Tue Nov 01 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากการซ่อมบำรุง พ.ศ. 2565


ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากการซ่อมบำรุง พ.ศ. 2565

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากการซ่อมบำรุง พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ ระเหยจากการซ่อมบารุงซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดอากาศเสีย อาศัยอานาจตามความในข้อ 16 จัตวา ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่ งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 256 3) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ การซ่อมบำรุงใหญ่ ” หมายถึง การซ่อมบารุงเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ การประกอบกิจการโรงงานที่ได้มีการวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้าตามช่วงเวลา เพื่อดาเนินการซ่อมบารุง ประจำปี ( Annual Shutdown ) หรือการหยุดเดินเครื่องของโรงงานหรือหน่วยผลิตหลัก ( Turnaround ) โดยมีการไล่ก๊าซหรือของเหลวออกจากกระบวนการผลิต และหรือมีการเปิดเครื่ องจักร และอุปกรณ์ ทั้งนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การหยุดเครื่องจักร การซ่อมบารุง และการเริ่มเดินเครื่องจักร “ การซ่อมบารุง ” หมายถึง การซ่อมบารุงเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบ กิจการโรงงานที่ได้มีการวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า ซึ่งต้องหยุด การผลิตบางส่วนที่ไม่ใช่การซ่อมบำรุงใหญ่ โดยมีการไล่ก๊าซหรือของเหลวออกจากกระบวนการผลิต และหรือมีการเปิดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ทั้งนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การหยุดเครื่องจักร การซ่อมบารุง และการเริ่มเดินเครื่องจักร “ สารอินทรีย์ระเหย ( Volatile Organic C ompounds : VOCs )” หมายถึง สารประกอบ ที่มีคาร์บอนอินทรีย์ ( Organic Carbon ) เป็นองค์ประกอบหลัก และมีความดันไอมากกว่า 0.1 มิลลิเมตรปรอท ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศ 760 มิลลิเมตรปรอท ยกเว้น มีเทน คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนได ออกไซด์ โลหะคาร์ไบด์ หรือคาร์บอเนต แอมโมเนียม คาร์บอเนต “ ระบบควบคุมไอสารอินทรีย์ระเหย ( Vapor Control System )” หมายถึง ระบบท่อ ถัง อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมไอสารอินทรีย์ระเหย และอุปกรณ์ควบคุมใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อลดการระบาย สารอินทรีย์ระเหยสู่บรรยากาศ เช่น เตาเผาโดยตรงในห้องเผาไหม้ ( Direct - flame Incinerator ) เตาเผาแบบอุณหภูมิสูง ( Thermal Oxidizer ) เตาเผาแบบมีสารเร่งปฏิกิริยา ( Catalytic Incinerator ) ระบบควบแน่น ( Condensation System ) หอดูดซึม ( Scrubber ) การดูดซั บด้วยคาร์บอน ( Carbon ้ หนา 25 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565

Adsorption ) หน่วยนำไอกลับมาใช้ ( Vapor Recovery Unit : VRU ) เป็นต้น ที่มีประสิทธิภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 5 หรือมีการระบายสารอินทรีย์ระเหยน้อยกว่า 5 0 0 ส่วนในล้านส่วน ( ppm ) ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับโรงงานในประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงาน ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ดังนี้ (1) โรงงานลาดับที่ 42 เฉพาะที่มีกาลังการผลิตรวมตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป และ หรือมีการเก็บรักษาสารอินทรีย์ระเหยรวมตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป (2) โรงงานลำดับที่ 44 เฉพาะที่มีหรือใช้ผลิตภั ณฑ์ปิโตรเคมีหรือสารอินทรีย์ระเหย เป็นวัตถุดิบรวมตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป (3) โรงงานลำดับที่ 49 (4) โรงงานลำดับที่ 89 โรงงานผลิตก๊าซเฉพาะที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ กรณีมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมตามประกาศนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมอาจออก ประกาศกำหนด ประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงาน ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมก็ได้ ข้อ 3 กรณีที่โรงงานตามข้อ 2 จะซ่อมบารุงใหญ่ ให้แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ก่อนวันเริ่มดาเนินการ การแจ้งตามวรรคหนึ่ ง ให้ใช้แบบ รว.9 ท้ายประกาศนี้ และให้แจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 4 กรณีที่โรงงานตามข้อ 2 จะทาการซ่อมบารุงหรือการซ่อมบารุงใหญ่ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้สารอินทรีย์ระเหย ดังต่อไปนี้ ต้องมีการจัดทำแผนการซ่อมบารุงหรือ แผนการซ่อมบารุงใหญ่ โดยแผนดังกล่าวต้องมีมาตรการลดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหย มาตรการ ป้องกันและแผนการตอบสนองเหตุที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน และมาตร การกรณีที่การซ่อมบารุง ไม่เป็นไปตามแผน (1) หอกลั่น ( Distillation Column ) หอดูดซึม ( Absorber Column ) หรือหออื่นที่มี สารอินทรีย์ระเหยคงค้าง (2) ถังปฏิกิริยา ( Reactor ) (3) ถัง ( Vessel ) ในกระบวนการผลิตหรืออุปกรณ์ที่มีสารอินทรีย์ระเหยคงค้างนอกเหนือจาก ถั งปฏิกิริยา (4) ระบบท่อ ( Piping ) ข้อ 5 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการลดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหย ก่อนเปิดอุปกรณ์ ตามข้อ 4 (1) ถึง (4) เพื่อการซ่อมบารุงหรือการซ่อมบารุงใหญ่ ให้ดาเนินการ ดังนี้ (1) ตัดแยกอุปกรณ์ ( Isolation ) แล้วดาเนินการไล่ก๊าซหรือ ของเหลวออกจากกระบวนการผลิต ไปยังระบบควบคุมไอสารอินทรีย์ระเหย โดยให้ก๊าซหรือของเหลวคงเหลือในอุปกรณ์น้อยที่สุด ้ หนา 26 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565

(2) กรณีสารอินทรีย์ระเหยมีความดันไอมากกว่าหรือเท่ากับ 25 มิลลิเมตรปรอท หรือ 0.5 ปอนด์ต่อตารางนิ้วสัมบูรณ์ ( psia ) ต้องดาเนินการ ดังนี้ (2.1) ควบคุมการระบายก๊าซหรือของเหลวออกจากกระบวนการผลิต โดยส่งไปที่ ถังแยกสถานะ หรืออุปกรณ์เพื่อทำการแยกสถานะ หรือภาชนะปิด หรือ (2.2) กรณีถ่ายของเหลวไปยังภาชนะเปิด ต้องย้ายของเหลวดังกล่าวไปยังภาชนะปิด โดยเร็ว ( 2.3 ) ไล่สารอินทรีย์ระเหยออกจากอุปกรณ์ไป ยังระบบควบคุมไอสารอินทรีย์ระเหย จนค่าความเข้มข้นของไอสารอินทรีย์ระเหยในอุปกรณ์มีค่าน้อยกว่าร้อยละ 10 ของเกณฑ์ขั้นต่า ที่ก่อให้เกิดการระเบิด ( 10 % Lower Explosion Limit หรือ 10 % LEL ) หรือน้อยกว่า 10,000 ส่วน ในล้านส่วนโดยปริมาตร ( ppmv ) โดยให้วั ดที่จุดเก็บตัวอย่างหรือจุดอื่นที่เป็นตัวแทนไอสารอินทรีย์ ระเหยในอุปกรณ์ กรณีไม่สามารถไล่สารอินทรีย์ระเหยออกจากอุปกรณ์ได้ ให้กั้นแยกพื้นที่เพื่อป้องกัน การฟุ้งกระจาย หรือดาเนินการตามวิธีที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ( 3 ) ทุกขั้นตอนของกิจกรรมให้ดาเนินการทำงานภายใต้ระบบการอนุมัติการทำงาน ( Permit ) ของโรงงาน ข้อ 6 เพื่อเฝ้าระวังระดับความเข้มข้นสารอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศที่แนวรั้วของโรงงาน กรณีที่โรงงานตามข้อ 2 มีการซ่อมบารุงใหญ่ ต้องมีการติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในช่ว ง การซ่อมบารุงใหญ่ ตามวิธีการ ดังนี้ ( 1 ) ให้ติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่แนวรั้วขอบเขตของโรงงานสาหรับการเฝ้าระวัง ( Fence Line Monitoring ) ก่อนเริ่มดาเนินการซ่อมบารุงใหญ่ และในช่วงซ่อมบารุงใหญ่ที่คาดว่า จะมีการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยอย่างมีนัยสำ คัญ ( 2 ) ให้เก็บตัวอย่างอากาศในบรรยากาศที่แนวรั้วขอบเขตของโรงงาน ต่อเนื่องยี่สิบสี่ชั่วโมง จานวนไม่น้อยกว่า 4 จุด ให้ครอบคลุมแนวขอบเขตโรงงาน ทั้งนี้ การดาเนินการให้เป็นไปตามที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ( 3 ) ให้วิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยในตัวอย่ำงอากาศในบรรยากาศที่แนวรั้วขอบเขต ของโรงงาน โดยใช้วิธี Method TO - 17 ( Determination of Volatile Organic Compounds in Ambient Air Using Active Sampling Onto Sorbent Tubes ) หรือ Method TO - 15 ( Determination of Volatile Organic Compoun ds ( VOCs ) in Air Collected in Specially - Prepared Canisters and Analyzed by Gas Chromatography / Mass Spectrometry ( GC / MS )) ที่กำหนดโดยองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ( United States Environmental Protection Agency : US EPA ) หรือวิธีการอื่นที่เทียบเท่า ( 4 ) ให้ตรวจวัดข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และจัดทาผังลม ตลอดช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างอากาศ ในบรรยากาศที่แนวรั้วขอบเขตของโรงงาน ้ หนา 27 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565

กรณีไม่สามารถดาเนินการตรวจวัดข้อมูลอุตุนิยมวิทยาได้ ให้ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากสถานี ตรวจวัดใกล้เคียงกั บจุดตรวจวัด ข้อ 7 กรณีที่โรงงานตามข้อ 2 ได้มีการปิดอุปกรณ์หลังการซ่อมบารุงหรือการซ่อมบารุงใหญ่ ให้ตรวจสอบการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยที่อุปกรณ์ดังกล่าวด้วย ข้อ 8 กรณีที่โรงงานตามข้อ 2 มีการซ่อมบารุงและการซ่อมบารุงใหญ่ ต้องประเมิน ปริมาณการระบายสารอินทรีย์ระเหย โดยอ้างอิงจาก AP - 42 : Compilation of Air Emissions Factors ขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ( United States Environmental Protection Agency : US EPA ) หรือตามแนวทางที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ข้อ 9 ภายใต้บังคับตามวรรคสองและวรรคสาม ให้โรงงานตามข้อ 2 รายงานการดาเนิน กิจกรรมการซ่อมบารุงหรือการซ่อมบารุงใหญ่ตามรายการดังต่อไปนี้ ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดการซ่อมบารุงหรือการซ่อมบารุงใหญ่ ( 1 ) ผลการปฏิบัติตามมาตรการลด การระบายสารอินทรีย์ระเหย ประกอบด้วยกิจกรรมและ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารอินทรีย์ระเหย ค่าการตรวจวัดปริมาณสารอินทรีย์ก่อนเปิดอุปกรณ์นั้น วิธีการ ควบคุมไอสารอินทรีย์ระเหย ตามข้อ 5 ( 2 ) ผลการติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่แนวรั้วขอบเขตโรงงาน ตามข้อ 6 ( 3 ) ผลการประเมินปริมาณการระบายสารอินทรีย์ระเหย ตามข้อ 8 กรณีกิจกรรมการซ่อมบำรุงใหญ่ การรายงานตามวรรคหนึ่งให้ประกอบด้วย (1) (2) และ (3) กรณีกิจกรรมการซ่อมบารุง การรายงานตามวรรคหนึ่งให้ประกอบด้วย (1) และ (3) การรายงานตามวรรคสองและวรรคสาม ให้ใช้แบบ รว.10 ท้ายประกาศนี้ และให้รายงาน โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 10 ให้โรงงานตามข้อ 2 จัดเก็บข้อมูลและหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายงานตามข้อ 9 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่ดาเนินการแล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ้ หนา 28 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565

แบบ รว.9 การ แจ้งซ่อมบำรุง ใหญ่ ชื่อบริษัท ทะเบียนโรงงานเลขที่ ประกอบกิจการ ที่ตั้งโรงงาน ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรม/เขตประกอบการ/สวนอุตสาหกรรม/ชุมชนอุตสาหกรรม ชื่อ – นามสกุล ผู้รับผิดชอบและประสานงาน ตำแหน่ง โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ Email 1. วัตถุประสงค์ ในการ หยุดเดินเครื่องจักร  ตรวจซ่อมบำรุงเครื่องจักร  ซ่อมบำรุง ประจำปี ( Annual Shutdown )  การดำเนินการกรณีฉุกเฉิน ( Emergency ) เนื่องจาก  การดำเนินการอื่น ๆ (ระบุ) 2 . หยุดเดินเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ ถึงวันที่ 3. มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 3.1 กระบวนการนาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือวัสดุอื่น ๆ ออกจากระบบ 3.2 มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านมลพิษอากาศ 3.3 มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านมลพิษน้า 3.2 มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านกากอุตสาหกรรม ขอรั บ บรองว่ำข้ อมู ลข้ำงต้ นเป็ นจริ งทุ กประการ …(ลงชื่ อ) …(ลงชื่ อ) ( … ) ( … ) ผู้ จัดการโรงงาน หรือ ผู้ จั ดการสิ่ งแวดล้ อม ผู้ ประกอบกิ จการโรงงานหรื อผู้ รั บมอบอานาจ ผู้แจ้ง ข้อมูล ผู้ ตรวจรั บรอง การแจ้ง ข้อมูล

แบบ รว.10 รายงานการดำเนินกิจกรรมการซ่อมบำรุง หรือ การซ่อมบำรุง ใหญ่ 1. ข้อมูลโรงงาน ชื่อบริษัท (ไทย) ชื่อบริษัท ( อังกฤษ) ทะเบียนโรงงานเลขที่ ที่อยู่สานักงาน โทรศัพท์สำนักงาน โทรสาร เว็บไซต์บริษัท http :// ที่ตั้งโรงงาน โทรศัพท์โรงงาน โทรสาร ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรม/เขตประกอบการ/สวนอุตสาหกรรม/ชุมชนอุต สาหกรรม ชื่อผู้ติดต่อ ตำแหน่ง โทรศัพท์ อีเมล 2 . ผลการปฏิบัติตามมาตรการลดการระบายสารอินทรีย์ระเหยในช่วงการซ่อมบำรุง กิจกรรม อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ความเข้มข้น สารอินทรีย์ระเหยรวม ( TVOCs ) ก่อนเปิดอุปกรณ์ วิธีการควบคุม ไอสารอินทรีย์ระเหย ผลการตรวจวัด ( ppm หรือ % LEL ) วิธีการตรวจวัด

3 . ผลการติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่แนวรั้วขอบเขตโรงงาน ก่อนเริ่ มการซ่อมบำรุงใหญ่ วันที่/ เวลาเริ่มตรวจวัด … … วันที่/ เวลาสิ้นสุดการตรวจวัด … … ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ผังลม (แสดง ข้อมูล ทิศทางลม และ ความเร็วลม ) อุณหภูมิ เฉลี่ย ̊C ความดัน เฉลี่ย มิลลิเมตรปรอท จุดตรวจวัด ผลการตรวจวัด สารอินทรีย์ระเหย ในบรรยากาศ ระหว่างดำเนินการ ซ่อมบำรุงใหญ่ วิธีการตรวจวัด ชนิดมลสาร ความเข้มข้น ( ug / m 3 ) 1. … 2. … 3. … 4. … ระหว่างซ่อมบำรุงใหญ่ วันที่/เวลาเริ่มตรวจวัด … วันที่/เวลาสิ้นสุดการตรวจวัด … … ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ผังลม (แสดงข้อมูล ทิศทางลม และ ความเร็วลม ) อุณหภูมิ เฉลี่ย ̊C ความดัน เฉลี่ย มิลลิเมตรปรอท จุดตรวจวัด ผลการตรวจวัด สารอินทรีย์ระเหย ในบรรยากาศ ระหว่างดำเนินการ ซ่อมบำรุงใหญ่ วิธีการตรวจวัด ชนิดมลสาร ความเข้มข้น ( ug / m 3 ) 1. … 2. … 3. … 4. …

4 . ผลการประเมินปริมาณการระบายสารอินทรีย์ระเหยในช่วงซ่อมบำรุง อุปกรณ์ ปริมาณการระบายสารอินทรีย์ระเหย รวม (กิโลกรัม) วิธีการได้มาของข้อมูล ขอรั บ บรองว่ำข้ อมู ลข้ำงต้ นเป็ นจริ งทุ กประการ …(ลงชื่ อ) …(ลงชื่ อ) ( … ) ( … ) ผู้จัดการโรงงาน หรือ ผู้ จั ดการสิ่ งแวดล้ อม ผู้ ประกอบกิ จการโรงงานหรื อผู้ รั บมอบอานาจ ผู้ จัดทำ รายงาน ผู้ ตรวจรั บรองรายงาน