Wed Jan 25 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 24/2565 เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) เฉพาะส่วนที่เป็นการกำหนดเหตุในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจากเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสอง และวรรคสาม หรือไม่ [ระหว่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 24/2565 เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) เฉพาะส่วนที่เป็นการกำหนดเหตุในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจากเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสอง และวรรคสาม หรือไม่ [ระหว่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 24/2565 เรื่องพิจารณาที่ 12/2565 วันที่ 28 เดือน ธันวาคม พุทธศักราช 2565 ผู้ตรวจการแผนดิน - เรื่อง ผู้ตรวจการแผนดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) วา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) เฉพาะสวนที่เป็นการกําหนดเหตุในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยโดยอาศัย เหตุอื่นนอกจากเพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี มีปญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสองและวรรคสาม หรือไม่ ผู้ตรวจการแผนดิน (ผู้รอง) เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ขอเท็จจริงตามคํารองและเอกสารประกอบคํารอง สรุปได้ดังนี้ ระหวาง ผู้ถูกรอง ผู้รอง ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566

นายจิรัฏฐ รุงอุทัย ยื่นหนังสือรองเรียนขอให้ผู้รองเสนอเรื่องพรอมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญวา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นําเหตุที่จะออกหมายจับ ตามมาตรา 66 มาใชบังคับกับเหตุออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจําเลยโดยอนุโลม โดยมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) บัญญัติเหตุในการออกหมายจับจะออกหมายจับได้เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรวาบุคคลใด นาจะได้กระทําความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจําคุกอยางสูงเกินสามป หรือมีเหตุอันควรเชื่อวาจะไปยุงเหยิง กับพยานหลักฐาน หรือกอเหตุอันตรายประการอื่น เป็นการบัญญัติเหตุที่จะออกหมายขังโดยอาศัยเหตุอื่น นอกจากเพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 28 วรรคสอง และมาตรา 29 วรรคสาม สวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) (6) และ (7) บัญญัติให้การวินิจฉัยคํารองขอให้ปลอยชั่วคราวของเจ้าพนักงานหรือศาล จะต้องพิจารณาถึงความหนักเบาแห่งขอหา พยานหลักฐาน พฤติการณ ความเชื่อถือผู้รองขอประกัน หรือหลักประกัน ความนาจะเป็นในการหลบหนี ความเสียหายที่จะเกิดจากการปลอยชั่วคราว และคําคัดคาน ของบุคคลที่เกี่ยวของ และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) บัญญัติวาเหตุการสั่ง ไม่ให้ปลอยชั่วคราวจะกระทําได้เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อวาผู้ต้องหาหรือจําเลยจะไปยุงเหยิงกับพยานหลักฐาน จะไปกอเหตุอันตรายประการอื่น ผู้รองขอประกันหรือหลักประกันไม่นาเชื่อถือ หรือการปลอยชั่วคราว จะเป็นอุปสรรคหรือกอให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดําเนินคดีในศาล เป็นการบัญญัติหลักเกณฑการวินิจฉัยคํารองขอให้ปลอยชั่วคราวหรือเหตุสั่งไม่ให้ปลอยชั่วคราวโดยอาศัยเหตุอื่น นอกจากเพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคสาม ผู้รองมีความเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติรับรองหลักการสันนิษฐานไวกอนวาผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยจะต้องกระทําเทาที่จําเป็น เพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี เป็นการบัญญัติเงื่อนไขในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไวเพียงประการเดียวเทานั้น คือ “ ให้กระทําได้เพียงเทาที่จําเป็น เพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี ” แตกตางจากรัฐธรรมนูญฉบับกอน ๆ อันแสดงให้เห็นวารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเจตนารมณที่จะคุมครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและรางกาย ของผู้ต้องหาหรือจําเลยมากยิ่งขึ้น การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง กําหนดให้นําเหตุที่จะออกหมายจับในมาตรา 66 มาใชบังคับแกเหตุออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจําเลย ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566

โดยอนุโลม ทําให้ศาลมีอํานาจออกหมายขังโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) เป็นการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยเกินความจําเป็นโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจากเพื่อปองกัน มิให้มีการหลบหนี โดยเฉพาะเหตุในการออกหมายขังกรณีเมื่อมีหลักฐานตามสมควรวาบุคคลใดนาจะได้ กระทําความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจําคุกอยางสูงเกินสามปที่ต้องพิจารณาจากขอหาหรือฐานความผิด ตามขอกลาวหาของพนักงานสอบสวนซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน สวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเหตุที่จะสั่งไม่ให้ปลอยชั่วคราว ถือเป็นการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหา หรือจําเลยที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสาม เชนกัน การที่ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) บัญญัติเหตุในการสั่ง ไม่ให้ปลอยชั่วคราวทําให้เจ้าพนักงานหรือศาลมีอํานาจสั่งไม่ให้ปลอยชั่วคราวโดยอาศัยเหตุอื่น นอกจาก เพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติ ไวในรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสาม ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและรางกาย เป็นการปฏิบัติ ต่อบุคคลเสมือนเป็นผู้กระทําความผิด ขัดต่อหลักสันนิษฐานไวกอนวาผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด ผู้รองจึงยื่นคํารองพรอมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) วา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) เฉพาะในสวนที่บัญญัติให้ออกหมายขังได้เมื่อมีหลักฐานตามสมควรวาบุคคลใดนาจะได้กระทํา ความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อวาจะไปยุงเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือกอเหตุอันตรายประการอื่น และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) มีปญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสองและวรรคสาม หรือไม่ ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับคํารองของผู้รอง ไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) หรือไม่ เห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 231 บัญญัติวา “ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 230 ผู้ตรวจการแผนดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองได้เมื่อเห็นวามีกรณี ดังต่อไปนี้ (1) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปญหาเกี่ยวกับ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพรอมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักชา ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ… ” เมื่อขอเท็จจริงตามคํารองและเอกสารประกอบคํารองเป็นกรณีที่ผู้รองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566

วินิจฉัยวา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) เฉพาะในสวนที่บัญญัติให้ออกหมายขังได้เมื่อมีหลักฐานตามสมควรวาบุคคลใด นาจะได้กระทําความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อวาจะไปยุงเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือกอเหตุอันตรายประการอื่น และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) มีปญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสองและวรรคสาม กรณีเป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (1) จึงมีคําสั่งรับคํารองไวพิจารณาวินิจฉัย และเพื่อประโยชน แห่งการพิจารณา อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 27 วรรคสาม ให้หนวยงานที่เกี่ยวของจัดทําความเห็นและจัดสงขอมูลพรอมเอกสารหลักฐาน ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หนวยงานที่เกี่ยวของจัดสงขอมูลพรอมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ 1. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สงเอกสารเกี่ยวกับการพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 237 และมาตรา 239 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 39 และมาตรา 40 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 ในชั้นการยกรางรัฐธรรมนูญ และเอกสารเกี่ยวกับการพิจารณารางพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … มาตรา 66 มาตรา 71 และมาตรา 108/1 ของสภาผู้แทนราษฎร สรุปได้วา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กําหนดหลักการ สําคัญในการออกหมายจับและหมายขังจะกระทํามิได้เวนแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอยางอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ และกําหนดเหตุในการออกหมายจับและหมายขังต้องมีหลักฐานตามสมควรวา บุคคลใดนาจะได้กระทําความผิดอาญาโดยแบงเป็น 2 กรณี คือ กรณีความผิดอาญารายแรงให้เป็นไป ตามอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ และกรณีความผิดอาญาไม่รายแรงต้องมีเหตุอันควรเชื่อวาผู้นั้นจะหลบหนี จะไปยุงเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือกอเหตุอันตรายประการอื่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงกําหนดหลักการสําคัญ ในการออกหมายจับและหมายขังจะกระทํามิได้เวนแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอยางอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566

วรรคสาม กําหนดหลักการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเทาที่จําเป็น เพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี ซึ่งบทบัญญัติดังกลาวกําหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ดังปรากฏ ในบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมคณะกรรมการรางรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 10 วันที่ 19 ตุลาคม 2558 มีการอภิปรายบทบัญญัติดังกลาววา การใสตรวนผู้ต้องหาเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง การปฏิบัติในลักษณะดังกลาว เป็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาเสมือนเป็นนักโทษ สําหรับพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 มีการแกไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคลองกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การกําหนดอัตราโทษที่เป็นความผิดอาญารายแรงซึ่งเป็นเหตุ ในการออกหมายจับและหมายขังนั้น ต้องคํานึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนประกอบกับการควบคุม อาชญากรรมเพื่อให้การดําเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีประสิทธิภาพ หากกําหนดอัตราโทษ จําคุกอยางสูงตั้งแต่หาปขึ้นไปอาจมีผลกระทบต่อการบังคับใชกฎหมายและประสิทธิภาพในการดําเนินคดีอาญา จึงจําเป็นต้องกําหนดอัตราโทษจําคุกอยางสูงเกินสามปเป็นความผิดอาญารายแรงเพราะถือวาเป็นกรณี ที่มีพฤติการณแห่งคดีรายแรงที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลจังหวัด และมีความเหมาะสมต่อการบังคับใชกฎหมาย และประสิทธิภาพในการดําเนินคดีอาญาของประเทศไทย 2. เลขาธิการวุฒิสภา สงเอกสารเกี่ยวกับการพิจารณารางพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … มาตรา 66 มาตรา 71 และมาตรา 108/1 ของวุฒิสภา สรุปได้วา พระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ( ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1)และ (2) และมาตรา 108/1 มีการแกไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคลองกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 3. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สงเอกสารเกี่ยวกับการพิจารณารางพระราชบัญญัติ แกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … มาตรา 66 มาตรา 71 และมาตรา 108/1 สรุปได้วา พระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 มีการแกไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคลองกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคํารอง ขอมูลของหนวยงานที่เกี่ยวของ และเอกสารประกอบแล้วเห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไตสวนตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยวา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) เฉพาะสวนที่เป็นการกําหนดเหตุในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจาก เพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี มีปญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสองและวรรคสาม หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว กฎหมาย ดังกลาวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัด สิทธิและเสรีภาพไวด้วย ” มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ บุคคลยอมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิต และรางกาย ” และมาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติวา “ ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไวกอนวาผู้ต้องหา หรือจําเลยไม่มีความผิด และกอนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงวาบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติ ต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้ ” และวรรคสาม บัญญัติวา “ การควบคุมหรือคุมขัง ผู้ต้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเทาที่จําเป็น เพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี ” ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 มาตรา 71 และมาตรา 108/1 เป็นบทบัญญัติที่มีการแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 มีเหตุผลในการประกาศใชเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติรับรองและคุมครองสิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหาและจําเลยในคดีอาญาไว หลายประการ อาทิ การจับกุมหรือคุมขังบุคคลและการคนในที่รโหฐานจะกระทํามิได้ เวนแต่มีคําสั่ง หรือหมายของศาล หรือมีเหตุจําเป็นอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และผู้ต้องหาหรือจําเลยยอมมีสิทธิ ได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม รวมทั้งมีสิทธิได้รับ ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566

ความชวยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ โดยมาตรา 66 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ เหตุที่จะ ออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรวาบุคคลใดนาจะได้กระทําความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกอยางสูงเกินสามป หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรวาบุคคลใดนาจะได้กระทํา ความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อวาจะหลบหนี หรือจะไปยุงเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือกอเหตุ อันตรายประการอื่น ” มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยมาแล้ว ในระยะใดระหวางสอบสวน ไตสวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นําบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใชบังคับโดยอนุโลม ” และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ การสั่งไม่ให้ปลอยชั่วคราว จะกระทําได้ต่อเมื่อมีเหตุ อันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ต้องหาหรือจําเลยจะหลบหนี (2) ผู้ต้องหาหรือจําเลยจะไปยุงเหยิง กับพยานหลักฐาน (3) ผู้ต้องหาหรือจําเลยจะไปกอเหตุอันตรายประการอื่น ( 4) ผู้รองขอประกัน หรือหลักประกันไม่นาเชื่อถือ (5) การปลอยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือกอให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน ของเจ้าพนักงานหรือการดําเนินคดีในศาล ” ขอกลาวอางของผู้รองที่วา รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสาม บัญญัติเงื่อนไขในการควบคุม หรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยด้วยเหตุเพียงประการเดียวคือ ให้กระทําได้เพียงเทาที่จําเป็น เพื่อปองกัน มิให้มีการหลบหนีเทานั้น การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง กําหนดเงื่อนไข ในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจากเพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี จึงขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสอง และวรรคสาม นั้น เห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้กรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติเงื่อนไข อยางใดอยางหนึ่งในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพเรื่องใดไว การจํากัดสิทธิและเสรีภาพเรื่องนั้นจะกระทําได้ เฉพาะที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญเทานั้น และมาตรา 29 วรรคสาม ที่บัญญัติให้ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเทาที่จําเป็น เพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี ซึ่งมีการอภิปรายปรากฏในบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมคณะกรรมการรางรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 10 วันที่ 19 ตุลาคม 2558 สรุปได้วา การใสตรวนผู้ต้องหาเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง การปฏิบัติ ในลักษณะดังกลาวเป็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาเสมือนเป็นนักโทษ จึงเป็นการกําหนดเงื่อนไขเพื่อปองกัน การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยด้วยวิธีการโหดรายทารุณ ไรมนุษยธรรม หรือกระทบต่อศักดิ์ศรี ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566

ความเป็นมนุษย เชน การควบคุมหรือคุมขังในลักษณะประจาน การทํารายหรือลงโทษผู้ต้องหาหรือจําเลย มากกวาการควบคุมหรือคุมขังโดยปกติเพื่อจํากัดมิให้มีการหลบหนี เป็นบทบัญญัติที่จะใชเมื่อผาน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาตาง ๆ จนถึงขั้นตอนการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยแล้ว การใชเครื่องพันธนาการหรือการจัดสถานที่ควบคุมหรือคุมขังต้องกระทําเทาที่จําเป็นเพื่อปองกันไม่ให้ ผู้ต้องหาหรือจําเลยหลบหนีเทานั้น โดยมีเจตนารมณเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาของผู้ต้องหาหรือจําเลยบนพื้นฐานของหลักการสันนิษฐานไวกอนวาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกวาจะมีคําพิพากษา ของศาลอันถึงที่สุดแสดงวาเป็นผู้กระทําความผิด ซึ่งรัฐจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจําเลยในคดีอาญา ที่อยู่ระหวางการดําเนินคดีของเจ้าพนักงานหรือการพิจารณาคดีของศาลโดยใชมาตรการ วิธีการ หรือพฤติการณ ในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยเชนเดียวกันกับกรณีของบุคคลที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษแล้วมิได้ กลาวได้วา รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสาม มีเจตนารมณในการกําหนดมาตรการ วิธีการ หรือพฤติการณในการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจําเลยเมื่อถูกควบคุมหรือคุมขังอยู่ในอํานาจรัฐแล้ว สวนการได้ตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยมาอยู่ภายใตอํานาจรัฐไม่วาจะเป็นการออกหมายขังหรือการสั่งไม่ให้ ปลอยชั่วคราวบัญญัติไวในมาตรา 28 วรรคสอง ที่บัญญัติให้การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทํามิได้ เวนแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอยางอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ และมาตรา 29 วรรคหา ที่บัญญัติให้คําขอประกันผู้ต้องหาหรือจําเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกัน จนเกินควรแกกรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังกลาวมิได้กําหนดเงื่อนไขในการได้ตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยมาอยู่ภายใตอํานาจรัฐไวเป็นการเฉพาะ ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอํานาจตรากฎหมายในการออกหมายขังและการสั่งไม่ให้ปลอยชั่วคราวโดยอาศัยเหตุอื่น นอกจากเพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนีได้ ดังนั้น เงื่อนไขในการจํากัดสิทธิของบุคคลตามมาตรา 29 วรรคสาม เป็นคนละกรณีกับเงื่อนไขในการได้ตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยมาอยู่ภายใตอํานาจรัฐโดยการออกหมายขัง และการสั่งไม่ให้ปลอยชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 วรรคสอง และมาตรา 29 วรรคหา แมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) จะเป็นกฎหมายที่จํากัดสิทธิ และเสรีภาพในชีวิตและรางกายของบุคคลอยู่บาง แต่บทบัญญัติดังกลาวมีวัตถุประสงคเพื่อเป็นหลักประกันวา จะต้องมีตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยมาในชั้นการพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นการควบคุมบุคคลไวในอํานาจรัฐชั่วคราว ระหวางการดําเนินคดีอาญา การจํากัดสิทธิและเสรีภาพดังกลาวได้สัดสวนระหวางการคุมครองสิทธิและเสรีภาพ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566

ของผู้ต้องหาหรือจําเลยในคดีอาญากับประโยชนในการดําเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้เป็นไป โดยเรียบรอย คุมครองผู้เสียหาย และเพื่อความสงบเรียบรอยของสังคม ดังนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) เฉพาะสวนที่เป็นการกําหนดเหตุในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหา หรือจําเลยโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจากเพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสองและวรรคสาม อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน จึงวินิจฉัยวา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 108/1 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) และ (5) เฉพาะสวนที่เป็นการกําหนดเหตุในการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยโดยอาศัยเหตุอื่น นอกจากเพื่อปองกันมิให้มีการหลบหนี ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีปญหาเกี่ยวกับความชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และมาตรา 29 วรรคสองและวรรคสาม นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายปญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายวิรุฬห แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566