Wed Jun 21 2023 00:00:00 GMT+0000 (Coordinated Universal Time)

กฎกระทรวงการแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา พ.ศ. 2566


กฎกระทรวงการแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา พ.ศ. 2566

กฎ กระทรวง การแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้ “ การกล่าวหา ” หมายความว่า การที่บุคคลใดได้แจ้งต่อข้าราชการและพนักงานของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ว่ามีการกระทำความผิดทางพินัยขึ้น โดยรู้ตัวผู้กระทำความผิด หรือไม่ก็ตาม และจะแจ้งเป็นหนังสือ หรือด้วยวาจา หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม “ การแสวงหาข้อเท็จจริง ” หมายความรวมถึงการรวบรวมพยานหลักฐานด้วย “ ข้าราชการและพนักงานของหน่วยงานของรัฐ ” หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายที่กาหนด ความผิดทางพินัยบัญญัติให้มีอำนาจในการดาเนินการตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ บรรดาที่ไม่ได้เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ “ เจ้าหน้า ที่ของรัฐ ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน นายทะเบียน คณะบุคคล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น บรรดาที่กฎหมายบัญญัติให้มีอานาจปรับเป็นพินัยหรือที่รัฐมนตรี ประกาศกาหนดให้เป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามมาตรา 14 “ หัวหน้าหน่วยงานขอ งรัฐ ” หมายความว่า (1) ปลัดสานักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หรือปลัดทบวง ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง หรือสำนักงานปลัดทบวง แล้วแต่กรณี (2) อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเ ทียบเท่ากรม ในกรณีที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม แล้วแต่กรณี (3) ผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด (4) ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดรัฐวิสาหกิจ (5) ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดหน่วยงานอื่นของรัฐ ้ หนา 1 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

(6) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา หรือนายกองค์การบริหารส่วนตาบล ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือองค์การบริหารส่วนตาบล แล้วแต่กรณี (7) นายกสภาวิชาชีพ ในกรณีที่พนักงานหรือลูกจ้างของสภาวิชาชีพมีอำนาจปรับเป็นพินัย (8) ผู้บริ หารสูงสุดของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการหรือ คณะบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจปรับเป็นพินัย ข้อ 3 การดาเนินการใด ๆ ในคดีความผิดทางพินัยที่มีบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีเป็นผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา หรือพยาน เจ้ำหน้าที่ของรัฐต้องดาเนินการโดยคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน เป็นสำคัญ หมวด 1 การแสวงหาข้อเท็จจริง ข้อ 4 เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ามีการกระทาความผิด ทางพินัยเกิดขึ้น ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐพบเห็นเอง มีการกล่าวหา หรือความปรากฏด้วยวิธีอื่นใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเริ่มการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยมิชักช้า ในกรณีที่ความตามวรรคหนึ่งปรากฏต่อข้าราชการและพนักงานของหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการและพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทราบ ข้ อ 5 ในการแสวงหาข้อเท็จจริงตามข้อ 4 ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดาเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) แสวงหาข้อเท็จจริงสำหรับการกระทำความผิดทางพินัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าในท้องที่ใด ทั่วราชอาณาจักร และการแสวงหาข้อเท็จจริงให้กระทำได้ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้ เว้นแต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐจะได้กำหนดเขตอำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้เป็นอย่างอื่น (2) ในการแสวงหาข้อเท็จจริงตาม (1) เจ้าหน้าที่ของรัฐจะดาเนินการเองหรือมอบหมายให้ ข้าราชการและพนักงานของหน่วยงานของรัฐดาเนินการแทนก็ได้ ข้อ 6 ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรวบรวมพยานห ลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทาได้ เพื่อให้ ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางพินัย เพื่อให้รู้ว่า มีการกระทำความผิดทางพินัยหรือไม่และใครเป็นผู้กระทำความผิด และในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหา เสนอพยานหลักฐานใด ๆ เพื่อแสดงความบริ สุทธิ์ของตน ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้อง รวบรวมพยานหลักฐานนั้นไว้ในสำนวนการแสวงหาข้อเท็จจริง ข้อ 7 เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจขอความร่วมมือ จากหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชนให้ดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือส่งเอกสำรอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ตามที่จำเป็นก็ได้ ้ หนา 2 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

หมวด 2 การให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา ข้อ 8 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐพบเห็นว่ามีบุคคลกาลังกระทาความผิดทางพินัย หรือ มีพยานหลักฐานซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยว่าบุคคลนั้นได้กระทาความผิดทางพินัย และเจ้าหน้าที่ของรัฐ คนเดียวเป็นผู้มีอานาจปรับเป็นพินัย ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาให้ผู้ถูกกล่าวหา ทราบข้อกล่าวหา พร้อมทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทาความผิดทางพินัย และแจ้งด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิจะให้การทันที หรือจะให้ถ้อยคาภายหลังภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งก็ได้ หากผู้ถูกกล่าวหายอมรับสารภาพและมิได้มีข้อโต้แย้ง ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบันทึก การรับสารภาพและการไม่โต้แย้งนั้นไว้ และให้ผู้กระทาความผิดลงนามไว้เป็นหลักฐาน แล้วออกคาสั่ง ปรับเป็นพินัยตามมาตรา 20 เว้นแต่กรณีการออกคำสั่งปรับเป็นพินัยต้องกระทำเป็นองค์คณะ ให้เสนอองค์คณะเพื่อพิจารณาออกคำสั่งปรับเป็นพินัยต่อไป เมื่อมีผู้กระทำความผิดทางพินัย และมิใช่เป็นกรณีที่จะดาเนินการได้ตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้า หน่วยงานของรัฐหรือผู้ซึ่งหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมอ บหมายแจ้งข้อกล่าวหา พร้อมทั้งข้อเท็จจริงและ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางพินัยต่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ และแจ้งให้ ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคล การแจ้งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้แจ้งต่อผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลนั้น ข้อ 9 การชี้แจง การแก้ข้อกล่าวหา หรือการยอมรับสารภาพต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาจะทำเป็นหนังสือ หรือทำด้วยวาจา หรือทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในกรณีที่ ทา ด้วยวาจาให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบันทึกไว้และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงนามไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 10 ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิทำหนังสือแต่งตั้งทนายความหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วให้เป็นผู้ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาแทนตนหรือร่วมกับตนได้ ข้อ 11 ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาตกเป็นผู้วิกลจริตในระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระงับการแสวงหาข้อเท็จจริงไว้จนกว่าผู้นั้นจะหายวิกลจริต ในกรณีที่คดีขาดอายุความ ก่อนที่ผู้นั้นจะหายวิกลจริต ให้ยุติเรื่องและจำหน่ายคดีจากสารบบ ข้อ 12 เมื่อพ้นกำหน ดเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาแล้ว ไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหา จะได้ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาหรือไม่ และเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้พิจารณาจากคาชี้แจงหรือคาแก้ข้อกล่าวหา (ถ้ามี) ประกอบกับข้อเท็จจริงที่แสวงหาได้แล้วเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทาควา มผิดทางพินัย ให้ดาเนินการ สั่งปรับเป็นพินัยตามมาตรา 20 ต่อไป ในกรณีที่ไม่ได้ความว่าผู้นั้นกระทำความผิดทางพินัย หรือมีเหตุ ตามกฎหมายที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ต้องรับโทษ หรือคดีขาดอายุความแล้ว ให้สั่งยุติเรื่องและแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหา และผู้กล่าวหาทราบ ้ หนา 3 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

ข้อ 13 ภายใต้บังคับแห่งอายุความตามมาตรา 11 การพิจารณาและออกคำสั่งของ เจ้าหน้าที่ของรัฐตามข้อ 12 ต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำชี้แจงหรือ แก้ข้อกล่าวหา หรือนับแต่วันที่พ้นกาหนดเวลาการส่งคาชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา หากมีความจาเป็น อั นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้การพิจารณาและออกคาสั่งไม่แล้วเสร็จ ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีอำนาจ ขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่จะขยายระยะเวลาเกินสองครั้งไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ งตามมาตรา 38 ในกรณีที่จะฟ้องคดีต่อผู้ถูกกล่าวหา เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ อย่างช้าไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันก่อนวันที่คดีจะขาดอายุความ ให้ไว้ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ . 256 6 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ้ หนา 4 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 บัญญัติว่า เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยหรือมีการกล่าวหาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ พบเห็นว่ามีการกระทาความผิดทางพินัยไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดขึ้นในท้องที่ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดาเนินการ แสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหานั้น ตามสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎก ระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ้ หนา 5 ่ เลม 140 ตอนที่ 37 ก ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566