ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับขยะอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับขยะอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tariff ( FiT ) ปี 2565 - 2573 สาหรับขยะอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tariff ( FiT ) ปี 2565 - 2573 สาหรับขยะอุตสาหกรรม ตามมติคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 (ครั้งที่ 159) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 และมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 12/2565 (ครั้งที่ 50) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 กาหนดให้จัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ( PDP 2018 Rev .1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) โดยพิจารณาจากเกณฑ์คุณสมบัติและความพร้อมทางด้านเทคนิคที่กำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ พลังงาน พ.ศ. 2550 และมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในการประชุมครั้งที่ 46/2565 (ครั้งที่ 813) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหา ไ ฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tariff ( FiT ) ปี 2565 - 2573 สาหรับขยะ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ โครงการ ” หมายความว่า โครงการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม “ ขยะอุตสาหกรรม ” หมายความว่า สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หรือของเสียอันตราย หรือ ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน หรือกรมโรงงาน อุตสาหกรรมกำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง แต่ไม่ หมายความรวมถึงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) และมูลฝอย “ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ” หมายความว่า สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น จากการประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน้าทิ้งที่มีองค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 ้ หนา 1 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
“ ของเสียอันตราย ” หมายความว่า สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อน สารอันตรายหรือมีคุณสมบัติที่เป็นอันตราย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกาจัด สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 แต่ไม่หมายความรวมถึงมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตราย จากชุมชนตามประกาศ กรมควบคุมมลพิษ “ ชีวมวล ” หมายความว่า สารอินทรีย์ที่ได้จากพืช อาทิ ส่วนของใบ ลาต้น กิ่ง เปลือก กะลา ตอ ซัง เหง้า และรากของพืช รวมทั้งเศษวัสดุเหลือใช้จากการเก็บเกี่ยวหรือจากการแปรรูป สินค้าทางการเกษตร “ ก๊าซชีวภาพ (น้าเสีย/ของเสีย) ” หมายความว่า ก๊าซชีวภาพที่ผลิตมาจากน้าเสีย/ของเสีย ที่ใช้กระบวนการย่อยสลายทางชีววิทยาแบบไม่ใช้อากาศภายในบ่อหมัก “ มูลฝอย ” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะ ที่ใส่อาหาร รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด หรือที่อื่น ตามกฎหมายว่าด้วยรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง “ ผู้ก่อกาเนิดขยะอุตสาหกรรม ” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ก่อให้เกิด และ มีขยะอุตสาหกรรมไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกาจัดสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แ ล้ว พ.ศ. 2548 “ ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มี สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสาร กำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และโรงงานประกอบ กิจการเกี่ยวกับการคัดแยกสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลาดับที่ 105 และเฉพาะโรงงานแปรรูป เชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรมตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 106 “ นิคมอุตสาหกรรม ” หมายความว่า นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย “ เขตประกอบการอุตสาหกรรม ” หมายความว่า เขตประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงาน “ ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ” หมายความว่า ผู้ที่ยื่นความประสงค์จะผลิตไฟฟ้าจากขยะ อุตสาหกรรม “ ผู้ผลิตไฟฟ้าขนา ดเล็กมาก ” หมายความว่า ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ทาสัญญา ซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายที่ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายไม่เกิน 10 เมกะวัตต์และ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน “ หน่วยงานกลาง ” หมายความว่า หน่วยงานตรวจสอบและ รับรองผลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ เพื่อดาเนินการตรวจสอบและรับรองผลการดาเนินงานตามระเบียบและประกาศเกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้า รวมถึงหน่วยงานกลางที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วย ้ หนา 2 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
“ ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย ” หมายความว่า ปริมาณพลังไฟฟ้ากระแสสลับ ( AC ) ที่เสนอขาย ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายที่มีหน่วยเป็นเมกะวัตต์ ( MW ) หรือกิโลวัตต์ ( kW ) ตามที่สัญญา ซื้อขายไฟฟ้ากำหนด “ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า ” หมายความว่า ข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากกับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย “ สัญญา Non - Firm ” ห มายความว่า สัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบไม่บังคับปริมาณซื้อขายไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายมีสิทธิในการลดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าได้ตามข้อกำหนดระบบโครงข่ายไฟฟ้า “ วัน SCOD ” หมายความว่า กาหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ที่ระบุในสัญญา ซื้อขายไฟฟ้า ( Scheduled Commercial Operation Date ) “ วัน COD ” หมายความว่า วันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ( Commercial Operation Date ) “ ข้อกาหนดระบบโครงข่ายไฟฟ้า ” หมายความว่า ข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ข้อกำหนดการใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า และข้อกาหนดการปฏิ บัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ตามระเบียบของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย “ FiT F ” หมายความว่า อัตรารับซื้อไฟฟ้า FiT ในส่วนคงที่ (บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง) “ FiT V ” หมายความว่า อัตรารับซื้อไฟฟ้า FiT ในส่วนผันแปร (บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง) “ FiT Premium ” หมายความว่า (1) อัตรารับซื้อไฟฟ้า FiT ส่วนเพิ่มสาหรับโครงการขยะ อุตสาหกรรม 8 ปีแรกของอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง) และ (2) อัตรารับซื้อ ไฟฟ้า FiT ส่วนเพิ่มในพื้นที่พิเศษ ตลอดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง) สาหรับ โครงการที่ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี “ กกพ. ” หมายความว่า คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน “ สำนักงาน กกพ. ” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน “ การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ” หมายความว่า การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อ 4 ให้ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และ ให้ กกพ. เป็นผู้มีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามระเบียบนี้ คาวินิจฉัยของ กกพ. ให้เป็นที่สุด หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 5 กกพ. จะจัดหาไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่มีขนาด กาลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ในรูปแบบสัญญา Non - Firm โดยมีอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 20 ปี ้ หนา 3 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคาเสนอขายไฟฟ้า แบบคาเสนอขายไฟฟ้า เอกสาร หลักฐานแสดงคุณสมบัติและความพร้อมทางด้านเทคนิค รวมถึงกรอบระยะเวลาดาเนินการ ให้เป็นไป ตามประกาศที่ กกพ. กำหนด ข้อ 6 เป้าหมายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า อัตรารับซื้อไฟฟ้า และกำหนดวั น SCOD เป็นไป ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ข้อ 7 ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ออกประกาศให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากยื่นคาขอตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า (2) ตรวจสอบ และพิจารณาการขอเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ตามศักยภาพของแผนระบบไฟฟ้า ที่จะสามารถรองรับได้ และข้อกาหนดระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง โดยการพิจารณาต้องโปร่งใส เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ (3) ออกประกาศกำหนดรายละเอียด ขั้นตอน สถานที่ รวมทั้งเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การรับคำเสนอขายไฟฟ้า (4) รับคำเสนอขายไฟฟ้าและตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โดยการพิจารณาต้องโปร่งใส เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ (5) ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ และแจ้งให้ผู้ยื่น ขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คุณสมบัติ ยื่นอุทธรณ์ต่อ กกพ. ภายใน 7 (เจ็ด) วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง (6) จัดทำต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และเสนอ กกพ. เห็นชอบในหลักการ (7) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการตามความเหมาะสมหรือความจาเป็นที่เกี่ยวข้องกับ การรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบหรือประกาศของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (8) ตรวจสอบการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง (9) ดาเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ กกพ. กำหนด ข้อ 8 ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (ก) ต้องเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือจดทะเบียนในประเทศไทย ยกเว้น มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดโดยเฉพาะเจาะจง ( Specific Commitment ( Mode 3)) ให้กระทำได้เยี่ยงคนชาติ ( National Treatment ) หรือได้รับยกเว้นตามกฎหมายอื่น (ข) กรณีเป็นบริษัทจากัด หรือบริษัทมหาชนจากัด หากมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ ( Ultimate Shareholders ) ต้องถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 ของหุ้นทั้งหมด และจานวนผู้ถือหุ้นต่างชาติต้องไม่เกิน กึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด ยกเว้นมีข้อตกลงระหว่างประเทศที่กาหนดโดยเฉพาะเจาะจง ( Specific Commitment ( Mode 3)) ให้กระทำได้เยี่ยงคนชาติ ( National Treatment ) หรือได้รับ ยกเว้นตามกฎหมายอื่น ้ หนา 4 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
(ค) กรรมการจานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย ยกเว้นมีข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่กำหนดโดยเฉพาะเจาะจง ( Specific Commitment ( Mode 4)) ให้กระทำได้เยี่ยงคนชาติ ( National Treatment ) หรือได้รับยกเว้นตามกฎหมายอื่น (ง) ผู้มีอานาจในการลงชื่อผูกพันนิติบุคคลต้องมีสัญชาติไทย ยกเว้นมีข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่กำหนดโดยเฉพาะเจาะจง ( Specific Commitment ( Mode 4)) ให้กระทำได้เยี่ยงคนชาติ ( National Treatment ) หรือได้รับยกเว้นตามกฎหมายอื่ น (2) ไม่เป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (3) มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า (4) มีทุนจดทะเบียนขั้นต่าไม่น้อยกว่า 5 , 000 (ห้าพัน) บาทต่อกิโลวัตต์ ของปริมาณ พลังไฟฟ้าเสนอขาย ตามคาเสนอขายไฟฟ้า (5) ต้องวางหลักประกันการยื่นคาเสนอขายไฟฟ้า ( Proposal Bond ) มูลค่า 1 , 000 (หนึ่งพัน) บาทต่อกิโลวัตต์ ของปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย ตามวิธีการที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายกำหนด (6) มีผลการตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า แสดงว่าระบบไฟฟ้ามีศักยภาพรองรับปริมาณ พลังไฟ ฟ้าเสนอขาย ตามคาเสนอขายไฟฟ้า ข้อ 9 โครงการที่เสนอขายไฟฟ้าต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างใหม่ และไม่เคยมีสัญญา ซื้อขายไฟฟ้าหรือไม่เคยได้รับการตอบรับซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่าย และไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่าย ที่ยังมีผลใช้บังคับ ข้อ 10 ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต้องมีความพร้อมทางด้านเทคนิค ดังต่อไปนี้ (1) ความพร้อมด้านพื้นที่ ประกอบด้วย เรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือหลายเ รื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าต้องอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตประกอบการอุตสาหกรรม โดยต้องมีรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ไม่มีข้อกาหนดห้ามตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน และมีห นังสือรับรองอัตรา การระบายมลพิษทางอากาศของโครงการจากเจ้าของนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตประกอบการอุตสาหกรรม (ข) มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดิน หรือสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่เชื่อได้ว่า ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจะสามารถมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง หรือสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า ภายหลังจากที่ได้รับการคัดเลือก เช่น เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครอง สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาเช่า เอกสารแสดงคามั่นจะให้เช่า หรือหนังสือยินยอม ให้ใช้ที่ดิน (ค) ที่ดินที่ ตั้งโครงการต้องสามารถใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน ข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ้ หนา 5 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
(ง) ในกรณีที่ดินที่ มีเอกสารสิทธิมากกว่าหนึ่งแปลงต้องจัดทำแผนผังรวมแปลงที่ดิน แสดงขอบเขตที่ดิน โดยระบุเลขที่ดินและขนาดของที่ดินแต่ละแปลงในแผนผังให้ครบถ้วนและชัดเจน (2) ความพร้อมด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประกอบด้วย เรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือหลายเรื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) มีแผนผังโรงไฟฟ้า ( Plant Layout ) แสดงตาแหน่งระบบผลิตไฟฟ้า อาคารควบคุม การผลิต และระบบบาบัดมลพิษ สอดคล้องตามประเภทของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า และแผนผัง รวมที่ดิน (ข) มีแผนภูมิของระบบไฟฟ้า ( Single Line Diagram ) สอดคล้องตามรายละเอียด แล ะประเภทของเทคโนโ ลยีการผลิตไฟฟ้า (ค) มีขั้นตอนกระบวนการผลิตไฟฟ้า ( Process Flow Diagram ) แสดงแผนผัง กระบวนการผลิตไฟฟ้า ระบบบาบัดมลพิษ และการจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต สอดคล้อง ตามรายละเอียดและประเภทของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า (ง) มีแผนผังแสดงสมดุลความร้อนและสมดุลมวล ( Heat and Mass Balance Diagram ) สอดคล้องตามรายละเอียดและประเภทของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า (จ) มีวิศวกรเป็นผู้รับรองแบบในข้อ (ก) (ข) (ค) และ (ง) ตามสาขาและระดับ ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร (ฉ) มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าที่มีการเผาไหม้ เชื้อเพลิง ( Combustion ) เช่น ประสบการณ์ของผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก บริษัทในเครือหรือ บริษัทในกลุ่มของผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก อ้างอิงแนวทางในการพิจารณาอนุญาตประกอบธุรกิจ ของก รมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (3) ความพร้อมด้านเชื้อเพลิง (ก) มีเอกสารประมาณการจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปี (ข) มีสัญญาหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากได้รับมอบหมาย หรือ จะได้รับมอบหมายให้กาจัดขยะอุตสาหกรรมจากผู้ก่อกาเนิดขยะอุ ตสาหกรรม หรือผู้บาบัดและกาจัด สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว โดยจะต้องระบุปริมาณขยะอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับข้อมูลประมาณการ จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตต่อปี และอายุสัญญาจะต้องไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถัดจากวัน COD (4) มีความพร้อมด้านการเงิน ประกอบด้วย เรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือหลายเรื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) มีเอกสารแสดงประมาณการมูลค่าโครงการ (ข) มีหนังสือสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงิน หรือสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ระบุชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาด เล็กมาก ชื่อโครงการที่ได้รับพิจารณาสนับสนุน และวงเงินที่ให้การสนับสนุนหรือให้สินเชื่อ ้ หนา 6 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
(ค) มีทุนจดทะเบียนบริษัทขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5 , 000 (ห้าพัน) บาทต่อกิโลวัตต์ ตามปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย ครอบคลุมทุกคำเสนอขายไฟฟ้าที่ยื่นในนามนิติบุคคลเดียวกัน (5) ความเหมาะสมของแผนการดาเนินงาน แสดงกรอบระยะเวลาการพัฒนาโครงการ เช่น การจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย การขอรับใบอนุญาตต่าง ๆ การจัดหาแหล่งเงินทุน การจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ การก่อสร้างสถานประกอบกิจการพลังงาน และ การจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ข้อ 11 การคัดเลือกจะพิจารณาจากผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ที่มีคะแนนความพร้อม ทางด้านเทคนิคในแต่ละด้านและคะแนนรวมไม่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่าที่กาหนดไว้ โดยผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้า ขนาดเล็กมากที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเท่านั้น จึงจะได้รั บการประเมินคะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิค หมวด 2 การยื่นคำเสนอขายไฟฟ้า ข้อ 12 ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต้องยื่นตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ฝ่ายจำหน่าย ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะประกาศกาหนดต่อไป ข้อ 13 ให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากยื่นคาเสนอขายไฟฟ้าตามขั้นตอน วิธีการ และ เงื่อนไขที่ กกพ. และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายประกาศกำหนด หมวด 3 การพิจารณาคัดเลือก ข้อ 14 การพิจารณาคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก จะพิจารณาจากคะแนนความพร้อม ทางด้านเทคนิคจากมากไปน้อย โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของศักยภาพ เสถียรภาพของระบบไฟฟ้า และกรอบเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้า ภายใต้บังคับข้อ 6 ข้อ 15 การคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก จะพิจารณาตามลาดับคะแนนความพร้อม ทางด้านเทคนิคของเอกสารแ สดงความพร้อมทางด้านเทคนิค โดยมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้ (1) ให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกโครงการซึ่ง กกพ. แต่งตั้ง ทาหน้าที่กาหนดหลักเกณฑ์ การประเมินคะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคและวิธีการคัดเลือก (2) ให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกโครงการ พิจารณาเอกสารแสดงความพร้อมทางด้านเทคนิค ประเมินคะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคในแต่ละด้าน และเสนอรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ที่ผ่าน และไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ ตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน ( Pass / Fail Basis ) ให้ กกพ. พิจารณา ้ หนา 7 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
(3) ให้สานักงาน กกพ. ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ผ่านเกณฑ์คะแนน ความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่า ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของสานักงาน กกพ. ( www . erc . or . th ) และแจ้งให้ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่า ทราบผลการพิจารณา (4) ให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่า ตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน ( Pass / Fail Basis ) ยื่นหนังสืออุทธรณ์ผลการพิจารณาพร้อมแสดงเอกสาร หลักฐานต่อ กกพ. ภายใน 7 (เจ็ด) วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง (5) ให้คณะอนุกรรมการอุทธรณ์ซึ่ง กกพ. แต่งตั้ง ทาหน้าที่พิจารณาข้ออุทธรณ์ของผู้ยื่นขอ ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่า ตามเกณฑ์ผ่านหรือ ไม่ผ่าน ( Pass / Fail Basis ) และเสนอ กกพ. พิจารณา โดยคำวินิจฉัยของ กกพ. ถือเป็นที่สุด (6) ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่า ตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน ( Pass / Fail Basis ) เท่านั้น จึงจะได้รับการพิจารณาคัดเลือกต่อไป (7) ให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกโครงการ ดาเนินการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเ ล็กมาก ตามหลักเกณฑ์วิธีการ ดังต่อไปนี้ (ก) พิจารณาประเมินคะแนนความพร้อมของผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากตามเกณฑ์ คะแนนคุณภาพ ( Scoring ) (ข) พิจารณาเรียงตามลำดับคะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคจากมากไปหาน้อย โดยผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ได้รับคะแนนสูง สุดจะได้รับการพิจารณาคัดเลือกก่อน กรณีผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากได้รับการประเมินคะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิค เท่ากัน จะได้รับการจับสลากเพื่อเรียงลำดับการพิจารณาคัดเลือก (ค) คณะอนุกรรมการคัดเลือกโครงการ จะพิจารณาการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ตามเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้า และไม่เกินกรอบปริมาณการรับซื้อไฟฟ้ารายภาค ภายใต้บังคับข้อ 6 (ง) กรณีคำเสนอขายไฟฟ้าของผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากมีสายป้อนหลักและ สายป้อนรอง คณะอนุกรรมการคัดเลือกโครงการจะพิจารณาคัดเลือกตามศักยภาพที่รองรับได้ของสายป้อนหลัก และปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายที่ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากยินยอมปรับลด เป็นลำดับแรก (จ) กรณีผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกยื่นคาเสนอขาย ไฟฟ้ามากกว่ากรอบปริมาณการรับซื้อไฟฟ้ารายภาคที่คงเหลือ คณะกรรมการคัดเลือกโครงการจะ พิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ยินยอมปรับลดปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย ไม่เกินกว่ากรอบปริมาณการรับซื้อไฟฟ้ารายภาคที่คงเหลือ (ฉ) กรณีผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นรายสุดท้าย ยื่น คาเสนอขายไฟฟ้ามากกว่าเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าที่คงเหลือ คณะกรรมการคัดเลือกโครงการ จะพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ยินยอมปรับลดปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย ไม่เกินกว่าเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าที่คงเหลือ ้ หนา 8 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
ข้อ 16 เมื่อ กกพ. พิจารณาเห็นชอบผลการ คัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากแล้ว ให้สานักงาน กกพ. ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่รับการคัดเลือก ผ่านระบบ เครือข่ายสารสนเทศของสำนักงาน กกพ. ( www . erc . or . th ) ข้อ 17 ให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายแจ้งให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ได้รับการคั ดเลือก ทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 14 (สิบสี่) วัน นับถัดจากวันที่ ประกาศผลการคัดเลือก หมวด 4 หลักประกันและสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อ 18 ให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายสละสิทธิเรียกร้องหรือคืนหลักประกันการยื่นคาเสนอขาย ไฟฟ้า ( Proposal Bond ) ให้แก่ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากขอถอนคาเสนอขายไฟฟ้า ภายในระยะเวลายื่นคาเสนอ ขายไฟฟ้าตามประกาศของการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่าย ให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายสละสิทธิเรียกร้องหรือ คืนหลักประกันภายใน 30 (สาม สิบ) วัน นับตั้งแต่วันที่ยื่นขอถอนคำเสนอขายไฟฟ้า (2) ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากไม่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายสละสิทธิเรียกร้องหรือคืนหลักประกันภายใน 30 (สามสิบ) วัน นับตั้งแต่ วันประกาศผลการคัดเลือก (3) ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายแล้ว ให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายสละสิทธิเรียกร้องหรือคืนหลักประกันภายใน 30 (สามสิบ) วัน นับตั้งแต่ วันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อ 19 ก่อนวันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ให้ผู้ยื่ นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งเอกสารประกอบการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายกำหนด โดยความเห็นชอบของ กกพ. (2) วางหลักประกันสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ( Development Bond ) จำนวน 1 , 000 (หนึ่งพัน) บาทต่อกิโลวัตต์ ของปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายตามที่ได้รับคัดเลือก ตามวิธีการที่การไฟฟ้า ฝ่ายจำหน่ายกำหนด ข้อ 20 ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ผ่านการคัดเลือก ต้องลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายภายใน 180 (หนึ่งร้อยแปดสิบ) วัน นับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามข้ อ 17 หากผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากไม่ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าคาเสนอขายไฟฟ้าเป็นอันยกเลิก และให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายเรียกชาระหลักประกันการยื่น คำเสนอขายไฟฟ้า ( Proposal Bond ) ้ หนา 9 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
ข้อ 21 ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจะจ่ายไฟฟ้าเ ข้าระบบเชิงพาณิชย์ได้ก็ต่อเมื่อได้รับ ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปฏิบัติ ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ กกพ. ประกาศกาหนด ข้อ 22 เว้นแต่เหตุจากความผิดของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทำให้ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้า เข้าระบบได้ ผู้ผ ลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในกาหนดวัน SCOD ในกรณีที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายใน 60 (หกสิบ) วัน นับถัดจากกาหนดวัน SCOD ให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายคิดค่าปรับต่อวันในอัตรา ร้อยละ 0.33 (ศูนย์จุดสามสาม) ของวงเงินหลักประกันสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ( Development Bond ) ในกรณีที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายใน 12 (สิบสอง) เดือน นับถัดจากกาหนดวัน SCOD ให้ถือว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสิ้นสุดลงโดยมิพัก ต้องบอกกล่าว และให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเรียกชำระหลักประกันสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ( Development Bond ) ทั้งหมด ข้อ 23 ให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายสละสิทธิเรียกร้องหรือคืนหลักประกันสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ( Development Bond ) เมื่อผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิ ชย์ โดยให้ การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายสละสิทธิเรียกร้องหรือคืนหลักประกันสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ( Development Bond ) คงเหลือ หลังจากที่ได้หักค่าความเสียหาย หรือค่าปรับที่เกิดขึ้นไว้แล้ว (ถ้ามี) ภายใน 30 (สามสิบ) วัน นับตั้งแต่วัน COD ข้อ 24 ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่าย ให้วัดจาก ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายจริงในเดือนนั้น ๆ ในช่วงเวลา 15 (สิบห้า) นาทีใด ๆ เฉพาะที่จ่ายเข้า ระบบไฟฟ้า ไม่เกินปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายจากมาตรวัดไฟฟ้า ( Meter ) ที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ติดตั้งเพื่อซื้อขายไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายกำหนดเพียงจุดเดียว ข้อ 25 ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต้องใช้ขยะอุตสาหกรรมเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น ยกเว้นในช่วงการเริ่มต้นเดินเครื่องโรงไฟฟ้าอาจใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือชี วมวลเป็นเชื้อเพลิงร่วมด้วยได้ ข้อ 26 การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายคู่สัญญาหรือหน่วยงานกลาง มีสิทธิเข้าตรวจสอบโรงไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิตไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากให้เป็นไปตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง ข้อ 27 ให้สิทธิในหน่วย Ren ewable Energy Certificate ( REC ) หรือ Carbon Credit ที่เกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นสิทธิของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายในฐานะผู้รับซื้อหรือ ภาครัฐ และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต้องให้ข้อมูลเพื่อการจัดทาฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ตามกฎหมำยที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ภาครัฐมีข้อตกลงหรือพันธะผูกพันระหว่างประเทศเกี่ยวกับพลังงานหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อตกลงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจก หรือในกรณีที่ประเทศไทย ้ หนา 10 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
ออกกฎหมายภายในเกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจกหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กกพ. การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ ที่จะออกมาในอนาคตด้วย ภายหลังจากที่มีการรับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟ ฟ้าแล้ว สิทธิประโยชน์หรือสิทธิในเชิงทรัพย์สินที่เกิดจากการอนุวัติตามข้อตกลงหรือพันธะผูกพันระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากยินยอมให้สิทธิประโยชน์หรือ สิทธิในเชิงทรัพย์สินของหน่วย Renewable Energy Certif icate ( REC ) หรือ Carbon Credit ดังกล่าวตกเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายในฐานะผู้รับซื้อหรือภาครัฐทั้งสิ้น เนื่องจากผู้ผลิตไฟฟ้า ขนาดเล็กมากได้รับการสนับสนุนและการอุดหนุนจากภาครัฐในส่วนของ Feed - in Tariff ( FiT ) แล้ว ข้อ 28 ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากต้องคงสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายเดิมตามคาเสนอขายไฟฟ้า ให้เหลือรวมกันไว้ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (ห้าสิบ) ของหุ้นทั้งหมด จนกว่าจะครบกาหนด 3 (สาม) ปี หลังจากวัน COD ในกรณีที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากเป็นบริษัทมหาชนจากัด ซึ่ งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ดาเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 29 ห้ามผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากเปลี่ยนแปลง ข้อมูล ดังต่อไปนี้ (1) ที่ตั้งโครงการ (2) ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายที่ได้รับการคัดเ ลือก (3) ประเภทเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า เว้นแต่จะเริ่มประกอบการเชิงพาณิชย์แล้ว และเป็น การเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หมวด 5 การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า การตรวจสอบอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ข้อ 30 ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ภาระค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและจาเป็นในการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า การตรวจสอบระบบอุปกรณ์ และ ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่าย ตามหลักการที่เป็นไปตามมาตรา 80 และมาตรา 81 ของกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน ตามความเห็นชอบของ กกพ. เป็นกรณีไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเสริมศักยภาพหรือปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ข้อ 31 ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันความเสียหายของระบบไฟฟ้า ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานการเชื่อมต่อเข้ากับระบบและผลิตไฟฟ้าให้มีคุณภาพ ตามข้อกำหนดระบบโครงข่ายไฟฟ้า ้ หนา 11 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
หากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายมีสิทธิ ไม่ให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันเนื่องจากความบกพร่องทางด้านอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าหรือสาเหตุอื่น ๆ จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ฝ่ายนั้นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสีย หายดังกล่าว ข้อ 32 การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายหรือหน่วยงานกลางสามารถเข้าตรวจสอบสถานที่ประกอบกิจการได้ ตามความเหมาะสมและการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายมีสิทธิในการสั่งการให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก แก้ไข หรือปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้ได้มาตรฐาน ตามข้อกาหนดระบบโครงข่ายไฟฟ้า โดยเป็นไปตามมาตรา 81 มาตรา 82 และมาตรา 83 ของกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน ในกรณีที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่าย มีสิทธิไม่ให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้ หมวด 6 การระงับข้อพิ พาท ข้อ 33 ข้อพิพาทที่เกิดจากการปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าที่ออก ภายใต้ระเบียบฉบับนี้ และสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ให้ระงับข้อพิพาทตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือการไฟฟ้า ฝ่ายจาหน่ายที่มีข้อพิพาทตามระเบียบหรือประกาศเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าที่ออกภายใต้ระเบียบฉบับนี้ ให้ดาเนินการตามระเบียบคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การยื่นข้อพิพาทและการพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญำต (2) ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ประสบปัญหาจากการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ให้ยื่นเป็นหนังสือต่อการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายที่เป็นคู่สัญญาเพื่อพิจารณา หากไม่สามารถเจรจาหาข้อยุติ ได้ให้เสนอเรื่องต่อศาลไทยเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หมวด 7 เบ็ดเตล็ด ข้อ 34 กรณีผู้ ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากยื่นคาเสนอขายไฟฟ้าและเอกสารอันเป็นเท็จ ให้ถือว่าคำเสนอขายไฟฟ้าเป็นอันยกเลิก และให้การไฟฟ้าฝ่ายจาหน่ายเรียกชำระหลักประกันการยื่นคำเสนอ ขายไฟฟ้าได้ กรณีตรวจพบภายหลังจากทาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว ให้ถือว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสิ้นสุดลง และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกชำระหลักประกันทั้งหมด (ถ้ามี) ้ หนา 12 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565
ข้อ 35 ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และข้อตกลงหรือพันธะผูกพันระหว่างประเทศเกี่ยวกับพลังงาน สิ่งแวดล้อม การลดก๊าซ เรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่รัฐจะกำหนดต่อไปในอนาคตอย่างเต็มความสามารถ ข้อ 36 กกพ. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกโครงการตามระเบียบนี้ ก่อนลงนามในสัญญา ซื้อขายไฟฟ้า อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ภายใต้ข้อสงวนสิทธิ์ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจะฟ้องร้องหรือเรียกร้อง ค่าเสียหายใด ๆ จาก กกพ. หรือ สำนักงาน กกพ. มิได้ ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 25 65 เสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกากับกิจการพลังงาน ้ หนา 13 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 249 ง ราชกิจจานุเบกษา 19 ตุลาคม 2565