ประกาศสภาเทคนิคการแพทย์ เรื่อง ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และมาตรฐานการให้บริการเวชศาสตร์จีโนม ของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2565
ประกาศสภาเทคนิคการแพทย์ เรื่อง ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และมาตรฐานการให้บริการเวชศาสตร์จีโนม ของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2565
ประกาศสภาเทคนิคการแพทย์ เรื่อง ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และมาตรฐานการให้บริการเวชศาสตร์จีโนม ของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรให้การกำหนดมาตรฐานของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ที่ให้บริการเวชศาสตร์จีโนมเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและคุ้มครองประชาชนผู้รับบริการ เพื่อให้สอดคล้อง กับมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ให้บริการเวชศาสตร์จีโนม อาศัยอานาจตามความในมาตรา 7 (2) และมาตรา 8 (8) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพ เทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 ประกอบกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการบริการ เวชศาสตร์จีโนมของสถานพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สภาเทคนิคการแพทย์ ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 จึงออก ประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ เวชศาสตร์จีโนม ( Genomic Medicine )” หมายความว่า การแพทย์ที่อาศัยเทคโนโลยี พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล เพื่อประเมินความเสี่ยง วินิจฉัยและพยำกรณ์โรค “ บริการเวชศาสตร์จีโนม ” หมายความว่า การให้บริการเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ การวินิจฉัย การแนะนาการใช้ยา การดูแลรักษาพยาบาล พยากรณ์โรค การประเมินความเสี่ยงของ การเกิดโรค และการป้องกันโรคโดยอาศัยศาสตร์หรือเทคโนโลยีพันธุศาสตร์ในระดับโมเลกุล รวมถึง การให้คำปรึกษา การติดตามผลการบริการเวชศาสตร์จีโนม ” ข้อ 2 การให้บริการเวชศาสตร์จีโนมทางห้องปฏิบัติการเป็นการให้บริการตรวจยีนในมนุษย์ โดยใช้ Massively Parallel Sequencing เช่น Second Generation Sequencing หรือ Third Generation Sequencing หรือ การตรวจ Genotyping แบบหลายตำแหน่งพร้อมกัน เช่น Microarray genotyping หรือ PCR - SSO เป็นต้น ข้อ 3 ข้อบ่งชี้และมาตรฐานของการตรวจทางเวชศาสตร์จีโนมทางห้องปฏิบัติการ มีดังต่อไปนี้ ( 1 ) การตรวจจีโนมเพื่อการคัดกรอง การวินิจฉัยหรือยืนยันการวินิจฉัย พยากรณ์โรค ป้องกันโรค พยากรณ์ผลการรักษาและการให้คำปรึกษา (2) การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่ไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดพยาธิสภาพได้ เช่น ผู้ป่วยกลุ่มโรคหายากหรือไม่ทราบสาเหตุ ( Rare or Undiagnosed Disease ) ผู้ป่วย ที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา ( Intellectual Disability ) (3) การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เฉียบพลัน (4) การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ ้ หนา 33 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 258 ง ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565
( 5 ) การให้บริการเวชศาสตร์จีโนมทางห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามป ระกาศสภาเทคนิคการแพทย์ เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 25 6 5 สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์ ้ หนา 34 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 258 ง ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤศจิกายน 2565