ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีการพาดพิง ถึงตัวบุคคลที่เกี่ยวกับการรักษา การป้องกัน การควบคุมโรคติดต่ออันตราย หรือการเกิดโรคระบาด ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูล ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2565” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจำนุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ เจ้าของข้อมูล ” หมายความว่า บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล “ ข้อมูล ” หมายความว่า ข้อมูลซึ่งมีการพาดพิงถึงตัวบุคคลทั้งที่ระบุตัวได้หรือไม่สามารถ ระบุตัวได้ที่เกี่ยวกับการรักษา การป้องกัน การควบคุมโรคติดต่ออันตราย หรือการเกิดโรคระบาด ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งได้มาจากการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค หรือการแจ้ง หรือรายงานตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพศ สัญชาติ การศึกษา ประวัติสุขภาพ หรือประวัติการ ทำงาน บรรดาที่มีชื่อของเจ้าของข้อมูลหรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวเจ้าของข้อมูล ข้อ 4 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่ออาจเปิดเผยข้อมูลได้ในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล (2) กรณีที่เปิดเผยข้อมู ลได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมตามข้อ 10 ข้อ 5 กรณีการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 4 (1) ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อขอความยินยอม จากเจ้าของข้อมูลก่อน การขอความยินยอมตามวรรคหนึ่งต้องทาโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือหรือทาโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่โดยสภาพไม่อาจขอความยินยอมด้วยวิธีการดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อจะขอความยินยอม ด้วยวาจาหรือการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ ทั้งนี้ การขอความยินยอมต้องแจ้งวัตถุประสงค์ ของการเปิดเผยข้อมูลด้วย รวมทั้งใช้ภาษาที่อ่านง่าย และไม่เป็นการหลอ กลวง หรือทำให้เจ้าของข้อมูล เข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ดังกล่าว เจ้าของข้อมูลจะถอนความยินยอมเสียเมื่อใดก็ได้ โดยจะต้องถอนความยินยอมได้ง่าย เช่นเดียวกับการให้ความยินยอม เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมโดยกฎหมายหรือสัญญา ้ หนา 14 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 255 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 ตุลาคม 2565
ที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ การถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อการเปิดเผยข้อมูล ที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ กรณีที่การถอนความยินยอมส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลในเรื่องใด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงผลกระทบจากการถอนความยินยอมนั้น ข้อ 6 กรณีที่ขอความยินยอมด้วยวาจาหรือการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นตามข้อ 5 ถ้าเจ้าของข้อมูลได้ร้องขอ และการร้องขอได้กระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอม เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อต้องยืนยันคำขอนั้นเป็นหนังสือให้แก่เจ้าของข้อมูล ข้ อ 7 กรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเป็นหนังสือ ตามข้อ 5 หรือยืนยันคาขอเป็นหนังสือตามข้อ 6 ในหนังสือดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) วัน เดือน และปีที่ทำคำขอ (2) ข้อมูลที่จะขอเปิดเผยและวิธีการในการเปิดเผยข้อมูล (3) วัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูล (4) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (5) ชื่อและลายมือชื่อของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ทำคำขอ ข้อ 8 กรณีที่เจ้าของข้อมูลเป็นผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส หรือไม่มีฐานะ เสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ การขอความยินยอม จากเจ้าของข้อมูลดังกล่าว ให้ขอความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ กรณีที่เจ้าของข้อมูลเป็นคนไร้ความสามารถ การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลดังกล่าว ให้ขอความยินยอมจากผู้อนุบาลที่มีอานาจกระทำการแทนคนไร้ค วามสามารถ กรณีที่เจ้าของข้อมูลเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลดังกล่าว ให้ขอความยินยอมจากผู้พิทักษ์ที่มีอำนาจกระทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ ข้อ 9 กรณีผู้เยาว์ไม่มีผู้ใช้อานาจปกครองที่มีอานาจกระทาการแทนผู้เยาว์ หรือคนไร้ความ สามารถ ไม่มีผู้อนุบาลที่มีอานาจกระทาการแทนคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถไม่มีผู้พิทักษ์ ที่มีอานาจกระทาการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือผู้ใช้อานาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ดังกล่าว ไม่สามารถกระทาการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด หรือกรณีเจ้าของข้อมูลถึงแก่กรรมและมิได้ทาพินัยกรรม กาหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิในการให้ความยินยอมแทน ได้แก่ ผู้สืบสันดานซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว คู่สมรส บิดาหรือมารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือพี่น้อง ร่วมบิดำหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือพนักงานฝ่ายปกครอง ข้อ 10 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่ออาจเปิดเผยข้อมูลโดยมิต้องได้รับความยินยอม จากเจ้าของข้อมูล ในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) การเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน ้ หนา 15 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 255 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 ตุลาคม 2565
(2) การเปิดเผยข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิ บัติตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคติดต่อ (3) การเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะในการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ หรือโรคระบาด (4) การเปิดเผยข้อมูลเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของประชาชน (5) การเปิดเผยข้อมูลเนื่องจากมีความจาเป็นเร่งด่วนหากปล่อยเนิ่นช้าไปจะก่อหรืออาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่ชีวิตหรือร่างกายของประชาชน หรือก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความปลอดภัย สาธารณะหรือประโยชน์สาธารณะ ข้อ 11 ให้อธิบดีกรมควบคุมโรครักษาการตามประกาศนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ การดาเนินการตามประกาศนี้ ให้อธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และให้คาสั่งหรือข้อวินิจฉัย ของอธิบดีกรมควบคุมโรคถือเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลำคม พ.ศ. 25 6 5 อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 255 ง ราชกิจจานุเบกษา 27 ตุลาคม 2565