระยะเวลาตามวรรคสองห้ามไม่ให้ขยายเวลาเกินกว่าสิบห้าปีนับแต่วันที่ได้รับ การเห็นชอ บให้ขยายระยะเวลา ข้อ 11 โรงงานตามข้อ 4 ต้องดาเนินการตรวจสอบ ซ่อมแซม และซ่อมบารุงถังกักเก็บ ตามแนวทางการตรวจสอบและซ่อมแซม และแนวทางการซ่อมบารุงถัง ของภาคผนวกท้ายประกาศนี้ ข้อ 12 ให้โรงงานตามข้อ 4 รายงานข้อมูลการใช้ถังกักเก็บ ปริมาณการระบาย ไอสารอินทรีย์ระเหย และประสิทธิภาพของระบบควบคุมสารอินทรีย์ระเหยเป็นรายปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม) ต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบ รว.12 ท้ายประกาศนี้ และให้รายงานโดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 13 การประเมินปริมาณการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บตามข้อ 12 ให้อ้างอิงจาก AP - 42 : Compilation of Air Emissions Factors ขององค์การพิทักษ์สิ่งแ วดล้อม แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ( United States Environmental Protection Agency : US EPA ) หรือตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด หรือวิธีการอื่นที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ข้อ 14 การตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบควบคุมไอสารอินทรีย์ระเหยให้ใช้วิธี Method 25 - Determination of Total Gaseous Nonmethane Organic Emissions as Carbon ที่กาหนดโดยองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ( United States Environmental Protection Agency : US EPA ) หรือตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ้ หนา 31 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565
ข้อ 15 ให้โรงงานตามข้อ 4 จัดเก็บข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ไว้เป็นระยะเวลาสองปีนับแต่ดาเนินการแล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ การจัดเก็บตามวรรคหนึ่งอาจจัดเก็บเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ข้อ 16 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหน ดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ้ หนา 32 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565