Wed Jun 21 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

กฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566


กฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566

กฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันบุคคล เพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 23 (2) และมาตรา 73 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 จึงออกกฎ ก.ตร. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 วิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตารวจ ให้ดาเนินการ ดังนี้ ( 1 ) วิธีการคัดเลือก ให้ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอำนาจจาก ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือก โดยพิจารณาถึงความรู้ความสามารถ ความประพฤติ และหรือบุคลิกภาพ ให้เหมาะสมกับตาแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง ทั้งนี้ อาจดาเนินการโดยวิธีสัมภาษณ์ วิธีสอบข้อเขียน วิธีสอบปฏิบัติ หรือวิธีอื่นใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ตามความเหมาะสม ในการนี้ อาจตั้งคณะ กรรมการ กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็น (2) วิธีการสอบแข่งขันให้ดาเนินการ ดังนี้ (ก) ให้ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอานาจจากผู้บัญชาการ ตารวจแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน (ข) ให้ผู้ดาเนินการสอบแข่งขัน ตั้งข้าราชการตารวจชั้นสัญญาบัตรเป็นคณะกรรมการ ดาเนินการสอบแข่งขันไม่น้อยกว่าสามคน โดยให้ตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ (ค) คณะกรรมการดาเนินการสอบแข่งขัน อาจตั้งอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ดาเนินการ ในเรื่องที่เกี่ยวกั บการสอบแข่งขันได้ตามความจำเป็น (ง) ให้คณะกรรมการดาเนินการสอบแข่งขันกาหนดวันเวลา สถานที่สอบและระเบียบ เกี่ยวกับการสอบได้เท่าที่จาเป็น และไม่ขัดต่อหลักสูตรและวิธีดาเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขันนี้ แล้วให้ประธานกรรมการประกาศก่อนวันสอบไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ้ หนา 16 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(จ) หลักสูตรการสอบแข่งขัน มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1 ) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ให้ทดสอบความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้โดยวิธีสอบข้อเขียน โดยคานึงถึง ระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการของตาแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง ก) ความสามารถทั่วไป ให้ทดสอบความสามารถในการคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูลหรือปัญหา ทางสังคมหรือทางเศรษฐกิจ หรือทางอื่นที่เหมาะสมแก่การทดสอบความสามารถดังกล่าวทางใดทางหนึ่ง หรือหลายทางก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อจะใช้ข้อมูลหรือปัญหาทางใดทดสอบความสามารถในการคิดหาเหตุผล ให้ระบุไว้ในประกาศรับ สมัครสอบด้วย ข) ภาษาไทย ให้ทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยให้สรุปความ และหรือตีความจากข้อความสั้น ๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่าง ๆ จากข้อความสั้น ๆ ประโยค กลุ่มคา หรือคา หรือให้ทดสอบโดยรูปแบบอย่างอื่นที่เหมาะสม กับ การทดสอบความรู้ความสามารถดังกล่าว 2) ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตาแหน่ง ให้ทดสอบความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในตาแหน่ง ที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีสอบข้อเขียน หรือให้ทดลองปฏิบัติงาน หรือวิธีอื่นวิธีใดวิธีหนึ่งหรือ หลายวิธีก็ไ ด้ตามความเหมาะสม 3) ภาคความเหมาะสมกับตาแหน่ง ให้ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตาแหน่งหน้าที่ที่จะบรรจุแต่งตั้ง จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทางาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีอื่นใดเพิ่มเติมอีกก็ได้ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรม และคุ ณธรรม การปรับตัว เข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพ อย่างอื่น เป็นต้น (ฉ) ในการสอบแข่งขัน คณะกรรมการดาเนินการสอบแข่งขันจะกาหนดให้ผู้สมัครสอบ สอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป หรือภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตาแหน่งภาคใดภาคหนึ่ง หรือทั้งสองภาคก่อน แล้วจึงให้ผู้ที่สอบได้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 2 (2) (ฏ) สอบในภาคอื่น ต่อไปก็ได้ (ช) ให้ผู้ดาเนินการสอบแข่งขัน ประกาศรับสมัครสอบ โดยระบุชื่อตาแหน่งที่จะบรรจุ และแต่งตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิสมัครสอบ เงินเดือนตามคุณวุฒิ วันเวลาและสถานที่รับสมัคร และวิธีการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ และเรื่องอื่นที่ผู้สมัครสอบ ควรทราบ เช่น จะไม่รับโอนผู้สอบแข่งขันได้ เป็นต้น ้ หนา 17 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

ประกาศรับสมัครนั้ น ให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่รับสมัครสอบ หรือสถานที่ ที่เหมาะสมก่อนวันเริ่มรับสมัครสอบไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และจะประกาศทางวิทยุกระจายเสียง หรือสื่ออื่นใด ตามความเหมาะสมก็ได้ (ซ) ให้ผู้ดาเนินการสอบแข่งขัน จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับสมัครสอบและกาหนดให้มีเวลา รับสมัครสอบไม่น้อยกว่าสิบห้าวันทำการ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจาเป็นตามที่คณะกรรมการดาเนินการสอบแข่งขันเสนอแนะ ผู้ดาเนินการสอบแข่งขันอาจประกาศขยายกาหนดเวลารับสมัครสอบได้ แต่ทั้งนี้ เวลาที่ขยายต้องไม่น้อย กว่า สิบห้าวันทาการนับแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของการรับสมัครสอบ และต้องประกาศการขยายเวลานั้น ก่อนวันปิดรับสมัครสอบครั้งนั้น (ฌ) ให้ผู้สมัครสอบเสียค่าธรรมเนียมสอบตามจำนวนที่ผู้ดำเนินการสอบกำหนด ตามความเหมาะสม และค่าใช้จ่ายอื่นตามจำนวนที่หน่วยงานหรือส่วนราชกำรที่เกี่ยวข้องกาหนด (ญ) ให้ผู้ดาเนินการสอบแข่งขัน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ก่อนวันสอบไม่น้อยกว่า เจ็ดวัน (ฎ) ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตอันอาจจะทำให้เกิด ความไม่เป็นธรรมในการสอบแข่งขัน ให้คณะกรรมการดาเนินการสอบแข่งขันรายงานให้ผู้ดาเนินการ สอบแข่งขันทราบ เพื่อพิจารณาว่าจะสมควรยกเลิกการสอบครั้งนั้นทั้งหมด หรือจะพิจารณายกเลิก การสอบเฉพาะวิชา หรือเฉพาะภาคที่เกิดการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตตามแต่จะเห็นสมควร ถ้าหากผู้ดาเนินการสอบแข่งขันให้ยกเลิกการสอบเฉพาะวิชาใด หรือเฉพาะภาคใดแล้ว ก็ให้ดาเนินการ สอบเฉพาะวิชานั้น หรือเฉพาะภาคนั้นใหม่ สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือส่อไปใน ทางทุจริตไม่มีสิทธิเข้าสอบอีกต่อไป โดยให้ผู้ดาเนินการสอบประกาศแจ้งให้ผู้ สมัครสอบทราบด้วย (ฏ) การตัดสินว่าผู้ใดเป็นผู้สอบแข่งขันได้ ให้ถือเกณฑ์ว่าต้องเป็นผู้สอบได้คะแนน แต่ละภาคที่สอบตามหลักสูตรไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 0 ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงหลักวิชาการวัดผลด้วย (ฐ) ให้คณะกรรมการดาเนินการสอบแข่งขัน รายงานผลการสอบต่อผู้ดำเนินการสอ บแข่งขัน เพื่อผู้ดำเนินการสอบแข่งขันจะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ และดาเนินการเกี่ยวกับการบรรจุและ แต่งตั้งต่อไป (ฑ) การประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ให้เรียงลำดับจากที่สอบได้คะแนนรวมสูง ลงมาตามลาดับ ในกรณีที่มีผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้สอบได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับ ตำแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตาแหน่งเท่ากัน ให้ผู้สอบได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตาแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลาดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพำะตาแหน่งเท่ากัน ให้ผู้ได้คะแนนภาษาไทยในภาคความรู้ ความสามารถทั่วไปมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลาดับที่สูงกว่า ถ้ายังได้คะแนนเท่ากันอีกให้ผู้ที่สมัครสอบก่อน เป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าเวลาสมัครสอบพร้อมกันให้ใช้วิธีการจับฉลาก ้ หนา 18 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(ฒ) ถ้ามีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ให้หมดสิทธิในการบรรจุสาหรับการสอบแข่งขัน ในครั้งนั้น 1 ) ผู้นั้นได้ขอสละสิทธิในการบรรจุและแต่งตั้ง 2) ผู้นั้นไม่มารายงานตัวเพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้งภายในเวลาที่ผู้ดาเนินการ สอบแข่งขันหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุกำหนด โดยมีหนังสือส่งทางไปร ษณีย์ลงทะเบียนหรือส่งทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์แจ้งกาหนดให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ที่ทาการไปรษณีย์ประทับตรารับ หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับ แล้วแต่กรณี 3) ผู้นั้นมีเหตุที่ไม่อาจเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ตามกาหนดเวลาที่จะบรรจุและแต่งตั้ง ในตาแหน่งที่สอบได้ ข้อ 3 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตารวจชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน และชั้นพลตำรวจ ให้ใช้วิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการตารวจชั้น พลตารวจ หรือชั้นประทวน ให้ได้รับเงินเดือน ขั้นต่าหรือตามที่ ก.ตร. กาหนดไว้ในกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่าของข้าราชการตารวจ ชั้น พลตารวจ ชั้นประทวน และชั้นสัญญาบัตร สาหรับชั้นพลตำรวจหรือชั้นประทวนที่เข้ารับการศึกษา หรือฝึกอบรมในสถานศึกษาของสานักงานตารวจแห่งชาติ ตามหลักสูตรที่สานักงานตารวจแห่งชาติกาหนด เพื่อแต่งตั้งเป็นข้าราชการตารวจชั้นประทวนหรือชั้นสัญญาบัตร รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ ให้ดาเนินการ ด้วยวิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขัน กรณีใดจะใช้วิธีใดให้ผู้บัญชา การตารวจแห่งชาติหรือผู้บังคับบัญชา ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติเป็นผู้กำหนด หลักสูตรการศึกษาหรือหลักสูตรการฝึกอบรมตามความในวรรคแรก ให้สำนักงานตารวจแห่งชาติ พิจารณากาหนด โดยคานึงถึงวัตถุประสงค์ในการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการ และพื้นความรู้ของผู้เข้ารับ การศึกษาหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม ดังนี้ (ก) หลักสูตรการศึกษาสำหรับผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเพื่อเข้ารับการศึกษา ให้กำหนดหลักสูตรที่สร้างองค์ความรู้ เสริมสร้างทักษะและปรับปรุงบุคลิกภาพในการปฏิบัติราชการ (ข) หลักสูตรการฝึ กอบรมผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในฐานะผู้สาเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา ให้กาหนดหลักสูตรที่เสริมสร้างและปรับปรุงบุคลิกภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะในการปฏิบัติงานนอกเหนือไปจากพื้นความรู้ที่ใช้บรรจุเข้ารับราชการ หลักสู ตรการศึกษาหรือหลักสูตรการฝึกอบรมตาม (ก) และ (ข) ต้องได้รับความเห็นชอบ จาก ก.ตร. หลักสูตรการศึกษาและหลักสูตรการฝึกอบรมของสำนักงานตารวจแห่งชาติตามที่มีอยู่เดิม ก่อนกฎ ก.ตร. นี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นหลักสูตรการศึกษาและหลักสูตรการฝึกอบรมที่ ก.ตร . ให้ความเห็นชอบตามกฎ ก.ตร. นี้ ้ หนา 19 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(2) การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการตารวจชั้นประทวนให้ได้รับเงินเดือนขั้นต่าของชั้นประทวน เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สำนักงานตารวจแห่งชาติกำหนดในข้อ 3 (1) (ข) เพื่อเลื่อนให้ได้รับ เงินเดือนตามคุณวุฒิ ให้ ดาเนินการด้วยวิธีการคัดเลือก (3) การบรรจุบุคคลผู้ได้รับประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา เป็นข้าราชการตารวจ ชั้นประทวน หรือชั้นสัญญาบัตร รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ ให้ดำเนินการด้วยวิธีการสอบแข่งขัน ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้ จะดาเนินการด้วยวิธีการคัดเลื อกก็ได้ (ก) ผู้สาเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา ในสาขาวิชาที่ ก.ตร. กำหนดให้เป็นวุฒิที่ใช้คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการตารวจได้ ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา ที่ ก.ตร. กำหนดให้เป็นวิชาชีพ ที่ขาดแคลน ที่ ก.ตร. กาหนด ก่อนกฎ ก.ตร. นี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นวุฒิที่ใช้คัดเลือกเพื่อบรรจุ เข้ารับราชการตารวจได้ตามกฎ ก.ตร. นี้ (ข) ผู้ที่ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือ คณะกรรมการข้าราชการประเภทอื่น หรือส่วนราชการที่ได้รับมอบหมา ยจากคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน (ก.พ.) หรือคณะกรรมการข้าราชการประเภทอื่น เป็นผู้ดาเนินการสอบแข่งขัน หรือผู้ที่ ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอานาจจากผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ ให้เป็นผู้ดาเนินการคัดเลือก หรือสอบแข่งขันบุคคลเพื่ อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตารวจ ประกาศรายชื่อให้เป็นผู้ได้รับคัดเลือกหรือผู้สอบแข่งขันได้ในลำดับสำรอง (ค) ผู้ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาตามความต้องการของสำนักงานตารวจแห่งชาติ (ง) การบรรจุทายาทของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการที่เสียชีวิ ต หรือพิการ หรือทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้และถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะ เหตุแห่งความพิการหรือทุพพลภาพนั้น (จ) กรณีที่มีเหตุพิเศษตามที่ ก.ตร. กำหนด การคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันตามความในวรรคแรก ไม่ตัดสิทธิข้าราชการตารวจ ที่จะเข้ารับการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขัน ทั้งนี้ ข้าราชการตารวจที่ได้รับการคัดเลือกหรือสอบแข่งขันได้ ให้ดาเนินการแต่งตั้งตามมาตรา 77 วรรคสี่ และวรรคห้า ข้อ 4 ผู้ที่อยู่ระหว่างถูกสอบสวนพิจารณาทางวินัย หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่า กระทำผิดอาญา ให้เข้ารับการคัดเลือกหรือสอบแข่งขันตามข้อ 3 ได้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหรือสอบแข่งขันได้ตามข้อ 3 (3) ให้รอการบรรจุไว้ก่อน เมื่อการสอบสวน หรือการพิจารณาถึงที่สุดแล้ว ปรากฏว่าไม่มีกรณีการขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ดาเนินการบรรจุได้ ้ หนา 20 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

ข้อ 5 การคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันที่ได้ดาเนินการก่อนหน้ากฎ ก.ตร. นี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นการคัดเลือกหรือสอบแข่งขันตามที่กฎ ก.ตร. นี้กาหนด ข้อ 6 กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขัน ให้ ก.ตร. วินิจฉัยชี้ขาด ให้ไว้ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ . 256 6 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการข้าราชการตารวจ ้ หนา 21 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ตร . ฉบับนี้ คือ พระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยมีบทบัญญัติกาหนดให้มีกฎหมายลาดับรองเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตาม พระราชบัญญัติ ตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการของสานักงานตารวจแห่งชาติเป็นไปด้วยค วามเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ตร. นี้ ้ หนา 22 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566