Tue Jul 18 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2566


กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2566

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือน เพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็น อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552 (2) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็น อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 (3) กฎ ก.พ. ว่าด้ว ยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็น อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ ก.พ. พิจารณาวินิจฉัย คำวินิจฉัยของ ก.พ. ให้เป็นที่สุด หมวด 1 การกำหนดจำนวน การสรรหา และการเลือก อ.ก.พ. สามัญ ส่วนที่ 1 การกำหนดจำนวนอนุกรรมการ ข้อ 4 ให้อนุกรรมการโดยตาแหน่งใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด เป็นผู้พิจารณากาหนดจำนวนอนุกรรมการตามมาตรา 15 (1) และ (2) มาตรา 17 (1) และ (2) และมาตรา 19 (1) และ (2) โดยให้มีจำนวน ดังต่อไปนี้ ้ หนา 8 ่ เลม 140 ตอนที่ 42 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

(1) ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 15 (1) มาตรา 17 (1) และมาตรา 19 (1) ไม่น้อยกว่า สองคน แต่ไม่เกินสามคน (2) ข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามมาตรา 15 (2) ไม่น้อยกว่าสามคน แต่ไม่เกินห้าคน และจำนวนข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามมาตรา 17 (2) และมาตรา 19 (2) ไม่น้อยกว่าสามคน แต่ไม่เกินหกคน ส่วนที่ 2 การเลือกข้าราชการพลเรือน ข้อ 5 ให้ส่วนราชการที่มี อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด จัดทาบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนซึ่งดารงตาแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 15 (2) มาตรา 17 (2) หรือมาตรา 19 (2) ทั้งนี้ หัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ จะมอบให้หน่วยงานใดในสังกัดเป็นผู้จัดทำก็ได้ กรณีมีจานวนรายชื่อข้าราชการพลเรือนในบัญชีตามวรรคหนึ่งไม่เกินจานวนที่อนุกรรมการ โดยตาแหน่งใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ กาหนดตามข้อ 4 (2) ให้ผู้มีชื่อดังกล่าวเป็นผู้ได้รับเลือก เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดต่อไป กรณีมีจา นวนรายชื่อข้าราชการพลเรือนในบัญชีตามวรรคหนึ่งเกินกว่าจานวนที่อนุกรรมการ โดยตำแหน่งใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ กำหนดตามข้อ 4 (2) ให้ส่วนราชการจัดให้มีการเลือก ข้าราชการพลเรือนเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามข้ อ 6 ข้อ 6 การเลือกข้าราชการพลเรือนเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ให้ส่วนราชการนั้น ๆ จัดให้มีการดาเนินการตามความเหมาะสมของส่วนราชการ โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) การลงคะแนน ณ สถานที่ที่กำหนด (2) การลงคะแนนผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (3) การลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ (4) วิธีอื่นใดที่ ก.พ. กำหนด ข้อ 7 หลักเกณฑ์การเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการตามข้อ 5 วรรคสาม ส่วนราชการต้องดาเนินการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) ประกาศวิธีการเลือกบุคคลตามข้อ 6 เพื่อแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการ (2) จัดทาบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (3) แจ้งให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนทราบถึงกาหนดการ วิธีการเลือก และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ ได้รับเลือก ตามข้อ 5 ้ หนา 9 ่ เลม 140 ตอนที่ 42 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

(4) แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อตรวจนับคะแนน ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการที่มีตำ แหน่งไม่ต่ำกว่า ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน การตรวจนับคะแนนให้กระทำโดยเปิดเผย และต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน (5) ให้ขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นเวลาสองปี (6) ให้ผู้ได้รับเลือกตามบัญชีรายชื่อใน (5) ที่ได้คะแนนสูงตามลำดับและมีคุณสมบัติ ที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด เป็นผู้ได้รับเลือก เพื่อเสนอประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ต่อไป แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน จำนวนที่กาหนดในข้อ 4 (2) (7) ในกรณีที่อนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม (6) พ้นจากตาแหน่งก่อนครบกาหนดตามวาระ และจะต้องแต่งตั้งอนุกรรมการแทน ให้ประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนจากบัญชีรายชื่อ ตาม (5) ที่ได้คะแนนสูงตามลำดับ และมีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ ประจำส่วนราชการนั้น ๆ แทนต่อไป ในการตรวจนับคะแนนตาม (4) ให้คณะกรรมการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือก โดยเรียงตามลาดับจากมากไปหาน้อย ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากัน ให้หัวหน้าส่วนราชการจับสลา กชื่อ ผู้ได้คะแนนเท่ากันนั้นต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อเรียงลาดับที่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว โดยมีกรรมการ ไม่น้อยกว่าสามคนลงลายมือชื่อรับรอง กรณีไม่มีรายชื่อผู้ได้รับเลือกซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนเหลืออยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวแล้ว หรือบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกครบกาหนดสองปีตาม (5) แล้ว ให้ดาเนินการเลือกใหม่ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการในวรรคหนึ่ง (1) ถึง (7) โดยอนุโลม โดยให้บัญชีที่จัดทาขึ้นใหม่มีอายุเท่ากับวาระของ อ.ก.พ. ที่เหลืออยู่ ส่วนที่ 3 การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อ 8 การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ตามมาตรา 15 (1) มาตรา 17 (1) หรือมาตรา 19 (1) เพื่อแต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ให้ดาเนินการแต่งตั้ง คณะ กรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญต่าง ๆ ดังนี้ (1) คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย ประธาน อ.ก.พ. กระทรวง เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน อ.ก.พ. กระทรวง และข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง ตามข้อ 5 วรรคสอง หรือข้อ 7 เป็นกรรมการ และให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงาน ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกระทรวงเป็นเลขานุการ ้ หนา 10 ่ เลม 140 ตอนที่ 42 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

(2) คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทร งคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย ประธาน อ.ก.พ. กรม เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตาแหน่งใน อ.ก.พ. กรม และข้าราชการ พลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กรม ตามข้อ 5 วรรคสอง หรือข้อ 7 เป็นกรรมการ และให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ของกรมเป็นเลขานุการ (3) คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วย ประธาน อ.ก.พ. จังหวัด เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตาแหน่งใน อ.ก.พ. จังหวัด และข้ำราชการ พลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. จังหวัด ตามข้อ 5 วรรคสอง หรือข้อ 7 เป็นกรรมการ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคลของจังหวัดเป็นเลขานุการ ข้อ 9 การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญต่าง ๆ ให้ดาเนินการ ดังนี้ (1) กรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหาร และการจัดการ และด้านกฎหมาย ไปยังเลขานุ การคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.ก.พ. สามัญ นั้น ๆ ภายในระยะเวลาที่ส่วนราชการกาหนด โดยจะเสนอชื่อผู้ใดเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ หลายด้านก็ได้ (2) ให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี จัดทาบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการเสนอชื่อตาม (1) พร้อมทั้งประวัติและผลงานโดยย่อ แยกเป็นรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน ซึ่งแสดงถึงการเป็น ผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ การไม่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณ วุฒิใน ก.พ. และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 (1) มาตรา 17 (1) หรือมาตรา 19 (1) ในกรณีที่ผู้ใดได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน ให้ระบุชื่อผู้นั้นไว้ทุกด้าน แล้วเสนอบัญชี รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ในการนี้ บัญชีรายชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวจะมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่จะได้รับแต่งตั้งก็ได้ (3) ให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อตาม (2) โดยพิจารณาเลือกผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์สูง มีผลงาน เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านนั้น ๆ และเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง (4) ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ จากบัญชีรายชื่อแล้ว ได้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ครบจานวนหรือไม่ครบด้าน ให้คณะกรรมการสรรหาและ คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละคนเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิไปยั งเลขานุการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้มี การพิจารณาใหม่ ทั้งนี้ เฉพาะจานวนที่ไม่ครบหรือด้านที่ไม่ครบ โดยนาหลักเกณฑ์และวิธีการใน (1) ถึง (3) มาใช้บังคับ ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนที่ 42 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

(5) ในกรณีที่อนุกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านใดใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จั งหวัด พ้นจากตาแหน่งก่อนครบกาหนดตามวาระ และจะต้องแต่งตั้งอนุกรรมการแทน ให้ดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นใหม่ โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการใน (1) ถึง (4) มาใช้บังคับ ในการดาเนินการตาม (3) ให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเลือก ผู้ ทรงคุณวุฒิได้ไม่เกินจานวนที่กาหนดไว้ในข้อ 4 (1) โดยจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิครบในทุก ๆ ด้าน ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสองด้านก็ได้ แล้วนารายชื่อเสนอประธาน อ.ก.พ. สามัญ เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี และการเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อน โดยผู้ทรงคุณวุฒิต้องรับรองคุณสมบัติตามหนังสือรับรองตนที่กาหนดในแบบท้ายกฎ ก.พ. นี้ ข้อ 10 ให้ส่วนราชการนำรายชื่อข้าราชการพลเรื อนผู้ได้รับเลือกตามข้อ 5 วรรคสอง หรือข้อ 7 และรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการสรรหาตามข้อ 9 เสนอประธาน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อแต่งตั้งต่อไป หมวด 2 วาระการดารงตาแหน่งและการพ้นจากตาแหน่ง ข้อ 11 ให้อนุกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้ง มีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสามปี เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น อยู่ในตาแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่ ให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามั ญ ดารงตาแหน่งตามวาระติดต่อกันในคณะเดิม ได้ไม่เกินสองวาระ และให้ดารงตาแหน่งในเวลาเดียวกันได้ไม่เกินจำนวนสามคณะ ข้อ 12 นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ ให้อนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน ที่ได้รับแต่งตั้งใน อ.ก.พ. สามัญ พ้นจากตาแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ (4) เป็นผู้ดำรงตาแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตาแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหาร พรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (5) เป็นผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ห รือถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการเพราะ กระทำความผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 42 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

(6) ต้องคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (7) พ้นจากตาแหน่งประเภทบริหารระดับสูงใ นกระทรวงตามมาตรา 15 (2) หรือตาแหน่ง ประเภทบริหารหรืออานวยการในกรมตามมาตรา 17 (2) หรือประเภทบริหารหรืออานวยการ ซึ่งกระทรวงหรือกรมแต่งตั้งให้ไปประจำจังหวัดนั้นตามมาตรา 19 (2) ข้อ 13 นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ ให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญ พ้นจากตาแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ (4) เป็นผู้ดำรงตาแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตาแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหาร พรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (5) เป็นผู้ถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก เพราะกระทาความผิดวินัยตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (6) เป็นผู้ถูกลงโทษให้ออกจากหน่วยงานของเอกชน (7) ต้องคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรั บความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (8) ดารงตาแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ. ข้อ 14 ในกรณีที่อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดาเนินการเลือกข้าราชการพลเรือนและสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน ข้อ 15 ในกรณีที่อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ พ้นจากตาแหน่งก่อนครบกาหนด ตามวาระ ให้ดาเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการแทนตาแหน่งที่ว่างลงภายในสามสิบวัน ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในข้อ 6 ถึงข้อ 10 โดยอนุโลม อนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนนั้นให้อยู่ในตาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่วาระของอนุกรรมการดังกล่าวเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ประธาน อ.ก.พ. จะพิจารณาไม่แต่งตั้งอนุกรรมการแทนก็ได้ ข้อ 16 ในกรณีที่กระทรวง กรม หรือจังหวัดใด ไม่อาจมีจานวนอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ตามที่กาหนดในข้อ 4 ได้ ให้กระทรวง กรม หรือจังหวัดนั้น ๆ เสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้กำหนดจำนวนอนุกรรมการเป็นกรณีพิเศษ ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 42 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

บทเฉพาะกาล ข้อ 17 การดาเนินการเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือก ข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ได้ดาเนินการยังไม่แล้วเสร็จอยู่ในวันก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ ให้ดาเนินการตามกฎ ก.พ. ดังกล่าวนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนระยะเวลาการขึ้นบัญชีให้เป็นไปตามกฎ ก.พ. นี้ ข้อ 18 ในกรณีที่ได้ดาเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วเสร็จก่อนกฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ ให้อนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดารงตาแหน่ง ต่อไปจนกว่าจะครบวาระ ทั้งนี้ สาหรับรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกซึ่งได้ขึ้นบัญชีไว้แล้ว ให้ระยะเวลาการขึ้นบัญชีดังกล่าวเป็นไปตามก ฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือก ข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ไว้ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ . 256 6 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 42 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566

หนังสือรับรองตน ในการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ . ก . พ . สามัญ ตามข้อ 9 วรรคสอง ของกฎ ก . พ . ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือน เพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ . ก . พ . สามัญ พ . ศ . 2566 วันที่ … เดือน … พ . ศ . … ข้าพเจ้า ( นาย / นาง / นางสาว / อื่นๆ ) … นามสกุล … อายุ … ปี ตําแหน่ง … ที่อยู่ที่ติดต่อได้ … หมายเลขโทรศัพท์ … e-mail … ได้รับแจ้งจากส่วนราชการว่า ได้ผ่านการสรรหาและคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ . ก . พ . …  ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล  ด้านการบริหารและการจัดการ  ด้านกฎหมาย ข้าพเจ้าขอรับรองคุณสมบัติของตนตามกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ว่า  ไม่ดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก . พ .  ไม่ดํารงตําแหน่งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ . ก . พ . สามัญ ในเวลาเดียวกันเกิน 3 คณะ  ไม่ดํารงตําแหน่งเป็นอนุกรรมการใน อ . ก . พ . คณะเดิม ติดต่อกันเกิน 2 วาระ ในการนี้ ข้าพเจ้ายินยอมให้เสนอชื่อข้าพเจ้าเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ . ก . พ . … โดยขอรับรองว่า ได้แจ้งข้อมูลข้างต้นอย่างครบถ้วนและถูกต้องตรงตามความเป็นจริงทุกประการ อนึ่ง ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้าพเจ้า  ยินยอมให้ …( ชื่อส่วนราชการ )… ตรวจสอบ เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ระบุไว้ ในหนังสือฉบับนี้ เพื่อประโยชน์ในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเป็นอนุกรรมการใน อ . ก . พ . ดังกล่าว  ยินยอมให้มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในฐานข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิ ของสํานักงาน ก . พ . เพื่อเป็นคลังข้อมูลกลางของส่วนราชการต่าง ๆ สําหรับการสรรหาอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน อ . ก . พ . สามัญ ลงชื่อ … ( ) วันที่ …/…/…

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่สมควรปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วย การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ ให้ชัดเจน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งให้นาวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการเลือกข้าราชการพลเรือนได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 42 ก ราชกิจจานุเบกษา 18 กรกฎาคม 2566