ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมการใช้หอเผาทิ้งในการ ประกอบกิจการโรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดอากาศเสีย อาศัยอานาจตามความในข้อ 16 จัตวา ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ หอเผาทิ้ง ( Flare )” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้เปลวไฟและอากาศที่ไม่ได้ถูกควบคุม จากบริเวณโดยรอบเปลวไฟ ในการเผาไหม้ไอสารอินทรีย์ระเหยที่ระบายออกจากกระบวนการผลิตหรือ จากการกักเก็บสาร ทั้งในลักษณะต่อเนื่อง และลักษณะเป็นช่วงไม่ต่อเนื่องกัน “ สารอินทรีย์ระเหย ( Volatile Organic Compounds : VOCs )” หมายถึง สารประกอบ ที่มีคาร์บอนอินทรีย์ ( Organic Carbon ) เป็นองค์ประกอบหลัก และมีความดันไอมากกว่า 0.1 มิลลิเมตรปรอท ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศ 760 มิลลิเมตรปรอท ยกเว้น มีเทน คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ โลหะคาร์ไบด์ หรือคาร์บอเนต แอมโมเนียม คาร์บอเนต “ สารไฮโดรคาร์บอน ( Hydrocarbons )” หมายถึง สารประกอบที่มีคาร์บอนอินทรีย์ ( Organic Carbon ) เป็นองค์ประกอบหลัก ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับหอเผาทิ้งที่รับเฉพาะก๊าซหรืออากาศเสียที่เกิดจาก ระบบบำบัดน้ำเสีย ข้อ 3 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับโรงงานที่มีหอเผาทิ้งในโรงงานหรื อมีหอเผาทิ้งเป็นส่วน เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการโรงงานในประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงานตามกฎกระทรวงที่ออก ตามมาตรา 7 ดังนี้ (1) โรงงานลาดับที่ 42 เฉพาะที่มีกาลังการผลิตรวมตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป และหรือ มีการเก็บรักษาสารอินทรีย์ระเหยรวมตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป (2) โรงงานลำดับที่ 44 เฉพาะที่มีหรือใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหรือสารอินทรีย์ระเหย เป็นวัตถุดิบรวมตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป ้ หนา 22 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565
(3) โรงงานลำดับที่ 49 (4) โรงงานลำดับที่ 89 โรงงานผลิตก๊าซเฉพาะที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ กรณีมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมตามประกาศนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมอาจออกประกาศกำหนด ประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงาน ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมก็ได้ ข้อ 4 ให้โรงงานตามข้อ 3 รายงานข้อมูลจาเพาะของหอเผาทิ้งดังต่อไปนี้ต่อกรมโรงงาน อุตสาหก รรม (1) พิกัดที่ตั้ง (2) ประเภทและขนาดของหอเผาทิ้ง (3) ภาพถ่าย (4) องค์ประกอบและแหล่งที่มาของก๊าซที่ระบายออก ( Vent Gas ) (5) ความสามารถในการเผาไหม้สูงสุด ( Maximum Capacity ) (6) ความสามารถในการเผาไหม้โดยไม่เกิดควันดา ( Smokeless Capacity ) (7) การแผ่รังสีความร้อนสูงสุดที่ระดับพื้น (8) ระดับเสียงสูงสุดที่ระดับพื้น (9) ปีที่เริ่มใช้งาน (10) ปีที่มีการเปลี่ยนแปลง (11) ผู้ส่งและชนิดของก๊าซที่ส่งมายังหอเผาทิ้ง การรายงานตามวรรคหนึ่งให้ใช้แบบ รว.7 แนบท้ายประกาศนี้ และให้รายงานโดยวิธีการ ทางอิเ ล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 5 โรงงานตามข้อ 3 ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานก่อนวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับให้รายงานข้อมูลตามข้อ 4 ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 6 โรงงานตาม ข้อ 3 ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับให้รายงานข้อมูลตามข้อ 4 ก่อนแจ้งเริ่มประกอบกิจการโรงงานตามมาตรา 13 ข้อ 7 ภายหลังจากที่โรงงานตามข้อ 5 หรือข้อ 6 ได้รายงานตามข้อ 4 แล้ว หากมี การปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามข้อ 4 ให้รายงานการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การรายงานตามวรรคหนึ่งให้ใช้แบบ รว.7 แนบท้ายประกาศนี้ และให้รายงานโดยวิธีการ ทางอิเล็กท รอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 8 โรงงานตามข้อ 3 ต้องรายงานบันทึกการใช้หอเผาทิ้งและควบคุมการทำงาน ของหอเผาทิ้ง ไม่ให้เกิดควันดาจากหอเผาทิ้งที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า รวมกันเกินกว่า สิบนาทีในช่วงสองร้อยสี่สิบนาทีใ ด ๆ ไม่ว่าควันดาจะเกิดต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องก็ตาม ้ หนา 23 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565
กรณีมีควันดาจากหอเผาทิ้งเกินกว่าที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้รายงานรายละเอียดของการใช้ หอเผาทิ้ง ระยะเวลา รายงานผลการสืบสวนสาเหตุ และมาตรการป้องกันหรือลดการเกิดเหตุการณ์ ดังกล่าวในอนาคต เป็นลายลักษณ์อักษรต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกครั้งที่มีควันดาจากหอเผาทิ้ง เกินกว่าที่กำหนด ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันเกิดเหตุ การรายงานตามวรรคหนึ่งให้ใช้แบบ รว.8 แนบท้ายประกาศนี้ และให้รายงานเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยวิธีการทางอิเล็ กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อ 9 การสังเกตควันดาจากหอเผาทิ้งตามข้อ 8 ให้ใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ( 1 ) วิธี Method 22 - Visual Determination of Fugitive emissions from Material Sources and Smoke Emissions from Flares ที่กำหนดโดยองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ( United States Environmental Protection Agency : US EPA ) ( 2 ) พิจารณาควันดาจากหอเผาทิ้งด้วยสายตา หรือจากภาพเคลื่อนไหวที่ถูกบันทึกด้วย อุปกรณ์บันทึกภาพ หรือจากภำพที่ถูกส่งทางไกลอย่างต่อเนื่องจากอุปกรณ์บันทึกภาพในทันทีหรือ ภายหลัง ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ข้อ 10 โรงงานตามข้อ 3 ต้องตรวจสอบการทางานของหอเผาทิ้งและดาเนินการให้อยู่ใน สภาพพร้อมใช้งานตามประสิทธิภาพที่ได้ออกแบบไว้ กรณีพบว่าไม่สามารถ ใช้งานได้ ให้หาสาเหตุและ ดาเนินมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้า ข้อ 11 โรงงานตามข้อ 3 ต้องเก็บข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรายงานและการติดตาม การใช้งานหอเผาทิ้ง เป็นระยะเวลาสองปี เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ ข้อ 12 การประเมินอัตราการไหลของมวลก๊าซที่ระบายออก ( Vent gas mass flowrate ) ไปสู่หอเผาทิ้ง ตามข้อ 8 ให้เป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ข้อ 13 ป ระกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ป ระกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ้ หนา 24 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 259 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤศจิกายน 2565
แบบ รว.7 ข้อมูล จ ําเพําะของ หอเผําทิ้ง 1. ข้อมูลโรงงําน ชื่อบริษัท (ไทย) ชื่อบริษัท (อังกฤษ) ทะเบียนโรงงานเลขที่ ที่อยู่สานักงาน โทรศัพท์สำนักงาน โทรสาร เว็บไซต์บริษัท http :// ที่ตั้งโรงงาน โทรศัพท์โรงงาน โทรสาร ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรม/เขตประกอบการ/สวนอุตสาหกรรม/ชุมชนอุตสาหกรรม ชื่อผู้ติดต่อ ตำแหน่ง โทรศัพท์ อีเมล จำนวนหอเผาเผาทิ้ง ( Flare ) ทั้งหมด ____ ปล่อง 2. ข้อมูลเกี่ยวกับหอเผําทิ้ง (รํายงํานของแต่ละหอเผําทิ้ง) หอเผาทิ้ง ( Flare ) ปล่องที่ ปีที่เริ่มใช้งาน* ปีที่ มีการเปลี่ยนแปลง (หากมี) หมายเลขอุปกรณ์ ( Tag Number ) ชื่อผู้ผลิต Model ของ Flare Tip ประเภทของ Flare Elevated Flare Ground Flare Enclosed Ground Flare ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Flare Tip เมตร ความสู งของ Flare เมตร Maximum Flaring Capacity ตันต่อชั่วโมง Maximum Smokeless Capacity ตันต่อชั่วโมง การแผ่รังสีความร้อนสูงสุดที่ระดับพื้นดิน kcal / hr - m 2 ระดับความดังของเสียงสูงสุดที่ระดับพื้นดิน เดซิเบล พิกัด ตำแหน่ง จุดติดตั้ง Flare ละติจูด องศา ลองติจูด องศา ชนิดของ Support Structure ของหอเผาทิ้ง Guy Wired Self - Supported Derrick - Supported Demountable Derrick - Supported อื่น ๆ (ระบุ) ระบบช่วยกำจัดควันไฟ (หากมี) Air - Assisted Gas - Assisted Steam - Assisted อื่น ๆ (ระบุ) ____________ หอเผาทิ้ง รับ ก๊าซ จาก โรงงานตนเอง ทะเบียนโรงงาน โรงงานอื่น ดังนี้ (1) โรงงาน ทะเบียนโรงงาน (2) โรงงาน ทะเบียนโรงงาน ภาพถ่ายหอเผาทิ้ง ( Flare ) (แนบภาพ)
แบบ รว.8 รํายงํานบันทึกกํารใช้หอเผําทิ้ง รํายงํานประจ ําเดือน พ.ศ. 1. กํารใช้หอเผําทิ้ง มีการใช้หอเผาทิ้ง ให้บันทึกข้อมูล ข้อ 2 ไม่มีการใช้หอเผาทิ้ง 2. ข้อมูลกํารใช้หอเผําทิ้ง 2.1 กําร ใช้หอเผําทิ้ง กรณีใช้ก ําจัดสํารไฮโดรคําร์บอนในภําวะปกติ (นอกเหนือจากข้อ 2.2) 1) อัตราการไหลของมวลก๊าซที่ระบาย ( Vent g as m ass f low rate ) ไป สู่ หอเผาทิ้ง เฉลี่ย ตัน/ชั่วโมง 2 ) องค์ประกอบ หลักของ ก๊าซ ที่ระบาย ไป สู่ หอเผาทิ้ง * ล ําดับที่ CAS No . องค์ประกอบของสําร สัดส่วน โดยมวล หมายเหตุ : * หมายถึง องค์ประกอบ หลัก ของก๊าซ ที่รายงาน ใน ข้อ 1) 3 ) ปริมาณ รวม ของ สารอินทรีย์ระเหย ที่ระบาย จากหอเผาทิ้ง กิโลกรัม 2 . 2 กํารใช้หอเผําทิ้ง กรณีซ่อมบ ํารุง หรือ เกิด เหตุฉุกเฉิน 1) อัตราการไหลของมวลก๊าซที่ระบาย ( Vent g as m ass f low rate ) ไปสู่ หอเผาทิ้ง เฉลี่ย ตัน/ชั่วโมง 2 ) องค์ประกอบ หลักของ ก๊าซ ที่ระบาย ไป สู่ หอเผาทิ้ง * ล ําดับที่ CAS No . องค์ประกอบของสําร สัดส่วน โดยมวล หมายเหตุ : * หมายถึง องค์ประกอบหลักของก๊าซที่รายงานในข้อ 1) 3 ) ปริมาณ รวมของ สารอินทรีย์ระเหย ที่ระบาย จากหอเผาทิ้ง กิโลกรัม
2.3 รํายละเอียดกํารใช้หอเผําทิ้ง กรณีซ่อมบ ํารุง หรือ เกิด เหตุฉุกเฉิน ลักษณะการใช้ หอเผาทิ้ง อัตราการไหล สูงสุด ของมวลก๊าซที่ ระบาย ( Vent gas mass flowrate ) ไปสู่หอเผาทิ้ง 1 ( TPH ) ปริมาณรวมของสารอินทรีย์ระเหย ที่ระบายจากหอเผาทิ้ง ( kg ) ผลกระทบจากหอเผาทิ้ง ( Impact ) หมายเหตุ ( Remark ) สิ่งที่ได้กระทำ วันเวลา ที่เริ่ม ( Start time ) วันเวลา ที่หยุด ( End time ) ลักษณะ การใช้ ( Type of case ) ลักษณะ การระบาย สาเหตุ การ ใช้หอเผาทิ้ง ( Description ) ระยะเวลาที่ปล่อยควันดา ( Time of Smoke / Soot ) แสงเปลว ( Light ) (มี/ไม่มี) เสียงดัง ( Noise ) (มี/ไม่มี) ตามที่ได้ วางแผน ( Plan ) เหตุฉุกเฉิน ( Unplan ) ต่อเนื่อง เป็นช่วง ไม่เกิด ควันดำ ≤ 10 นาที 10 นาที หมายเหตุ : 1 หมายถึง อัตราการไหลสูงสุดของมวลก๊าซที่ระบาย ( Vent gas mass flowrate ) ไปสู่หอเผาทิ้ง โดย ไม่รวมก๊าซ เฉื่อย เช่น ก๊าซ ไนโตรเจน ( N 2 ) ขอรั บ รองว่ ําข้ อมู ลข้ ํางต้ นเป็ นจริ งทุ กประกําร (ลงชื่ อ) ( ) ผู้จัดการโรงงาน หรือ ผู้ จั ดการสิ่ งแวดล้ อม ผู้ จัดทำ รายงาน (ลงชื่ อ) ( ) ผู้ ประกอบกิ จการโรงงานหรื อผู้ รั บมอบ อานาจ ผู้ ตรวจรั บรองรายงาน