ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสอบระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน พ.ศ. 2565
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสอบระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน พ.ศ. 2565
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสอบระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน พ.ศ. 2565 โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่ รอบสนามบิน เพื่อให้ผู้ดาเนินการสนามบิน หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการมลพิษทางเสียงจากอากาศยานนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตามตรวจสอบระดับเสียงอากาศยาน ในบริเวณพื้นที่รอบสนามบินสาธารณะและสนามบินส่วนบุคคล ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมำยว่าด้วย การเดินอากาศ โดยไม่รวมถึงสนามบินทหารและสนามบินราชการอื่น ๆ เพื่อประกอบการวางแผน กาหนดจุดตรวจวัดระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่รอบสนามบินทั้งในแบบชั่วคราวและแบบถาวร และการตรวจสอบผลกระทบทางเสียงจากอากาศยาน รวมทั้งตรวจสอบกรณีการร้องเรียนเกี่ยวกั บมลพิษ ทางเสียงที่เกิดจากอากาศยาน ให้มีประสิทธิภาพและมีความถูกต้องแม่นยารวมทั้งได้รับการยอมรับ จากทุกภาคส่วนต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ซึ่งกาหนดให้กรมควบคุมมลพิษมีหน้า ที่และอานาจในการพัฒนาระบบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ปฏิบัติ และวิธีการที่เหมาะสมในการลดมลพิษทางอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จึงอาศัยอานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศกาหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบ ระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน ดังรายละเอียดกำหนดไว้ในภาคผนวกท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 1 7 สิงหาคม พ.ศ. 256 5 อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ้ หนา 18 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 238 ง ราชกิจจานุเบกษา 6 ตุลาคม 2565
ภาคผนวก ท้ายประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสอบระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน พ.ศ. 2565 _______________________ 1 เหตุผลความจำเป็น กิจกรรมการบินของอากาศยานสามารถก่อให้เกิดผลกระทบทางเสียงต่อประชาชนที่ อาศัย อยู่บริเวณใกล้เคียงสนามบิน จำเป็นต้องมีการติดตามตรวจสอบเพื่อประเมินและติดตามผลกระทบดังกล่าว ดังนั้น หลักเกณฑ์การตรวจสอบระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน จะทาให้หน่วยงานของ รัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนาไปใช้เป็นแนวทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาส ให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมและใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบผลกระทบที่อาจจะมีผลกระทบกับตนเองและชุมชน 2 วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้ผู้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการติดตามตรวจสอบระดับเสียงอากาศยาน ในพื้นที่รอบสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานติดตามตรวจสอบระดับเสียงของอากาศยาน ตามมาตร การ ป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรว จ สอบ สิ่งแวดล้อมในการจัดทา รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ( Environmental Impact Assessment : EIA ) หรือรายงานการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สาหรับโครงการ กิจการ หรือการดาเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ( Environmental and Health Impact Assessment : EHIA ) 3 ประโยชน์ของการติดตามตรวจสอบระดับเสียงอากาศยานในบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน 3.1 ใช้ในการตรวจสอบผลกระทบทางเสียงจากอากาศยาน 3.2 ใช้ตรวจสอบกรณีการร้องเรียนผลกระทบทางเสียงจากอากาศยาน 3.3 ใช้ตรวจสอบและจาแนกอากาศยานที่ทาให้เกิดมลพิษทางเสียง โดย ตรวจสอบ ร่วมกับ ข้อมูล การใช้เส้นทางการบิน การปฏิบัติการบินของอากาศยานแต่ละลำที่เกิดขึ้นจริง 3.4 ใช้รายงานผลต่อสาธารณะเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยรอบสนามบิน 4 ประเภทของจุดตรวจวัดและการรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยานในพื้นที่รอบสนามบิน 4.1 จุดตรวจวัดระดับเสียงอากาศยาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 4.1.1 จุดตรวจวัดระดับเสีย งอากาศยานแบบถาวร เป็นการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยาน โดยติดตั้งเครื่องมือเป็นสถานีตรวจวัดเสียงแบบถาวร ทำการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยานต่อเนื่องตลอดทั้งปี 4.1.2 จุดตรวจวัดระดับเสียงอากาศยานแบบชั่วคราว เป็นการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยาน โดยติดตั้งเครื่องมือในช่วงระ ยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอสำหรับรายงานผลกระทบทางเสียงจากอากาศยาน
-
2 - 4.2 การรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยาน แบ่งเป็น 3 แบบ ดังนี้ 4.2.1 การรายงานผลแบบเรียลไทม์ เป็นการรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยาน โดยเชื่อมโยงกับข้อมูลการปฏิบัติการบินของอากาศยาน และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาทันทีหลังจากที่ทาการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยานลาใด ๆ เสร็จสิ้น รวมทั้งจัดทำและเผยแพร่แผนที่เส้นเท่าระดับเสียงเมื่อครบรอบเวลา 24 ชั่วโมง 4.2.2 การรายงานผลแบบตามรอบระยะเวลา เป็นการรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียง อากาศยานโดยเชื่อมโยงกับข้อมูลการปฏิบัติการบินของอากาศยาน ให้กับหน่วยงานที่กากับดูแล หรือ เผยแพร่ ต่อสาธารณะตามรอบระย ะเวลาที่กำหนดไว้ใน EIA หรือ EHIA หรือตามที่หน่วยงานกากับดูแลกำหนด 4.2.3 การรายงานผลแบบเฉพาะคราวที่ทำการตรวจวัด เป็นการรายงานผลการตรวจวัด ระดับเสียงอากาศยานโดยเชื่อมโยงกับข้อมูลการปฏิบัติการบินของอากาศยาน ในคราวที่ทาการตรวจวัด เช่น กรณีร้องเรียนผลกระทบทางเสี ยงจากอากาศยาน 5 เกณฑ์การกำหนดประเภทของจุดตรวจวัดและการรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยาน ในพื้นที่รอบสนามบิน ให้พิจารณาจากจำนวน Movement ต่อ ปีของสนามบิน และหาก มี เงื่อนไขอื่น ในบริเวณพื้นที่ รอบสนามบิน ก็ให้พิจารณา เพิ่มเติม ประเภทจุดตรวจวัดและการรายงานผลด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ ที่กาหนดไว้ในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 เกณฑ์การกาหนดประเภทของจุดตรวจวัดและการรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียงของอากา ศ ยาน ในพื้นที่รอบสนามบิน ประเภทของ จุดตรวจวัด ประเภทของ การรายงานผล เกณฑ์ที่ใช้พิจารณา จำนวน Movement ต่อ ปี ของสนามบิน เงื่อนไขอื่น 4.1.1 จุดตรวจวัดระดับ เสียงแบบถาวร 4.2.1 การรายงานผล แบบเรียลไทม์ มากกว่า 50 , 000 4.1.2 จุดตรวจวัดระดับ เสียงแบ บ ชั่วคราว 4.2.2 การรายงานผล แบบตามรอบ ระยะเวลา 15 , 000 - 50 , 000 - มีกรณีร้องเรียนเรื่องเสียงอากาศยาน อยู่เป็นประจาหรือยังไม่สามารถ แก้ไขปัญหา จากการร้องเรียนได้ 4.2.3 การรายงานผล แบบเฉพาะคราว ที่ทำกา ร ตรวจวัด ไม่ถึง 15 , 000 - มีกรณีร้องเรียนเรื่องเสียงอากาศยาน - มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการบินไป จากที่ได้ประเมินไว้ หมายเหตุ : จานวน Movement ต่อ ปีของสนามบิน หมายถึง จานวนการบินขึ้นหรือบินลงของอากาศยาน ตลอดทั้งปีปฏิทิน โดยไม่นับรวม Movement ที่ใช้ในทางการทหาร ทางราชการ หรือใช้ในกรณีฉุกเฉิน
-
3 - 6 วิธีการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยาน วิธีการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยานสาหรับจุดตรวจวัด ระดับเสียงแบบ ถาวรและจุดตรวจวัด ระดับเสียงแบบ ชั่วคราวในพื้นที่ชุมชน ให้เป็นไปตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ ว่าด้วย วิธีการตรวจวัดระดับเสียง อากาศยานในพื้นที่ชุมชน 7 เกณฑ์ในการเลือกตำแหน่งการตั้งจุดตรวจวัดเสียงอากาศยานในพื้นที่ชุมชนที่เหมาะสม พิจารณาจากแหล่งกำเนิดเสียงและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงของสนามบิน ได้แก่ 7.1 ปลายทางวิ่ง อย่างน้อย 1 จุดตรวจวัดต่อ 1 ปลายทางวิ่ง พิจารณาตั้งจุดตรวจวัดเสียงอากาศยาน ตามแนวการบินขึ้นลง เพื่อให้สามารถตรวจพบและจาแนกเหตุการณ์การบินขึ้น (ประมาณ 3 – 7 nautical mile หรือ nmi โดยที่ 1 nmi เท่ากับ 1.852 กิโลเมตร) และบินลง (ประมาณ 8 nmi ) ทั้งนี้ อาจพิจารณาเพิ่มจุดตรวจวัด ระดับเสียงอากาศยานแยกกันเพื่อให้ได้ข้อมูลของอากาศยานมากที่สุดทั้งเหตุการณ์บินขึ้นและบินลง 7.2 เส้นทางบิน พิจารณาตั้งจุดตรวจวัดเสียงอากาศยานเพิ่มเติมหากมีการใช้เส้นทางบิน แยกไปจากเส้นทางบินหลักโดยเฉพาะกรณีที่มีการบินผ่านพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่อ่อนไหว 7.3 กา รใช้ทางวิ่งหรือทางขับ พิจารณาตั้งจุดตรวจวัดเสียงอากาศยานเพิ่มเติมหากมีชุมชน อยู่ใกล้กับทางวิ่ง หรือทางขับ 7.4 พิจารณาตั้งจุดตรวจวัดเสียงอากาศยานเพิ่มเติมกรณีพื้นที่อ่อนไหวเป็นพิเศษ เช่น โรงพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน รวมถึงจุดเฝ้าระวังเป็นพิเศษอื่น ๆ 7.5 พิ จารณาตั้งจุดตรวจวัดเสียงอากาศยานให้เหมาะสมกับจุดตรวจวัดมีอยู่เดิม 7.6 พิจารณาตั้งจุดตรวจวัดเสียงอากาศยานบริเวณเส้นเท่าระดับเสียงเฉลี่ยกลางวันกลางคืน L dn หรือ DNL ที่ระดับ 65, 70, 75 เดซิเบลเอ หรือบริเวณเส้นเท่าระดับเสียง Noise Exposure Forecast หรือ NEF ที่ 30, 35, 40 ที่ได้ทำการประเมินไว้ใน EIA หรือ EHIA 8 เกณฑ์พิจารณาสภาพแวดล้อมในการตั้งจุดตรวจวัดเสียงอากาศยานในพื้นที่ชุมชนที่เหมาะสม ให้พิจารณาสถานที่และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการตรวจวัดระดับเสียง โดยคานึงถึง ความสะดวก ในการติดตั้ง ปฏิบัติงาน รวมทั้งการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง ดังนี้ 8 .1 ไม่ได้รับอิทธิพลจากเสียงของแหล่งกาเนิดอื่นที่ไม่ใช่อากาศยาน ( non - aircraft noise sources ) เช่น การจราจร อุตสาหกรรม เสียงไซเรน สัตว์ป่า เป็นต้น โดยพิจารณาจากผลการตรวจวัดระดับเสียง ดังนี้ 8.1.1 ระดับเสียงในสิ่งแวดล้อ ม ณ จุดตรวจวัดควรมีค่าต่ากว่าระดับเสียงสูงสุดของอากาศยาน ที่มีระดับเสียงต่าที่สุดที่บินผ่านจุดตรวจวัดนั้นอย่างน้อย 10 เดซิเบลเอ (แนะนาให้ต่ากว่า 15 เดซิเบลเอ เพื่อให้การวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลเสียงได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน) 8.1.2 ระดับเสียงในสิ่งแวดล้อม ณ จุดที่ไมโครโฟนตรวจวัดได้ ควรมีค่าโดยประมาณ 40 - 45 เดซิเบลเอ สำหรับพื้นที่ที่ไม่พลุกพล่านหรือในชนบท และควรมีค่าไม่เกิน 55 เดซิเบลเอ สำหรับพื้นที่ในเขตเมือง 8.2 ไม่ควรอยู่ใกล้โครงสร้างหรือพื้นผิวที่มีลักษณะทาให้เกิดการเบี่ยงเบน สะท้อน หรือลดทอนของเสียง 8. 2.1 เพื่อหลีกเลี่ยงผลของเสียงสะท้อนจากพื้นผิวด้านล่าง มุมระหว่างพื้นดินแนวราบกับ อากาศยานที่บินผ่านควรมีขนาดเกินกว่า 30 องศา ในขณะที่อากาศยานบินผ่านจุดตรวจวัด
-
4 - 8.2.2 ควรมองเห็นแนวการบินปกติ ไม่มีอาคารบดบัง โดยในรัศมีอย่างน้อย 3.5 เมตร ต้องไม่มีพื้นผิวที่สะท้อนเสียง ต้นไม้หรือแหล่งกำเนิดเสียงจากลมอื่น ๆ 8.3 เป็นสถานที่ที่สะดวกต่อการติดตั้ง ปฏิบัติงาน รวมทั้งการดูแลรักษาและซ่อมบารุง เช่น เป็นที่ดินของสนามบินหรือพื้นที่สาธารณะ มีแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า มีสัญญาณของระบบสื่อสารข้อมูล และสามารถ เข้าทาการบำรุงรักษาได้สะดวก 9 ข้อกำหนดในการรายงานผลและการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ กาหนดให้มีการรายงานผลและเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะผ่านช่องทางเว็บไซต์ อย่างน้อย 1 ช่องทาง โดยมีข้อกาหนดรายละเอียดข้อมูลที่ต้องรายงานผลและเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะแยกตามประเภทของ จุดตรวจวัดและการรายงานผลการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยานในพื้นที่รอบสนามบินดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ข้อกำหนดรายละเอียดข้อมูลในการรายงานผลและการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ ข้อมูล จุดตรวจวัดระดับ เสียงแบบถาวร และการรายงานผล แบบเรียลไทม์ จุดตรวจวัดระดับ เสียงแบบชั่วคราว และการรายงานผล แบบตามรอบ ระยะเวลา จุดตรวจวัดระดับ เสียงแบบชั่วคราว และการรายงานผล แบบเฉพาะคราว ที่ทาการตรวจวัด การรายงานผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ Real time L AS - - Real time PNL or EPNL - - Real time Flight tracking - - Real time Meteorological data - - การรายงานผลข้อมูลรายวัน L dn หรือ DNL รายวัน NEF รายวัน ข้อมูลการปฏิบัติการบินรายวัน ความเร็วลมและปริมาณน้ำฝนรายวัน ระดับเสียงในสิ่งแวดล้อมรายวัน ระดับเสียงพื้นฐานรายวัน หมายเหตุ : ต้องรายงาน ( ตรวจวัด หรือ เชื่อมโยง หรือ จัดหาข้อมูล) เป็นทางเลือกในการรายงานข้อมูลเพิ่มเติม – ไม่ต้องรายงาน
-
5 - ตารางที่ 2 (ต่อ) ข้อกำหนดรายละเอียดข้อมูลในการรายงานผลและการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ ข้อมูล จุดตรวจวัดระดับเสียง แบบถาวรและ การรายงานผล แบบเรียลไทม์ จุดตรวจวัดระดับเสียง แบบชั่วคราว และ การรายงานผล แบบตามรอบ ระยะเวลา จุดตรวจวัดระดับเสียง แบบชั่วคราวและ การรายงานผล แบบเฉพาะคราว ที่ทาการตรวจวัด การรายงานสรุปผลข้อมูล รายเดือน หรือราย ปี สถิติข้อมูล L dn (จากข้อมูลรายวันของทั้งเดือน หรือทั้ง ปี) - - สถิติข้อมูล NEF (จากข้อมูลรายวันของทั้งเดือน หรือทั้ง ปี) - - สถิติข้อมูลการปฏิบัติการบิน เฉลี่ยรายวันของทั้งเดือน หรือทั้ง ปี สถิติข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในภาพรวม ของทั้งเดือน หรือทั้ง ปี แผนที่เส้นเท่า ( Contour Map ) ระดับเสียง L dn หรือ NEF รายปี หมายเหตุ : ต้องรายงาน (ตรวจวัด หรือ เชื่อมโยง หรือ จัดหาข้อมูล) เป็นทางเลือกในการรายงานข้อมูลเพิ่มเติม – ไม่ต้องรายงาน
-
6 - หมายเหตุ : คำอธิบายศัพท์ L AS ( A - weighted and slow time weighting response sound level ) หมายถึง ค่าระดับเสียงที่ผ่าน การถ่วงน้ำหนักโดยใช้วงจรถ่วงน้ำหนักแบบวงจร A และถ่วงน้ำหนักเวลาแบบ Slow ที่ให้ค่าการตอบสนอง คงที่ทุก 1 วินาที P NL ( Perceived noise level, L PN ) หมายถึง ค่าระดับเสียงที่มีการปรับค่าให้สัมพันธ์กับความรู้สึกราคาญ ของมนุษย์เมื่อได้รับเสียงที่มีความถี่และระดับความดังเสียงแตกต่างกัน EPNL ( Effective Perceived noise level ) หมายถึง ค่าระดับเสียง PNL ที่มีการปรับค่าให้สอดคล้องกับ ผลกระทบจากเสียงอากาศยานด้วยระยะเวลากา รรับเสียงขณะที่อากาศยานบินผ่าน ย่านความถี่และโทน ของเสียงอากาศยานที่ได้รับ NEF ( Noise exposure forecast ) หมายถึง ค่าประมาณการการสัมผัสเสียงจากอากาศยาน เป็นการนำค่า EPNL มาคำนวณ โดยเพิ่มระดับผลกระทบจากเสียงอากาศยานที่ได้รับในช่วงระยะเวลากลางคืน (22.00 - 07.0 0 น.) และคานวนผลรวมของการสัมผัสเสียงอากาศยานทั้งหมดในช่วงเวลาต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง L dn หรือ DNL ( Day - Night average sound level ) หมายถึง ค่าเฉลี่ยเชิงพลังงานของระดับเสียงจาก เหตุการณ์เสียงอากาศยานที่เกิดขึ้นทั้งหมดในเวลา 24 ชั่วโมง โดยเพิ่มระดับผลกระทบของเหตุ การณ์เสียง ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน (22.00 - 07.00 น.) ขึ้นอีก 10 เดซิเบลเอ ระดับเสียงในสิ่งแวดล้อม ( Residual sound level ) หมายถึง ค่าระดับเสียงเฉลี่ยตลอดช่วงระยะเวลา ที่สนใจโดยไม่รวมเสียงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์อากาศยาน ระดับเสียงพื้นฐาน ( Background sound level, L 90 ) หมายถึง ค่าระดับเสียงที่ตลอดช่วงระยะเวลา ที่สนใจมีค่าระดับเสียงร้อยละ 90 สูงกว่าค่าระดับเสียงนี้