กฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสีสำหรับเครื่องกำเนิดรังสีที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. 2566
กฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสีสำหรับเครื่องกำเนิดรังสีที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. 2566
กฎ กระทรวง ความปลอดภัยทางรังสีสำหรับเครื่องกำเนิดรังสี ที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง มาตรา 8 (18) และมาตรา 91/1 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคำแนะนำของคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้ “ เครื่องกาเนิดรังสี ” หมายความว่า เครื่องกาเนิดรังสีที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามที่กาหนด ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 26/2 “ ความปลอดภัยทางรังสี ” หมายความว่า การป้องกันประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากความเสี่ยง ทางรังสี และความปลอดภัยของสถานประกอบการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางรังสี ทั้งที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามปกติและเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใด ๆ อันอาจคาดหมายได้ “ มาตรการด้านความปลอด ภัยทางรังสี ” หมายความว่า มาตรการป้องกันและข้อกาหนด ด้านความปลอดภัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางรังสี “ พื้นที่ควบคุม ” หมายความว่า พื้นที่ที่ต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสีเพื่อควบคุม การได้รับรังสีอันเกิดจากการปฏิบัติงานตามปกติ และเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสและปริมาณการได้รับรังสี อันเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใด ๆ อันอาจคาดหมายได้ โดยประเมินจากโอกาสที่ทาให้บุคคล จะได้รับปริมาณรังสีสูงกว่าหรือเท่ากับสามในสิบของขีดจำกัดปริมาณรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี “ พื้นที่ตรวจตรา ” หมาย ความว่า พื้นที่ที่ไม่ต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสีโดยเฉพาะ แต่มีความจำเป็นต้องให้อยู่ภายใต้การตรวจสอบการได้รับรังสีอันเกิดจากการปฏิบัติงาน โดยเป็นบริเวณ ที่มีโอกาสทำให้บุคคลได้รับปริมาณรังสีสูงกว่าขีดจำกัดของปริมาณรังสีสำหรับประชาชนทั่วไป ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566
“ ปริมาณ รังสีสมมูล ” หมายความว่า ผลรวมของปริมาณรังสีดูดกลืนในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใด ๆ ของมนุษย์ หลังจากปรับเทียบการก่ออันตรายของรังสีทุกชนิดที่อวัยวะนั้นได้รับ โดยเทียบกับการก่ออันตราย ของรังสีเอกซ์และรังสีแกมมา มีหน่วยเป็นซีเวิร์ต “ ปริมาณรังสียังผล ” หมายความว่า ผลรวมของปริมาณรังสีสมมูลหลังจากปรับเทียบสภาพไวต่อ รังสีของแต่ละเนื้อเยื่อหรืออวัยวะทั่วร่างกายของมนุษย์ มีหน่วยเป็นซีเวิร์ต “ ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานให้กับผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิด รังสีทั้งแบบเต็มเวลา แบบไม่เต็มเวลา หรือแบบชั่วคราว ซึ่งเกี่ยวข้องกับรังสี ข้อ 2 การแจ้งและการยื่นเอกสารตามกฎกระทรวงนี้ ให้ดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วย การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่มีเหตุไม่สามารถดาเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ดาเนินการ ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 3 การดาเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากรังสีของผู้มีไว้ในครอบครอง หรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีจะกระทาได้ก็ต่อเมื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลหรือสังคมมากกว่าผลเสีย ที่อาจได้รับ และให้กระทำโดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อบุคคล ประชาชน และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีต้องมีมาตรการควบคุมการได้รับรังสีของบุคคล จากการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงจำนวนบุคคลที่ได้รับรังสี ความเป็นไปได้ใน การได้รับรังสีและปริมาณรังสีที่จะได้รับ ความเสี่ยงทางรังสีซึ่งเกิดจากเหตุการณ์อันอาจคาดหมายได้ และลักษณะการก่อให้เกิดอันตรายจากรังสี ทั้งนี้ โดยจะต้องคานึงถึงปั จจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีประกอบด้วย หมวด 2 การดำเนินการด้านความปลอดภัยทางรังสี ข้อ 4 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีต้องจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัย ทางรังสี ซึ่งต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำ ก ว่าหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีที่กำหนดใน กฎกระทรวงนี้ และอย่างน้อยต้องจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสีสาหรับเครื่องกำเนิดรังสี พื้นที่ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ ดังต่อไปนี้ (1) มีการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยเครื่องกาเนิดรังสีที่ผ่านมาตรฐานจากหน่วยงาน ที่เลขาธิการประกาศกาหนด ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566
(2) มีสถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการที่ติดตั้งหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีเป็นสัดส่วน และให้มีการกาหนดขอบเขตพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ตรวจตราโดยใช้อุปกร ณ์ทางกายภาพ หรือวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสการได้รับรังสีของผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไปโดยไม่จำเป็น (3) มีอุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจาตัวบุคคล ( personal dosimeter ) ที่เหมาะสมกับ ชนิดของรังสีที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน สำหรับผู้ปฏิบัติงานรังสี และมีผลการบันทึกปริมาณรังสีเป็นประจา ทุกสามเดือน ให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสียื่นสำเนาเอกสารแสดงผลการตรวจสอบ ความปลอดภัยตาม (1) ทุกสองปี ตลอดที่มีการใช้งานเครื่องกาเนิดรังสีต่อเลขาธิการภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ ได้รับเอกสารแสดงผลการตรวจสอบดังกล่าว หมวด 3 สัญลักษณ์ทางรังสี ข้อ 5 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีต้องติดตั้งสัญลักษณ์ทางรังสี พร้อมข้อความเตือนภัยที่เหมาะสมแสดงให้เห็นได้ชัดเจนที่เครื่องกาเนิดรังสี บริเวณทางเข้าพื้นที่ควบคุมและ พื้นที่ตรวจตรา และบริเวณอื่นที่เหมาะสมทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ตรวจตรา สัญลักษณ์ทางรังสีให้เป็นไปตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 6 ห้ามมิให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีใช้สัญลักษณ์ทางรังสีเพื่อการอื่นใด นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ 5 หมวด 4 ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ข้อ 7 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีต้องควบคุมดูแลมิให้บุคคลที่มีอายุต่ากว่า สิบหกปี เข้าไปในพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ตรวจตรา หรือปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับรังสี ข้อ 8 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีต้องควบคุมดูแลมิให้บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ สิบหกปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุม หรือปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับรังสี เว้นแต่ จะเป็นไปเพื่อการศึกษา การฝึกอบรม หรือการฝึกงานซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุ มดูแลอย่างใกล้ชิด ของผู้ปฏิบัติงานทางรังสีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี ข้อ 9 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีต้องควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ผู้ศึกษา ผู้เข้ารับการฝึกอบรม หรือผู้ฝึกงานปฏิบัติตา มหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัย ตามที่กฎหมายกาหนด และละเว้นการกระทาใด ๆ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้ปฏิบัติงานอื่น ประชาชน และสิ่งแวดล้อม ้ หนา 23 ่ เลม 140 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566
ข้อ 10 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีต้องจัดให้มีข้อมูล คำแนะนำ และการฝึกอบรม ด้านความปลอดภัยทางรังสีที่เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ผู้ศึกษา ผู้เข้ารับการฝึกอบรม หรือผู้ฝึกงาน คาแนะนาตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีคาแนะนาให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ผู้ศึกษา ผู้เข้ารับ การฝึกอบรม หรือผู้ฝึกงาน เมื่อพบเห็นเหตุอันตรายหรือเหตุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือกระทบกระเทือน ต่อความปลอดภัยทางรังสี ให้แจ้งให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีทราบโดยเร็ว ข้อ 11 ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ได้แจ้งถึงข้อมูลการตั้งครรภ์ ให้ผู้มีไว้ ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีทราบ ให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสี ปรับเปลี่ยนลักษณะการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานทางรังสีซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์เพื่อมิให้ได้รับปริมาณรังสี เกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 13 หมวด 5 ขีดจำกัดปริมาณรังสี ข้อ 12 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีต้องควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ได้รับรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถดาเนินการได้อย่างสมเหตุสมผลตามมาตรฐานการปฏิบัติงานนั้น ๆ และต้องมิให้ได้รับรังสีเกินปริมาณที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (1) ปริมาณรังสียังผล 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยเฉลี่ยในช่วงห้าปีติดต่อกัน ทั้งนี้ ในแต่ละปี จะรับรังสีได้ไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ต และตลอดช่วงห้าปีติดต่อกัน จะต้องได้รับรังสีไม่เกิน 100 มิลลิซีเวิร์ต (2) ปริมาณรังสีสมมูล สาหรับเลนส์ของดวงตา 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยเ ฉลี่ยในช่วง ห้าปีติดต่อกัน ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะรับรังสีได้ไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ต และตลอดช่วงห้าปีติดต่อกัน จะต้องได้รับรังสีไม่เกิน 100 มิลลิซีเวิร์ต (3) ปริมาณรังสีสมมูล สำหรับส่วนที่เป็นผิวหนัง มือและเท้า 500 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยปริมาณรังสีสมมูลสำหรับส่วนที่เป็นผิวหนังนั้นให้วัดจากค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีต่อ 1 ตารางเซนติเมตร ของบริเวณผิวหนังที่ได้รับรังสีมากที่สุด ข้อ 13 ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ให้ใช้ขีดจากัดปริมาณรังสีเช่นเดียวกันกับ ประชาชนทั่วไปตามข้อ 15 ข้อ 14 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีต้องควบคุมดูแลมิให้บุคคลตามข้อ 8 ได้รับรังสีเกินปริมาณที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ (1) ปริมาณรังสียังผล 6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (2) ปริมาณรังสีสมมูล สำหรับเลนส์ของดวงตา 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี ้ หนา 24 ่ เลม 140 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566
(3) ปริมาณรังสีสมมูล สาหรับส่วนที่เป็นผิวหนัง มือ และเท้า 150 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยปริมาณรังสีสมมูลสำหรับส่วนที่เป็นผิวหนังนั้นให้วัดจากค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีต่อ 1 ตารางเซนติเมตร ของบริเวณผิวหนังที่ได้รับรังสีมากที่สุด ข้อ 15 ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีต้องควบคุมดูแลมิให้ประชาชนทั่วไป ได้รับรังสีเกินปริมาณที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ (1) ปริมาณรังสียังผล 1 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (2) ปริมาณรังสีสมมูล สำหรับเลนส์ของดวงตา 15 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี (3) ปริมาณรังสีสมมูล สำ หรับส่วนที่เป็นผิวหนัง มือและเท้า 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี ข้อ 16 บุคคลแต่ละประเภทตามข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 หรือข้อ 15 ที่มีความเป็นไปได้ ที่จะได้รับรังสีจากหลายแหล่ง ผลรวมของปริมาณรังสีจากทุกแหล่งต้องไม่เกินขีดจากัดปริมาณรังสี ที่กำหนดไว้ในข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 หรือข้อ 15 แล้วแต่กรณี ข้อ 17 ในกรณีที่บุคคลแต่ละประเภทตามข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 หรือข้อ 15 มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับรังสีเกินขีดจำกัดปริมาณรังสีที่กำหนดไว้ ให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือ ใช้เครื่องกำเนิดรังสีแจ้งให้สำนักงานทราบโดยเร็ว ข้อ 18 มิให้นาความในข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 มาใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ เข้าระงับเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ข้อ 19 เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสี ในกรณีที่ผู้มีไว้ในครอบครอง หรือ ใช้เครื่องกาเนิดรังสีประสงค์จะยกเลิกการมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีใด ให้จัดการกับ เครื่องกาเนิดรังสีนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการประกาศกาหนด ให้ไว้ ณ วันที่ 2 7 กรกฎาคม พ.ศ . 256 6 เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ้ หนา 25 ่ เลม 140 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566
แบบสัญลักษณ์ทางรังสี ท้ายกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสีสําหรับเครื่องกําเนิดรังสี ที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ . ศ . 2566 .. พื้นสีเหลือง หมายเหตุ 1 . สัญลักษณ์ทางรังสี มีสัดส่วนของวงกลมตรงกลางมีรัศมี X และมีรายละเอียดดังรูป 2 . สัญลักษณ์ทางรังสี ต้องมีพื้นป้ายสีเหลือง วงกลมและแฉกมีสีดํา หรือม่วงแดง สีดําหรือม่วงแดง
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎ กระทรวง ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 5 วรรคสอง มาตรา 8 (18) และมาตรา 91/1 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคำแนะนาของคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ มีอานาจออกกฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์และวิ ธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีเพื่อให้ผู้มีไว้ในครอบครอง หรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามมาตรา 26/2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ้ หนา 26 ่ เลม 140 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 สิงหาคม 2566