ระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยการตรวจสอบภายในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2566
ระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยการตรวจสอบภายในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2566
ระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยการตรวจสอบภายในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2566 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ ของสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสาหรับ หน่วยงานของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 และมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเ บียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วยการตรวจสอบภายในสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบของสานั กงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือมติผู้ตรวจการแผ่นดินอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 5 ในระเบียบนี้ “ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ” หมายความรวมถึงประธานผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย “ สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน “ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน “ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน “ การตรวจสอบภายใน ” หมายความว่า กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คาป รึกษา อย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสำนักงานให้ดีขึ้น และจะช่วยให้สานักงานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุง ประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกากั บดูแลอย่างเป็นระบบ “ หน่วยงานตรวจสอบภายใน ” หมายความว่า ส่วนงานที่รับผิดชอบงานตรวจสอบภายใน ตามระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานในสานักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566
“ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ” หมายความว่า ผู้ตรวจสอบภายในที่ดารงตาแหน่งสูงสุด ในหน่วยงานตรวจสอบภายใน “ ผู้ตรวจสอบภายใน ” หมายความว่า ผู้ดารงตาแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของสานักงานหรือ ดารงตาแหน่งอื่นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ตรวจสอบภายในของสำนักงาน “ หน่วยรับตรวจ ” หมายความว่า ส่วนงานในสานักงาน ตามร ะเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน “ ฝ่ายบริหาร ” หมายความว่า ผู้ทาหน้าที่บริหารซึ่งดารงตาแหน่งรองจากเลขาธิการไม่เกิน สามลำดับ ข้อ 6 ให้ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินรักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณี ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยความเห็นชอบร่วมกันของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และคำวินิจฉัยให้ถือเป็นที่สุด หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 7 ในการบริหารงานทั่วไป ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อเลขาธิการ สาหรับการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตาแหน่ง และประเมินผลการปฏิบัติงาน ของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ให้เป็นไปตามข้อ 18 (7) ส่วนการปฏิบัติงานการตรวจสอบ ภายในให้ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการ ข้อ 8 ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) มีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (2) มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี ประกาศ และคาสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานของสำนักงาน (3) มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การกากับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุม ภายในของสำนักงาน ข้อ 9 เลขาธิการจะแต่งตั้งให้ผู้ตรวจสอบภายในรักษาการในตำแหน่งอื่นหรือแต่งตั้ง ให้ผู้ดารงตาแหน่งอื่นมารักษาการในตาแหน่งผู้ตรวจสอบภายในได้เฉพาะกรณีที่การปฏิบัติงานของ บุคลากรดังกล่าวได้ขาดจากการปฏิบัติงานในหน้า ที่เดิม ในกรณีที่สานักงานอยู่ระหว่างการสรรหาบุคลากรมาดารงตาแหน่งเป็นผู้ตรวจสอบภายใน เลขาธิการอาจพิจารณามอบหมายให้บุคลากรภายในสานักงานมาปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน เป็นการชั่วคราวและยังคงปฏิบัติงานในตาแหน่งหน้าที่เดิมได้ ทั้งนี้ บุคลากรดังกล่าวควรมีความรู้ ทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน และต้องไม่เป็นผู้ที่ รับผิดชอบด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ หรือปฏิบัติงานในภารกิจหลักของสำนักงาน ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566
เลขาธิการหรือคณะกรรมการจะพิจารณาสั่งการให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติงานอื่นได้ตามควร แก่กรณี ทั้งนี้ งานดังกล่าวต้องไม่ทาให้ผู้ตรวจสอบภายในขาดความเป็นอิสระ และความเที่ยงธรรม ในกิจกรรมที่ตรวจสอบ ข้อ 10 ให้ผู้ตรวจสอบภายในดารงไว้ซึ่งความเป็นอิสระและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรม ที่ตรวจสอบ และปราศจากการแทรกแซงในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นในกา รตรวจสอบ ของฝ่ายบริหารหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด ในกรณีที่ต้องตรวจสอบงานที่ตนเคยทาหน้าที่บริหารหรือปฏิบัติงานภายในระยะเวลาหนึ่งปี ก่อนการตรวจสอบ ให้ผู้ตรวจสอบภายในอื่นเป็นผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบภายในไม่ควรเป็นกรรมการในคณะกรรมการใด ๆ ของสำนักงานอันมีผลกระทบต่อ ค วามเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นในการตรวจสอบ ข้อ 11 ให้ผู้ตรวจสอบภายในมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล บุคคล เอกสารหลักฐานและ ทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อรับทราบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ข้อ 12 ในกรณีมีความจาเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน มาให้คาปรึกษาหรือข้อเสนอแนะ หรือร่วมปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถกระทาได้โดยดาเนินการ ตามระเบียบว่าด้วยการนั้น ข้อ 13 การใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำหลักเกณฑ์กระทรวงกำรคลังว่าด้วย มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสาหรับหน่วยงานของรัฐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด 2 คณะกรรมการ ข้อ 14 ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ หนึ่งคน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสี่คน และให้หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบ ภายในเป็นเลขานุการ โดยให้มีผู้ช่วยเลขานุการตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ประชุมมอบหมาย ข้อ 15 กรรมการต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ากว่าสี่สิบห้าปี แต่ไม่เกินเจ็ดสิบห้าปี (3) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ (4) สามารถอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาความเหมาะสม ของจานวนคณะกรรมการที่กรรมการสามารถดารงตาแหน่งในคณะกรรมการของหน่วยงานอื่นได้เพื่อให้ การปฏิบัติหน้าที่กรรมการเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566
ผู้ตรวจการแผ่นดินควรพิจารณาและกาหนดความรู้ความสามารถที่จาเป็นของคณะกรรมการ เพื่อให้ คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้ คณะกรรมการ องค์รวมควรมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับ (ก) ลักษณะการดาเนินงานของสำนักงาน (ข) การเงินและบัญชี (ค) การบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน (ง) การตรวจสอบภายใน ( จ) กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ด้านการเงิน การบัญชี หรือด้านการตรวจสอบภายใน ข้อ 16 กรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ประจำ และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการบริหารงานของสำนักงาน โดยให้รวมถึงผู้ที่โอนย้าย ลาออก เกษียณอายุหรือพ้นสภาพจากสำนักงานภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ (2) เป็นผู้มีค วามขัดแย้งทางผลประโยชน์กับสานักงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าในขณะดารงตาแหน่งหรือ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ (3) เป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ของผู้ตรวจการแผ่นดิน เลขาธิการ หัวหน้า หน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือผู้ตรวจสอบภายใน ข้อ 17 กรรมการมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสี่ปี ผู้ซึ่งพ้นจากตาแหน่งแล้วอาจได้รับ แต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน กรรมการพ้นจากตาแหน่ง เมื่อ (1) ครบวาระ (2) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 15 (3) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 16 (4) ตาย (5) ลาออก (6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (7) เป็นบุคคลล้มละลาย (8) ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติให้พ้นจากตาแหน่ง กรณีกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากครบวาระ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจแต่งตั้งบุคคล ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นกรรมการแทน โดยบุคคลที่เข้าเป็นกรร มการแทนให้อยู่ในตาแหน่งเท่ากับวาระ ที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน ้ หนา 6 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566
ข้อ 18 คณะกรรมการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (1) จัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดาเนินงาน ของสานักงาน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และมีการสอบทานความเหมาะสม ของกฎบัตรดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (2) สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการ บริหารจัดการความเสี่ยงและกระบวนการกำกับดูแลที่ดี รวมถึงระบบบริหารจัดการความเสี่ยง ด้านการทุจริตของสำนักงาน และระบบการรับแจ้งเบาะแส (3) สอบทานให้สำนักงานมีการรายงานการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ (4) สอบทานการดำเนินงานของสำนักงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติผู้ตรวจการแผ่นดินหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงาน รวมทั้งข้อกำหนดอื่นขอ งสำนักงาน (5) กากับดูแลระบบงานตรวจสอบภายในของสานักงาน ให้มีความเป็นอิสระเพื่อพัฒนา การปฏิบัติงานในหน้าที่ (6) พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือ มีโอกาสเกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน (7) ให้ข้อเสนอแนะการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตำแหน่งและ ประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้งนี้ โดยให้เลขาธิการมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย (8) ประชุมหารือร่วมกับสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้สอบบัญชีที่สานักงานการตรวจเงิน แผ่นดินเห็นชอบเกี่ยวกับผลการตรวจสอบและเรื่องอื่น ๆ และอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือ ตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่าจำเป็น รวมถึงเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน (9) รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้ง ประกอบด้วย การรายงานผลต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและการรายงานต่อบุคคลภายนอก ทั้งนี้ การรายงานต่อ บุคคลภายนอกให้รายงานในรายงานประจาปีของสานักงานหรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสานักงาน โดยประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามในรายงานดังกล่าว และต้องมีเนื้อหาอย่างน้อ ย ดังนี้ (ก) ความเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหาร ความเสี่ยงด้านการทุจริตของสำนักงาน (ข) ความเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับการควบคุมภายในด้านการเงิน (ค) จำนวนครั้งในการจัดประชุมของคณะกรรมการ และการเข้าร่วมประชุม ของกรรมการแต่ละราย (10) ประเมินผลการดาเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้ง เสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในและศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายใน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ้ หนา 7 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566
(11) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดหรือผู้ ตรวจการแผ่นดินมอบหมาย ข้อ 19 การประชุมของคณะกรรมการให้ดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง โดยประธานกรรมการอาจใช้ดุลพินิจ จัดให้มีการประชุมได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม (2) กรรมการต้องเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ งของจานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็น องค์ประชุม กรณีมีความจาเป็นให้สามารถใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอดเสียง หรือทั้งภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ถือว่ากรรมการซึ่งใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี ดังกล่าวเข้าประชุมและมีสิทธิได้ รับค่าตอบแทน (3) ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม (4) การลงมติของที่ประชุมให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก โดยกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่ง ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด (5) คณะกรรมการมีอำนาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมได้ตามความเหมาะสม (6) การเรียกประชุมต้องทำเป็นหนังสือหรือโดย วิธีอื่นและแจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้า ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่กรรมการผู้นั้นจะได้ทราบวันนัดในที่ประชุมแล้ว แต่หากมี ความจำเป็นเร่งด่วน ประธานกรรมการจะเรียกประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้ (7) ให้หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นเลขานุการในที่ปร ะชุมและให้มีผู้ช่วยเลขานุการ ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประชุมมอบหมาย กรณีเลขานุการไม่อยู่หรือ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ช่วยเลขานุการทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม ข้อ 20 การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการต้อง ดาเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ประกอบด้วย การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการในภาพรวม และการประเมินผล การปฏิบัติงานกรรมการรายบุคคล ข้อ 21 ให้ประธานกรรมการและกรรมการที่เข้าร่วมการประชุมได้รับค่าตอบแทนเป็น รายเดือนเฉพาะเดือนที่มีการประชุมในอัตรา ดังนี้ (1) ประธานกรรมการ หนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน (2) กรรมการ แปดพันบาทต่อเดือน หมวด 3 หน่วยงานตรวจสอบภายใน ข้อ 22 ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในมีหน้าที่และอานาจตามระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และรับผิดชอบตรวจสอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566
ข้อ 23 ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในมีหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (1) กาหนดเป้าหมาย ทิศทาง และภารกิจงานตรวจสอบภายใน เพื่อสนับสนุนการบริหารและ การดาเนินงานด้านต่าง ๆ ของสานักงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายของสานักงานและคณะกรรมการ โดยคำนึงถึงการกากับดูแลที่ดี ความมีประสิทธิภาพของกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงและความเพียงพอ ของระบบการควบคุมภายในของสำนักงาน ด้วย (2) กำหนดกฎบัตรไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอเลขาธิการก่อนเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและเผยแพร่หน่วยรับตรวจทราบ รวมทั้งมีการสอบทานความเหมาะสม ของกฎบัตรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (3) จัดให้มีการประกันและปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายในทั้งภา ยในและภายนอก ตามรูปแบบและวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด (4) จัดทำและเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีต่อเลขาธิการก่อนเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนกันยายน ในกรณีที่หน่วยงานตรวจสอบภายในวางแผนการตรวจสอบที่มีระยะเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ให้นำมาใช้ประกอบ การพิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปีด้วย (5) ปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติ (6) รายงานผลการตรวจสอบต่อเลขาธิการและคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ (ก) รายงานผลการตรวจสอบภายในเวลาอันสมควรและไม่เกินสองเดือนนับจากวันที่ ดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ กรณีเรื่องที่ตรวจพบเป็นเรื่องที่จะมีผลเสียหายต่อการดาเนินงาน ให้รายงานผลการตรวจสอบทันที (ข) รายงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน อย่างน้อ ย ปีละหนึ่งครั้ง ประกอบด้วย ความเสี่ยงที่สำคัญเกี่ยวกับการดาเนินงานของสำนักงาน ความเห็นเกี่ยวกับ ประสิทธิผลของการบริหารจัดการความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต รวมถึง ระบบการร้องเรียนของสำนักงาน ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอและเหมาะสมของ การควบคุมภายใน ด้านการเงินและกระบวนการอื่นที่พิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการทุจริต ตลอดจนสรุปภาพรวม ของการฟ้องร้องต่อสานักงาน คดีความต่าง ๆ และความรับผิดชอบทางละเมิดของพนักงานในทางแพ่ง โดยวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในร ะยะยาว (7) ติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจเพื่อให้การปรับปรุง แก้ไขของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบ (8) ในกรณีมีความจาเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาร่วมปฏิบัติงานตรวจสอบ ให้เสนอขอบเขต และรายละเอียดของงาน คุณสมบั ติของผู้รับจ้าง ระยะเวลาดาเนินการและผลงานที่คาดหวังจาก ผู้รับจ้าง รวมทั้งข้อเสนอโครงการของผู้รับจ้าง ให้เลขาธิการพิจารณาอนุมัติให้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญต่อไป ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566
(9) ปฏิบัติงานในการให้คำปรึกษาแก่เลขาธิการ หน่วยรับตรวจและผู้ที่เกี่ยวข้อง (10) ประสานงานกับผู้สอบบัญชี คณะกรรมการ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด ความมั่นใจว่าขอบเขตของงานตรวจสอบครอบคลุมเรื่องที่สาคัญอย่างเหมาะสมและลดการปฏิบัติงาน ที่ซ้ำซ้อนกัน (11) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ตามที่ได้รับมอบหมายจำก คณะกรรมการและเลขาธิการ ข้อ 24 ขอบเขตงานของการตรวจสอบภายในให้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบ วิเคราะห์ รวมทั้งการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง ของสำนักงานซึ่งรวมถึง (1) ประเมินความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานในหน้าที่ของ หน่วยรับตรวจ เสนอแนะการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง (2) สอบทานระบบการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงาน รวมทั้งข้อกำหนดอื่นของสำนักงาน (3) สอบทานความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลการดาเนินงานและการเงินการคลัง (4) ตรวจสอบระบบการดูแลรักษา และความปลอดภัยของทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจให้มี ความเหมาะสมกับประเภทของทรัพย์สินนั้น (5 ) วิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัดและคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร ข้อ 25 ให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบ ภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ กรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ข้อ 26 ให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติต นให้เป็นไปตามจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน หมวด 4 หน่วยรับตรวจ ข้อ 27 ให้หน่วยรับตรวจมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (1) อำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจสอบภายใน (2) จัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการดาเนินงาน รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน สมบูรณ์พร้อมที่จะตรวจสอบได้ (3) จัดทาบัญชีและจัดเก็บเอกสารประกอบรายการบัญชีพร้อมที่จะให้ผู้ตรวจสอบภายใน ตรวจสอบได้ (4) จัดให้มีระบบการเก็บเอกสารในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและครบถ้วน (5) ชี้แจงและตอบข้อซักถามต่าง ๆ พร้อมทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ตรวจสอบภายใน ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566
(6) ปฏิบัติตามข้อทักท้วง และข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายในในเรื่องต่าง ๆ ที่เลขาธิการ สั่งให้ปฏิบัติ กรณีที่พนักงาน ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่อื่นใดของหน่วยรับตรวจ กระทำการโดยจงใจไม่ปฏิบัติ หรือละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ตรวจสอบภายในรายงานเลขาธิการพิจารณาสั่งการ ตามควรแก่กรณี บทเฉพาะกาล ข้อ 28 บรรดาระเบียบ ข้อกาหนด ประกาศ คาสั่ง หรือมติอื่นใดของผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมทั้งคู่มือการปฏิบัติงานซึ่งมี ผลใช้บังคับก่อนระเบียบนี้ คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ ระเบียบนี้ จนกว่าจะได้มีข้อกาหนด ประกาศ คาสั่ง หรือมติของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ออกตามระเบียบนี้ ใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 256 6 สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนที่ 6 ก ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2566