Sun Jan 22 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566


ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566

ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกาหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566 โดยที่พระราชบัญญัติกาหนดระยะเวลาดาเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 กาหนดให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกาหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในการพิจารณาเรื่องในขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจตามแต่ลักษณะ สภาพ หรือประเภทคดี รวมทั้งปริมาณงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยให้ประกาศและเผยแพร่ในรูปแบบที่ประชาชนสามารถ เข้าถึงและเข้าใจได้โดยง่าย และให้แจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าในการดาเนินการ ตลอดจนกำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด โดยจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ วิธีการอื่นใดที่ผู้ มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถทราบหรือตรวจสอบความคืบหน้าของการดาเนินงานในกระบวนการยุติธรรมได้ รวมถึงจัดให้มี ผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเพื่อรับเรื่องในกรณีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้ อนอันเนื่องมาจาก ความล่าช้า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ประกอบกับ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติกาหนดระยะเวลาดาเนินงานในกระบวนการยุติ ธรรม พ.ศ. 2565 ประธานศาลฎีกาจึงวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกาหนด ระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ข้อ 3 การกำหนดระยะเวลาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมให้เป็นไป ตามระเบียบนี้ เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการคดี ให้จำแนกลักษณะหรือ ประเภทคดี ในศาลชั้นต้นออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ( 1 ) คดีจัดการพิเศษ หมายถึง คดีลักษณะที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนและมีแนวโน้มที่จะ พิจารณาให้เสร็จได้ภายในนัดเดียวหรือในวันหนึ่งสามารถพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จได้หลายคดีหรือสามารถ ส่งเอกสารแทนการสืบพยานได้ หรือคดีประเภทอื่นที่ผู้รับผิดชอบในราชการของศาลเห็นสมควร ให้ดาเนินการอย่างคดีจัดการพิเศษ (ก) คดีแพ่ง 1) คดีมโนสาเร่ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก หรือคดีผู้บริโภค ไม่ว่าจาเลยจะยื่นคาให้การ หรือไม่ก็ตาม ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 5 ก ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2566

  1. คดีไม่มีข้อพิพาท เช่น ร้องขอจัดการมรดก ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นต้น ไม่ว่าจะมีผู้คัดค้านหรือไม่ก็ตาม 3) คดีจำเลยขาดนัด 4) คดีสาขา เช่น ขอกันส่วน ร้องขัดทรัพย์ ขอเฉลี่ยทรัพย์ ขอรับชาระหนี้ บุริมสิทธิ เป็นต้น 5) คดีสืบพยานประเด็น (ข) คดีอาญา 1) คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ หรือ ต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคารับสารภาพ 2) คดีไต่สวนมูลฟ้อง 3) คดีสาขา เช่น ร้องขอคืนของกลาง ผู้ประกันขอลดค่าปรับ เป็นต้น 4) คดีสืบพยานประเด็น (2) คดีสามัญ หมายถึง คดีซึ่งต้องสืบพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปและไม่สามารถ นั่งพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว คดีที่ศาลสูงย้อนสานวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานและ พิพากษาคดีใหม่ คดีอาญาจำเลยถอนคำให้การรับสารภาพเป็นให้การปฏิเสธหรือคดีประเภทอื่น ที่ผู้รับผิดชอบในราชการของศาลเห็นสมควรให้ดาเนินการอย่างคดีสามัญ (3) คดีสามัญพิเศ ษ หมายถึง คดีสามัญที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ไม่สามารถนัดสืบพยาน ต่อเนื่องกันไปจนเสร็จ จาเป็นต้องกาหนดวันนัดสืบพยานต่อเนื่องเป็นช่วง ช่วงละ 2 ถึง 4 วัน เช่น คดีที่มีผู้เสียหายจานวนมาก มีการกระทาความผิดหลายกรรม ต้องใช้พยานหลักฐานจานวนมาก คดีอาญาทุ จริตและประพฤติมิชอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบในราชการของศาล ข้อ 5 กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ( 1 ) คดีจัดการพิเศษ ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับฟ้อง ( 2 ) คดีสามัญและคดีสามัญพิเศษ ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันรับฟ้อง สาหรับคดีอาญาที่จาเลยคนใดคนหนึ่งต้องขังระหว่างพิจารณา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดี ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกหมายขังระหว่างพิจารณา ส่วนคดีแพ่งและคดีอาญาที่อยู่ใน อานาจพิจารณาพิพำกษาคดีของศาลแขวงไม่ว่าจะเป็นคดีประเภทใด ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดี ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับฟ้อง ข้อ 6 กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาคาร้อง คำขอระหว่างการพิจารณาในศาลชั้นต้น ( 1 ) คาร้องขอปล่อยชั่วคราวและการออกหมายปล่อย ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ได้รับคำร้อง ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 5 ก ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2566

( 2 ) คาร้องขอรับเงินต่าง ๆ คืนจากศาล ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทาการ นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง และดาเนินการจ่ายให้ผู้ที่มีสิทธิรับเงินภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่ศาลสั่ง ( 3 ) คาร้อง คาขออื่น ๆ ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทาการ นับแต่วันที่ ได้รับคำร้องหรือคาขอ ข้อ 7 เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการคดี ให้จำแนกลักษณะหรือประเภทคดีใน ศาลอุทธรณ์ภาคและศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ ( 1 ) คดีเร่งพิเศษ หมายถึง คดีลักษณะที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน สามารถพิจารณาพิพากษาคดี ได้โดยเร็ว หรือคดีที่ประธานศาลอุทธรณ์ภาคหรือประธานศาลอุทธรณ์คดีชานัญพิเศษ แล้วแต่กรณี กำหนดให้เป็นคดีเร่งพิเศษ เช่น (ก) คดีที่มีปัญหาเฉพาะดุลพินิจในการลงโทษ (ข) คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพแ ละศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่สูง (ค) คดีที่เกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย (ง) คดีที่ผู้ประกันขอให้งดหรือลดค่าปรับ (จ) คดีที่คู่ความโต้เถียงเฉพาะในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ซับซ้อน ( 2 ) คดีเร่ง หมายถึง คดีลักษณะที่มีความยุ่งยากซับซ้อนอยู่บ้างในบางประเด็น แต่สามารถ พิจารณาพิพากษาคดีได้โดยเร็ว หรือคดีที่ประธานศาลอุทธรณ์ภาคหรือประธานศาลอุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษ แล้วแต่กรณี กำหนดให้เป็นคดีเร่ง เช่น (ก) คดีแพ่ง 1 ) คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ 2 ) คดีที่อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย 3 ) คดีที่ขอให้พิจารณาคดีใหม่ 4 ) คดีที่ขอให้รับคำฟ้องหรือคาให้การ คำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคาให้การ 5 ) คดีฝ่ายเดียวไม่ว่าจะมีผู้คัดค้านหรือไม่ 6 ) คดีที่อุทธรณ์คำสั่ง 7 ) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคาสั่งในชั้นบังคับคดี (ข) คดีอาญา 1 ) คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องหรือลงโทษจาคุ กไม่เกินสองปีและจาเลยต้องขัง ระหว่างอุทธรณ์ 2 ) คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพสืบประกอบเฉพาะกรณีจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง 3 ) คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจาคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต แต่คู่ความอุทธรณ์ เฉพาะดุลพินิจในการลงโทษ 4) คดีที่ส่งสำนวนมาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนที่ 5 ก ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2566

  1. คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องหรือชั้นไต่สวนมูลฟ้อง 6 ) คดีที่อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ 7 ) คดีที่อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ( 3 ) คดีพิเศษ หมายถึง คดีที่ต้ องได้รับอนุญาตจากประธานศาลอุทธรณ์ภาคหรือประธาน ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้เป็นคดีพิเศษ หรือคดีที่เป็นที่สนใจของประชาชน ( 4 ) คดีทั่วไปหรือคดีธรรมดา หมายถึง คดีที่ไม่เข้าอยู่ในประเภทคดีตาม (1 ) (2) และ (3) ข้อ 8 กาหนดระยะเวลาในการพิจารณาพิ พากษาคดีในศาลอุทธรณ์ภาคและศาลอุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษ ( 1 ) คดีเร่งพิเศษ ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ รับสำนวนจากศาลชั้นต้น ( 2 ) คดีเร่ง ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่รับสำนวน จากศาลชั้นต้น ( 3 ) คดีพิเศษ คดีทั่วไปหรือคดีธรรมดา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รับสำนวนจากศาลชั้นต้น ข้อ 9 กาหนดระยะเวลาในการพิจารณาคาร้อง คาขอระหว่างการพิจารณาในศาลอุทธรณ์ภาค และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ( 1 ) คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับคำร้องจากศาลชั้นต้น ( 2 ) คำสั่ง คำร้องทั่วไป ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง ( 3 ) คาวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชานัญพิเศษ ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับสำนวนจากศาลชั้นต้น ข้อ 10 กาหนดระยะเวลาในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลอุทธรณ์ คดีแพ่งและคดีอาญา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รับสานวนจากศาลชั้นต้น ในส่วน คดีอาญาที่มีปัญหาเฉพาะดุลพินิจในการลงโทษ ศาลจะพิจารณาใ ห้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่ วันที่รับสำนวนจากศาลชั้นต้น ข้อ 1 1 กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาคาร้อง คำขอระหว่างการพิจารณาในศาลอุทธรณ์ (1) คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับคำร้องจากศาลชั้นต้น (2) คำสั่ง คำร้องทั่วไป ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รับคำร้อง ( 3 ) คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ในคดีผู้บริโภค คดีค้ามนุษย์ และคดีทุจริตและ ประพฤติมิชอบ ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับสำนวนจากศาลชั้นต้น ข้อ 12 กำหนดระยะเวลาใ นการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รับคำร้อง ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนที่ 5 ก ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2566

ข้อ 1 3 กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลฎีกา ( 1 ) คดีแพ่งและคดีอาญา ศาลจะพิ จารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ รับสานวนจากศาลชั้นต้น ในส่วนคดีอาญาที่มีปัญหาเฉพาะดุลพินิจในการลงโทษ ศาลจะพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่รับสำนวนจากศาลชั้นต้น ( 2 ) คดีที่ต้องทาการไต่สวนหรือสืบพยานในศาลฎีกา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มไต่สวนหรือสืบพยาน ( 3 ) คาร้องขออนุญาตฎีกา ศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่ วันที่ได้รับคำร้อง ข้อ 1 4 กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาคาร้อง คำขอระหว่างการพิจารณาในศาลฎีกา ( 1 ) คำ ร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับคำร้อง ( 2 ) คำสั่ง คำร้องทั่วไป ศาลจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง ข้อ 15 การพิจารณาพิพากษาคดีอาจล่าช้ากว่ากาหนดระยะเวลาข้างต้นได้เนื่องจากการโอน สานวนคดี การปรึ กษาร่างคาพิพากษาตามระเบียบ การประชุมใหญ่ หรือความตกลงกันของคู่ความ เช่น การไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท การรอฟังผลคดีอื่น หรือมีข้อขัดข้องอันเกิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือจากการดาเนินงานของหน่วยงานอื่นหรือบุคคลภายนอก เช่น การส่งหมายระหว่างประเทศ การทำแผนที่พิพาท การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ข้อ 16 ประธานศาลฎีกา ประธานศาลชั้นอุทธรณ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดี ผู้พิพากษาภาคอาจกาหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในการพิจารณาพิพากษาคดีบางประเภทเป็นอย่างอื่นได้ ตาม ลักษณะ สภาพ ซึ่งต่างจากคดีทั่วไป เช่น มีคู่ความหรือพยานหลักฐานจานวนมาก รวมทั้งปริมาณงาน ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เว้นแต่มีกฎหมายกาหนดระยะเวลาไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ในกรณีของศาลอื่น นอกจากศาลฎีกาให้รายงานประธานศาลฎีกาทราบ ข้อ 1 7 ในกรณีที่การดาเนินงำนไม่แล้วเสร็จภายในกาหนดระยะเวลาตามข้อ 5 ข้อ 6 และ ข้อ 8 ถึงข้อ 14 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถทราบเหตุแห่งความล่าช้าหรือตรวจสอบความคืบหน้าได้ จากรายงานกระบวนพิจารณาของศาลในคดีนั้น โดยสอบถามได้ที่ศาล หรือทางโทรศัพท์ หรือ ทางระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธร รม ( Court Integral Online Service : CIOS ) หรือระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ ( e - Filing ) หรือวิธีการอื่นใดในทานองเดียวกัน ทั้งนี้ ตามที่สานักงานศาลยุติธรรม กำหนด แล้วแต่กรณี หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นผู้ใช้ระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรมหรือระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ถือว่าการที่ศาลนำข้อมูลเข้าสู่ระบบดังกล่าวเป็นการแจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดาเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 แล้ ว ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 5 ก ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2566

ข้อ 1 8 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือประชาชนสามารถตรวจสอบความคืบหน้าของการพิจารณาคดี ได้ทางระบบติดตามสานวนคดี ( Tracking System ) ซึ่งเข้าถึงได้ทาง https :// cios . coj . go . th / tracking / หรือตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด ข้อ 1 9 ให้ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลหรือสำนักงานประจำศาลของศาล ที่พิจารณาคดีเป็นผู้รับผิดชอบในการรับเรื่องจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากความล่าช้าใน การ ดาเนินการตามระเบียบนี้ ตรวจสอบความคืบหน้าของการดาเนินงานและแจ้งผลการตรวจสอบไปยัง ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง พร้อมทั้งรายงานให้ผู้บังคับบัญชาและสานักงาน ศาลยุติธรรมทราบด้วย ข้อ 20 ให้สำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดาเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 256 5 ข้อ 21 บรรดาคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ศาลจะพิจารณา พิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 8 ถึงข้อ 14 นับแต่วันที่ ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับตามลักษณะหรือประเภทคดี แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้นาข้อ 15 และข้อ 16 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ 1 8 มกราคม พ.ศ. 256 6 โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 5 ก ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2566