Thu Oct 20 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 439) พ.ศ. 2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ (ฉบับที่ 2)


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 439) พ.ศ. 2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ (ฉบับที่ 2)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 439) พ.ศ. 2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ (ฉบับที่ 2) โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 429) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออล เป็นส่วนประกอบ เพื่อปรับปรุงข้อกาหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารส กัด แคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (2) (4) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 แห่งประ กาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 429) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564 “ กรณีเป็นสารสกัดแคนนาบิไดออลซึ่งมีการผสมกับวัตถุอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพื่อช่วย ในกระบวนการผลิตตามวรรคหนึ่ง (3) เพื่อปรุงแต่งหรือปรับแต่งคุณสมบัติการละลายน้าของสารสกัด แคนนาบิไดออล รวมถึงอาจมีการปรับปรุงอัตราส่วนสาระสาคัญหรือรูปแบบจากลักษณะผงเ ป็นของเหลว เพื่อให้เหมาะสมสาหรับนำไปใช้ในกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งอาจส่งผลทำให้ปริมาณสาร แคนนาบิไดออลในผลิตภัณฑ์สารสกัดแคนนาบิไดออลที่มีการปรุงแต่ง ปรับแต่ง หรือปรับปรุงดังกล่าว น้อยกว่าร้อยละ 30 โดยน้าหนัก ให้ผลิตภัณฑ์สารสกัดแคนนาบิไดออ ลที่มีการผสมกับวัตถุอื่นนั้น สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารได้ หากเตรียมจากสารสกัดแคนนาบิไดออล ที่มีปริมาณสารแคนนาบิไดออล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 โดยน้าหนัก และมีปริมาณสารเตตราไฮโดร แคนนาบินอล ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกบัญชีผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ และเงื่อนไขคุณภาพหรือมาตรฐาน ท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 429) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออล เป็นส่วนประ กอบ ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้บัญชีท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 256 5 อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ้ หนา 34 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 251 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 ตุลาคม 2565

บัญชีผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ และเงื่อนไขคุณภาพหรือมาตรฐาน ท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 429 ) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ หมวดอาหาร ประเภ ทอาหาร เงื่อนไข 13.6 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ( Food supplements) 1 . ปริมาณสารแคนนาบิไดออล (CBD) ไม่เกิน 55 มิลลิกรัมต่อวัน 2 . ปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม หรือ มิลลิกรัมต่อลิตร 14.1.4.1 เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสอัดก๊าซ เฉพาะ ผลิต ภัณฑ์พร้อมบริโภคเท่านั้น ยกเว้นผลิตภัณฑ์ใน ลักษณะเดียวกัน ที่มีส่วนประกอบของ ชา กาแฟ และกาเฟอีนทั้งธรรมชาติและสังเคราะห์ และเครื่องดื่มเกลือแร่ 1 . ปริมาณสารแคนนาบิไดออล (CBD) ไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อลิตร 2 . ปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ไม่เกิน 0.1 5 มิลลิกรัมต่อลิตร 14.1.4.2 เ ครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสไม่อัดก๊าซ เฉพาะผลิตภัณฑ์พร้อมบริ โภคเท่านั้น ยกเว้นผลิตภัณฑ์ใน ลักษณะเดียวกัน ที่มีส่วนประกอบของ ชา กาแฟ และกาเฟอีนทั้งธรรมชาติและสังเคราะห์ และเครื่องดื่มเกลือแร่ 14.1.5 เครื่องดื่มจากธัญชาติ ( Cereal and g rain beverages) เฉพาะผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคเท่านั้น ยกเว้น ชา กาแฟ ชาจากพืช และผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกัน หมายเหตุ : 1 . หมวดอาหารและประเภทอาหาร อ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร 2 . ปริมาณสูงสุดของสารแคนนาบิไดออล และสารเตตราไฮโดรแคนนาบิ นอล คำนวณในสภาพพร้อมบริโภค 3 . สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอลทั้งหมด ( Total Tetrahydrocannabinol, Total THC) หมายถึง The total THC content of the substances ∆ 9 - THC, ∆ 8 - THC and THC content ซึ่งได้แก่ ( ∆ 9 – THC) + ( ∆ 8 – THC) + ( 0.877 x THCA) 4 . วิธีการตรวจวิเคราะห์ สารแคนนาบิไดออล และสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการตรวจ วิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่ใช้หลักการโครมาโตกราฟีแบบของเหลวสมรรถนะสูง ( High Performance Liquid Chromatography, HPLC) หรือสูงกว่า