ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 โดยที่เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน จึงเป็นการสมควรปรับปรุงขั้นตอน การแจ้งเตือน การระงับการทาให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการให้ทันสมัยเพื่อแก้ไขปัญหาการทำให้แพร่หลายของข้อมูล คอมพิวเตอร์ ที่ผิดกฎหมายผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาศัยอานาจตามความในมาตรา 4 ประกอบมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอน การแจ้งเตือน การระงับการทาให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทาให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนาข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ข้อ 4 ในประกาศนี้ “ ระบบคอมพิวเตอร์ ” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อม การทางานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกาห นดคาสั่ง ชุดคาสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงาน ให้อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ “ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คาสั่ง ชุดคาสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดา ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย “ ผู้ให้บริการ ” หมายความว่า (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ ของบุคคลอื่น ้ หนา 57 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
(2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น “ ผู้ใช้บริการ ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการ ของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม “ สื่อสังคมออนไลน์ ( Social Media )” หมายความว่า สื่อหรือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Internet Intermediary ) ที่เน้นการสร้างหรือเผยแพร่เนื้อหาระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ( Creation and Exchange of User - generated Content ) หรือสนับสนุนการสื่อสารสองทาง หรือการนาเสนอและเผยแพร่ เนื้อหาในวงกว้างได้ด้วยตนเอง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชัน กระดานข่าว เครือข่ายสังคมออนไลน์ สื่อสาหรับการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเนื้อหา ที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ หรือแฟ้มข้อมูล หรือให้บริการ เก็บเนื้อที่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต บล็อก blogs เว็บไซต์ (สาหรับการสร้างและแก้ไขเนื้อหาร่วมกัน) เกมส์ออนไลน์หรือโลกเสมือนที่มีผู้ใช้งานหลายคน หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อออนไลน์อื่นในลักษณะ เดียวกันหรือคล้ายคลึงกันที่เปิดให้ใช้งาน เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่มบุคคล หรือกับสาธารณะ “ พนักงานเจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ “ ตาแหน่งข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ” หมายความว่า ตาแหน่งหรือแหล่งที่อยู่ของข้อมูล ( Related Online Location ) อาทิเช่น ยูอาร์แอล ( Related URL ) ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ( Related IP Address ) ชื่อโดเมน ( Related Domain Name ) เว็บเพจ ( Related web page ) ของแหล่งข้อมูล หรือตาแหน่งที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Related Electronic Address ) ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น หมวด 1 การกระทำหรือการให้บริการที่ไม่ต้องรับโทษของผู้ใ ห้บริการ ข้อ 5 ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้ใด ดังต่อไปนี้ ที่พิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตาม ประกาศข้อ 5 และข้อ 6 ดังต่อไปนี้ครบถ้วน ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ฐาน ให้ความร่วมมือ ให้ความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ อันเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 15 (1) ผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลาง ( Intermediary ) ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม การสื่อสารกิจการกระจายภาพ กระจายเสียง กิจการอินเทอร์เน็ต รวมถึงการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านเครือข่ายหรือระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บ ริการ หรือบริการอานวยความสะดวกในการส่งผ่าน ข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านเส้นทางจราจรทางคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต ( routing ) หรือจัดให้บริการ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence ) หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดการรับส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์ ( Transitory Communication - mere conduit ) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ดาเนินการระงับ การทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศข้อ 6 ครบถ้วน ้ หนา 58 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
(ก) เ ป็นผู้ให้บริการรับส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตามปกติธุระในทางธุรกิจ โดยการใช้บริการดังกล่าวทั้งหมดดาเนินการโดยผู้ใช้บริการ โดยที่ผู้ให้บริการ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ข) เป็นผู้ให้บริการที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเป็นสื่อกลาง ในการให้บริการอำนวยความสะดวกในการรับส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านเส้นทางจราจรทางคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต ( Traffic Data ) หรือการให้บริการเชื่อมต่อระหว่าง ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกัน ( Hosting ) ซึ่งการดาเนินการดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดเกิดจากการประมวลผล อัตโนมัติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ( Automatic technical process ) ซึ่งผู้ใช้บริการหรือบุคคลอื่น (ที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการ) เป็นผู้สั่งการทั้งหมด โดยผู้ให้บริการไม่ได้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมใด ๆ ในการ กำ หนดหรือคัดเลือกข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อมูลที่รับส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว (ค) เป็นผู้ให้บริการที่รับส่งหรือเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการหรือบุคคลอื่น ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่หรือเกี่ยวข้องกับการเลือกคัดสรรข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยตนเอง การให้บริการทั้งหมดที่ดาเนินการอนุมัติคาสั่งผ่านระบบตอบรับคาสั่ งอัตโนมัติโดยระบบ คอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น (ง) เป็นผู้ให้บริการที่ไม่ได้ทาการเก็บสาเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเนื้อหาของข้อมูล ดังกล่าวไว้ หรือเก็บสาเนาไว้ชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์ในการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ในการใช้งาน ( Transient storage ) เท่าที่จาเป็นเพื่อให้การให้บริการข้อมูลสามารถกระทาได้เท่านั้น โดยผู้ให้บริการ ดังกล่าวต้องไม่ได้การทาสาเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเนื้อหาของข้อมูลเก็บไว้ในลักษณะถาวรในระบบ คอมพิวเตอร์ หรือในลักษณะที่เก็บไว้เป็นฐานข้อมูลของเครือข่ายของผู้ให้บริการของตนในลักษณะ ที่บุคคลทั่วไปอาจเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ในภายหลัง (จ) เป็นการให้บริการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อมูลนั้นโดยผู้ให้บริการ (ฉ) เป็นการให้บริการที่ผู้ให้บริการไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรง และทางอ้อม จากการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ทำซ้ำ ดัดแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย ตามมาตรา 14 (ช) เป็นการให้บริการที่ผู้ให้บริการไม่ได้ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจกับ การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ที่อยู่ในความควบคุม หรือระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองตามมาตรา 14 (2) ผู้ให้บริการที่เก็บหรือพักข้อมูลคอมพิวเตอร์ชั่วคราว ( system caching ) ในระบบ คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ดาเนินการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศข้อ 6 ค รบถ้วน (ก) เป็นการให้บริการเก็บพักข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ ควบคุมการส่งผ่านเนื้อหาข้อมูลทั้งหมดโดยผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการ) ้ หนา 59 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
(ข) เป็นการให้บริการรับส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์ระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือ ปัญญาประดิษฐ์ด้วยกัน เพื่อให้สามารถดาเนินการทางเทคนิคเพื่อให้เก็บพักข้อมูลคอมพิวเตอร์ชั่วคราวได้ (ค) เป็นการจัดเก็บพักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยการทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ ปัญญาประดิ ษฐ์โดยอัตโนมัติซึ่งผู้ให้บริการไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้ควบคุมการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดังกล่าว ในการให้บริการจัดเก็บและพักข้อมูลคอมพิวเตอร์แบบชั่วคราวนั้น ผู้ให้บริการ ต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) ไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเนื้อหำของข้อมูลดังกล่าว ที่เก็บพักไว้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ข) ไม่สามารถเข้าถึงเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเนื้อหาของ ข้อมูลดังกล่าวได้ (ค) ไม่มีเจตนาไม่ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ กับการเผยแพร่ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 (3) ผู้ให้บริการซึ่งเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายระบบของ คอมพิวเตอร์ของตนเองเพื่อให้ผู้ใช้บริการดาเนินการบริหารจัดการข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวด้วยตนเอง ( Information Residing on systems or network at direction of users ) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ดาเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศ ข้อ 6 ครบถ้วน (ก) เป็นการให้บริการที่ผู้ให้บริการไม่ได้ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจ หรือเกี่ยวข้องรวมถึงไม่ทราบถึงการกระทำใด ๆ ที่ผิดกฎหมายของผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก (ข) ผู้ให้บริการไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 (ค) ทันทีที่ผู้ให้บริการได้รับกำรแจ้งถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 ผู้ให้บริการต้องรีบดาเนินการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจาก ระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนเองควบคุมหรือเป็นเจ้าของตามที่ระบุไว้ในประกาศ ข้อ 6 โดยทันที (4) ผู้ให้บริการทางเทคนิคเพื่อเป็ นที่ตั้งหรือที่พักของแหล่งข้อมูล ( Information Location Tools ) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ดาเนินการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออกจาก ระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศ ข้อ 6 ครบถ้วน (ก) ผู้ให้บริการต้องไม่มีการเชื่อมต่อ ( Linking ) ไปยังแหล่งข้อมูลที่ผิดกฎหมายแก่ บุคคลภายนอกด้วยตนเอง ้ หนา 60 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
(ข) ผู้ให้บริการไม่มีเจตนาและเกี่ยวข้องรวมถึงไม่ทราบถึงการกระทำใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย ของผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก (ค) ผู้ให้บริการไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จากการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 (ง) ทันทีที่ผู้ให้บริการได้รับการแจ้งถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 ผู้ให้บริการต้องรีบดาเนินการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจาก ระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนเองควบคุมหรือเป็นเจ้าของตามที่ระบุไว้ในประกาศ ข้อ 6 โดยทันที (5) สื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นสื่อหรือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเครือข่ายอิน เทอร์เน็ตที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ที่ได้ดาเนินการระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามประกาศ ข้อ 6 โดยครบถ้วน (ก) เป็นผู้ให้บริการที่ทาหน้าที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ตามปกติธุระโดยการดาเนินการ โพสต์ แก้ไขเปลี่ยนแปลง เผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมดกระทาโดยผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก ที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการ (ข) เป็นผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ที่รับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้เลือกข้อมูล หรือเนื้อหาของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง เป็นเพียงการให้บริการที่ดาเนิ นการ ผ่านแพลตฟอร์ม ( Platform ) หรือระบบตอบรับคำสั่งอัตโนมัติโดยทางคอมพิวเตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ เท่านั้น (ค) เป็นการให้บริการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือเนื้อหาของข้อมูลนั้นโดยผู้ให้บริการ (ง) ไม่ได้รับค่ำตอบแทนผลประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม จากการเผยแพร่ ต่อสาธารณชน ทำซ้า ดัดแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 (จ) ไม่ได้ให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจ กับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ผิดกฎหมาย ที่อยู่ในความควบคุม หรือระบ บคอมพิวเตอร์ของตนเองตามมาตรา 14 (6) ผู้ให้บริการที่ไม่ได้มีลักษณะหรือที่ไม่ได้ระบุไว้ใน (1) (2) (3) (4) และ (5) ซึ่งให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันได้โดยประการอื่นโดยผ่าน ทางระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งได้ปฏิบัติตามประกาศ ข้อ 6 หมวด 2 การระงับการทาให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ้ หนา 61 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
ข้อ 6 ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้ใดที่มีลักษณะตามข้อ 5 ซึ่งพิ สูจน์ได้ว่าตนได้ จัดเตรียมมาตรการระงับการเผยแพร่ของข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลที่ผิดกฎหมายด้วยตนเอง ( Notice & Takedown Policy ) ตามหมวดนี้โดยครบถ้วน ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 15 (1) ขั้นตอนการแจ้งเตือน ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ตามข้อ 5 จะต้องจัดให้มีมาตรการแจ้งเตือนในเรื่อง ขั้นตอนการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 ออกจาก ระบบคอมพิวเตอร์ โดยจัดทานโยบายการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจาก ระบบคอมพิ วเตอร์ ( Notice & Take Down Policy ) หรือหนังสือแจ้งเตือน ( Take Down Notice ) ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบ โดยอาจดาเนินการด้วยวิธีการทางเทคนิคหรือ วิธีการอื่นเพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกแจ้งเตือนผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้ ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจาก ระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความค วบคุมของตนได้ โดยหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าวของผู้ให้บริการหรือ สื่อสังคมออนไลน์ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการหรือช่องทางอื่นใด ที่สามารถติดต่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์หรือตัวแทนของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ (ข) แบบฟอร์มข้อร้องเรียน ( Complaint Form ) เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก แจ้งผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์เพื่อระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ผิดกฎหมาย ตามมาตรา 14 ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยแบบฟอร์มดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้ร้องเรียนรวมถึงลายมือชื่อของผู้ร้องเรียน หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องเรียนว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 (2) รายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามมาตรา 14 (3) รายละเอียดที่อยู่ที่ติดต่อได้ของผู้ให้บริการห รือสื่อสังคมออนไลน์ อาทิเช่น ชื่อของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ ที่อยู่ของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์โทรสารของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคม ออนไลน์ หรือวิธีการหรือช่องทางใด ๆ ที่สามารถติดต่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้ (4) รายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอก (5) คารับรองว่าข้อความที่แจ้งให้ระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ผิดกฎหมายดังกล่าวออกจากระบบคอ มพิวเตอร์เป็นความจริง ้ หนา 62 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
(2) การแจ้งเตือนของผู้ใช้บริการ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการหรือบุคคลใดตรวจพบว่า ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกสามารถแจ้งเตือนผู้ให้บริการหรือ สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขอให้ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบ คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้ (ก) ลงบันทึกประจาวัน หรือแจ้งความร้องทุกข์เพื่ อเป็นหลักฐานต่อพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ตารวจ โดยแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รายละเอียดของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ รายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการหรือ บุคคลภายนอก เป็นต้น พร้อมยื่นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการกระทาความผิดดังกล่าวและเอกสารอื่น ที่เกี่ยวข้องแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตารวจ (ข) แจ้งรายละเอี ยดที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ โดยการกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มตาม (1) (ข) พร้อมยื่น เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการกระทาความผิดดังกล่าวและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ให้บริการหรือ สื่อสังคมออนไลน์ (3) วิธีการระงับหรือนำข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้รับข้อร้องเรียนตามแบบฟอร์มในข้อ 6 (1) (ข) และเอกสารที่ เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อไม่ให้แพร่หลายต่อไปโดยทันที (ข) จัดทาสาเนาข้อร้องเรียนรวมถึงรายละเอียดข้อร้องเรียนของบุคคลที่ร้องเรียนดังกล่าว ส่งให้กับผู้ใช้บริการหรือสมาชิกหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในความควบคุมของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคม ออนไลน์โดยทันที (ค) ระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายดั งกล่าวออกจาก ระบบคอมพิวเตอร์โดยรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทาได้ตามความเหมาะสมและขึ้นอยู่กับสภาพของการให้บริการ แต่ละประเภท เพื่อเยียวยาความเสียหายและระงับการกระทำความผิดให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจาเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทาให้ไม่ สามารถดาเนินการ ได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจาเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้สิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคม ออนไลน์ต้องดาเนินการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายดังกล่าวออกจาก ระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน ้ หนา 63 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
หมวด 3 การระงับการทาให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนที่ 1 คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ 7 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่ามีการกระทาความผิดตามมาตรา 14 หรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูล ข้อร้องเรียน เอกสารหรือหลักฐานจากผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือบุคคลใด ๆ ว่า มีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 อยู่ในความควบคุมของ ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยความเห็นชอบของ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือรองปลัดกระทรวงที่ได้รับมอบหมาย อาจมีคาสั่ง ตามแบบฟอร์มแนบท้ายประกาศนี้ไปยังผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไล น์เพื่อให้ดาเนินการระงับการทำ ให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ดาเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ข้อ 8 ให้ถือว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้รับคำ สั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 7 และเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว เมื่อคาสั่งนั้นได้เข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ เว้นแต่ วันและเวลานั้นเป็นวันและเวลานอกทาการของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ ให้ถือว่าผู้ให้บริการ หรือสื่อสังคมออนไลน์ได้ รับในวันและเวลาทำการถัดไป เมื่อผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ได้รับคาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ต้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายที่อยู่ในความควบคุมของ ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์เพื่อไม่ให้แพร่หลายต่อไปโดยทันที โดยให้ดาเนินการด้วยมาตรการทางเทคนิคใด ๆ ( Technical Measure ) ที่ได้มาตรฐานตามสภาพของ การให้บริการแต่ละประเภท เพื่อให้บังเกิดผลตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ (2) จัดทา สาเนาข้อร้องเรียนรวมถึงรายละเอียดข้อร้องเรียนของบุคคลที่ร้องเรียนดังกล่าว ส่งให้กับผู้ใช้บริการหรือสมาชิกหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในความควบคุมของผู้ให้บริการหรือสื่อสังคม ออนไลน์โดยทันที (3) ระยะเวลาในการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิ ดกฎหมายออกจาก ระบบคอมพิวเตอร์ ต้องไม่เกินกาหนดระยะเวลาที่ระบุดังต่อไปนี้ เพื่อเยียวยาความเสียหายและระงับ การกระทำความผิดให้เร็วที่สุด ดังนี้ ้ หนา 64 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
(ก) กรณีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 (1) ให้ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจาเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ทาให้ไม่สามารถดาเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจาเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้สิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดาเนินการ ระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูล คอมพิวเตอร์ ดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่ วันที่ได้รับคำสั่ง (ข) กรณีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 (2) และ (3) ให้ระงับการทา ให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือ เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือ เหตุจาเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงสิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดาเนินการร ะงับการทา ให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง (ค) กรณีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 (4) ให้ระงับการทำให้แพร่หลาย นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจาเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้ไม่สามารถดาเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้สิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดาเนินกา รระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูล คอมพิวเตอร์ ดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาสามวันนับแต่ วันที่ได้รับคำสั่ง ในกรณีการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 (4) เป็นภาพลามกอนาจารเด็ก อันเป็นความผิดตามมาตรา 287/1 และ 287/2 ของประมวลกฎหมายอาญา ให้ระงับการทา ให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือ เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และเมื่อเหตุสุดวิสัยหรือ เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ สิ้นสุดลง ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ต้องดำเนินการระงับ การทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยทันที แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ข้อ 9 ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ดาเนินการตามคาสั่งของพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้อย่างครบถ้วนและภายในระยะเวลาที่กาหนด ให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการหรือ สื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 15 ส่ วนที่ 2 การอุทธรณ์และการเพิกถอนคาสั่ง ้ หนา 65 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
ข้อ 10 การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคาสั่ง และไม่เป็นเหตุให้ผู้ได้รับคาสั่ง ยกเป็นข้ออ้างหรือปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้ ข้อ 11 ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ และผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคาสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ออกตามประกาศนี้ อาจอุทธรณ์คาสั่งโดยยื่นต่อปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งคาสั่ง หรือนับแต่ วันที่รู้หรือควรรู้ถึงคาสั่งดังกล่าว แล้วแต่กรณี เพื่อขอให้เพิกถอน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงคาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว คาอุทธรณ์ต้องทาเป็นลายลักษณ์อักษรลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ โดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย ให้ผู้รับคาอุทธรณ์ออกใบรับคาอุทธรณ์ลงวัน เดือน ปี ที่รับและลายมือชื่อผู้รับให้แก่ผู้อุทธรณ์ ข้อ 12 ให้ผู้พิจารณาอุทธรณ์พิจารณาคาอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกิน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคาอุทธรณ์ไม่ว่าทั้ งหมดหรือบางส่วนก็ให้ ดาเนินการมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคาสั่งนั้นตามความเห็นของตน ภายในกำหนดเวลา ดังกล่าวด้วย ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย ให้มีคาสั่งยกคาอุทธรณ์ และแจ้งผู้อุทธรณ์ทราบ ภายในเจ็ดวันนับแต่ วันที่มีคำสั่ง ถ้ามีเหตุจาเป็นไม่อาจพิจารณาคาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้พิจารณา อุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกาหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลา พิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว ข้อ 13 ใน การพิจารณาอุทธรณ์ ให้ผู้พิจารณาอุทธรณ์พิจารณาทบทวนคาสั่งได้ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทำคำสั่ง และอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิม หรือเปลี่ยนแปลงคาสั่งนั้นไปในทางใด หรือมีข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรก็ได้ ข้อ 14 พนักงานเจ้ำหน้าที่ผู้ออกคาสั่ง หรือปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนคาสั่งในเวลาใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกาหนดให้อุทธรณ์ ตามประกาศนี้ หรือไม่ โดยต้องทาเป็นหนังสือเพิกถอนคาสั่งเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคาสั่งส่งไปยังบุคคล ที่ได้รับคำสั่งนั้น และด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้ (1) คำสั่งที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย (2) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไป ในสาระสำคัญ (3) ถ้าคำสั่งได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้ อเท็จจริงหรือ ข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ้ หนา 66 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
หมวด 4 แนวทางการดำเนินคดี ข้อ 15 ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้ใด ได้รับคาสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 7 และข้อ 8 โดยชอบแล้ว เพิกเฉยไม่ดาเนินการระงับการทาให้แพร่หลาย นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 14 ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ภายในระยะเวลา ที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามที่ประกาศนี้กำหนด และมิได้อุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าห น้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ให้บริการหรือ สื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้อานาจตามมาตรา 18 (1) (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และภายใต้กฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง (2) ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ใน ฐานร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทาความผิดตามมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (3) ดาเนินการสรุปความเห็นทางกฎหมายในพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ภายในหกสิบวัน นับแต่พ้นกาหนดระยะเวลาในข้อ 8 เพื่อส่งข้อมูลการกระทาความผิดดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดาเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ (4) ดาเนินการประสานงานกับสานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่ ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย หรือเพื่อให้หน่วยงานกากับดูแลดาเนินการกับผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ 16 ในกรณีที่ผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ยังคงเพิกเฉย ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ หรือกระทาความผิดอย่างต่อเนื่อง พนักงานเจ้าหน้าที่อำจประสานงานกับสานักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือหน่วยงานกากับดูแล เพื่อพิจารณาดาเนินการระงับใบอนุญาต หรือดาเนินการอื่นใดตามสมควร ภายใต้ขอบเขตแห่งกฎหมาย ที่สานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทั ศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือหน่วยงานกากับดูแลมีหน้าที่และอานาจ ทั้งนี้ เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากข้อมูล ที่ผิดกฎหมาย หมวด 5 เบ็ดเตล็ด ้ หนา 67 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
ข้อ 17 ในการดาเนินการตามประกาศนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควร แก่พฤติการณ์ โดยให้พิจารณาจากพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พยานแวดล้อม และประกอบกับ มาตรฐานทางวิชาชีพ หลักกฎหมายที่ผู้ให้บริการทั่วไปหรือสื่อสังคมออนไลน์พึงกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ 18 ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการ ให้เป็นไปตามประกาศนี้ และให้มีอานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติตามประกาศนี้ ในการตีความและการวินิจฉัยปัญหา หรือเพื่อประสานงานให้การดาเนินการตามประกาศนี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอาจตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมพิจารณาและดาเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 256 5 ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ้ หนา 68 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 254 ง ราชกิจจานุเบกษา 26 ตุลาคม 2565
ค ําสั่ง ให้ ระงับกํารทําให้แพร่หลําย น ํา ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออกจํากระบบคอมพิวเตอร์ ตําม พระรําชบัญญัติว่ําด้วยกํารกระท ําควํามผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แ ก้ไขเพิ่มเติ ม … ด้วย ปรํากฏว่ํามีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมํายตํามมําตรํา 14 แห่ง พระรําชบัญญัติว่ําด้วย กํารกระทําควํามผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แ ก้ไขเพิ่มเติ ม ตํามที่มีผู้ร้องเรียน เมื่อวันที่ … ให้ ระงับกํารท ําให้แพร่หลําย / นํา ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออก จํากระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตําม พระรําชบัญญัติว่ําด้วยกํารกระทําควํามผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แ ก้ไขเพิ่มเติ ม ดัง ปรํากฏ ตําม รํายกํารของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือต ําแหน่งแหล่งที่อยู่ของข้อมูล ที่ผิดกฎหมําย ( Target Online Location ) อําทิเช่น ยูอําร์แอล ( Target URL ) หรือที่อยู่บน อินเท อร์เน็ต ( Target IP Address ) หรื อชื่ อโดเมน ( Target Domain Name ) พร้ อมเว็ บเพจ ( Target web page ) ของแหล่งข้อมูลที่ผิดกฎหมํายหรือต ําแหน่งที่อยู่ทํางอิเล็กทรอนิกส์ ( Target Electronic Address ) ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดกับข้อมูลผิดกฎหมําย จ ํานวน… รํายกํา ร ดังต่อไปนี้ 1 . ( URL หรือรํายละเอียดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมําย) … .. 2 . ( URL หรือรํายละเอียดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมําย) … .. 3 . ( URL หรือรํายละเอียดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมําย) … .. ฯลฯ ฉะนั้น อําศัยอ ํานําจตําม ประกําศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอน กํารแจ้งเตือน กํารระงับกํารทําให้แพร่หลํายของข้อมูลคอมพิวเตอร์และกํารนําข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจํากระบบ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 ออกโดย อําศัยอ ํานําจตํามควํามในมําตรํา 4 ประกอบมําตรํา 15 วรรคสอง แห่งพระรําชบัญญัติว่ําด้วยกํารกระท ําควํามผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระรําชบัญญัติ ว่ําด้วยกํารกระทําควํามผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25 6 0 พนักงํานเจ้ําหน้ําที่ จึงมีคําสั่งให้… … … ซึ่งเป็น ผู้ให้บริกําร / สื่อสังคมออนไลน์ ตํามพระรําชบัญญัตินี้ ดําเนินกําร ระงับกํารทําให้แพร่หลําย / น ํา ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออก จํากระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดังปรํากฏตํามรํายกํารของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ ตําแหน่งแหล่งที่อยู่ของข้อมูล ที่ผิดกฎหมําย ( Target Online Location ) อําทิเช่น ยูอําร์แอล ( Target URL ) หรือที่อยู่บน อินเท อร์เน็ต ( Target IP Address ) หรื อชื่ อโดเมน ( Target Domain Name ) พร้ อมเว็ บเพจ ( Target web page ) ของแหล่งข้อมูลที่ผิดกฎหมํายหรือต ําแหน่งที่อยู่ทํางอิเล็กทรอนิกส์ ( Target Electronic Address ) ที่เกี่ยวข้อง
- 2 - ทั้งหมดกับข้อมูลผิดกฎหมําย ในทันทีที่ได้รับคําสั่ง แต่ไม่เกินวันที่… … . ทั้งนี้ ได้แนบ สําเนําเอกสํารกํารร้องเรียนและหลักฐํานที่เกี่ยวข้อง มําพร้อมกับคําสั่งนี้ ด้วย แล้ว หํากมีเหตุจําเป็นอันสมควร ซึ่งทําให้ไม่อําจดําเนินกํารตํามคําสั่งนี้ได้ ขอให้ท่ํานแจ้งไปยังพนักงํานเจ้ําหน้ําที่ตํามที่อยู่ หรือ หมํายเลข โทรศัพท์ หรือ ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ตํามที่ปรํากฏ ท้ํายค ําสั่ง นี้ สั่ง ณ วันที่ .. เดือน … พ.ศ. … (ลงชื่อ) (…) ต ําแหน่งงําน… พนักงํานเจ้ําหน้ําที่ตํามพระรําชบัญญัติ ว่ําด้วยกํารกระทําควํามผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ชื่อหน่วยงําน และสังกัด เช่น ส ํานักงํานปลัดกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กอง กฎหมําย โทร. 0 2141 6763 โทรสําร 0 2143 8013 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : xxx @ xxx . xxx หมายเหตุ : ให้ฆ่ําค ําว่ํา “ ระงับ กํารท ําให้แพร่หลําย ” หรือ “ น ํา ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออก จํากระบบคอมพิวเตอร์ ” แล้วแต่กรณี ให้ตรง ตําม ข้อร้องเรียน รวมทั้ง ให้แนบส ําเนําเอกสําร อย่ํางน้อย ดังต่อไปนี้ ไปพร้อม ค ําสั่ง ด้วย 1 . รํายละเอียด ชื่อนํามสกุล ที่อยู่ ของผู้ร้องเรียน ว่ํามีกํารกระทําควํามผิด และ/หรือ บันทึกประจําวันหรือแจ้งควําม ร้องทุกข์ที่ได้ลงบันทึกประจําวันเป็นลํายลักษณ์อักษรต่อพนักงํานสอบสวน หรือเจ้ําหน้ําที่ตํารวจ ว่ํามีกํารกระทํา ควํามผิด ตํามมําตรํา 14 2 . ข้อมูลรํายละเอียดต ําแหน่งข้อมูลที่ผิดกฎหมําย และ รํายละเอียดกํารเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมํายที่อยู่ใน ควํามควบคุมของ ผู้ให้บริกํารหรือ สื่อสังคมออนไลน์ ตํามมําตรํา 14 3 . เอกสํารหลักฐําน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกํารกระท ําควํามผิด ที่ผ่ํานกํารรับรองสําเนําถูกต้องแล้ว ตํามแบบฟอร์ม ที่แนบท้ํายประกําศฉบับนี้