พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 256 6 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 25 6 6 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจาเป็นในการจากัดสิทธิและเสรี ภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้การดาเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองสามารถดาเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงา หรือชี้นาโดยบุคคลซึ่งมิใช่สมาชิกของพรรคการเมือง ซึ่งการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นไว้โดยคาแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบั บที่ 2) พ.ศ. 256 6 ” ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 7 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 มกราคม 2566
มาตรา 2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน (15) ของวรรคหนึ่งของมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “( 15) รายได้ของพรรคการเมือง และอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบารุงพรรคการเมือง ซึ่งต้องเรียกเก็บจากสมาชิกไม่น้อยกว่าปีละยี่สิบบาท ” มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 25 60 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ พรรคการเมืองอาจกาหนดให้เรียกเก็บค่าบารุงพรรคการเมืองจากสมาชิกแบบตลอดชีพ ตามอัตราที่กาหนดในข้อบังคับก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสองร้อยบาท ” มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ. ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 24 สมาชิกต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กาหนดในข้อบังคับ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีอายุไม่ต่ากว่าสิบแปดปี และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ในกรณีเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้ สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (2) ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 98 (1) (2) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (11) (14) (16) (17) หรือ (18) ของรัฐธรรมนูญ (3) ไม่เคย ต้องคาพิพากษาอันถึงที่สุดให้จาคุกว่ากระทาความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตาแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา เว้ นแต่เป็นการรอการลงโทษ (4) ไม่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้จำคุกว่ากระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วย การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นาเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิด ฐานฟอกเงิน ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 7 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 มกราคม 2566
(5) ไม่เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นหรือผู้ยื่นคาขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง อื่น ตามมาตรา 11 หรือผู้แจ้งการเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่นตามมาตรา 18 ” มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 35 ในจังหวัดที่มิได้เป็นที่ตั้งสาขำพรรคการเมือง ถ้าพรรคการเมืองนั้นมีสมาชิก ซึ่งมีภูมิลาเนาอยู่ในจังหวัดนั้นเกินหนึ่งร้อยคน พรรคการเมืองนั้นอาจแต่งตั้งสมาชิกซึ่งมีภูมิลาเนา อยู่ในจังหวัดนั้นซึ่งมาจากการเลือกของสมาชิกดังกล่าวให้เป็นตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดได้ ตามจำนวนที่เห็นสมควรเพื่ อดาเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองในจังหวัดนั้น และให้นาความในมาตรา 34 มาใช้บังคับแก่ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดด้วยโดยอนุโลม ” มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 47 พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งในจังหวัดใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง ประจาจังหวัดในจังหวัดนั้น ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีสาขาพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งสาขาหรือ ตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดมากกว่าหนึ่งตัวแทนในจังหวัดใด ให้พรรคการเมืองนั้นกาหนดว่า จะให้สาขาพรรคการเมืองสาขาใดหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดใดในจังหวัดนั้น เป็นสาขา พรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดเพื่อดำเนินการตามมาตรา 50 ” มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 48 การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้พรรคการเมืองจัดทาบัญชีรายชื่อเพื่อส่งให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัด โดยต้องคานึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงด้วย ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีสาขาพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งสาขาหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัด มากกว่าหนึ่งตัวแทนในจังหวัดใด ให้พรรคการเมืองนั้นกาหนดว่าจะให้สาขาพรรคการเมืองสาขาใดหรือ ตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดใดในจังหวัดนั้น เป็นสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแ ทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัดเพื่อดำเนินการตามมาตรา 51 ” มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 7 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 มกราคม 2566
“ มาตรา 50 การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ ง ให้ดาเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) ให้คณะกรรมการสรรหากาหนดวัน เวลา และสถานที่ในการสมัครเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง และประกาศให้สมาชิกทราบเป็นการทั่วไป (2) เมื่อพ้นกาหนดเวลารับสมัครตาม (1) ให้คณะกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติและ ลักษณะต้องห้ามของผู้ สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้ง แล้วส่งรายชื่อผู้สมัครให้สาขาพรรคการเมืองหรือ ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด (3) เมื่อสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดได้รับรายชื่อผู้สมัครจาก คณะกรรมการสรรหาแล้ว ให้หัวหน้าสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัด จัดการประชุมสมาชิกเพื่อรับฟังความคิดเห็นและให้สมาชิกให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบ ตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกาหนด (4) ให้สาขาพรรคการเ มืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดส่งรายชื่อผู้สมัครในแต่ละ เขตเลือกตั้งทั้งที่ได้รับความเห็นชอบและไม่ได้รับความเห็นชอบพร้อมความคิดเห็นตาม (3) ให้คณะกรรมการสรรหาเพื่อพิจารณาเสนอความคิดเห็น (5) ให้คณะกรรมการสรรหาส่งรายชื่อผู้สมัครของแต่ละเขตเลือกตั้ งพร้อมความคิดเห็น ตาม (3) และ (4) ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ที่จะเสนอให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ” มาตรา 10 ให้ยกเลิกความในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่ อไปนี้แทน “ มาตรา 51 การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้ดาเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) ให้คณะกรรมการสรรหากำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการสมัครและการเสนอรายชื่อ บุคคลเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง และมีหนังสือแจ้งไปยังคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หัวหน้าสาขา พรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด และประกาศให้สมาชิกทราบเป็นการทั่วไป (2) ให้กรรมการบริหารพรรคการเมือง หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัด เสนอรายชื่อผู้ส มัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้คณะกรรมการสรรหา (3) เมื่อพ้นกาหนดเวลารับสมัครและเสนอรายชื่อตาม (1) แล้ว ให้คณะกรรมการสรรหา ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่เกินหนึ่งร้อยรายชื่อ ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 7 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 มกราคม 2566
โดยต้องคา นึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง แล้วส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด (4) เมื่อสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดได้รับบัญชีรายชื่อ ผู้สมัครรับเ ลือกตั้งตาม (3) จากคณะกรรมการสรรหาแล้ว ให้หัวหน้าสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทน พรรคการเมืองประจำจังหวัด จัดการประชุมสมาชิกเพื่อรับฟังความคิดเห็นและให้สมาชิก ให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แล้วส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวทั้งที่ได้รับความเห็นชอบและไม่ได้รับ ความเห็นชอบพร้อมความคิดเห็นให้คณะกรรมการสรรหาเพื่อพิจารณาจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง พร้อมเสนอความคิดเห็น (5) ให้คณะกรรมการสรรหาส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรั บเลือกตั้งพร้อมความคิดเห็นตาม (4) ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่เหมาะสมเป็นผู้สมัคร รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อแล้วจัดลาดับตามที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อให้ได้บัญชี รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดมีภูมิลำเนาอยู่ใน จังหวัดที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัด ให้สามารถ ใช้สิทธิการเป็นสมาชิกในจังหวัดใกล้เคียงที่มีสาขาพร รคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัด ตามที่กาหนดในข้อบังคับ ” มาตรา 11 ให้ยกเลิกมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ มาตรา 55 ห้ามมิให้ตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัด หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดยินยอมให้บุคคลใดที่มิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเข้าแสดง ความคิดเห็นในที่ประชุมหรือให้ความเห็นชอบหรือไม่ใ ห้ความเห็นชอบในการดาเนินการสรรหาผู้สมัคร รับเลือกตั้งตามมาตรา 50 หรือมาตรา 51 ” มาตรา 13 ให้ยกเลิกมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 7 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 มกราคม 2566
มาตรา 14 ในวาระเริ่มแรก ให้ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดที่ดำรงตาแหน่ง อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับเป็นตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และข้อบังคับของพรรคการเมือง ในกรณีตามวรรคห นึ่ง ถ้าจังหวัดใดที่พรรคการเมืองมีสาขาพรรคการเมืองและตัวแทน พรรคการเมืองประจำจังหวัดด้วย ให้พรรคการเมืองนั้นกาหนดว่าจะให้สาขาพรรคการเมืองสาขาใดหรือ ตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดใดในจังหวัดนั้นเป็นสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง ประจาจังหวัดเพื่อดาเ นินการตามมาตรา 50 หรือมาตรา 51 แล้วแต่กรณี แล้วให้พรรคการเมือง แจ้งให้นายทะเบียนทราบ มาตรา 15 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ไม่มีผลกระทบต่อการสรรหาผู้สมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อที่มีอยู่แล้วในวันก่อน วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อซึ่งดารงตาแหน่งอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัติประกอบรั ฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ มาตรา 16 ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนี้ ผู้รับสนองพระ บรม ราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 7 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 มกราคม 2566
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราช บัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 ได้กำหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจานวนห้าร้อยคน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคนและสมาชิกสภำผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้ง แบบบัญชีรายชื่อจำนวนหนึ่งร้อยคน และให้มีบัตรเลือกตั้งสองใบที่ให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต การกาหนดจานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่งเขตเลือกตั้ง การคานวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้งที่เป็นธรรม ต่อพรรคการเมืองและเคารพสิทธิและเสียงของประชาชน จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประก อบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมือง การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 7 ก ราชกิจจานุเบกษา 28 มกราคม 2566