Thu Oct 20 2022 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565


ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เกี่ยวกับประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ ข้อ 5 หลักเกณฑ์กำหนดความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ได้แก่ (1) หูหนวก หมายถึง ภาวะบกพร่องทางการได้ยินที่มีผลการตรวจการได้ยินโดยใช้เสียง ความถี่ที่ 500 เฮิรตซ์ 1 , 000 เฮิรตซ์ 2 , 000 เฮิรตซ์ และ 4 , 000 เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่า มีการสูญเสียการได้ยินเฉลี่ยที่ความดังของเสียงตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป ทาให้มีข้อจากัดในการ ใช้ชีวิตประจาวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม โดยต้องใช้เครื่องมือเฉพาะสาหรับ ตรวจการได้ยินและตรวจในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลเอกชนที่รัฐกาหนด (2) หูตึง หมายถึง ภาวะบกพร่องทางการได้ยินที่มีผลการตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงความถี่ ที่ 500 เฮิรตซ์ 1 , 000 เฮิรตซ์ 2 , 000 เฮิรตซ์ และ 4 , 000 เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่า มีการสูญเสียการได้ยินเฉลี่ยที่ความดังของเสียงน้อยกว่า 80 เดซิเบลลงมาจนถึง 40 เดซิเบล ในผู้ใหญ่ หรือน้อยกว่า 80 เดซิเบล ลงมาจนถึง 35 เดซิเบล ในเด็กที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี ทาให้มีข้อจากัดในการใช้ชีวิตประจาวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม โดยต้องใช้ เครื่องมือเฉพาะสำหรับตรวจการได้ยินและตรวจในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลเอกชนที่รัฐกำหนด (3) สื่อความหมาย หมายถึง ภาวะบกพร่องทางการสื่อความหมาย ทั้งการพูดและภาษา เช่น ผู้ป่วยไร้กล่องเสียง ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ ( Cerebral Palsy ) ที่มีปัญหาการพูดแบบ dysarthria ระดับรุนแรง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง ที่มีปัญหาการสื่อสารแบบ aphasia, dysarthria หรือ apraxia และผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสื่อม ( degenerative change ) ของระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยโรค Parkinson ผู้ป่วย โรค Dementia ทาให้มีข้อจากัดในการสื่อสาร ในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ” ้ หนา 15 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 251 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 ตุลาคม 2565

ข้อ 4 ให้ผู้ซึ่งได้รับการประเมินความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายตามประกาศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ พ.ศ. 2552 และมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ใช้บัตรประจาตัวคนพิการนั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องประเมิน ความพิการใหม่ เว้นแต่การเข้าเงื่อนไขการขอมีบัตรใหม่เมื่อบั ตรหมดอายุตามระเบียบคณะกรรมการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอ มีบัตรประจำตัวคนพิการ การออกบัตร และการกาหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวคนพิการ การกาหนดสิทธิหรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิ และกำรขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตรประจาตัว คนพิการ ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 256 5 จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ้ หนา 16 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 251 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 ตุลาคม 2565