กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566
กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566
กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 36 ข. (2) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎ ก.พ. นี้ เรียกว่า “ กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ข้อ 3 กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 4 โรคตามมาตรา 36 ข. (2) ประกอบด้วย (1) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (2) โรคติดยาเสพติดให้โทษ (3) โรคพิษสุราเรื้อรัง (4) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรค ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ข้อ 5 วิธีการตรวจโรคตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ ของ ก.พ. กำหนด ให้ไว้ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ . 256 6 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ้ หนา 27 ่ เลม 140 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบัน มีโรค เกิดขึ้นใหม่เป็ นจานวนมาก ทั้งโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ ซึ่งโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่ อประสิทธิภาพในการ ปฏิบั ติงานของข้าราชการ ประกอบกับกฎ ก.พ. ว่า ด้วยโรค พ.ศ. 2553 บังคับใช้มาเป็นระยะเวลาก ว่า 10 ปี จึงอาจมีความไม่เหมาะสม กับสภาวการณ์โรคในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้ทางราชการได้มาและรักษาไว้ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้มีสุขภาพทางกาย และจิตเหมาะสม และไม่เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือน รวมทั้งกาหนดให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการในกา รตรวจร่างกายและจิตใจเพื่อให้สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้ ้ หนา 28 ่ เลม 140 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566