Wed Jun 21 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566


กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566

กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 (2) มาตรา 71 (5) และมาตรา 136 (3) แห่งพระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 จึงออกกฎ ก.ตร. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 การบรรจุบุ คคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตารวจ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุนอกจาก ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 71 (1) ถึง (4) แล้ว จะต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามมาตรา 71 (5) ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชกา ร หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น (2) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสีย ขัดต่อมาตรฐานทางจริยธรรม หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (3) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (4) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับ ความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (5) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ (6) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัย ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (7) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น (8) ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ (9) ในกรณีที่เป็นชาย (ก) ถ้าเป็นผู้มีภูมิลาเนาอยู่ในเขตที่ใช้กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารต้องลงบัญชี ทหารกองเกินตามกฎหมายนั้ นแล้ว ้ หนา 12 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(ข) ร่างกายต้องสูงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยหกสิบเซนติเมตร และรอบอกต้องไม่น้อยกว่า เจ็ดสิบเจ็ดเซนติเมตร ในกรณีที่เป็นหญิงร่างกายต้องสูงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเซนติเมตร (10) มีอายุไม่เกินสามสิบห้าปีบริบูรณ์ ในกรณีมีการเปิดรับสมัครคัดเลือกหรือสอบแข่ งขัน ให้นับอายุสามสิบห้าปีบริบูรณ์ ถึงวันปิดรับสมัคร ยกเว้นผู้สมัครกลับเข้ารับราชการ หรือโอนมา รับราชการตารวจ (11) ไม่เป็นผู้มีสายตาผิดปกติ ตรวจแบบเสนลเลน (ปกติ 6/6) (12) ไม่เป็นผู้มีตาบอดสี (13) ไม่เป็นผู้มีแผลเป็น ไฝ ปาน รอยสัก หูด หรือซีสต์ ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีขนาดใหญ่ หรือมากจนแลดูน่าเกลียด (14) ไม่เป็นโรค อาการ ภาวะอื่นใด หรือมีลักษณะต้องห้าม ที่ไม่ควรเป็นข้าราชการตารวจ ตามบัญชีแนบท้าย ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 (2) หรือข้อ 2 (4) ก.ตร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 (5) หรือข้อ 2 (6) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการ ไปเกินสองปีแล้ว หรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 (7) ถ้าผู้นั้นออกจากงานหรือออกจากราชการ เกินสามปี แล้ว และมิใช่กรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทาผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ ก.ตร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติ ก.ตร. ในการประชุมยกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นเอกฉันท์ การลงมติให้กระทำโดยลับ ในกรณีที่หน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องรับสมัครบุคคลที่มี อายุเกินสามสิบห้าปีขึ้นไป ให้เสนอ สำนักงานตารวจแห่งชาติพิจารณาอนุมัติ พร้อมทั้งเหตุผลและความจำเป็น เป็นกรณี ๆ ไป ผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 (11) (12) (13) หรือ (14) ถ้าเป็นการรับสมัครเพื่อบรรจุ เป็นข้าราชการตารวจในตาแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้ องใช้คุณวุฒิเฉพาะ หรือต้องใช้ความรู้ความชำนาญ ในทางวิชาการเป็นพิเศษ เช่น ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านการแพทย์ นักดนตรี ช่าง เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด และอื่น ๆ ก็ให้แพทย์ตรวจไปตามระเบียบ หากเห็นว่าการขาดคุณสมบัตินั้น ไม่เป็นอุ ปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้เสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาอนุมัติยกเว้น เป็นกรณีพิเศษเฉพาะ เป็นกรณี ๆ ไป ถ้าเป็นการรับสมัครเพื่อบรรจุข้าราชการตารวจซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการตารวจ ให้ยกเว้นการขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 (9) ( 11) (12) และ (13) ให้เป็น กรณีพิเศษทุกรายไป ถ้าเป็นการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตารวจที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่มีความสาคัญ ซึ่งจำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติในเรื่องส่วนสูง และรอบอกที่เพิ่มขึ้นกว่าเกณฑ์ปกติที่กำหนด ตามข้อ 2 (9) หรือต้องกาหนดค่าดั ชนีมวลกาย ( BODY MASS INDEX ) เพื่อให้ได้ผู้ที่มีขนาดร่างกาย ้ หนา 13 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

เหมาะสมกับการปฏิบัติภารกิจของหน่วย เช่น การถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ การอารักขาบุคคลสาคัญอื่น ๆ การปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการก่อการจลาจล การต่อต้านการก่อการร้ายสากลและการก่อการร้ายในเมือง หรือการรักษาความปลอดภัย ให้เสนอ สำนักงานตารวจแห่งชาติพิจารณาอนุมัติ พร้อมทั้งเหตุผลและความจำเป็น เป็นกรณี ๆ ไป ข้อ 3 ให้ถือว่าผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ก่อนที่กฎ ก.ตร. นี้ใช้บังคับ เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎ ก.ตร. นี้ ข้อ 4 การสั่งให้ข้าราชการตารวจออกจากราชการตามมาตรา 136 (3) ให้สั่งได้เมื่อปรากฏว่า ข้าราชการตารวจผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ (3) เป็น โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (4) เป็นวัณโรคในระยะอันตราย (5) เป็นโรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (6) เป็นโรคติดยาเสพติดให้โทษ (7) เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคหรืออาการตามข้อ 4 (3) ถึง (7) ให้อ ยู่ในดุลยพินิจคณะกรรมการแพทย์โรงพยาบาลตารวจ เห็นว่าไม่ควรรับราชการตารวจ ให้ไว้ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ . 256 6 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการข้าราชการตารวจ ้ หนา 14 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

บัญชีโรค อาการ ภาวะอื่นใด หรือมีลักษณะต้องห้าม ที่ไม่ควรเป็นข้าราชการตารวจ ตามข้อ 2 (14) แนบท้าย กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตารวจ ----------------------------------------------------------------------------- 1. ร่างกายผิดปกติ หรือพิกลรูป หรือพิการ 1. 1 ศีรษะและหน้าผิดรูปจนดูน่าเกลียด 1.2 รู ปวิปริตต่าง ๆ ( MALFORMATION ) ของริมฝีปาก หรือ จมู ก เช่น ปาก หรื อ จมูกแหว่ง ริมฝีปากแบะ เชิด หรือหุบไม่ลงจ น น่าเกลียด 1.3 ซอกคอหรือซอกรักแร้ ติดกัน 1.4 แขนขา 1.4.1 ยาวไม่เท่ากันหรือผิดรูปจนมองเห็นได้ชัด 1.4.2 โค้งเข้าหรือโค้งออก 1.4.3 บิดเก 1.5 มือหรือเท้า 1.5.1 บิดเก 1.5.2 นิ้วมือหรือนิ้วเท้าด้วน 1.5.3 นิ้วมือหรือนิ้วเท้า มีจานวนมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ 1.5.4 นิ้วบิดเกและทางานไม่ถนัด 1.5.5 ช่องระหว่างนิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดกัน 1.5.6 มือหรือเท้าผิดรูปจนดูน่าเกลียด 2 . กระดูกและกล้ามเนื้อ 2. 1 ข้อเคลื่อนไหวไม่สะดวกจนทำให้อวัยวะที่ติดต่อกับข้อนั้นใช้ การไม่ได้ 2.2 ข้อหลวมหลุดบ่อย ๆ 2.3 ข้ออักเสบจนกระดูกเปลี่ยนรูป 2.4 คอเอียงหรือแข็งทื่ อ เนื่องจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อพิการ 2.5 กระดูกสันหลังคด หรือ โก่ ง หรือแอ่น 2.6 เท้าปุก ( CLUB FOOT ) 2.7 กระดูกอักเสบ ( OSTEOMYELITIS ) 2.8 กระดูกหัก ต่อไม่ติด หรือติดแล้วแต่มีความพิการผิดรูป 2.9 กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเหี่ยวลีบ 3. ผิวหนัง 3.1 โรคผิวหนังทุกชนิดซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่น 3. 2 แผลเรื้อรังของผิวหนังซึ่งยากต่อการรักษา 3. 3 เนื้องอก ( NEOPLASM ) ที่หน้า มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ห้าเ ซ นติ เมตรขึ้นไป 3. 4 คนเผือก 4. ตา หู คอ จมูก 4.1 ตาเหล่จนปราก ฏ เห็นได้ชัด 4.2 ต้อกระจก 4 . 3 แผลเป็นที่ตาหรือกระจกตาดาขุ่น จนสามารถตรวจพบได้ด้วยตาเปล่า

  • 2 - 4.4 ลูกตาสั่น 4.5 หนังตาตก หรือหนังตาม้วนออกนอก หรือหนังตาม้วนเข้าใน 4.6 หนังตาแหว่งจนเสียรูป 4.7 หนังตาปิดไม่สนิท 4.8 ถุงน้ำตาอักเสบเรื้อรัง 4.9 ต้อเนื้องอกเข้าไปในลูกตาดำ เกินกว่าหนึ่งมิลลิเมตร 4.10 ตำ โปนจนเห็นได้ชัดแลดูน่าเกลียด 4.11 ต้อหิน 4.12 ช่องหนังตา ( PALPEBRAL FISSURE ) กว้างไม่เท่ากันจนดูน่าเกลียด 4.13 เคย ผ่ำตัดกระดูกมาสตอยด์ออกทั้งหมด 4.14 หูหนวกหรือไม่ได้ยิน ในระดับที่ทำให้การสื่อสารบกพร่อง 4.15 แก้วหูทะลุเกินหนึ่งในสามของเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.16 หูน้ำหนวกมีหนองเรื้อรัง 5 . ฟัน 5.1 ฟันผุมากหลาย ซี่ มองเห็นได้อย่างชัดเจน 5.2 มีรากฟันเหลืออยู่ในช่องปากมากกว่าสาม ซี่ 5.3 ไม่มีฟันเกินกว่าห้า ซี่ เว้นแต่ใส่ฟันปลอม แ ทนที่เรียบร้อยแล้ว 5.4 เป็นโรคปริทันต์จนเห็นลักษณะอาการได้ชัดเจน 5.5 การ ส บฟันผิดปกติอย่างมากจนขัดต่อการเคี้ยวอาหารหรือทาให้รูปลักษณ์ของใบหน้าเปลี่ยนไป อย่างเห็นได้ชัด 6. ระบบหัวใจและหลอดเลือด 6.1 หัวใจเต้นเร็วกว่าหนึ่ งร้อย ยี่ สิบครั้งต่อนาที หรือช้ากว่าสี่ สิ บห้ำครั้ งต่ อนาที หรือมี เอ.วี . บล็ อค หรือเต้นผิดปกติชนิด เอเทรียลไฟบริลเลชั่น หรือเอเทรียลฟลัตเตอร์ 6.2 ความดันเลือดสูงกว่า 14 0 / 9 o มิลลิเมตรปรอท 6.3 ลักษณะแสดงทาง อี.ซี.จี. ผิดปกติ ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ 6.4 หัวใจมีขนาดโตมากผิดปกติ 6.5 หัวใจพิการแต่กำเนิด 6.6 หัวใจวายและมีเลือดคั่ง 6.7 เสียงของหัวใจ (รั่ว/ตีบ) ผิดปกติ ( ORGANIC MURMUR ) 6.8 อนิวริซึมของหลอดเลือดใหญ่ 6.9 หลอดเลือดดำขอดอยู่ที่ถุงอัณฑะ ขา หรือแขน ซึ่งเป็นมากจนเห็น ได้ชัด 7. ระบบหายใจ 7.1 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง 7.2 ถุงลมโป่งพอง 7.3 มีน้ำ หรือหนอง หรือลม ในช่องเยื่อหุ้มปอด 7.4 วัณโรคปอดในระยะอันตราย 7.5 โรคหืด 7.6 ปอดอักเสบ

  • 3 - 8. ระบบทางเดินอาหาร 8.1 ตับหรือม้ามโต ซึ่งตรวจพบโดยการใช้มือคลำ 8.2 ตับแข็ง 8.3 ฝีที่ตับ 8.4 ดีซ่าน 8.5 ท้องมาน 8.6 รูแผลเรื้อรังจากฟีสตูลา หรือไซนัสที่ผนังหน้าท้อง 8.7 ไส้เลื่ อนทุกชนิด 8.8 ริดสีดวงทวารหนักที่เห็นได้ชัด 8 . 9 ทวารหนักอักเสบ หรือส่วนสุดท้ายของลำไส้ปลิ้นออกมานอกทวารหนัก 8.10 ฝี คัณฑสูตร 9. ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธ ุ ์ รวมทั้งกามโรค 9. 1 ไตหรือกรวยไต อักเสบ หรือเสื่อม หรือหย่อน หรือพอง 9.2 นิ่วที่ไตหรือท่อไต 9.3 องคชาติถูกตัดหรือขาด 9.4 ถุงน้ำที่ลูกอัณฑะ 9.5 ลูกอัณฑะอักเสบ หรือท่ออสุจิอักเสบ 9.6 กามโรค ระยะติดต่อ 9.7 กะเทย ( HERMAPHRODISM ) 9.8 ฝังมุกที่อวัยวะเพศ 9.9 หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตี บ แคบ 9.10 ลูกอัณ ฑ ะไม่ลงถุง ยกเว้นจะได้รับการผ่าตัดรักษามาแล้ว 10 . ระบบจิตประสาท 10.1 โรคจิต ( PSYCHOSIS ) ทุกประเภท 10.2 โร คอารมณ์แปรปรวนที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง 10.3 เป็นใบ้ หรือพูดไม่ชัด หรือพูดติดอ่าง 1 0.4 ความบกพร่องทางสติปัญญาที่มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 70 10.5 อัมพาตหรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ 1 0 . 6 โรคลมชัก ( EPILEPSY ) 11. เบ็ดเตล็ด 11.1 โรคคอหอยพอก เป็นพิ ษ ( THYROTOXICOSIS ) 11.2 โรคเก๊าท์ 11.3 โรคอ้วนพีจากต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ( MYXEDEMA ) 11.4 เบาหวาน 11.5 ร่างกายโตผิดปกติ ( ACROMEGALY ) 11.6 โรคอ้วนพี ( OBESITY ) ซึ่งมีดัชนี มวล กา ย ( BODY MASS INDEX ) ตั้งแต่สามสิบห้ากิโลกรัม ต่อตารางเมตรขึ้นไป 11.7 โรคของเลือด และอวัยวะก่อกาเนิดเลือด ( DISEASES OF BLOOD AND BLOOD FORMING ORGANS ) ผิดปกติอย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย

  • 4 - 11.8 โรคติดเชื้อ หรือโรคเกิดจากปรสิต 11.8 . 1 โรคเรื้อน ( LEPROSY ) 11.8.2 โรคเท้าช้างในระยะที่ปราก ฏ อาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม 11.8.3 โรคคุดทะราด หรือรองพื้น ( YAWS ) 11.8.4 โรคติดเชื้อเรื้อรังระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่ สามารถรักษาให้หายขาดได้ 11.8.5 โรคเอดส์ และ/หรือ ติดเชื้อ เอชไอวี ( HIV ) 11 . 9 เนื้องอก 1 1.9.1 เนื้องอกไม่ร้ายที่มีขนาดใหญ่ 11.9.2 เนื้องอกร้ายไม่ว่าจะเป็นที่อวัยวะใด 1 2 . โรค ติด ยาเสพติดให้โทษ 13. โรคพิษสุราเรื้อรัง 14. โรค อาการ ภาวะ อื่นใด หรือมีลักษณะต้องห้าม ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจคณะกรรมการแพทย์โรงพยาบาล ตำรวจ เห็นว่าไม่ควรเป็นข้าราชการตำรว จ --------------------------------------------------------------

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ตร . ฉบับนี้ คือ พระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ประกาศในราชกิจจานุ เบกษา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 7 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยมีบทบัญญัติกาหนดให้มีกฎหมายลาดับรองเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตาม พระราชบัญญัติ ตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการของสานักงานตารวจแห่งชาติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ตร. นี้ ้ หนา 15 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566