ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565 อาศัยอำนาจตามความมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุม คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณ ฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการคำนวณ เงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565 ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรายงานการดำรงเงินกองทุนตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน 2. ของเอกสารแนบ 5 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ คานวณเงินกองทุนสาหรับความเสี่ยงด้านการเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย ท้ายประกาศคณะกรรมการ กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคานวณเงินกองทุนของบริ ษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ 2. เงินกองทุนสาหรับความเสี่ยงจากการเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย เท่ากับ ร้อยละ 50 ของค่าที่มากที่สุดระหว่าง 2.1 หักด้วยผลรวมของ 2.2 และ 2.3 กับศูนย์ ดังสมการ: surrender risk capital = 50% × max (0 , CSV - ( PL + other risks )) 2.1 มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย ( cash surrender value : CSV ) ของทุกกรมธรรม์ประกันภัยที่มีผลบังคับ ณ วันประเมิน ซึ่งหักยอดค้างชาระของเงินให้กู้ยืมโดยมี กรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกันแล้ว 2.2 มูลค่าสำรองประกันภัยหลังการประกันภัยต่อ ( policy liability : PL ) ตามประกาศคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคา ทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกั นชีวิต 2.3 ผลรวมของเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงอื่นทั้ง 5 ด้าน ( other risks ) ได้แก่ เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านประกันภัย เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านตลาด เงินกองทุนสำหรับ ้ หนา 55 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 237 ง ราชกิจจานุเบกษา 5 ตุลาคม 2565
ความเสี่ยงด้านเครดิต เงินกองทุนสาหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว เงินกองทุ นสาหรับความเสี่ยง ด้านปฏิบัติการ และได้รับผลการกระจายความเสี่ยง ( diversification effect ) ระหว่างความเสี่ยง ด้านสินทรัพย์และความเสี่ยงด้านประกันภัย 2.4 หากบริษัทมีการทาประกันภัยต่อที่ให้ความคุ้มครองการขาดอายุของกรมธรรม์ ประกันภัยเป็นจานวนมาก ( mass lapse reinsurance ) ให้บริษัทคานวณเงินกองทุนสาหรับความเสี่ยง จากการเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อเงินกองทุนของบริษัทที่มากที่สุด ที่ไม่น้อยกว่าศูนย์ จากเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยต่อดังกล่าวภายใต้สถานการณ์ที่เกิดการขาดอายุ เป็นจำนวนมาก แต่ไม่ เกินร้อยละ 50 ด้วย การขาดอายุของกรมธรรม์ประกันภัย หมายความว่า การที่ผู้เอาประกันภัย ไม่ชาระเบี้ยประกันภัยตามเวลาที่กาหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือผู้รับประกันภัยไม่ต่ออายุสัญญาประกันภัย มีผลให้กรมธรรม์ประกันภัยจะขาด อายุและสิ้นผลบังคับ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ 2.5 วิธีการคำนวณเป็นไปตามตัวอย่าง ดังนี้ ตัวอย่างที่ 1 บริษัท ก. มีข้อมูล ดังนี้ มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย ( CSV ) ซึ่งหักยอดค้างชำระของเงินให้กู้ยืมโดยมี กรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกันแล้ว 1 , 000 ล้านบาท มูลค่าสำรองประกันภัยหลังการเอาประกันภัยต่อ ทั้งหมด ( PL ) 700 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านประกันภัย 50 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านตลาด 150 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิต 100 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับควำมเสี่ยงด้านการกระจุกตัว 20 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ 20 ล้านบาท ผลการกระจายความเสี่ยงระหว่างความเสี่ยงด้านประกันภัยและความเสี่ยง ด้านสินทรัพย์ 27 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย มีค่าเท่ากับ 50% × max (0 , 1,000 - (700 + 50 + 150 + 100 + 20 + 20 - 27)) = 50% × max (0 , 1,000 - 1,013) = 50% × max (0 , - 13) = 50% × 0 = 0 บาท ้ หนา 56 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 237 ง ราชกิจจานุเบกษา 5 ตุลาคม 2565
ตัวอย่างที่ 2 บริษัท ข. มีข้อมูล ดังนี้ มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย ( CSV ) ซึ่งหักยอดค้างชำระของเงินให้กู้ยืมโดยมี กรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกันแล้ว 1 , 000 ล้านบาท มูลค่าสำรองประกันภัยหลังการเอาประกันภัยต่อ ทั้งหมด ( PL ) 650 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านประกันภัย 50 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านตลาด 150 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิต 100 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว 20 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ 20 ล้านบาท ผลการกระจายความเสี่ยงระหว่างความเสี่ยงด้านประกันภัยและความเสี่ยง ด้านสินทรัพย์ 10 ล้านบาท เงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย มีค่าเท่ากับ 50% × max (0 , 1,000 - (650 + 50 + 150 + 100 + 20 + 20 - 10)) = 50% × max (0 , 1,000 - 980) = 50% × max (0 , 20) = 50% × 20 = 10 ล้านบาท ” ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 256 5 กฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ้ หนา 57 ่ เลม 139 ตอนพิเศษ 237 ง ราชกิจจานุเบกษา 5 ตุลาคม 2565