Thu Oct 27 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565


ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 2 3 แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และมติคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในหมวด 2 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13 ของข้อบังคับคณะกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ หมวด 2 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ข้อ 8 ในหมวดนี้ “ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ” หมายความว่า การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากบุคคลที่ให้กันในโอกาสเทศกาลหรือวันสำคัญ และให้หมายความรวมถึงการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ในโอกาส การแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ หรือการให้ ตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันในสังคมด้วย “ ประโยชน์อื่นใดอันอาจคานวณเป็นเงินได้ ” หมายความว่า สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคา การรับความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรมหรื อสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน “ ญาติ ” หมายความว่า พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา คู่สมรส ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรม ้ หนา 28 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 256 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

ข้อ 9 ห้ามมิให้กรรมการ ผู้ว่าการ หรือพนักงานผู้ใดรับทรั พย์สินหรือประโยชน์อื่นใด อันอาจคานวณเป็นเงินได้นอกเหนือจากการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยา ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ข้อ 10 กรรมการ ผู้ว่าการ หรือพนักงานจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคานวณเป็นเงินได้จากผู้ใดซึ่งมิใช่ญาติที่มีราคาหรือ มูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท (2) ทรัพย์สินหรือประ โยชน์อื่นใดอันอาจคานวณเป็นเงินได้ที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะ ให้กับบุคคลทั่วไป ข้อ 11 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคานวณเป็นเงินได้ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือมีราคาหรือมีมูลค่ามากกว่าที่กาหนดไว้ในข้อ 10 ซึ่งพนักงานได้รับมาโดยมีความจาเป็น อย่างยิ่ง ที่ต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล พนักงานผู้นั้นต้องแจ้ง รายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นต่อผู้ว่าการภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับสิ่งนั้นไว้ เพื่อให้วินิจฉัยว่ามีเหตุผลความจาเป็น ความเหมาะสม และสมควรที่จะให้ พนักงานผู้นั้นรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นไว้เป็นสิทธิของตนหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ว่าการมีคำสั่งว่าไม่สมควรรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดดังกล่าว ก็ให้คืนทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดนั้นแก่ผู้ให้โดยทันที ในกรณีที่ไม่สามารถคืนให้ได้ให้พนักงานผู้นั้นส่งมอบทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดดังกล่าวให้เป็นสิทธิของ กนอ. โดยเร็ว เมื่อได้ดาเนินการตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่าพนักงานผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดดั งกล่าว ในกรณีที่ผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ดารงตาแหน่งกรรมการหรือผู้ว่าการให้แจ้ง รายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมหรือประธานกรรมการ กนอ. แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการตามวรรค หนึ่งและวรรคสอง การรายงานตามข้อนี้ ให้รายงานตามแบบแนบท้ายข้อบังคับนี้ ข้อ 12 หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคานวณเป็นเงินได้ของกรรมการ ผู้ว่าการ หรือพนักงานในหมวดนี้ ให้ใช้บังคับกับผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นกรรมการ ผู้ว่าการ หรือพนักงานมาแ ล้ว ไม่ถึงสองปีด้วย ” ้ หนา 29 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 256 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 ของข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 18 กรณีบุคคลในครอบครัวของกรรมการ ผู้ว่ำการ หรือพนักงานรับของขวัญแล้ว และกรรมการ ผู้ว่ำการ หรือพนักงานนั้นทราบในภายหลังว่ำเป็นการรับของขวัญโดยฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ให้ กรรมการ ผู้ว่ำการ หรือพนั กงานดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในข้ อ 11 โดยอนุโลม ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 ของข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 20 กรณีองค์กรธุรกิจเสนอให้ ความช่วยเหลือทางวิชาการโดยตรงแก่ กรรมการ ผู้ว่ำการ หรือพนักงาน และกรรมการ ผู้ว่ำการ หรือพนักงานผู้นั้นประสงค์ จะรับความช่วยเหลือดังกล่าวให้ เสนอ คำขออนุมัติไปยังผู้บังคับบัญชา การเสนอคาขออนุมัติไปยังผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง ให้ นาความในข้ อ 11 มาบังคับใช้ โดยอนุโลม ” ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 256 5 นรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ้ หนา 30 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 256 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 ตุลาคม 2565

แบบรายงานทรัพ ย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคา นวณเป็นเงินได้ ท้าย ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2565 วันที่ … เรียน ผู้ว่าการ / ประธานกรรมการ กนอ./รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าพเจ้า … นามสกุล … ตา แหน่ง … … … สังกัด … … … .. ขอรายงานการรับทรัพ ย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคา นวณเป็นเงินได้ที่ไม่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์หรื อมีราคาหรือมีมูลค่ามากกว่าที่กา หนดไว้ในข้อ 10 ซึ่งข้าพเจ้าได้รับทรัพ ย์สินหรือประโยชน์อื่นใด อันอาจคา นวณเป็นเงินได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ได้รับเมื่อวันที่ … เวลา … ได้รับเนื่องจากกรณี … สถานที่รับ … … ชื่อ – นามสกุล ของผู้ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่ นใดอันอาจคา นวณเป็นเงินได้ … ที่อยู่ … … มีความเกี่ยวข้องเป็น … รายละเอียดและมูลค่าโดยประมาณของทรัพ ย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคา นวณเป็นเงิน ได้ และแนบรูปถ่ายทรัพย์สิน หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับประโยชน์อื่นใดมาพร้อมนี้ด้วย … … เหตุผลหรือความจำ เป็นที่จะต้องรับทรัพย์ สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำ นวณเป็นเงินได้ … … … … จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา อนุญาต ลงชื่อ … ผู้รายงาน (…) ( ) อนุญาต เนื่องจากมีเหตุผลและความจา เป็นที่จะต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล โดยสมควรรับไว้เป็นทรัพย์สินหรือสิทธิส่วนบุคคล ( ) ไม่อนุญาต โดย ให้ส่งคืนแก่ผู้ให้ทรัพ ย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำ นวณเป็นเงินได้โดยทันที ในกรณีที่ไม่สา มารถคืนให้ได้ให้ กรรมการ ผู้ว่าการหรือพนักงาน ผู้นั้นส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้เป็น สิทธิของ กนอ. โดยเร็ว ลงชื่อ … ตา แหน่ง … วันที่ … ค ํา เตือน ผู้ใ ดฝ่าฝืนมาตรา 128 ต้องระวางโทษจำ คุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรั บ