Fri Jun 30 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 8/2566 เรื่อง พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ [ระหว่าง ศาลปกครองสงขลา ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 8/2566 เรื่อง พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ [ระหว่าง ศาลปกครองสงขลา ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย ศาลรัฐธรรมนูญ คําวินิจฉัยที่ 8/2566 เรื่องพิจารณาที่ 1/2566 วันที่ 7 เดือน มิถุนายน พุทธศักราช 2566 ศาลปกครองสงขลา ผู้รอง - ผู้ถูกรอง เรื่อง พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ ศาลปกครองสงขลาสงคําโตแยงของผู้ฟ้องคดี (นางชะรัตน์ เทพสิงห) ในคดีหมายเลขดําที่ บ.67/2565 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ขอเท็จ จริงตามหนังสือสงคําโตแยง ของผู้ฟ้องคดีและเอกสารประกอบ สรุปได้ดังนี้ นางชะรัตน์ เทพสิงห ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (คณะกรรมการ ป.ป.ท.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และสภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ต่อศาลปกครองสงขลาวา เมื่อครั้งผู้ฟ้องคดี เป็นขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการดําเนินโครงการความรวมมือกับกรมสงเสริมการปกครองทองถิ่น ในการบริการชุมชน ปงบประมาณ พ.ศ. 2554 ซึ่งเบิกจายงบประมาณคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ระหวาง ้ หนา 11 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

และมีผู้รองเรียนวามีการทุจริต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบหาขอเท็จจริง ต่อมามีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่รายแรงและมีคําสั่งลงโทษภาคทัณฑผู้ฟ้องคดี ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่รอบคอบ ไม่ดูแลเอาใจใสรักษาประโยชนของทางราชการ อันเป็นความผิดวินัย อยางไม่รายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 84 วรรคหนึ่ง ผู้ฟ้องคดีไม่อุทธรณ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไตสวน ขอเท็จจริงกรณีเจ้าหน้าที่กระทําการทุจริตในภาครัฐและแจงขอกลาวหาแกผู้ฟ้องคดี และมีมติเอกฉันท ชี้มูลความผิดผู้ฟ้องคดีฐานกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 มาตรา 161 มาตรา 162 และมาตรา 157 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใชบังคับขณะกระทําความผิด (ปจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) และเป็นความผิดวินัยอยางรายแรงฐานปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชนที่มิควรได้ อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอํานาจและหน้าที่ราชการ ของตนไม่วาโดยทางตรงหรือทางออม หาประโยชนให้แกตนเองหรือผู้อื่น ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและหนวยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอยางรายแรงแกราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 84 และมาตรา 85 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สงรายงานและเอกสารพรอมความเห็นไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีคําสั่งลงโทษไลผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ผู้ฟ้องคดีอุทธรณคําสั่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีมติให้ยกอุทธรณ ผู้ฟ้องคดีเห็นวา มติให้ลงโทษทางวินัยและคําสั่งลงโทษไลออกจากราชการ ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และเป็นการสรางขั้นตอน โดยไม่จําเป็นหรือสรางภาระให้กับประชาชนเกินสมควร ขอให้ศาลปกครองสงขลามีคําพิพากษาเพิกถอนมติ และคําสั่งดังกลาว และให้รับผู้ฟ้องคดีกลับเขารับราชการในตําแหนงเดิม จนกวาจะมีคําพิพากษา อันถึงที่สุดของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9 วาผู้ฟ้องคดีกระทําความผิดจริงตามฟ้อง ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

ระหวางการพิจารณาคดีของศาลปกครองสงขลา ผู้ฟ้องคดีโตแยงวา พระราชบัญญัติมาตรการ ของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ที่บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย และให้ถือวารายงาน เอกสาร และความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นสํานวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย หากผู้บังคับบัญชาละเลยไม่ดําเนินการ ให้ถือวาผู้บังคับบัญชากระทําความผิดวินัยหรือกฎหมาย เป็นการให้ผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาลงโทษทางวินัย แกผู้ถูกกลาวหาซ้ําในมูลคดีเดียวกับที่เคยมีการลงโทษทางวินัยถึงที่สุดแล้ว เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจ แกหนวยงานของรัฐมากเกินไป ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล และเป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 และมาตรา 26 ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองสงขลาสงคําโตแยงดังกลาวต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ศาลปกครองสงขลาเห็นวา ผู้ฟ้องคดีโตแยงวาพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 และมาตรา 26 ซึ่งศาลปกครองสงขลาจะใชบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกลาวบังคับแกคดี และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ จึงสงคําโตแยงดังกลาว ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องตนมีวา ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรับหนังสือ สงคําโตแยงของผู้ฟ้องคดีไวพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นวา ศาลปกครองสงขลาสงคําโตแยงของผู้ฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 และมาตรา 26 หรือไม่ บทบัญญัติดังกลาวเป็นบทบัญญัติที่ศาลปกครองสงขลาจะใชบังคับแกคดี เมื่อผู้ฟ้องคดีโตแยง พรอมด้วยเหตุผลวาบทบัญญัติดังกลาวขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง สวนที่โตแยงวา พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

และมาตรา 41 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 หรือไม่ นั้น เห็นวา มาตรา 4 เป็นบททั่วไป ที่วางหลักการคุมครองเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล โดยมิได้มีขอความที่เป็นการคุมครองสิทธิหรือเสรีภาพไวเป็นการเฉพาะ ศาลรัฐธรรมนูญไม่จําต้องวินิจฉัยในสวนนี้ จึงมีคําสั่งรับไวพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ขอให้วินิจฉัยวา พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหาร ในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ และเพื่อประโยชนแห่งการพิจารณา ให้หนวยงานที่เกี่ยวของจัดทําความเห็น และจัดสงขอมูลพรอมเอกสารหลักฐานยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หนวยงานที่เกี่ยวของจัดทําความเห็นและจัดสงขอมูลพรอมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ 1. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดสงสําเนารางพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหาร ในการปองกันและแกไขปญหาการทุจริต พ.ศ. … (เรื่องเสร็จที่ 491 - 492/2550) สําเนาบันทึก สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบรางกฎหมายเกี่ยวกับการปองกันการทุจริตภาครัฐ (เรื่องเสร็จที่ 491 - 494/2550) สําเนาบันทึกการประชุมกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) เรื่อง รางพระราชบัญญัติ มาตรการปองกันและแกไขปญหาการทุจริตภาครัฐ พ.ศ. … ครั้งที่ 8 และครั้งที่ 15 2. เลขาธิการวุฒิสภาจัดสงสําเนาบันทึกการประชุมและสําเนารายงานการประชุมสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ครั้งที่ 51/2550 และครั้งที่ 71/2550 สําเนาบันทึกการประชุมและสําเนารายงานการประชุม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณารางพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและแกไขปญหา การทุจริต พ.ศ. … และรางพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ครั้งที่ 19 ถึงครั้งที่ 24 3. เลขาธิการคณะกรรมการขาราชการพลเรือนจัดทําความเห็นสรุปได้วา พระราชบัญญัติมาตรการ ของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 17 (4) บัญญัติให้ คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอํานาจหน้าที่ไตสวนขอเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับกา รกระทําการทุจริต ในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมาตรา 3 กําหนดนิยามคําวา “ ทุจริตในภาครัฐ ” หมายความวา ทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ การที่มาตรา 40 กําหนดวาเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติวาเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทําการทุจริตในภาครัฐ และเป็นกรณีมีมูลความผิดทางวินัย ให้ประธานกรรมการ สงรายงานและเอกสารที่มีอยู่พรอมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอน ผู้ถูกกลาวหาผู้นั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้ง ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

คณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแกผู้ถูกกลาวหา ให้ถือวารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสํานวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือขอบังคับวาด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกลาวหานั้น ๆ แล้วแต่กรณี นั้น หนวยงานที่เกี่ยวของ เชน ศาลปกครอง คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) คณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นตน ยังมีความเห็นและการตีความที่แตกตางกัน กอให้เกิดปญหาในทางปฏิบัติ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําโตแยงของผู้ฟ้องคดี ความเห็นและขอมูลของหนวยงานที่เกี่ยวของ และเอกสารประกอบแล้วเห็นวา คดีเป็นปญหาขอกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไตสวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติมาตรการ ของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นวา รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว กฎหมายดังกลาวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล เกินสมควรแกเหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผล ความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพไวด้วย ” และวรรคสอง บัญญัติวา “ กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเจาะจง ” การปองกันและปราบปรามการทุจริตของบุคลากรในภาครัฐถือเป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาล ที่สวนราชการต้องนําไปปฏิบัติและเป็นวาระแห่งชาติเพื่อให้มีการปองกันและแกไขปญหาการทุจริต ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงเจตนารมณเชนเดียวกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ให้ความสําคัญในการแกไขปญหาการทุจริต โดยกําหนด กลไกในการปองกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เขมงวด เด็ดขาด โดยเฉพาะอยางยิ่ง ในเรื่องการทุจริตในภาครัฐที่สงผลกระทบเสียหายต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ สังคมและประชาชน ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มีเจตนารมณเพื่อปองกันและปราบปรามการทุจริต โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นองคกรตรวจสอบ นอกเหนือจากการตรวจสอบของหนวยงานตนสังกัดซึ่งเป็นกลไกของฝ่ายบริหารในการดําเนินการปองกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ มีหน้าที่และอํานาจในการไตสวนขอเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับ การกระทําการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีหลักการและเหตุผลในการประกาศใชวา เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายสําคัญและเรงดวนในการปองกันและปราบปรามการทุจริต แต่ยังไม่มีสวนราชการ ในสวนของฝ่ายบริหารที่มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปองกันและปราบปรามการทุจริตโดยตรง ทําให้รัฐบาลไม่สามารถกํากับดูแลและผลักดันเพื่อให้การดําเนินการตามนโยบายดังกลาวเป็นไป อยางมีประสิทธิภาพและตรงตามเปาหมายที่วางไว อีกทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองคกรอิสระ ที่มีอํานาจในการปองกันและปราบปรามการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐมีภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบ จํานวนมาก สมควรที่จะมีสวนราชการในฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบในการดําเนินการดานนโยบายดังกลาว และเป็นศูนยกลางประสานงานกับหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของทั้งหมด รวมทั้งกําหนดมาตรการตาง ๆ เพื่อให้การปองกันและปราบปรามการทุจริตในฝ่ายบริหารสามารถดําเนินการในลักษณะบูรณาการ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติวาเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทําการทุจริตในภาครัฐ และเป็นกรณีมีมูลความผิดทางวินัย ให้ประธานกรรมการ สงรายงานและเอกสารที่มีอยู่พรอมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอน ผู้ถูกกลาวหาผู้นั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแกผู้ถูกกลาวหา ให้ถือวารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสํานวนการสอบสวนทางวินัย ของคณะกรรมการสอบสวนวินัย ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือขอบังคับวาด้วยการบริหารงานบุคคล ของผู้ถูกกลาวหานั้น ๆ แล้วแต่กรณี ” วรรคสอง บัญญัติวา “ สําหรับผู้ถูกกลาวหาซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือขอบังคับเกี่ยวกับวินัย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติวาผู้ถูกกลาวหาดังกลาวได้กระทําผิด ในเรื่องที่ถูกกลาวหา ให้ประธานกรรมการสงรายงานและเอกสารที่มีอยู่พรอมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป ” และมาตรา 41 บัญญัติวา “ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 40 ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาลงโทษ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนสงสําเนา คําสั่งลงโทษดังกลาวไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบภายในสิบหาวันนับแต่วันที่ได้ออกคําสั่ง ” ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

ขอโตแยงของผู้ฟ้องคดีที่วา พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 เป็นบทบัญญัติที่กําหนดให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนวินัยอีก และให้ถือวารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสํานวน การสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือขอบังคับวาด้วย การบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกลาวหานั้น ๆ หากผู้บังคับบัญชาละเลยไม่ดําเนินการให้ถือวาผู้บังคับบัญชา กระทําความผิดวินัยหรือกฎหมาย เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล และเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 นั้น เห็นวา พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหาร ในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มีความมุงหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นองคกรฝ่ายบริหารที่ทําหน้าที่ตรวจสอบการกระทําการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ดํารงตําแหนงต่ํากวาผู้บริหารระดับสูงหรือขาราชการที่ดํารงตําแหนงต่ํากวาผู้อํานวยการกองลงมา เพื่อแบงเบาภารกิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเพื่อให้การปองกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณของกฎหมาย ตลอดจนเพื่อให้มาตรการ ในการตรวจสอบการกระทําการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 หมวด 2 การไตสวนขอเท็จจริง กําหนดขั้นตอนการดําเนินการไตสวนไวในมาตรา 35 และมาตรา 36 โดยให้ผู้ถูกกลาวหาสามารถคัดคานอนุกรรมการไตสวนขอเท็จจริง และชี้แจงหรือแสดงพยานหลักฐาน โตแยงขอกลาวหาหรือนําพยานบุคคลมาให้ถอยคําประกอบการชี้แจงเป็นการเปดโอกาสให้ผู้ถูกกลาวหา ต่อสูคดีได้อยางเต็มที่ ซึ่งมีหลักเกณฑและวิธีการเชนเดียวกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับ การดําเนินการทางวินัยในฐานความผิดอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 92 และมาตรา 93 และกฎ ก.พ. วาด้วยการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 ขอ 10 ขอ 12 ขอ 13 ขอ 21 ขอ 22 และขอ 28 สวนขั้นตอนที่กําหนดให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษ ตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติ กฎหมายมิได้บัญญัติให้ผู้ถูกกลาวหามีหน้าที่ใดเพิ่มเติม หรือมีขั้นตอนหรือกระบวนการใดอันเป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ถูกกลาวหา ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

อีกทั้งมาตรการตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 เป็นเพียงขั้นตอนในกระบวนการไตสวนขอเท็จจริง ตามที่บัญญัติไวในหมวด 2 การไตสวนขอเท็จจริง เทานั้น การดําเนินการทางวินัยตามมาตรการ ดังกลาวมิได้เป็นที่สุด แมผู้บังคับบัญชาจะมีคําสั่งลงโทษทางวินัยตามมาตรา 41 ผู้ถูกลงโทษ ก็มีสิทธิอุทธรณดุลพินิจในการกําหนดโทษได้ และหากผลการอุทธรณไม่เป็นที่พอใจหรือเห็นวา การดําเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือผู้บังคับบัญชาไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็สามารถใชสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองหรือศาลที่มีอํานาจพิจารณาวินิจฉัยคดีเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมได้อีก อันเป็นหลักประกันในการคุมครองสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนโดยองคกรตุลาการตามพระราชบัญญัติ มาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 มิได้เป็นบทบัญญัติที่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ ทั้งมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเจาะจง ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 สวนขอโตแยงของผู้ฟ้องคดีที่วา พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เนื่องจากเป็นการลงโทษทางวินัยผู้ถูกกลาวหาซ้ําในมูลคดีเดียวกันกับที่เคยมีการลงโทษทางวินัย ซึ่งถึงที่สุดแล้ว นั้น เห็นวา การที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติมาตรา 40 และมาตรา 41 ไตสวนขอเท็จจริงและชี้มูลความผิดและสงรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พรอมทั้ง ความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกลาวหาผู้นั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัย ตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก เป็นกระบวนการที่แยกตางหากจากกระบวนการลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดําเนินการ โดยผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอน แมผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอน ได้ดําเนินการลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติวาเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น กระทําการทุจริตในภาครัฐและมีมูลความผิดทางวินัย ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอํานาจแต่งตั้งถอดถอน ยอมมีอํานาจดําเนินการเพิกถอนคําสั่งลงโทษทางวินัยที่มีอยู่เดิมแล้ว จึงออกคําสั่งลงโทษทางวินัย ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566

ตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติ ดังนั้น บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกลาว เป็นมาตรการตรวจสอบภายในฝ่ายบริหาร ไม่เป็นการลงโทษบุคคลมากกวาหนึ่งครั้งสําหรับความผิด ที่บุคคลนั้นได้กระทําเพียงครั้งเดียว พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 มิได้เป็นบทบัญญัติที่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแกเหตุ ทั้งมีผลใชบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุงหมายให้ใชบังคับ แกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 อาศัยเหตุผลดังกลาวขางตน จึงวินิจฉัยวา พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการปองกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 มาตรา 40 และมาตรา 41 ไม่ขัดหรือแยงต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 นายวรวิทย กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายนครินทร เมฆไตรรัตน์ นายปญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายจิรนิติ หะวานนท นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายบรรจงศักดิ์ วงศปราชญ นายอุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 39 ก ราชกิจจานุเบกษา 30 มิถุนายน 2566